วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

271. คารวะ เฮเลน โทมัส: วิญญาณนักสู้เพื่อความเป็นธรรมและโลกที่ดีกว่า ไม่มีวันตาย


271. Homage to Helen Thomas: Unyielding Spirit of Justice for A Better World Never Dies

The Betrayal of Helen Thomas
And a call to honor the brave women journalists who deserve our admiration and applause
การหักหลัง เฮเลน โทมัส
และเพรียกร้องให้ยกย่องนักข่าวหญิงผู้ควรค่าต่อความชื่นชมและเสียงปรบมือของพวกเรา
-บาร์บารา ลูบิน และ แดนนี มูลเลอร์

When the news spread through Washington this weekend that the unwavering, pioneering journalist HelenThomas had died, there must have been a collective sigh of relief throughout the halls of Washington.
เมื่อข่าวแพร่กระจายทั่ววอชิงตันสุดสัปดาห์นี้ว่า เฮเลน โทมัส นักข่าวผู้บุกเบิก ผู้ไม่เคยหวั่นไหว ไขว้เขว ได้เสียชีวิตลง, จะต้องมีเสียงถอนหายใจร่วมด้วยความโล่งอกทั่วโถงวอชิงตัน.
News articles and obituaries are obligatorily mentioning her retirement over political remarks about Palestine and Israel.  They all will and should celebrate her trail-blazing career as a journalist and author.   And now that she has died, it has become politically correct to re-embrace her, because now Helen is safe.  She will not be asking the uncomfortable questions anymore, questions that made lying politicians squirm, as they stared dumbfounded back at her, always surprised at freedom of the press in action, at a woman who did not know her place. 
บทข่าวและคำประกาศมรณกาล ต้องเอ่ยถึงการปลดเกษียณของเธออันเนื่องมาจากคำพูดความเห็นเกี่ยวกับปาเลสไตน์ และ อิสราเอล.  พวกเขาทั้งหมดจะ และ ควรสรรเสริญการบุกเบิกถางทางอาชีพของเธอในฐานะนักข่าวและนักเขียน.  ตอนนี้ เธอได้สิ้นชีวิตแล้ว, มันกลายเป็นสิ่งถูกต้องทางการเมือง ที่จะโอบกอดเธออีกครั้ง, เพราะตอนนี้ เฮเลน ไม่เป็นภัยแล้ว.  เธอจะไม่ตั้งคำถามน่ารำคาญใจอีกต่อไป, คำถามที่ทำให้นักการเมืองปลิ้นปล้อน อึดอัดใจ, ในขณะที่พวกเขาจ้องกลับเธอด้วยความตกตะลึง, ประหลาดใจเสมอที่เห็นสื่อเสรีปฏิบัติการ, ที่เห็นผู้หญิงคนหนึ่งผู้ไม่รู้ที่ต่ำที่สูงของเธอเอง.
But in Helen’s final years, there was little celebration of her career and her courage, as former friends, coworkers and many in Washington jumped on the bandwagon resolutely condemning her for comments made in a hit piece that took brief comments out of context.  Perhaps most appallingly, President Obama took time from spying on one half of the world and bombing the other half to state that her resignation was “the right decision.”
แต่ในช่วงชีวิตสุดท้ายของเฮเลน, ไม่ค่อยมีการฉลองอาชีพและความอาจหาญของเธอ, เมื่ออดีตมิตรสหาย, เพื่อนร่วมงาน และ อีกหลายคนในวอชิงตัน พากันโดดขึ้นกองเกวียนและรุมด่าประณามเธอ สำหรับความเห็นที่กลายเป็นข่าวดัง ที่ยกความเห็นสังเขป แยกออกจากบริบท.  บางทีสิ่งที่น่าตกใจที่สุด คือ ประธานาธิบดีโอบามา เจียดเวลาจากการสอดแนมคนครึ่งโลก และ ทิ้งระเบิดใส่รัฐชาติอีกกึ่งโลก เพื่อกล่าวว่า การลาออกของเธอ เป็น “การตัดสินใจที่ถูกต้อง”.
In a world where politicians like George Bush, Dick Cheney and Rahm Emmanuel are celebrated for their reputations for expletive laden tirades, can we really pretend that Helen’s comments were so shocking or offensive that they were worthy of forced retirement? In a world where we hear the daily drivel from presidents promoting wars of madness with lies and straight faces, how did we let such vitriol rain down on her? 
ในโลกที่นักการเมือง เช่น ยอร์ช บุช, ดิกค์ เชนีย์ และ ราห์ม เอมมานูเอล ถูกยกย่องด้วยชื่อเสีย(ง)ที่เป็นสามเกลอแห่งคำสบถ, แล้วเราจะเสแสร้งได้อย่างไรว่า คำพูดความเห็นของเฮเลน น่าตกใจ หรือ น่ารังเกียจ ถึงขั้นต้องบังคับให้ปลดระวาง?   ในโลกที่เราได้ยินการพ่นคำพูดไร้สาระอยู่ทุกวี่ทุกวัน จากบรรดาประธานาธิบดี ที่ส่งเสริมสงครามแห่งความบ้าคลั่งด้วยการโกหกหน้าตาย, พวกเรายอมให้คำวิจารณ์รุนแรงประดุจฝนกรดกำมะถัน ตกใส่เธอได้อย่างไร?
Helen Thomas did more to challenge the war from the back row of the White House press corps (where she was relegated for three years after criticizing George Bush in 2003) than any embedded journalist did on the front lines who lay in bed with the military in Iraq.  She stood for a journalistic integrity that was not welcome in an all-encompassing corporate-media-beltway complex.
เฮเลน โทมัส ได้ทำงานมากมายเพื่อท้าทายสงครามตั้งแต่ยังนั่งอยู่แถวหลังสุดของกองข่าวในทำเนียบขาว (ที่ๆ เธอถูกลดขั้นเป็นเวลา ๓ ปี หลังจากวิจารณ์ยอร์ช บุช ในปี ๒๕๔๖)  มากกว่าพวกนักข่าวที่ฝังตัวอยู่แถวหน้า พวกเขานอนเตียงเดียวกันกับกองกำลังในอิรัค.  เธอยืนหยัดเพื่อศักดิ์ศรีของการทำข่าว ที่กลุ่มก้อนบรรษัท-สื่อ-ถนนวงแหวน รวมทั้งหมด ไม่ต้อนรับ.
In the beginning of her career, she was fired for going on strike with her colleagues at the Washington Daily News. She faced decades of abuse for being opinionated, not backing down, and because she was a woman.  In later years, it was shocking to see how George W. Bush and Barack Obama addressed her, ageism in presidential clothing, as if she was a child to be tolerated but dismissed and chuckled at, a minor nuisance who did not know her place, a relic that they just needed to pander to for a minute, so they could get back to the Big Lie.
ในช่วงต้นของอาชีพของเธอ, เธอถูกไล่ออกเพราะออกไปประท้วงร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่ วอชิงตันเดลินิวส์.  เธอต้องเผชิญกับการสบประมาทหลายทศวรรษว่า ดื้อดึงอวดดี, ไม่ยอมถอย, และเพราะเธอเป็นผู้หญิง.  ในปีหลังๆ, น่าตกใจที่ได้เห็นวิธีการที่ ยอร์ช ดับเบิลยู บุช และ บารัค โอบามา เรียกเธอ, การเดียดชราภาพในคราบประธานาธิบดี, ประหนึ่งว่า เธอเป็นเด็กน้อยที่จำต้องทน แล้วก็ปัดทิ้งและหัวเราะกระซิกใส่, คนน่ารำคาญเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่รู้ตำแหน่งแหล่งที่ของตัวเธอ, เศษที่ตกทอดกันมาที่พวกเขาเพียงแต่จำเป็นต้องยอมตามใจประเดี๋ยวประด๋าว, เพื่อว่าจะได้กลับไปสู่การโกหกที่ยิ่งใหญ่ต่อไป.
Helen Thomas was ambushed for being Anti-Zionist, but as Ralph Nader wrote following the incident in 2010,
the evisceration was launched by two pro-Israeli war hawks, Ari Fleischer and Lanny Davis. Fleischer was George W. Bush’s press secretary who bridled under Helen Thomas’ questioning regarding the horrors of the Bush-Cheney war crimes and illegal torture. His job was not to answer this uppity woman but to deflect, avoid and cover up for his bosses.
เฮเลน โทมัส ถูกลอบทำร้าย เพราะถูกหาว่าเป็นพวกต่อต้านชาวยิว, แต่ดังที่ราลฟ์ นาเดอร์ ได้เขียนไว้ หลังจากเหตุการณ์ในปี ๒๕๕๓ ที่เหยี่ยวข่าวสงครามฝักใฝ่อิสราเอลสองคน, อาริ ไฟส์เชอร์ และ แลนนี เดวิส.  ได้เริ่มกระบวนสาวไส้.  ไฟส์เชอร์ เป็นโฆษกของยอร์ช ดับเบิลยู บุช ผู้ออกอาการขุ่นเคือง เมื่อเฮเลน โทมัส ไล่ถามเกี่ยวกับความน่าขยะแขยงของอาชญากรรมสงคราม บุช-เชนีย์ และ การทรมานที่ผิดกฎหมาย.  งานของเขาไม่ใช่อยู่ที่การตอบคำถามของหญิงโอหังผู้นี้ แต่ที่เบี่ยงเบนความสนใจ, หลีกเลี่ยง และ กลบเกลื่อนให้เจ้านายของเขา.
Davis was the designated defender whenever Clinton got into hot water. As journalist Paul Jay pointed out, he is now a Washington lobbyist whose clients include the cruel corporate junta that overthrew the elected president of Honduras.
เดวิสได้รับหน้าที่ปกป้องเมื่อไรคลินตันตกน้ำร้อน.  ดังที่นักข่าว พอล เจย์ ชี้ให้เห็น, ตอนนี้เขาเป็นนักล็อบบี้ในวอชิงตัน ซึ่งของเขารวมกองทัพรับจ้างที่โหดเหี้ยม ที่ล้มล้างประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งของฮอนดูรัส. 
If one followed her career, especially in the last decade, Thomas had upset the status quo repeatedly by asking about the deaths of civilians in America’s wars, the unholy alliance with Israel, their unspoken of nuclear arsenal, and the way we hide the face of war.  Powerful people wanted her silenced and used a 30 second video snippet to try and erase 7 decades of integrity and public service.
ใครก็ตามที่ได้ติดตามเส้นทางอาชีพของเธอ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษสุดท้าย, โทมัสได้สร้างความปั่นป่วนกับผู้อยู่ในอาณัติอำนาจซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วยการถามถึงการตายของพลเมืองในบรรดาสงครามอเมริกัน, พันธมิตรบาปกับอิสราเอล, การไม่ยอมปริปากเรื่องคลังแสงนิวเคลียร์, และวิธีการที่พวกเขาซ่อนเร้นใบหน้าของสงคราม.  ผู้ทรงอำนาจต้องการปิดปากเธอ และ ได้ใช้วิธีตัดภาพวีดีโอ ๓๐ วินาที เพื่อลบล้างการบริการสาธารณะด้วยศักดิ์ศรีถึง ๗ ทศวรรษของเธอ.
So you can imagine how honored we were when in the fall of 2010, we were invited to meet at length with Helen.  Mutual friends had put us in touch and she welcomed us to join her at her home. She graciously received us, and spoke for hours about a dizzying array of topics.  Her mind was incredibly sharp, having absorbed a number of daily papers that day, and numerous books on current events were neatly stacked, bookmarked and referenced throughout our conversation.  Incredibly open to any question, (Who was the best president? “It would have been Lyndon Johnson, if it wasn’t for the Vietnam War.  His War on Poverty was an incredible achievement.  But the Vietnam war haunted him.”)
คุณคงจินตนาการออกว่า พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติเพียงไร เมื่อในฤดูใบไม้ผลิของปี ๒๕๕๓, พวกเราได้รับเชิญให้พบกับเฮเลนอย่างสบายๆ.  เพื่อนที่รู้จักทั้งสองฝ่าย ได้ช่วยให้เราติดต่อกันได้ และ เธอก็ต้อนรับให้พวกเราไปที่บ้านของเธอ.  เธอต้อนรับพวกเราด้วยมารยาทที่งดงาม, และพูดคุยเป็นเวลาหลายชั่วโมงเกี่ยวกับหัวข้อหนักๆ มากมาย.  จิตของเธอคมชัดอย่างไม่น่าเชื่อ, ด้วยได้ซึมซับหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับของวันนั้น, และหนังสืออีกหลายเล่มเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่วางซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ, มีเครื่องคั่นหน้าและอ้างอิงตลอดการสนทนาของเรา.  เธอเปิดใจต่อคำถามใดๆ อย่างไม่น่าเชื่อ, (ใครเป็นประธานาธิบดีที่ดีที่สุด?  “น่าจะเป็นลินดอน จอห์นสัน, หากไม่ใช่เพราะสงครามเวียดนาม.  ผลงานเยี่ยมยอดของเขาคือ สงครามแก้จน.  แต่สงครามเวียดนามกลับตามหลอกหลอนเขา”.)
Helen was the consummate journalist even in her own living room, peppering us both with questions, unflinchingly taking it all in.  She moved seamlessly from talking about her Detroit childhood to her trip to China on Air Force One with Richard Nixon, always seeing the interconnectedness of the past and how it influences the present.  When asked about our work in the Middle East, we hesitated at first to answer fully about what we witnessed during the ongoing Israeli occupation, and the Iraq wars. She appeared so very concerned about the experiences of children in these places, and was visibly troubled by what she knew.  Helen was so clearly empathetic to the plight of children, those living in refugee camps, those incarcerated, those who are suffering, that it seemed unfair to burden her further with eyewitness accounts after all she had recently been through.  But her curiosity and questions were no match for us, and like always, Helen asked the questions she wanted.
เฮเลน เป็นนักข่าวเต็มตัวแม้แต่ในห้องรับแขกของเธอเอง, โรยใส่พวกเราด้วยคำถามมากมาย, ไม่หวั่นเกรงที่จะรับไว้ทั้งหมด.  เธอเคลื่อนการสนทนาอย่างไร้รอยต่อจากการพูดถึงวัยเด็กในดีทรอยต์ของเธอ สู่การเดินทางสู่ประเทศจีนบน Air Force One กับริชาร์ด นิกสัน, ด้วยการเห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์เกี่ยวกัน ของอดีตและปัจจุบัน และ มันมีอิทธิพลต่อปัจจุบันอย่างไร.   เมื่อถูกถามถึงงานของเราในตะวันออกกลาง, ตอนแรกเราลังเลที่จะตอบเต็มที่ถึงสิ่งที่พวกเราได้ประจักษ์เห็นที่นั่น ในระหว่างที่เกิดการยึดครองโดยชาวอิสราเอล, และ ในสงครามอิรัค.   เธอแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดถึงความห่วงใยต่อประสบการณ์ของเด็กๆ ในที่เหล่านี้, และก็ทุกข์ใจอย่างเห็นได้ชัดจากสิ่งที่เธอได้รับรู้.  เฮเลนเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ที่เด็กๆ ต้องผจญอย่างชัดเจน, พวกที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย, พวกที่ถูกจองจำ, พวกที่กำลังเดือดร้อน, ดูเหมือนมันไม่ยุติธรรมเลยที่จะทับถมเธอด้วยการเล่าสิ่งที่พวกเราได้เห็นมา ให้เป็นการเพิ่มภาระ หลังจากที่เธอเพิ่งผ่านมรสุมอาชีพมาหยกๆ.  แต่ความอยากรู้อยากเห็น และ การตั้งคำถามของเธอ เหนือชั้นกว่าพวกเรามาก, และเฉกเช่นทุกครั้ง, เฮเลนถามคำถามที่เธอต้องการ.
A few nights later, over tea—then apple martinis and a full course dinner—Helen continued her line of questioning.  She was very interested in the work of the organization we work with, The Middle East Children’s Alliance, and pledged to speak in San Francisco at a benefit for humanitarian aid for children in Palestine.  Unfortunately, Helen’s physical health soon deteriorated further, preventing her from making the 3000-mile flight.  But the time we spent with Helen Thomas stayed with us, and we were troubled that she was never able to come speak at an event, because we wanted to see her celebrated by the thousands of people we knew who respected her, loved her and were horrified by how she had been treated and forced into exile; even by some close friends and MECA supporters.
อีกสองสามคืนต่อมา, ยามว่างดื่มน้ำชา—ตามด้วยมาร์ตินีแอปเปิล และ อาหารเย็น—เฮเลนยังคงสาวต่อด้วยคำถามของเธอ.  เธอสนใจงานขององค์กรที่เราทำงานด้วย, พันธมิตรของเด็กในตะวันออกกลาง, และเสนอว่าจะพูดในซานฟรานซิสโก เพื่อหารายได้ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่เด็กๆ ในปาเลสไตน์.  โชคไม่ดี, สุขภาพของเฮเลนถดถอยเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว, ทำให้เธอไม่สามารถบินเส้นทาง ๓,๐๐๐ ไมล์ได้.  แต่ห้วงเวลาที่พวกเราได้อยู่ร่วมกับเธอยังดำรงอยู่กับเรา, และพวกเราก็เสียใจที่เธอไม่อาจมาพูดในงานดังกล่าว, เพราะเราต้องการเห็นเธอได้รับการเฉลิมฉลองโดยคนนับพันที่พวกเรารู้จักที่เคารพเธอ, รักเธอ และ พรั่นพรึงกับสิ่งที่ได้กระทำต่อเธอ และบังคับให้เธอต้องเนรเทศ; แม้แต่แค่เพื่อนสนิทและ ผู้สนับสนุน MECA.
Two years later, immediately after the “Operation Pillar of Defense”—the eight day bombing of Gaza by Israel where 158 Palestinians were killed, 30 of them children—we crossed the Erez crossing from Israel into Gaza City.  A week after we arrived, we were out late in the early morning hours conversing with journalists and other internationals. The topic of the Arab Spring and the role of social media were hot topics of discussion.   A young Palestinian journalist, recently returned to report on Gaza after completing studies in London, stated to us that she wanted to be the next Helen Thomas.  
สองปีต่อมา, ทันทีหลังจาก “Operation Pillar of Defense”—การทิ้งระเบิดในกาซา ๘ วัน โดยอิสราเอล ซึ่งฆ่าชาวปาเลสไตน์ ๑๕๘ คน ในจำนวนนั้นเป็นเด็ก ๓๐ คน—เราได้ข้าม ทางข้าม Erez จากอิสราเอลสู่เมืองกาซา.  หนึ่งสัปดาห์หลังจากมาถึง, เราได้นั่งสนทนาจนถึงสว่างกับนักข่าวและคนนานาชาติอื่นๆ.  หัวข้อ อาหรับสปริง และ บทบาทของ โซเชียลมีเดีย เป็นประเด็นร้อนถกกัน.  นักข่าวสาวปาเลสไตน์คนหนึ่ง, เพิ่งกลับจากการทำรายงานกาซา หลังจากจบการศึกษาในลอนดอน, ได้บอกพวกเราว่า เธอต้องการจะเป็นเฮเลนคนถัดไป.
Another journalist responded to her by saying, “Oh, you mean because of her comments on Palestine.”
“No, that is not why.  There are two things that will change the world,” she said, “Media and women: and I am both. “
นักข่าวอีกคนตอบโดยพูดว่า, “อ๋อ, คุณหมายถึง เพราะความเห็นของเธอเรื่องปาเลสไตน์”.  “ไม่ใช่ค่ะ, นั่นไม่ใช่เหตุผล.  มีสองสิ่งที่จะเปลี่ยนโลก,” เธอกล่าว, “สื่อ และ ผู้หญิง: และฉันเป็นทั้งสองอย่าง”.
This is Helen Thomas’ legacy. This is proof that the uncomfortable questions will continue to be asked.  That is what Helen wanted. Accountability of the powerful, a fearless press in search of the truth.
นี่คือตำนานของเฮเลน โทมัส.  นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า คำถามที่น่ารำคาญใจ จะยังถูกตั้งและถามต่อไป.  นั่นเป็นสิ่งที่เฮเลนต้องการ.  ความน่าเชื่อถือ และ พึ่งอาศัยได้ของผู้ทรงอำนาจ, สื่อที่ไร้ความเกรงกลัวในการแสวงหาความจริง.
That is why we think August 4th should be declared Helen Thomas Day, a birth date she shares with Barack Obama.  But August 4th should be a day we celebrate only Helen Thomas, not Barack Obama, for weak hearted men who launch distant wars should be relegated to the dustbins of history, and fearless women who challenge empire and live a life unintimidated should be honored.
นั่นคือ เหตุผลที่ทำไม เราจึงคิดว่า ๔ สิงหาคม ควรถูกยกย่องให้เป็น วันเฮเลน โทมัส, วันเกิดที่เธอแบ่งปันกับบารัค โอบามา.  แต่เราควรเฉลิมฉลอง ๔ สิงหา สำหรับเพียง เฮเลน โทมัส, ไม่ใช่บารัค โอบามา, เพราะชายที่หัวใจอ่อนแอ ผู้เริ่มสงครามในแดนไกล ควรลดตำแหน่งลงถังผงของประวัติศาสตร์, และ หญิงที่ไร้ความเกรงกลัว ผู้ท้าทายจักรวรรดิ และ ยืนหยัดดำรงชีพอย่างไม่ยอมสยบต่อการข่มขู่ ควรได้รับการยกย่อง.
เซ็นในฎีกาเพื่อขอให้ทำเนียบขาว ประกาศ ๔ สิงหาคม ให้เป็น “วันเฮเลน โทมัส”

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 License
Description: C:\Users\Administrator\Documents\my doc 7-25-13\commondream\image\barbara_lubin.jpg
Barbara Lubin is a lifelong peace, justice and disability rights activist. She is the founder and Executive Director of the Middle East Children’s Alliance (MECA), a non-profit organization which since 1988, has been working for the rights and the well being of children in the Middle East.
บาร์บารา ลูบิน เป็นนักกิจกรรมเพื่อสันติ, ความเป็นธรรม และ สิทธิของคนพิการ ตลอดชีพ.  เธอเป็นผู้ก่อตั้งและ ผอ บริหาร ของ พันธมิตรของเด็กๆ ตะวันออกกลาง (MECA), อันเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร ที่ทำงานตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ เพื่อปกป้องสิทธิและความอยู่ดีของเด็กๆ ในตะวันออกกลาง.
Description: C:\Users\Administrator\Documents\my doc 7-25-13\commondream\image\danny muller 7-25-13.jpg
Danny Muller has worked with the Middle East Children's Alliance since they were jointly breaking the economic sanctions against Iraq with Voices in the Wilderness in the 1990’s. He has worked with MECA in Iraq and Palestine. He is a war tax resister and war abolitionist.
แดนนี มูลเลอร์ ได้ทำงานกับ MECA ตั้งแต่เมื่อครั้งทั้งสองได้ร่วมกันทลายกำแพงลงโทษทางเศรษฐกิจต่ออิรัค ด้วย “เสียงในที่รกร้างว่างเปล่า” ในทศวรรษ ๒๕๓๓.  เขาได้ทำงานกับ MECA ในอิรัคและปาเลสไตน์.  เขาเป็นนักต่อต้านไม่จ่ายภาษีสงคราม และ นักล้มเลิกสงคราม.

Published on Tuesday, July 23, 2013 by Common Dreams

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น