วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

264. สังเวยชีวิต พระแม่-ลูก น้ำโขง เพื่อปั่นพลังไฟฟ้า ให้อุตสาหกรรม & วิถีเมือง อยู่รอด ในประเทศไทย


264.  Sacrificing Life of Mother-Children of Mekong for Electricity Power for Survival of Industry & Urban Lifestyle in Thailand

Dams Threaten Mekong Basin Food Supply
By Simba Shani Kamaria Russeau
เขื่อนคุกคามแหล่งอาหารในลุ่มน้ำโขง
-ซิมบา ชานิ คามาเรีย รุสโซ
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
A farmer looks out at a flooded paddy field in Laos. Credit: E Souk/IPS
BANGKOK, Jun 20 2013 (IPS) - The future of food security in the Mekong region lies at a crossroads, as several development ventures, including the Xayaburi Hydropower Project, threaten to alter fish migration routes, disrupt the flow of sediments and nutrients downstream, and endanger millions whose livelihoods depend on the Mekong River basin’s resources.
อนาคตของความมั่นคงทางอาหารในภาคพื้นแม่โขงอยู่บนทางแยก, เมื่อโครงการพัฒนามากมาย, รวมทั้งโครงการพลังงานน้ำ ไซยบุรี, ขู่ที่จะเปลี่ยนเส้นทางการอพยพของปลา, ขัดขวางการไหลของตะกอนและสารอาหารสู่ปลายน้ำ, และทำให้วิถีชีวิตของคนหลายล้านที่ขึ้นกับทรัพยากรของลุ่มน้ำโขง เป็นอันตราย.
Running through China, Myanmar (formerly Burma), Laos, Thailand and Cambodia to the Mekong Delta in Vietnam, this is Asia’s seventh longest transboundary river.
นี่เป็นแม่น้ำข้ามพรมแดนสายยาวที่สุดลำดับที่ ๗ ของเอเชียที่ไหลผ่านจีน, เมียนม่าร์, ลาว, ไทย และ กัมพูชา สู่ปากน้ำโขงในเวียดนาม.
An estimated 60 million people live within the lush river basin, and nearly 80 percent depend on the Lower Mekong’s waters and intricate network of tributaries as a major source of food.
ประเมินว่า ประชาชน ๖๐ ล้านคนอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำที่เขียวชอุ่มนี้, และเกือบ 80% พึ่งน้ำจากแม่น้ำโขงตอนล่าง และเครือข่ายสายน้ำย่อยๆ อันซับซ้อน ในฐานะที่เป็นแหล่งอาหาร.
But if all goes according to plan, 88 dams will obstruct the river’s natural course by 2030. Seven have already been completed in the Upper Mekong basin in China, with an estimated twenty more either planned or underway in the northwest Qinghai province, the southwestern region of Yunnan and Tibet.
แต่หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน, ๘๘ เขื่อนจะขวางกั้นทางน้ำไหลตามธรรมชาติภายในปี ๒๕๗๓.  เจ็ดเขื่อนสร้างเสร็จแล้วในลุ่มน้ำโขงตอนบนในจีน, อีกยี่สิบกว่าเขื่อน ทั้งที่อยู่ในแผนแล้ว หรือ กำลังดำเนินการในตอนตะวันตกเฉียงเหนือของชิงไห่, ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนานและธิเบต.
Construction of the 3.5-billion-dollar Xayaburi Dam on the Lower Mekong in northern Laos is the first of eleven planned dam projects on the main stem of the Mekong River, with nine allocated for Laos and two in Cambodia.
การสร้างเขื่อนไซยบุรี มูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์ บนแม่น้ำโขงตอนล่าง ในภาคเหนือของลาว เป็นเขื่อนแรกในสิบเอ็ดเขื่อนตามแผน บนสาขาน้ำหลักของแม่น้ำโขง, โดย ๙ เขื่อนสำหรับลาว และ ๒ เขื่อนในกัมพูชา.
Construction began in 2010 and as of last month the project was 10 percent complete.
การก่อสร้างได้เริ่มแล้วในปี ๒๕๕๓ และ ดังรายงานในปลายเดือนที่แล้ว ได้เสร็จไปแล้ว 10%.
At best these development projects will alter the traditional patterns of life here; at worst, they will devastate ecosystems that have thrived for centuries.
อย่างดีที่สุด โครงการพัฒนาเหล่านี้ จะเปลี่ยนแบบแผนชีวิตดั้งเดิม; อย่างแย่ที่สุด, มันจะทำลายล้างระบบนิเวศที่ได้เจริญเติบโตด้วยดีมาหลายศตวรรษ.
Over 850 freshwater fish species call the Mekong home, and several times a year this rich water channel is transformed into a major migration route, with one third of the species travelling over 1,000 kilometres to feed and breed, making the Mekong River basin one of the world’s most productive inland fisheries.
ปลาน้ำจืดกว่า ๘๕๐ สายพันธุ์มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำโขง, และหลายๆ ครั้งทุกปี ร่องน้ำอันอุดมสมบูรณ์นี้ ก็แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางอพยพหลัก, โดย ๑/๓ ของสายพันธุ์ท่องน้ำกว่า ๑,๐๐๐ กม เพื่อกินและผสมพันธุ์, ทำให้ลุ่มน้ำโขงเป็นแหล่งประมงในแผ่นดินใหญ่ที่มีผลิตภาพสูงที่สุดในโลกสายหนึ่ง.
Large-scale water infrastructure development projects such as hydropower dams have already damaged the floodplains in the Lower Mekong and in the Tonlé Sap Lake in Cambodia, affecting water quality and quantity, lowering aquatic productivity, causing agricultural land loss and a 42-percent decline in fish supplies.
   โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนพลังงานน้ำ ได้ทำลายที่ราบชุ่มน้ำในแม่น้ำโขงตอนใต้ และ ในทะเลสาบโตนเลสาป ในกัมพูชา, ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณน้ำ, ลดผลิตภาพของสัตว์น้ำ, ทำให้สูญเสียที่ดินเพาะปลูก และ แหล่งประมงลดลง 42%.
This spells danger in a region where fish accounts for 50 to 80 percent of daily consumption and micronutrient intake, Ame Trandem, Southeast Asia programme director for the non-profit International Rivers, told IPS.
นี่เป็นการร่ายมนตร์อันตรายแก่ภูมิภาคที่ 50-80% ในอาหารบริโภคประจำวันและสารอาหารรองมาจากปลา, เอมี ทรานเดม, ผอ โปรแกมอุษาคเนย์ ขององค์กรไม่แสวงกำไร แม่น้ำระหว่างประเทศ กล่าว.
Locating alternative protein sources such as livestock and poultry is no easy task and would require 63 percent more pasture lands and more than 17 percent more water.
การหาแหล่งโปรตีนอื่น เช่น ปศุสัตว์และสัตว์ปีก ไม่ใช่เรื่องง่าย และ จำเป็นต้องมีทุ่งหญ้าอีก 63% และ น้ำมากกว่านี้อีก 17%.
“Cambodia is the largest fish eating country in the world. Get rid of the fish and you’re going to have serious problems because there is not enough livestock in Cambodia and Laos to compensate for the loss,” Trandem said.
“กัมพูชาเป็นประเทศที่กินปลามากที่สุดในโลก.  หากกำจัดปลาออกไป แล้วคุณจะเกิดปัญหารุนแรง เพราะไม่มีปศุสัตว์มากพอในกัมพูชาและลาว ที่จะชดเชยกับการสูญเสีย”, ทรานเดมกล่าว.
With a total population of over 16 million, the Mekong Delta is known as the ‘rice bowl’ of Vietnam. It nurtures vast paddy fields that are responsible for 50 percent of national rice production and 70 percent of exports.
ด้วยประชากรกว่า ๑๖ ล้าน, ปากน้ำโขงเป็นที่รู้จักในฐานะ ชามข้าว ของเวียดนาม.  มันหล่อเลี้ยงทุ่งนาผืนใหญ่ ที่รับผิดชอบในการผลิตข้าวของชาติถึง 50% และ เป็น 70% ของข้าวที่ส่งออก.
This low-lying delta depends on a natural cycle of floods and tides, with which Vietnamese farmers have long synchronised their planting and harvesting calendars.
ปากน้ำนี้ ต้องอาศัยวัฏจักรน้ำท่วมและกระแสน้ำ, ซึ่งชาวนาเวียดนามได้กำหนดปฏิทินการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวที่สอดคล้องกับวัฏจักรนั้น.
Now, experts like Geoffrey Blate, senior advisor of landscape conservation and climate change for the World Wildlife Fund’s (WWF) Greater Mekong Programme in Thailand, say this delicate ecosystem is vulnerable to changes brought on by global warming and mega development projects.
ตอนนี้, ผู้เชี่ยวชาญ เช่น เจฟฟรี่ย์ เบลด, ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านอนุรักษ์ภูมิทัศน์และภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง สำหรับโปรแกมแม่น้ำโขงในประเทศไทย ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF), กล่าวว่า ระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนบอบบางนี้ มีความเปราะบางต่อความเปลี่ยนแปลงที่โลกร้อน และ โครงการพัฒนามหึมานำมาให้.
Rising sea levels and salt water intrusion have already put Vietnamese communities in the Mekong Delta on red alert, “while sediment losses caused by upstream dams will exacerbate these problems. In addition, the increased precipitation and heavier downpours anticipated from climate change may also substantially alter flood regimes in the Delta,” Blate told IPS.
ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และ การรุกล้ำของน้ำเค็ม ได้สร้างความตื่นตระหนกแก่ชุมชนชาวเวียดนามในปากน้ำโขง, “ในขณะที่ตะกอนสูญหายไปเพราะเขื่อนเหนือน้ำ จะทำให้ปัญหาเหล่านี้ทรุดหนักลง.  เหนือกว่านั้น, ฝนที่ตกหนักและมากขึ้นดังคาดได้จากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อาจเปลี่ยนแปลงระบอบน้ำท่วมในปากน้ำได้”, เบลด กล่าว.
If all the dams are built, experts estimate that 220,000 to 440,000 tonnes of white fish would disappear from the local diet, causing hunger and leading to a rapid decline in rice production.
หากสร้างเขื่อนทั้งหมดเสร็จ, ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า ปลาเนื้อขาว 220,000 ถึง 440,000 ตันจะสูญหายไปจากโภชนาการท้องถิ่น, สร้างความหิวโหย และ นำไปสู่การลดลงของการผลิตข้าว.

Electricity over sustainability? / ไฟฟ้า เหนือ ความยั่งยืน?

Citing a shortage of energy, Thailand’s leading state-owned utility corporation, EGAT, signed an agreement to purchase 95 percent of the Xayaburi dam’s anticipated 1,285 megawatts (MW) of electricity.
            ด้วยการอ้างเรื่องพลังงานขาดแคลน, สาธารณูปโภคแนวหน้าที่เป็นรัฐวิสาหกิจของไทย, กฟผ, ได้ลงนามในข้อตกลงซื้อ 95% ของไฟฟ้า 1,285 เม็กกะวัตต์ (MW) ที่คาดว่าจะผลิตได้จากเขื่อน ไซยบุรี.
Six Thai commercial banks comprise the financial muscle of the project, while construction is in the hands of Thailand’s CH. Karnchang Public Company Limited, with some support from the Laotian government.
หกธนาคารพาณิชย์ของไทย เป็นกล้ามการเงินของโครงการ, ในขณะที่การก่อสร้างก็อยู่ในมือของบริษัทไทย ช.การช่าง, ด้วยการสนับสนุนบ้างจากรัฐบาลลาว.
But energy experts like Chuenchom Sangarasri Greacen, author of Thailand’s Alternative Power Development Plan, have poked holes in the claim that the dam is required to meet growing energy needs.
แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ชื่นชม สันกราศี เกรเซน, ผู้เขียน แผนพัฒนาพลังงานทางเลือกของประเทศไทย, ได้เจาะรูในข้ออ้างที่ว่า จำเป็นต้องมีเขื่อน เพื่อตอบสนองความต้องการทางพลังงาน.
Thailand is a net importer of electricity, but a lot of it is utilised wastefully, she told IPS, adding that countries like Laos and Cambodia have a much more immediate need for electricity: the World Bank estimates that only 84 percent of the population in Laos and 26 percent in Cambodia have access to electricity, compared to 99.3 percent in Thailand.
ประเทศไทยเป็นผู้สั่งเข้าสุทธิไฟฟ้า, แต่ส่วนใหญ่ถูกใช้อย่างสิ้นเปลือง, เธอกล่าว, และว่า ประเทศเช่นกัมพูชา มีความจำเป็นที่เร่งด่วนกว่าในการใช้ไฟฟ้า: ธนาคารโลกประเมินว่า ประชากรเพียง 84% ในลาว และ 26% ในกัมพูชา เข้าถึงไฟฟ้า, เมื่อเทียบกับ 99.3% ในไทย.
But instead of developing their own generation capacities, these governments have chosen export projects that profit corporations over people.
แต่แทนที่จะพัฒนาสมรรถนะในการผลิตเอง, รัฐบาลเหล่านี้ ได้เลือกโครงการส่งออก ที่ให้บรรษัทได้กำไรเหนือประชาชน.
“Thailand is creating a lot of environmental, social and food issues for local communities by extending its grid to draw power from beyond our borders,” Greacen said.
“ไทยกำลังสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม, สังคม และ อาหารมากมายแก่ชุมชนท้องถิ่น ด้วยการยืดโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อดูดพลังงานจากนอกพรมแดนของตน”, เกรเซน กล่าว.
Already, 333 families from villages like Houay Souy in north-central Laos, who were moved to make way for the dam, are feeling the first hints of greater suffering to come.
ตอนนี้, ๓๓๓ ครอบครัวจากหมู่บ้าน เช่น ห้วยทรายในภาคกลางตอนเหนือของลาว, ผู้ถูกย้ายออกเพื่อเปิดทางให้เขื่อน, กำลังรู้สึกถึงลางแห่งความทุกข์อันยิ่งใหญ่กว่าที่จะมาถึง.
Once a self-sufficient community that generated revenues via gold panning and cultivated their own riverbank gardens to produce rice, fruits and vegetables, villagers are now finding themselves without jobs, very little money and not enough food.
ครั้งหนึ่ง เคยเป็นชุมชนที่พึ่งตนเองได้ ที่สร้างรายได้จากการร่อนทอง และ ทำสวนตามฝั่งน้ำ เพื่อผลิตข้าว, ผลไม้ และ ผัก, ชาวบ้านตอนนี้ กลับพบว่าตัวเองไร้งาน, มีเงินนิดเดียว และ ไม่มีอาหารเพียงพอ.
“The villagers’ primary source of food was fishing and agriculture. In their new location, about 17 km away from their old homes, they were given small plots of agricultural land but not enough for their daily consumption needs,” said Trandem.
“แหล่งอาหารปฐมของชาวบ้าน คือ ปลาและเกษตร.  ในที่อยู่ใหม่, ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๑๗ กม จากที่อยู่เดิม, พวกเขาได้ที่แปลงเกษตรเล็กๆ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคประจำวัน”, ทรานเดม กล่าว.
“Ch. Karnchang never compensated them for lost fisheries, fruit trees or the riverbank gardens that were washed away. Their new homes were built with poor quality wood, which was quickly eaten into by termites, so what little compensation they did receive went to fixing their new homes,” she added.
“ช. การช่าง ไม่เคยชดเชยประมง ที่พวกเขาต้องสูญเสีย, ไม้ผล หรือ สวนริมฝั่งที่ถูกชะล้างไป.  บ้านใหม่ของพวกเขาสร้างด้วยไม้คุณภาพต่ำ, ซึ่งถูกปลวกกินไปอย่างรวดเร็ว, ดังนั้น เงินชดเชยเล็กน้อยไม่ว่าจะได้รับมาเท่าไร ต้องเสียไปกับการซ่อมบ้านใหม่”, เธอเสริม.
These families, numbering about five members per household, are now barely surviving on 10 dollars per month and symbolise the gap between so-called poverty alleviation programmes and their impact on the ground.
ครอบครัวเหล่านี้, ประมาณ ๕ คนต่อครัวเรือน, ตอนนี้อยู่รอดอย่างยากเย็นด้วยเงิน ๑๐ ดอลลาร์/เดือน และ เป็นสัญลักษณ์ของช่องว่าง ระหว่างสิ่งที่เรียกว่า โปรแกมบรรเทาทุกข์ และ ผลกระทบในพื้นที่.
“The Laos government claims that dams will generate revenue but in reality…projects like Xayaburi basically export benefits and profits away from the host country while smaller projects that are more economically sustainable are being ignored,” says Greacen.
“รัฐบาลลาว อ้างว่า เขื่อนจะสร้างรายได้ แต่ในความเป็นจริง...โครงการเช่น ไซยบุรี โดยพื้นฐาน เพียงส่งออกประโยชน์ และ กำไรออกไปจากประเทศ ในขณะที่โครงการน้อยกว่า ที่มีความยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจกว่า กลับถูกเมิน”, เกรเซน กล่าว.
She believes the Laotian government should explore small-scale renewable energy projects like biomass and micro-hydro plants that would attract local investment and directly serve local populations.
เธอเชื่อว่า รัฐบาลลาวควรสำรวจโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก เช่น โรงงานพลังน้ำขนาดเล็ก และ ชีวมวล ว่า จะดึงดูดการลงทุนท้องถิ่น และ รับใช้ประชากรท้องถิ่นมากกว่า.
Blate also suggested building diversion canals for smaller dams, rather than obstructing the main stem of the Mekong River.
เบลดแนะนำด้วยว่า การสร้างคลองเบี่ยงน้ำสำหรับเขื่อนที่เล็กกว่า, แทนที่จะขวางทางน้ำของสาขาหลักของแม่น้ำโขง.

TerraViva FAO38, Trade & Investment, Water & Sanitation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น