วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

265. วิกฤตโลกร้อนจะฟื้นความเป็นมนุษย์—น้ำใจ เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกันยามยากหรือไม่?


265.  Will Global Warming Crises Renew Human Innate Empathy and Solidarity?


Is Environmental Action Impossible in Corporate-Dominated Age?
 by Linda McQuaig
ปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม เป็นไปไม่ได้หรือ ในยุคบรรษัทเป็นใหญ่?
-ลินดา แมคเควก

Perhaps the only thing more stunning than Alberta’s ruinous flooding has been the realization that not even a disaster of this magnitude, right in the heart of oil country, seems sufficient to break the torpor surrounding climate change.
บางทีสิ่งเดียวที่น่าตกตะลึงมากกว่าอุทุกภัยหายนะของอัลเบอร์ตา คงเป็นความตระหนักที่ว่า หายนะแม้ใหญ่ขนาดนั้น, เกิดขึ้นในใจกลางของประเทศน้ำมัน, ดูเหมือนจะไม่มากพอที่จะทะลุทะลวงความนิ่งเฉยต่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.
Indeed, federal and Alberta authorities seem undeterred in their dream of turning Canada into an energy superpower, even if it means immersing the country neck-deep in water.
จริงแท้, ผู้มีอำนาจในรัฐบาลกลางและอัลเบอร์ตาดูเหมือนไม่มีอะไรจะขัดขวางความใฝ่ฝันของพวกเขาได้ ในการเปลี่ยนแคนาดาให้เป็นมหาอำนาจทางพลังงาน, แม้ว่าจะหมายถึงการจุ่มประเทศให้จมน้ำลึกถึงคอ.
The disconnect is stunning. Graphic footage of rivers overwhelming the nation’s oil capital appear on TV newscasts alongside perky ads about the benefits of the oilsands.
                ความไม่เชื่อมโยงกันเป็นสิ่งน่าตกตะลึง.  ภาพบันทึกของแม่น้ำที่กลากท่วมนครหลวงน้ำมันของชาติ ปรากฏเป็นข่าวในทีวี พร้อมๆ กับโฆษณาถึงผลประโยชน์ของทรายน้ำมัน.

Overlooked by a dinosaur statue, a worker cleans flood debris from benches at the Calgary Zoo. Linda McQuaig wonders why our large-brained species seems unable to figure out how to protect ourselves from catastrophic weather events. Dinosaurs, with their tiny brains, at least had an excuse. (Photo: Any Clark, Reuters)

Before the floodwaters totally engulf us, it’s worth pondering what has gone so terribly wrong that we — a highly touted species with a large, complex brain — seem unable to figure out how to protect ourselves from the catastrophic weather events that scientists have told us to expect. Dinosaurs, with their tiny brains, at least had an excuse.
ก่อนที่น้ำท่วมจะดูดกลืนพวกเรา, มันมีค่าพอที่จะลองคิดว่า อะไรที่ผิดพลาดไปอย่างมากชนิดที่เรา—สายพันธุ์ที่ชวนให้เชื่อว่ามีมันสมองใหญ่และซับซ้อน—ดูเหมือนจะไม่สามารถหาทางปกป้องตัวพวกเราเองได้จากภัยพิบัติภูมิอากาศ ที่นักวิทยาศาสตร์ ได้บอกพวกเราให้คอยดู.  ไดโนเสาร์, ที่มีสมองน้อยนิด, อย่างน้อยก็มีข้อแก้ตัว.
In particular, how is it that the world community managed to come together and deal successfully with the big global environmental crisis of the 1970s — ozone layer depletion — and yet seems incapable of making any progress in tackling the environmental crisis of our time?
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อ ประชาคมโลกได้จัดการรวมตัวและต่อรองกันได้สำเร็จในการรับมือกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกในทศวรรษ ๒๕๑๓—การสูญเสียชั้นโอโซน—แต่แล้วก็ดูเหมือนไม่สามารถทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างไร ในการแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อมในห้วงเวลาของเรา?
There are some striking parallels between the two crises. In both, an overwhelming scientific consensus quickly emerged about the severity and scope of the problem, a highly organized campaign based at the United Nations swung into action, while powerful corporate interests invested huge resources in blocking meaningful progress.
มีบางอย่างที่คู้ขนานกันอย่างเห็นได้ชัดในวิกฤตทั้งสอง.  ในทั้งสองกรณี, มีฉันทามติจากวงการวิทยาศาสตร์โผล่ขึ้นมามากมายรวดเร็ว เกี่ยวกับความรุนแรงและขอบเขตของปัญหา, การรณรงค์ที่จัดกระบวนอย่างดีมีฐานใน ยูเอ็น ที่เริ่มปฏิบัติการเต็มที่, ในขณะที่บรรษัททรงอำนาจ ได้ลงทุนทรัพยากรมหาศาลเพื่อปกป้องผลประโยชน์ตัวเองด้วยการขัดขวางความก้าวหน้าอย่างมีความหมายใดๆ.
In the ozone case, however, the public interest triumphed. Within about a dozen years, a global treaty, the Montreal Protocol, was signed, significantly limiting ozone depletion, hailed by former UN secretary-general Kofi Annan as “perhaps the single most successful international agreement.”
ในกรณีของโอโซน ประโยชน์สาธารณะได้รับชัยชนะ.  ภายในสิบกว่าปี, มีการลงนามในสนธิสัญญาโลก, พิธีสารมอนทรีอัล, ซึ่งจำกัดการสูญชั้นโอโซนได้อย่างมีนัยสำคัญ, ซึ่ง อดีตเลขาธิการ ยูเอ็น โคฟี อันนัน ได้ยกย่องว่า “อาจเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศอันเดียวที่สำเร็จมากที่สุด”.
But would such resolute international action on the ozone crisis be possible today — given the dramatic rise in corporate power in recent decades?
แต่ปฏิบัติการระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขวิกฤตโอโซน จะเป็นไปได้ไหมทุกวันนี้—เมื่ออำนาจบรรษัทพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในทศวรรษที่ผ่านมา?
The climate battle, launched in 1988 right after the signing of the Montreal Protocol, has been played out in a very different age — one dominated by the mantra “government bad, private sector good” when corporate power has been at its zenith, enjoying a virtual stranglehold on key public policy decisions.
ศึกภูมิอากาศ, เริ่มในปี ๒๕๓๑ หลังจากการลงนามพิธีสารมอนทรีอัล, แสดงออกในยุคที่ต่างออกไป—มนตร์ครอบงำบทหนึ่ง “รัฐบาลเลว, (ธุรกิจ) ภาคเอกชนดี” เมื่ออำนาจบรรษัทบรรลุจุดสุดยอด, เข้าไปจับจองตำแหน่งการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะสำคัญๆ ต่างๆ.

The change can be seen vividly at the UN. / การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดแจ้งที่ ยูเอ็น

With the new anti-government, pro-business paradigm, the UN was transformed from a body aimed at regulating and monitoring international corporate behaviour to one that “partners” with the corporate sector, note Sabrina Fernandes and Richard Girard in Corporations, Climate and the United Nations, a report published by the Ottawa-based Polaris Institute.
                ด้วยวิถีทัศน์ใหม่ ต่อต้านรัฐบาล, เชิดชูธุรกิจ, ยูเอ็นได้พลิกผันจากการเป็นองคาพยพ ที่ทำหน้าที่ควบคุมและติดตามตรวจสอบ พฤติกรรมของบรรษัทนานาชาติ ไปเป็น การเป็น “หุ้นส่วน” กับภาคบรรษัท, ซาบินา เฟอร์นานเดส และ ริชาร์ด จิราร์ด ในรายงาน “บรรษัท, ภูมิอากาศ และ ยูเอ็น”, ซึ่งตีพิมพ์โดย สถาบัน โพลาริส ในอ๊อตตาวา.
Taking full advantage of this change, the fossil fuel industry became deeply embedded in every aspect of the UN climate change process, using its inside role to effectively scuttle progress, like a fox setting up headquarters right inside the henhouse.
ด้วยการฉวยโอกาสเต็มที่จากการเปลี่ยนแปลงนี้, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ได้ฝังตัวอย่างลึกล้ำในทุกๆ ด้านของความก้าวหน้าในด้านภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, และใช้บทบาทหน้าที่ของมันจากด้านใน ทำลายความก้าวหน้าได้อย่างมีประสิทธิผล, ประหนึ่งสุนัขจิ้งจอก ตั้งสำนักงานใหญ่ได้ภายในเล้าไก่.
Fernandes and Girard suggest that this ubiquitous corporate involvement — some 4,200 individual corporate lobbyists were given privileged access to the UN negotiating process — managed to render the originally promising international campaign against climate change effectively dead by 2011.
เฟอร์นานเดส และ จีราร์ด แนะว่า การเข้าร่วมทุกซอกมุมของบรรษัท—นักล็อบบี้ประมาณ 4,200 คน ได้รับอภิสิทธิ์การเข้าถึงกระบวนการต่อรองของ ยูเอ็น—ได้จัดการเฉือนคำสัญญาแรกเริ่มในการรณรงค์นานาชาติ ต่อต้านภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ให้ตายเรียบสนิทในปี ๒๕๕๔.
This suggests that the rising tide of corporate power in recent years, with its sweeping changes to the political culture and global policy agenda, may have been key to enabling the fossil fuel industry to derail a global campaign aimed at preserving the Earth for human habitation — a campaign that, by any logic, should have been unstoppable.
นี่เป็นการแนะว่า กระแสน้ำขาขึ้นของอำนาจบรรษัทในไม่กี่ปีมานี้, พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงแบบกวาดเรียบในวัฒนธรรมทางการเมือง และ วาระนโยบายโลก, อาจเป็นกุญแจไขให้อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ให้สับรางการรณรงค์โลก ที่มุ่งไปที่รักษาพิภพโลกเพื่อให้เป็นที่อยู่ของมนุษยชาติ—การรณรงค์ที่, ไม่ว่าจะด้วยตรรกะใดๆ, ควรจะไม่มีอะไรหยุดยั้งได้.
Ironically, the values encouraged in our business-dominated era discourage the sort of co-operation that may soon be more necessary than ever.
น่าหัวร่อเย้ยหยัน, คุณค่าที่ถูกโน้มน้าวในยุคธุรกิจเป็นใหญ่ ได้ลดทอนกำลังใจของการร่วมมือ ซึ่งอาจเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าก่อน ในเร็วๆ นี้.
Fortunately, Albertans, while steeped in the mantra of “survival of the fittest” and “greed is good,” seem to have set aside that training and pitched in selflessly to help each other through the crisis.
โชคดี, ชาวอัลเบอร์ตา, ในขณะที่ยึดมั่นในเวทย์มนตร์ของ “ความอยู่รอดของผู้แข็งแรงที่สุด” และ “ความโลภเป็นสิ่งดี”, ดูเหมือนจะวางมันไว้ข้างๆ และโถมเข้าช่วยกันและกันอย่างไม่เห็นแก่ตัว ให้ผ่านพ้นวิกฤต.
As we move deeper into the age of climate disaster, these traits of empathy and social solidarity — so belittled in our ultracompetitive, winner-take-all culture — may come to be appreciated again, even regarded as signs of sanity.
ในขณะที่พวกเราเคลื่อนลึกเข้าไปในยุคของหายนะภูมิอากาศ, คุณลักษณะของความเห็นอกเห็นใจ และ ความน้ำหนึ่งใจเดียวกันทางสังคม—ซึ่งถูกเหยียดหยามอย่างยิ่งในวัฒนธรรมแข่งขันสุดๆ, ผู้ชนะกินเรียบ—อาจกลับมาได้รับความชื่นชมอีกครั้ง, แม้แต่มองว่า เป็นสัญาญาณของความมีสุขภาพจิตปกติดี.
British writer George Monbiot nicely captured the warped nature of this culture, noting that it tends to result in psychopaths from poor backgrounds going to prison, while psychopaths from rich backgrounds go to business school.
นักเขียนชาวอังกฤษ ยอร์ช โมนบิอ็อท เขียนไว้ได้ดีถึง ธรรมชาติอันบิดเบี้ยวของวัฒนธรรมนี้, กล่าวว่า แนวโน้มคือ คนโรคจิตที่มีพื้นเพยากจน เข้าคุก, ในขณะที่พวกโรคจิต จากพื้นเพมั่งคั่ง เข้าโรงเรียนธุรกิจ.
Linda McQuaig is a columnist for the Toronto Star. She first came to national prominence in 1989 for uncovering the Patti Starr Affair, where a community leader was found to have used charitable funds for the purpose of making illegal donations to lobby the government. McQuaig was awarded the National Newspaper Award for her work on this story. The National Post has called her "Canada's Michael Moore". Linda is the author (with Neil Brooks) of Billionaires’ Ball: Gluttony and Hubris in an Age of Epic Inequality, published by Beacon Press.
ลินดา แมคเควก เป็นนักเขียนคอลัมน์ให้ Toronto Star.  เธอเริ่มมีชื่อเสียงระดับชาติในปี ๒๕๓๒ สำหรับผลงานเปิดโปง Patti Starr Affair, ที่ผู้นำชุมชนคนหนึ่งได้ใช้เงินบริจาคเพื่อการกุศล ไปใช้บริจาคอย่างผิดกฎหมายเพื่อล็อบบี้รัฐบาล.  แมคเควก ได้รับรางวัล นสพ แห่งชาติ สำหรับงานของเธอในเรื่องนี้.  National Post ได้ตั้งฉายาให้เธอเป็น “ไมเคิล มัวร์ แห่งแคนาดา”.  ลินดา เขียน (กับ นีล บรู๊คส์) หนังสือ “งานเลี้ยงของเศรษฐีพันล้าน: ความตะกละ...ในยุคมหากาพย์แห่งความไม่เท่าเทียม”, พิมพ์โดย Beacon Press.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น