วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

267. “คลุมหรือไม่, อย่างไร” เป็นการเมืองสำหรับสตรีมุสลิม


267.  “To Cover, or Not, How” Is Politics for Muslim Women

Spring Brings Differing Fruits for Tunisian Women
ฤดูใบไม้ผลิ (อาหรับสปริง) นำผลไม้อย่างอื่นสำหรับผู้หญิงตูนีเซีย
-หลุยส์ เชอร์วูด
                                                                            ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Description: C:\Users\Administrator\Documents\my doc 6-15-13\common dream\image\Enahda-demo-1-629x419.jpgWomen demonstrating for unity in Tunis. Credit: Louise Sherwood/IPS.
TUNIS, Jun 30 2013 (IPS) – The revolution that ousted dictator Ben Ali in January 2011 brought new, hard-won freedom to the Tunisian people. However as the country discovers whether secularism and growing political Islam can co-exist, some women are enjoying greater liberty to practice their religion while others are concerned that their rights may be eroded.
การปฏิวัติที่โค่นล้มเผด็จการ เบน อาลี ในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ ได้นำอิสรภาพที่ได้มาด้วยความยากลำบากแก่ประชาชนตูนีเซีย.  แต่ในขณะที่ประเทศค้นหาว่า การเมืองฆราวาส และ การเมืองอิสลามที่กำลังขยายตัวมากขึ้น สามารถอยู่ร่วมกันได้หรือไม่, ผู้หญิงบางคนก็มีเสรีภาพมากขึ้น ที่จะปฏิบัติตามศาสนา ในขณะที่คนอื่นๆ กังวลว่า สิทธิของพวกเธออาจถูกกัดกร่อน.
“As Arabic, Muslim women, in Tunisia, we had a lot of advantages under the rule of the last two presidents, but since the revolution we are worried about our rights,” says Sinda Garziz, 22, human rights activist. “Things can change very fast but we will not give up what we already fought for.”
“ในฐานะที่เป็นผู้หญิงอาหรับมุสลิม ในตูนีเซีย, เราได้เปรียบหลายอย่างภายใต้การปกคอรงของสองอดีตประธานาธิบดี, แต่หลังจากการปฏิวัติ เราห่วงสิทธิของพวกเรา”, ซินดา การ์ซิส, นักสิทธิมนุษยชน อายุ 22 กล่าว.  “อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก แต่เราจะไม่ยอมเสียสิ่งที่เราได้ต่อสู้ให้ได้มา”.
Tunisian women enjoy far greater rights than many of their North African or Middle Eastern sisters, and this is the result not only of government policies which promoted women’s equality and education but of a strong women’s rights movement which has a history dating back to the 1930s.
สตรีตูนีเชียมีสิทธิมากกว่าพี่น้องหญิงในหลายประเทศในอัฟริกาเหนือ หรือ ตะวันออกกลาง, และนี่ก็เป็นผล ไม่เพียงจากนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมและการศึกษาของผู้หญิง แต่เพราะขบวนการสิทธิสตรีที่เข้มแข็งด้วย ที่มีประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปถึงทศวรรษ ๒๔๗๓.
When the Tunisian revolution began in late 2010, triggering the Arab Spring and making Tunisia the first country to overthrow its dictator, women stood alongside men at the protests. However since the moderate Islamic party Ennahda came to power in the elections of October 2011, and with the rise of radical Islamist groups in the country such as the Salafists, many feminists from the political left are concerned about the growing Islamisation of the country.
เมื่อการปฏิวัติตูนีเซียเริ่มต้นในปลายปี ๒๕๕๓, ซึ่งจุดประกาย อาหรับสปริง และ ทำให้ตูนีเซียเป็นประเทศแรกที่โค่นเผด็จการของตน, ผู้หญิงยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายในการประท้วง.  แต่ ตั้งแต่พรรคอิสลามหัวปานกลาง เอ็นนาห์ดา ได้ขึ้นสู่อำนาจในการเลือกตั้ง ต.ค. ๒๕๕๔, และกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในประเทศ เช่น ซาลาฟิสต์ส, นักสตรีนิยมหลายคนจากการเมืองฝ่ายซ้ายเริ่มกังวลกันกระบวนการทำให้เป็นอิสลามที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศ.
“My problem is not with religion and the people who practice Islam. My problem is linking politics with religion and creating a fusion between that which is spiritual and that which is political. Tunisia is predominantly Muslim but there should not be religious parties at all,” says Besma Khalfaoui, a lawyer, women’s rights activist and widow of the political leader Chokri Belaid who was assassinated in February.
“ปัญหาของฉันไม่ใช่กับศาสนา และ คนที่ปฏิบัติตามอิสลาม.  ปัญหาของฉัน คือ เชื่อมโยงการเมืองกับศาสนา และ ทำให้เกิดการผสานระหว่างสิ่งที่เป็นจิตวิญญาณ และสิ่งที่เป็นการเมือง.  ตูนีเซียมีคนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม แต่ไม่ควรมีพรรคศาสนา”, เบสมา คาลฟาอุย, เป็นทนายความ, นักสิทธิสตรี และ แม่ม่ายของผู้นำการเมือง โชกรี บีเลด ผู้ถูกลอบสังหารในเดือนกุมภาพันธ์.
These concerns also go beyond the political level and into the social sphere. “Our concern about the Islamic movement in Tunisia is that they are trying to change people’s way of thinking. They go to poorer areas of Tunis (where there is higher unemployment and less education) and talk to men in the mosque telling them how they and their wives should behave at home. This is more dangerous than politics and it will be harder to change later,” says Garziz.
ความห่วงใยเหล่านี้ ไปโพ้นระดับการเมือง และ เข้าสู่พื้นที่สังคม.  “ความกังวลของเราเกี่ยวกับขบวนอิสลามในตูนีเซีย คือ พวกเขาพยายามเปลี่ยนวิธีคิดของประชาชน.   พวกเขาไปยังที่ๆ ยากจนของชาวตูนิส (ที่ๆ มีการว่างงานสูงและการศึกษาต่ำ) และพูดคุยกับผู้ชายในมัสยิด บอกพวกเขาว่า พวกเขาและภรรยาควรประพฤติอย่างไรในบ้าน.  นี่เป็นอันตรายมากกว่าการเมือง และ จะเป็นการยากกว่ามากในการเปลี่ยนมันภายหลัง”, การ์ซิส กล่าว.
As a result of these fears women activists have been closely monitoring the drafting of the new Tunisian constitution which is due to be practice within the next couple of months. Last August they fiercely opposed one draft which suggested that women were ‘complementary’ to men; the wording was later changed to ‘equal’.
ผลจากความหวั่นวิตกเหล่านี้ นักกิจกรรมหญิงได้ติดตาม ตรวจสอบการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งมีกำหนดต้องเสร็จสมบูรณ์ภายในอีกไม่กี่เดือน.  สิงหาคมที่แล้ว พวกเธอได้คัดค้านอย่างเกรี้ยวกราดต่อร่างหนึ่ง ที่แนะว่า ผู้หญิง “เป็นส่วนประกอบ” ของผู้ชาย; คำที่ใช้ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “เท่าเทียม”.
“As women, we want to ensure that the constitution protects our rights as defined in Tunisia’s Personal Statue code, that it adheres to international conventions and that it gives us our rights as individuals. We have been able to make modifications and that is reassuring but we still need to keep our eyes open,” says Radhia Jerbia, president of the National Union of Tunisian Women.
“ในฐานะผู้หญิง, เราต้องการทำให้แน่ใจว่า รัฐธรรมนูญปกป้องสิทธิของพวกเรา ดังนิยามในกฎหมายส่วนบุคคลของตูนีเซีย, ว่ามันสอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ และ ว่า มันให้สิทธิแก่พวกเราในฐานะปัจเจกชน.  ที่ผ่านมา พวกเราสามารถทำการปรับเปลี่ยน และนั่นทำให้พวกเราเชื่อมั่น แต่เราก็ยังจำเป็นต้องจับตามอง”, ราเธีย เจอร์เบีย, ประธานของสหภาพสตรีตูนีเซียแห่งชาติ.
Demonstrating its flexibility and willingness to listen to the opposition has been crucial for Ennahda, which strongly denies that it is trying to take away women’s freedom. “Some people are worried about losing their rights. But Ennahda wants a constitution that guarantees liberty. We want to keep society as it is,” says Assia Nafati, 27, member of the Ennahda party and the Constitutional assembly.
การสาธิตความยืดหยุ่นและความเปิดกว้างยินดีรับฟังเสียงคัดค้าน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ เอ็นนาห์ดา, ซึ่งปฏิเสธอย่างแข็งขันว่า กำลังพยายามแย่งเสรีภาพจากผู้หญิง.  “บางคนกังวลว่าจะสูญเสียสิทธิ์ของพวกเธอ.  แต่เอ็นนาห์ดา ต้องการรัฐธรรมนูญที่ให้หลักประกันเสรีภาพ.  เราต้องการให้สังคมเป็นอย่างที่มันเป็น”, อัสเซีย นาฟาติ อายุ 27 เป็นสมาชิก พรรคเอ็นนาห์ดา และ สมัชชารัฐธรรมนูญ.
Ennahda appointed Mehrezia Labidi-Maiza vice-president of the Constituent Assembly. Under the terms of the agreement for the transitional government, half of all deputies within the Assembly must be women, to ensure strong female presence and contribution.
เอ็นนาห์ดา ได้แต่งตั้ง เมห์เรเซีย ลาบิดิ-ไมซา เป็นรองประธานของสมัชชารัฐธรรมนูญ.  ภายใต้ข้อตกลงสำหรับรัฐบาลในช่วงเปลี่ยนผ่าน, ครึ่งหนึ่งของผู้ดำรงตำแหน่งรองในสมัชชา ต้องเป็นผู้หญิง, เพื่อให้แน่ใจว่า จะมีผู้หญิงปรากฏอยู่และมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง.
But also, post-revolution, Muslim women in Tunisia are enjoying greater freedom to practice their religion than before. The first president to rule Tunisia after independence, Habib Bourguiba, introduced many rights for women within a new Personal Status Code, but he was very critical of the headscarf and famously called it “that odious rag”.
แต่หลังการปฏิวัติ ผู้หญิงมุสลิม ก็มีอิสรภาพมากขึ้นในการปฏิบัติตามแนวศาสนาของพวกเธอ มากกว่าอดีต.  ประธานาธิบดีคนแรกที่ปกครองตูนีเซียหลังจากได้รับเอกราช, ฮาบิบ บัวกุยบา, ได้นำสิทธิหลายประการสำหรับสตรีภายในกฎหมายสถานภาพส่วนบุคคล, แต่เขาก็วิพากษ์ผ้าคลุมศีรษะมาก และขนานนามให้มันว่า “เจ้าผ้าขี้ริ้วที่น่ารังเกียจ”.
Ben Ali, who succeeded Bourguiba following a coup d’etat, was fearful of a strong Islamic opposition and so also restricted Muslims’ freedom to practice their religion. Women were discouraged from wearing the hijab (a headscarf covering the hair) and the niqab (a headscarf and veil which reveals only the eyes). However since Ben Ali’s departure the number of women using the niqab and the hijab has increased.
เบน อาลี, ผู้ดำรงตำแหน่งหลังการรัฐประหาร, เกรงกลังฝ่ายค้านอิสลาม และก็จำกัดเสรีภาพของชาวมุสลิมในการปฏิบัติตามศาสนาของพวกเขา.  ผู้หญิงถูกกันไม่ให้สวมญิฮาบ (ผ้าคลุมผม) และ นิขาบ (ผ้าคลุมหัวและหน้า เห็นแต่ดวงตา).  แต่ตั้งแต่ เบน อาลี ออกไป ผู้หญิงหันกลับมาใช้ นิขาบ และ ญิฮาบมากขึ้น.
Salwa Hosni, 34, a housewife with two children, wore the niqab before and after the revolution. “Under Ben Ali’s rule I had many problems. The police would stop me when they saw me wearing the niqab and take me to the police station where I had to sign a document to say I wouldn’t wear it again. The Qur’an says that you should cover your head and I am very happy that today I can wear the niqab freely. Now I have liberty.”
ซัลวา โฮสนิ อายุ 34 เป็นแม่บ้าน ลูกสอง, สวมนิขาบก่อนและหลังการปฏิวัติ.  “ภายใต้การปกครองของ เบน อาลี ฉันมีปัญหามาก.  ตำรวจจะหยุดฉัน เมื่อเห็นฉันสวม นิขาบ และ จับฉันไปสถานีตำรวจ ให้ฉันเซ็นเอกสารบอกว่า ฉันจะไม่สวมมันอีก.  พระคัมภีร์อัลกุรอาน บอกว่า คุณควรคลุมศีรษะของคุณ และ ฉันเป็นสุขมากที่วันนี้ ฉันสามารถสวม นิขาบ อย่างเสรี.  ตอนนี้ ฉันมีเสรีภาพแล้ว”.
Monia Mohli, 44, a housewife and mother of three, agrees. “During Ben Ali’s dictatorship I stopped wearing the hijab for three years because of the problems I experienced but when I went out without it I felt a tightness in my heart. I am so happy and comfortable that I can go out and wear it all the time now.”
โมเนีย โมห์ลี อายุ 44 เป็นแม่บ้านลูกสาม เห็นด้วย.  “ในยุคเผด็จการ เบน อาลี ฉันหยุดสวม ฮิญาบ สามปี เพราะต้องประสบปัญหาหลายอย่าง แต่พอฉันออกไปข้างนอกโดยปราศจากฮิญาบ ฉันรู้สึกแน่นเครียดในหัวใจ.  ฉันเป็นสุขมาก และ รู้สึกสบาย ที่ฉันไปข้างนอกและสวมมันได้ตลอดเวลาได้ตอนนี้”.
However, tensions over the headscarf still exist. Manouba University, which is known to be left-wing, is currently debating whether to allow students to enter the campus and take exams wearing the niqab. Last month one of its professors was cleared of the charge of assaulting two students wearing the niqab.
แต่ ความตึงเครียดเรื่องฮิญาบยังมีอยู่.  มหาวิทยาลัย มานูบา ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเอียงซ้าย กำลังโต้วาทีว่า ควรอนุญาตให้นักศึกษาเข้าวิทยาเขต และ เข้าห้องสอบสวม ฮิญาบ หรือไม่.  เดือนที่แล้ว อาจารย์คนหนึ่งได้พ้นจากข้อกล่าวโทษว่า ทำร้ายนักศึกษาสองคนที่สวม นิขาบ.
The future for women in Tunisia remains uncertain as the population wait for the Constitution to be finalised and for national elections which are due to take place at the end of the year or the start of 2014. What remains clear is that whatever their political or religious views, Tunisian women have a strong voice, and are willing to fight for their rights.
อนาคตของสตรีในตูนีเซีย ยังไม่แน่นอน ในขณะที่ประชาชนรอคอยการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จสมบูรณ์ และ การเลือกตั้งแห่งชาติ ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นตอนสิ้นปี หรือต้นปี ๒๕๕๗.  สิ่งที่ชัดเจน คือ ไม่ว่ามุมมองการเมืองและศาสนาของพวกเธอจะเป็นทางไหน, ผู้หญิงตูนีเซียมีเสียงที่แข็งแรง, และ ยินดีที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเธอเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น