วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

51. พลังธรรมะทวงคืนความสมดุลจากพลังอธรรม


Leading Intellectuals Call for 'Global Democracy' to Challenge Corporate Globalization
 - Common Dreams staff

ปัญญาชนแนวหน้า เรียกร้องเพื่อ “ประชาธิปไตยโลก” ท้าทายโลกาภิวัตน์บรรษัท
-คณะทำงาน Common Dreams


Well-known intellectuals from over ten countries, citing the failure of nation-states and international institutions to halt the destructive trends of environmental destruction and corporate-driven globalization, have initiated a 'Manifesto for Global Democracy' which calls for the development of a supranational institution of governance capable of adequately and rapidly addressing the challenges of the 21st century.
ปัญญาชนที่รู้จักกันดีจากกว่าสิบประเทศ อ้างถึงความล้มเหลวของรัฐชาติและสถาบันระหว่างประเทศในการหยุดแนวโน้มหายนะของโลกาภิวัตน์ที่ทำลายล้างสิ่งแวดล้อมและผลักดันโดยบรรษัท ได้ริเริ่ม “แถลงการณ์สำหรับประชาธิปไตยโลก” ที่เรียกร้องให้มีการพัฒนาสถาบันการปกครองที่เกี่ยวพันกับหลายๆ ชาติ ที่สามารถรับมือกับสิ่งท้าทายในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเพียงพอและรวดเร็ว

The document, signed by twenty-seven original signatories under the banner of Democracia Global, is being publicly unveiled on Wednesday in London with other international events to be held later in Rome, New York, Brussels, Buenos Aires and New Delhi.
เอกสารนี้ มีผู้ร่วมลงนาม 27 คน ภายใต้ป้าย ประชาธิปไตยโลก ถูกเปิดป้ายเมื่อวันพุธในกรุงลอนดอน ตามด้วยงานระหว่างประเทศต่อมา จัดในกรุงโรม นิวยอร์ก กรุงบรัสเซล  กรุงบัวโนสไอเรส และ กรุงนิวเดลฮี

Making the case that the institutional politics at the national and international level have proved unable to adequately regulate or challenge the power of multi-national corporations which operate across borders and without national loyalties, the manifesto argues that the “economy has been globalized but political institutions and democracy have not kept pace.”
ด้วยการตั้งกระทู้ว่า สถาบันการเมืองในระดับชาติและนานาชาติ ได้พิสูจน์ว่า ไม่สามารถควบคุมหรือท้าทายได้เพียงพอ ต่ออำนาจของบรรษัทสหชาติ ที่ดำเนินการข้ามพรมแดน และปราศจากความภักดีต่อชาติ  แถลงการณ์แย้งว่า “เศรษฐกิจได้ขยายครอบคลุมโลก แต่สถาบันการเมืองและประชาธิปไตย กลับตามไม่ทัน”

"The globalization of finance, production chains and communication systems, and the planetary power reached by destructive technologies, require the globalization of the political institutions responsible for their regulation and control, and the global crises require coherent and effective global solutions.”
“โลกาภิวัตน์ของการเงิน ห่วงโซ่การผลิต และระบบการสื่อสารคมนาคม และอำนาจครองแผ่นพิภพ ที่ใช้เทคโนโลยีทำลายล้าง ทำให้ต้องมีโลกาภิวัตน์สถาบันการเมืองที่รับผิดชอบต่อการกฎข้อบังคับและการควบคุม และวิกฤตโลกจำเป็นต้องมีทางออกระดับโลกที่มีความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ”

Signed by Noam Chomsky, Dr. Vandana Shiva, Richard Falk, Susan George and other familiar academics and experts, the statement says that "global problems demand global solutions" and calls on "political, intellectual and civil-society leaders of the world" to join in their advocacy of its creation and actively participate in its constitution.
ผู้ลงนามมี Noam Chomsky, Dr. Vandana Shiva, Richard Falk, Susan George และนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่คุ้นเคย  แถลงการณ์กล่าวว่า “ปัญหาโลก เรียกร้องทางออกโลก” และเรียกร้องให้ “ผู้นำทางการเมือง ปัญญาชน และประชาสังคมของโลก” ให้ร่วมรณรงค์ให้ก่อตั้ง และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเขียนธรรมนูญด้วย”

*  *  *

The full text of the signed statement follows:
สาระเต็มของแถลงการณ์ที่ร่วมกันลงนาม:

MANIFESTO FOR A GLOBAL DEMOCRACY
แถลงการณ์เพื่อประชาธิปไตยโลก

Politics lags behind the facts. We live in an era of deep technological and economic change that has not been matched by a similar development of public institutions responsible for its regulation.  The economy has been globalized but political institutions and democracy have not kept pace. In spite of their many peculiarities, differences and limitations, the protests that are growing all over the world show an increasing discontent with the decision-making system, the existing forms of political representation and their lack of capacity for defending common goods. They express a demand for more and better democracy.
การเมืองอ่อนล้า วิ่งตามหลังข้อเท็จจริง   เราอาศัยอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจอย่างลึกล้ำ อย่างเทียบไม่ได้กับการพัฒนาของสถาบันสาธารณะที่รับผิดชอบการตั้งกฎเกณฑ์ควบคุมมันในแบบเดียวกัน    เศรษฐกิจได้กลายเป็นครอบคลุมทั่วโลก แต่สถาบันการเมืองและประชาธิปไตย ตามไม่ทัน  แม้จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะ ความแตกต่างและข้อจำกัด การประท้วงที่ขยายตัวมากขึ้นทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า ความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น  ต่อระบบการตัดสินใจ รูปแบบที่มีอยู่ในการเลือกผู้แทนทางการเมือง และ ความไร้ความสามารถของระบบดังกล่าวในการปกป้องประโยชน์ร่วมสาธารณะ   พวกเขาแสดงออกเป็นการเรียกร้องให้มีประชาธิปไตยที่มีสาระมากกว่า และดีกว่า

Global welfare and security are under threat. The national and international order that emerged from the end of World War II and the fall of the Berlin Wall has not been able to manage the great advances in technology and productive systems for the benefit of all humanity. On the contrary, we are witnessing the emergence of regressive and destructive processes resulting from the economic and financial crisis, increased social inequalities, climate change and nuclear proliferation. These phenomena have already affected negatively the lives of billions of human beings, and their continuance and mutual reinforcement menace the peace of the world and threaten the survival of human civilization.
สวัสดิภาพและความมั่นคงของโลกกำลังถูกคุกคาม   ระเบียบประเทศชาติและระหว่างประเทศที่อุบัติขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน ไม่สามารถจัดการกับความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในระบบเทคโนโลยีและการผลิต เพื่อผลประโยชน์ของมนุษยชาติทั้งมวล   ในทางตรงข้าม เรากำลังเป็นพยานรู้เห็น การอุบัติขึ้นของกระบวนการล่นถอยหลังและทำลายล้าง ที่เป็นผลของวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน  ความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น  ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และการแผ่แสนยานุภาพอาวุธนิวเคลียร์   ปรากฏการณ์เหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อชีวิตของคนนับพันล้าน และความต่อเนื่อง และสนับสนุนกันและกัน ได้คุกคามสันติภาพของโลก และความอยู่รอดของอารยธรรมของมนุษย์

Global crises require global solutions. Within a social universe determined by globalization, the democratic capabilities of nation-states and international institutions are increasingly restricted by the development of powerful global processes, organizations and systems whose nature is not democratic. In recent years, the main national and international leaders of the world have been running behind global events. Their repeated failures show that occasional summits, intergovernmental treaties, international cooperation, the multilateral system and all the existing forms of global governance are insufficient. The globalization of finance, production chains and communication systems, and the planetary power reached by destructive technologies, require the globalization of the political institutions responsible for their regulation and control, and the global crises require coherent and effective global solutions. That’s why we call for the urgent creation of new global agencies specialized in sustainable, fair and stable development, disarmament and environmental protection, and the rapid implementation of forms of democratic global governance on all the issues that current intergovernmental summits are evidently incapable of solving.
วิกฤตโลก ต้องการทางแก้ไขระดับโลก   ภายในจักรวาลสังคมที่ถูกตัดสินโดยโลกาภิวัตน์  สมรรถนะประชาธิปไตยของสถาบันรัฐ-ชาติและนานาชาติ กำลังถูกจำกัดมากขึ้น โดยพัฒนาการของกระบวนการโลกที่ทรงอำนาจ อันเป็นองค์กรและระบบที่มีลักษณะไม่เป็นประชาธิปไตย    ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา  ผู้นำระดับชาติและนานาชาติสำคัญๆ ของโลก ได้วิ่งตามหลังเหตุการณ์ต่างๆ ในโลก   ความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าของพวกเขา แสดงให้เห็นว่า การประชุมสุดยอดเป็นครั้งคราว  สนธิสัญญาระหว่างรัฐบาล  ความร่วมมือระหว่างประเทศ  ระบบพหุภาคี และบรรดารูปแบบโลกาภิบาล ล้วนไม่เพียงพอ   โลกาภิวัตน์ของการเงิน ห่วงโซ่การผลิต และระบบการคมนาคมสื่อสาร และอำนาจครองแผ่นพิภพ ที่ใช้เทคโนโลยีทำลายล้าง ทำให้ต้องมีโลกาภิวัตน์สถาบันการเมืองที่รับผิดชอบต่อการกำหนดกฎข้อบังคับและการควบคุมรักษา   และวิกฤตโลกจำเป็นต้องมีทางแก้ไขระดับโลกที่มีความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ   ด้วยเหตุนี้ พวกเราเรียกร้องให้มีการสรรค์สร้างอย่างเร่งด่วนให้มีหน่วยงานโลกใหม่ ที่มีความสามารถพิเศษในการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นธรรม และเสถียร  การลดอาวุธ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการของรูปแบบโลกาภิบาลประชาธิปไตยในทุกๆ ประเด็น ที่ปัจจุบัน การประชุมสุดยอดระหว่างประเทศไม่สามารถแก้ไข

We need to move forward to new, more extensive and deeper forms of democracy. The current model of technological-economic globalization must give way to a new one which puts these processes at the service of a fairer, more peaceful and more humane world. We need a new paradigm of development which has to be sustainable on a global basis and which benefits the poorest of humanity. In order to avoid the deepening of global crises and to find viable solutions to the challenges posed by globalization we must move forward to more extensive and deeper forms of democracy. The existing national-state organizations have to be part of a wider and much better coordinated structure, which involves democratic regional institutions on all the continents, the reform of the International Court of Justice, a fairer and more balanced International Criminal Court and a United Nations Parliamentary Assembly as the embryo of a future World Parliament. Yet, this institutional change will not be successful if it only accrues from the actions of a self-appointed elite. On the contrary, it must come from a socio-political process open to all human beings, with the goal of a creating a participative global democracy.
เราจำเป็นต้องเดินหน้าสู่รูปแบบประชาธิปไตยที่ใหม่ ครอบคลุมกว้างขวางกว่า และลึกล้ำกว่า   โมเดลโลกาภิวัตน์ทางเทคโนโลยี-เศรษฐกิจ ปัจจุบัน จะต้องหลีกทางให้รูปแบบใหม่ ที่จะจัดวางกระบวนการเหล่านี้ ให้ทำหน้าที่บริการต่อโลกที่เป็นธรรมกว่า มีสันติมากกว่า และมีมนุษยธรรมมากกว่า    เราต้องการกระบวนทัศน์ของการพัฒนาใหม่ ที่มีความยั่งยืนในพื้นฐานของโลก และที่ให้ประโยชน์แก่มนุษยชาติที่ยากจนที่สุด   เพื่อหลีกเลี่ยง การทำให้วิกฤตโลกจมลึกไปกว่านี้ และเพื่อหาทางแก้ไขที่เป็นไปได้ ต่อการท้าทายที่โลกาภิวัตน์นำมา พวกเราจะต้องเดินหน้า สู่รูปแบบประชาธิปไตยที่ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น และลึกล้ำกว่า    องค์กรรัฐ-ชาติที่มีอยู่ จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างประสานถักทอที่กว้างขวางกว่า และดีกว่า ที่รวมสถาบันภูมิภาคที่เป็นประชาธิปไตย ในทวีปทั้งหมด   การปฏิรูประบบศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  ศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศที่เป็นธรรมกว่า และมีความสมดุลกว่า และสมัชชาสภาผู้แทนสหประชาชาติ ในฐานะเป็นระยะเริ่มแรก/ตัวอ่อน ของสภาผู้แทนของโลกในอนาคต    แต่ การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันนี้ จะไม่ประสบความสำเร็จ หากมันเพียงแต่พอกพูนจากปฏิบัติการของกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่แต่งตั้งตัวเอง   ในทางตรงข้าม  มันจะต้องมาจากกระบวนการสังคม-การเมือง ที่เปิดกว้างสำหรับมนุษย์ทั้งปวง ด้วยเป้าหมายของการสรรสร้างประชาธิปไตยที่ทั่วโลกมีส่วนร่วม

Globalizing democracy is the only way to democratize globalization. Beyond our differences about the contents and appropriate methods to move towards a fairer and more stable world order, we the signatories share a strong commitment to the development of a global democracy. On behalf of Peace, Justice and Human Rights we do not want to be governed at the world level by those who have only been elected to do so at the national one, neither do we wish to be governed by international organizations which do not represent us adequately. That is why we work for the development of supranational political spaces and for regional, international and global institutions that live up to the challenges of the twenty-first century; institutions that express the different viewpoints and defend the common interests of the seven billion people who shape humankind today.
โลกาภิวัตน์ประชาธิปไตย เป็นทางเดียวที่จะทำให้เกิดประชาธิปไตยทั่วโลก   เหนือกว่าความแปลกแยกในสาระและวิธีการที่เหมาะสม เพื่อเดินไปข้างหน้าสู่ระเบียบโลกที่เป็นธรรมกว่า และมีเสถียรภาพมากกว่า  พวกเราที่ลงนามข้างท้ายนี้ มีความปณิธานแรงกล้าร่วมกันในการพัฒนาประชาธิปไตยโลก   ในนามของสันติภาพ  ความยุติธรรม  และสิทธิมนุษยชน  พวกเราไม่ต้องการถูกปกครองในระดับโลกโดยพวกที่ถูกเลือกให้กระทำเช่นนั้นในระดับชาติ และก็ไม่ต้องการจะถูกปกครองโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่เป็นตัวแทนของพวกเราได้เพียงพอ    นั่นเป็นสาเหตุที่พวกเราทำงานเพื่อพัฒนา พื้นที่การเมืองที่เกี่ยวพันกับหลายๆ ชาติ และสำหรับสถาบันภาคพื้น ระหว่างชาติ และโลก ที่สามารถยืนหยัดรับมือกับความท้าทายของศตวรรษที่ ๒๑   สถาบันที่แสดงออกถึงความแตกต่างทางมุมมอง และปกป้องผลประโยชน์ร่วมของประชาชน เจ็ดพันล้านคน ผู้ปรุงปรับรูปแบบของมนุษยชาติปัจจุบัน
                                                                                                                                           
We ask every human being to participate in the constitution of a global democracy. We share the appeal to “unite for global change” and for “real democracy” with the world social movements. Both postulates express the growing rejection of being governed by political and economic powers on which we have no influence. Autonomy and self-determination are not only valid at the local and national level. That’s why we champion the principle of the right to participate in the making of fundamental global decisions that directly affect our lives. We want to be citizens of the world and not its mere inhabitants. Therefore we demand not just a local and national democracy, but also a global democracy, and we commit to work for its development and call on all the political, intellectual and civil-society leaders of the world, all the democratic organizations, parties and movements, and all persons of democratic persuasion on the planet to actively participate in its constitution.
เราขอให้มนุษย์ทุกคน เข้าร่วมในการก่อตั้งประชาธิปไตยโลก   เราร่วมกันอุทธรณ์ให้ “สามัคคีกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก” และเพื่อ “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” ด้วยการขับเคลื่อนทางสังคมระดับโลก   สมมติฐานทั้งสอง แสดงออกถึงการปฏิเสธที่ขยายมากขึ้น ต่อการถูกปกครองโดยอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่พวกเราไม่มีอิทธิพลใดๆ    ความเป็นเอกเทศ และตัดสินชะตากรรมตนเอง มีเหตุผลและถูกต้องไม่เพียงแต่ในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ   นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมพวกเราจึงเป็นแชมเปี้ยนในหลักการของสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจโลกขั้นพื้นฐาน ที่มีผลกระทบต่อชีวิตของพวกเราโดยตรง   พวกเราต้องการเป็นพลเมืองของโลก และไม่ใช่เป็นเพียงผู้อยู่อาศัย   ดังนั้น พวกเราเรียกร้องไม่เพียงแต่ประชาธิปไตยท้องถิ่นและชาติ แต่ประชาธิปไตยโลก   และพวกเรามุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อพัฒนาการนี้ และเรียกร้องให้ ผู้นำของโลกทั้งหมดทั้งด้านการเมือง ปัญญา และประชาสังคม  องค์กรประชาธิปไตย  พรรคและขบวนการ ทั้งหมด และทุกผู้ทุกนามที่ฝักใฝ่ประชาธิปไตยในผืนพิภพนี้ ให้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการก่อสร้างนี้

Published on Wednesday, June 27, 2012 by Common Dreams

ดรุณีแปล

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

50. โปรดบริจาคสนับสนุน Common Dreams ที่เว็บ


June 27, 2012

Dear Common Dreamer,
เรียนผู้ร่วมทางสานฝันเดียวกัน “ความฝันร่วม”

Plants need two essential ingredients to stay alive: sunlight and water. And like the plants blossoming throughout our gardens, Common Dreams needs only two essential ingredients to sustain us through the summer as your trusted news source -- the dedication of our staff and your support.
พืชพรรณยังชีพได้ด้วย ๒ ปัจจัย แสงแดด และ น้ำ   ดั่งพืชพรรณทั้งหลายที่บานสะพรั่งทั่วสวนของเรา “ความฝันร่วม” จำเป็นต้องมีเพียง ๒ ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อหล่อเลี้ยงให้พวกเรายืนหยัดตลอดฤดูร้อนนี้ ในฐานะแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้—ความอุทิศของคณะทำงานของเรา และแรงสนับสนุนของท่าน

Our staff is working hard -- every day -- to bring you the breaking news and critical analysis you want and need. And to seek out and highlight the new progressive thinkers and activists in this nation and across the globe. As you know, we not only get you the information you need for understanding what is happening today but also for helping to build a just and sustainable future.
คณะทำงานของเราทำงานหนัก—ทุกวัน—เพื่อนำข่าวด่วนและบทวิเคราะห์สำคัญที่ท่านต้องการสู่ท่าน   และแสวงหาพร้อมชูให้โดดเด่น นักคิดและนักกิจกรรมหัวก้าวหน้าใหม่ ในประเทศนี้ (สหรัฐฯ) และทั่วโลก   ดังที่ท่านทราบ เราไม่เพียงแต่เลือกข่าวที่ท่านต้องการเพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ แต่รวมถึงการช่วยก่อสร้างอนาคตที่เป็นธรรมและยั่งยืน

Can we count on you today to add the missing ingredient -- your support?
เราจะพึ่งท่านวันนี้ได้ไหม ที่จะช่วยเติมปัจจัยที่หายไป—กำลังสนับสนุนของคุณ?

 At this point mid year, we must make sure we are on target with our budget to continue to stay alive through the summer and into the fall. We must raise $40,000 to bridge the gap we have in our budget needs. We haven't yet received a contribution towards this critical work from you this year. Can you help now?
ณ จุดนี้ของกลางปี เราจะต้องทำให้มั่นใจว่า เราทำเป้าได้กับงบที่จะช่วยให้พวกเราอยู่รอดได้ตลอดฤดูร้อนนี้ และในฤดูใบไม้ผลิด้วย   เราจะต้องระดมทุน $40,000 เพื่อปิดช่องว่างในงบ   เรายังไม่ได้รับเงินบริจาคจากท่านในปีนี้ เพื่อทำงานสำคัญนี้   ท่านจะช่วยตอนนี้ได้ไหม?

Whether you can give $15, $50 or $500 - every amount is appreciated and every contribution is fully tax-deductible. You can give online, through  PayPal or send a check. But please do it today!
ไม่ว่าคุณจะบริจาค $15, $50 หรือ $500 เราจะสำนึกในบุญคุณของทุกเม็ดเงิน และการบริจาคทุกรายก็สามารถนำไปลดภาษีได้เต็มที่   คุณสามารถจะบริจาคออนไลน์ ผ่าน PayPal หรือ ส่งเป็นเช็ค  แต่โปรดทำวันนี้นะครับ!

 We can't do it without you!
เราไปต่อไปไม่ได้โดยปราศจากคุณ!

In peace,
สันติ

Craig, Andrea, Jon, Malory, Jacob, Abby and the whole Common Dreams team
เครก, อันเดรีย, โจน, มาโลรี, แจค็อบ, แอ็บบี้ และทีมทั้งหมดของ “ความฝันร่วม”

P.S. Help keep this fundraiser to the fewest days possible so that our time can be spent doing the important work of amplifying the progressive voices in our community that hold our leaders accountable. Don’t wait, give today!

Click above to make a secure online contribution, or go here to use PayPal.
 If you prefer, you can print our form and send a check (our address is on the form)
ท่านสามารถปริ๊นท์แบบฟอร์ม และส่งเช็คไปตามที่อยู่บนแบบฟอร์ม
or call us M-F from 9-6 EST at 207-775-0488.
Common Dreams is a 501(c)(3) nonprofit. Your contribution is tax deductible within the USA. Our EIN is 20-3368194.)

Breaking News & Views for the Progressive Community.
Independent, non-profit newscenter since 1997.
แพร่ข่าวด่วนและความเห็นสำหรับชุมชนก้าวหน้า
ศูนย์ข่าวอิสระ และไม่ค้ากำไร ตั้งแต่  1997

To inform. To inspire. To ignite change for the common good.
           เพื่อแจ้ง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เพื่อจุดประกายการเปลี่ยนแปลง เพื่อสิ่งที่ดีร่วมกัน

49. รากเหง้าทุกข์เข็ญมวลมนุษย์ทุกวันนี้ : การผูกขาด ความตะกละ


'Monopoly': Calling the Global Financial Sector What It Is
 by Sasha Breger Bush
“การผูกขาด”  ชื่อที่แท้จริงของสถาบันการเงินโลก
-ซาช่า เบรเกอร์ บุ๊ช

New York Times columnists Protess and Scott report that Barclays Bank is paying some US$450 million to regulators in the US and UK to “resolve accusations” surrounding its manipulation of a key interest rate, the London Inter-Bank Offer Rate (Libor), during the first years of the ongoing global financial crisis.  According to the article, the Libor rate is used as a benchmark rate to price some US$350 trillion in financial products worldwide each year, from credit cards to derivatives and student loans.
นักเขียนนิวยอร์คไทม์ โปรเตสส์ และสก๊อตต์ รายงานว่า ธนาคารบาร์เคลส์ กำลังจ่ายเงินประมาณ $450 ล้าน แก่คนควบคุมในสหรัฐฯ และอังกฤษ เพื่อ “แก้การกล่าวหา” เรื่องการชักใยปรับอัตราดอกเบี้ยสำคัญ นั่นคือ Libor (แปลตามอักษรว่า อัตราที่เสนอโดยระหว่างธนาคารในลอนดอน) ในระหว่างปีแรกๆ ของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังดำเนินอยู่    ตามบทข่าว อัตรา Libor ถูกใช้เป็นอัตราบรรทัดฐานเพื่อกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั่วโลกแต่ละปี ที่มีมูลค่าประมาณ US$350 ล้านล้าน  ตั้งแต่บัตรเครดิตถึงบัตร/การกู้อื่นๆ และเงินกู้ของนักศึกษา

The Financial Times reports that the investigation now spans 12 regulators—from the US to Europe and Japan—and 20 banks, including the multinational giants JP Morgan, Citigroup, Bank of America, UBS and Deutsche Bank. The general idea is that the big banks—so far only Barclays has admitted wrongdoing—misreported the rates at which they borrowed from other banks, influencing the LIBOR rate so as to profit the banks. Barclays has also admitted to allowing consultations between various bank departments, and between itself and other banks, before reporting its rates to Libor, an illicit practice.
ไฟแนนเชียลไทม์ รายงานว่า การตรวจสอบตอนนี้ได้แพร่ไปถึงผู้ควบคุม ๑๒ คน—จากสหรัฐฯ ถึงยุโรป และญี่ปุ่น—และอีก ๒๐ ธนาคาร รวมทั้งบรรษัทข้ามชาติยักษ์ JP Morgan, Citigroup, Bank of America, UBS และ Deutsche Bank   ความเห็นทั่วไป คือ ธนาคารใหญ่ๆ—ตอนนี้มีแค่ บาร์เคลส์ ได้ยอมรับผิด—บิดเบือนการรายงานอัตราที่พวกเขายืมมาจากธนาคารอื่น  สร้างอิทธิพลปรับอัตรา LIBOR ให้พวกตนได้กำไร    บาร์เคลส์ ได้ยอมรับว่า ได้อนุญาตให้มีการปรึกษากันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของธนาคาร และระหว่างตัวเองกับธนาคารอื่นๆ  ก่อนที่จะรายงานอัตราของมันเองให้ LIBOR  ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

In most accounts, blame for such unsavory practices are spread around from bank managers and employees seeking higher profits and lower losses, to regulators who were asleep at the wheel, to the secretive and opaque process by which the Libor rate is set.  Yet, behind the regulators and the greedy bankers, lies the ‘m’ word that no one dares utter in the business presses—monopoly. The global financial system is increasingly run by a few big firms operating in a highly uncompetitive market place and wielding enormous power, often behind a veil of secrecy, (intentional) regulatory blindness, and technical complexity. 
การกล่าวโทษส่วนใหญ่  พุ่งไปที่การกระทำผิดเช่นนี้ ที่แผ่ขยายในหมู่จากผู้จัดการและลูกจ้างธนาคาร ที่ต้องการเพิ่มกำไรและลดการสูญเสีย  ไปที่ผู้ควบคุมที่นอนหลับที่พวงมาลัยรถ ไปที่กระบวนการกำหนดอัตรา LIBOR  ที่ลี้ลับและไม่โปร่งใส    แต่ เบื้องหลังผู้ควบคุมและนายธนาคารตะกละ คือ อักษร ‘m’ ที่ไม่มีใครกล้าเอ่ยเอื้อนในกระบวนการธุรกิจ—monopoly (การผูกขาด)    ระบบการเงินโลกถูกบริหารโดยบริษัทใหญ่ๆ เพียงไม่กี่แห่ง มากขึ้นทุกวัน ในตลาดที่ไม่มีการแข่งขันอย่างสูง พวกเขากุมอำนาจมหาศาล มักจะอยู่หลังผ้าคลุมแห่งความลี้ลับ  การควบคุม (อย่างไม่ตั้งใจ)  จุดบอด และความซับซ้อนเชิงเทคนิค

As any introductory economic textbook shows, imperfectly competitive marketplaces (e.g. monopoly, monopsony, oligopoly and oligopsony) are defined by the ability of a few firms, or only one firm, to manipulate prices and other exchange terms.  As markets concentrate, and free competition is replaced by collusion and superprofits, firms gain the market power to influence market rules and prices in their own interest.  Indeed, any college freshman in a traditional economics department could foresee that growing concentration in global credit markets would result in price distortions, to the detriment of consumers and other less powerful actors.  And, some might also be able to cite a few examples of the manner in which market power confers political power, another dangerous dimension of monopolistic market structures frequently noted in the Marxist tradition, among others (think, say, of Goldman Sach’s ability to staff the US Treasury and Federal Reserve).
ดังที่แสดงในหนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ขั้นต้น ว่า ตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์แบบ (เช่น การผูกขาด ผูกขาดโดยบุคคล?  การปกครองโดยกลุ่มคนเล็กๆ และ ???) ถูกนิยามเป็น ความสามารถของไม่กี่บริษัท หรือเพียงบริษัทเดียว ในการชักใย/ปั่นราคาและอัตราการแลกเปลี่ยนอื่นๆ    เมื่อตลาดเริ่มกระจุกตัว การแข่งขันอย่างเสรี ถูกแทนที่ด้วยการสุมหัว สมรู้ร่วมคิด และ พวกบริษัทที่ได้ซุปเปอร์กำไร  ได้ชิงอำนาจของตลาด มีอิทธิพลข่มกฎกติกาตลาดและราคา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง    จริงๆ นะ นักศึกษาปี ๑ ที่เรียนเศรษฐศาสตร์แบบเดิม จะคาดการณ์ได้ว่า การกระจุกตัวมากขึ้นในตลาดเครดิตโลก จะยังผลให้เกิดการบิดเบือนราคา ซึ่งส่งผลเสียหายต่อผู้บริโภค และบุคคลอื่นๆ ที่มีอำนาจน้อยกว่า   และบางคนอาจอ้างตัวอย่างประกอบได้ ถึงวิธีการที่อำนาจตลาดจับมือกับอำนาจทางการเมือง อันเป็นมิติอันตรายของโครงสร้างตลาดผูกขาด ที่มักจะกล่าวขานถึงในแนวมาร์กซิส  และตัวอย่างอื่นๆ (เช่น การที่ Goldman Sach แทรกซึมจนมีคณะทำงานอยู่ใน การคลังและทุนสำรองของสหรัฐฯ)



Reintroducing the concept of monopoly into public discourse is critical for seeing patterns of injustice in the global economy, continuities that are otherwise obscured by national, geographic, partisan and sectoral distinctions. And not just in the financial context.  The word “monopoly” helps to understand why it is that Greek citizens suffer austerity even as financial institutions get rescue packages, just as it helps us to understand how it is that Starbucks could rake in record profits from its coffee sales even as world prices fell to record lows during 1998-2002.  The word “monopoly” helps us to see why our pigs and cattle are raised in confinement with antibiotics and without any trace of humanity, just as it helps us to see why small farmers in India are killing themselves by the tens of thousands.  The word “monopoly” untangles the Mexican tortilla crisis, just as it unravels the overthrow of Arbenz in Guatemala and Mossadeq in Iran.  The word “monopoly” helps us to understand why it is that Presidents Bush and Obama have such a similar economic agenda, despite their playing for two different political teams.  And, just today, the word “monopoly” helped me to understand how it is that it is illegal for me to collect rainwater in my backyard here in Denver.
การนำกรอบคิด การผูกขาด กลับมาใช้ในวาทกรรมสาธารณะ  เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อให้เห็นแบบแผนของความ อยุติธรรม ในเศรษฐกิจโลก  ความต่อเนื่องที่ถูกบดบัง ด้วยการแยกให้เห็นความแตกต่างตามชาติ ภูมิศาสตร์ พรรค และภาคส่วน    มันไม่เพียงแต่ในบริบทของการเงิน   คำว่า “ผูกขาด” ช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไมพลเมืองกรีกต้องทนทุกข์กับนโยบายรัดเข็มขัด ในขณะที่สถาบันการเงินได้รับเงินช่วยเหลือ  เหมือนกับที่มันช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไม Starbucks ยังคงสามารถกอบโกยกำไรมหาศาลจากการขายกาแฟ ในขณะที่ราคาโลกตกต่ำในระหว่าง 1998-2002   คำว่า  “ผูกขาด” ช่วยให้เราเห็นว่า ทำไม หมูและวัวของเรา ต้องถูกเลี้ยงในคอกกักกัน ป้อนด้วยยาปฏิชีวนะ และปราศจากมนุษยธรรมแม้แต่นิด  เหมือนกับที่มันช่วยให้เราเห็นว่า ทำไม ชาวนาเล็กๆ ในอินเดียกำลังฆ่าตัวตายนับหมื่น    คำว่า “ผูกขาด” ช่วยให้เห็นกระบวนที่ทำให้เกิดวิกฤตทอร์ทิลยา (อาหารหลักพอๆ กับโรตีของคนอินเดีย)   เหมือนกับที่มันเปิดโปงการล้มล้าง Arbenz ในกัวเตมาลา และ Mossadeq ในอิหร่าน   คำว่า “ผูกขาด” ช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไมประธานาธิบดีบุ๊ช และ โอบามา มีวาระเศรษฐกิจที่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่เล่นอยู่คนละทีม   และ เหมือนในวันนี้  คำว่า “ผูกขาด” ช่วยให้ฉันเข้าใจว่า มันเป็นอย่างไร ที่การรองน้ำฝนหลังบ้านของฉันในเดนเวอร์ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

Justice demands that we call things what they are—indeed, we must name the system to change it.  In this context, the “m” word allows clarity of thought and analysis in the face of often overwhelming economic complexity. The “m” word allows us to strip the economy of its competitive veil, allows us to de-robe the trusts and combines of the 21st century. The “m” word prevents us from lapsing into the view that all of these injustices—from antibiotic resistance to farmer suicide to coup d’etat—must be treated separately by different movements and different peoples.  The “m” word allows us to see the architecture of the global economy for what it is—a playground for the new robber barons, a collection of corporate fiefdoms, an integrated system of monopolies, with all of the typical injustices that such arrangements usher forth.
ความยุติธรรมสั่งให้เราเรียกสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงของพวกมัน—เราจะต้องเรียกชื่อระบบ เพื่อเปลี่ยนแปลงมัน    ในบริบทนี้ คำ “m”  จะทำให้เกิดความชัดเจนในความคิดและการวิเคราะห์ เมื่อเผชิญกับความซับซ้อนด้านเศรษฐกิจที่ล้นหลาม   คำ “m” อนุญาตให้เราดึงผ้าคลุมการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจออก  อนุญาตให้เราตบแต่งมันใหม่ด้วยความเชื่อถือและการรวมตัวกันของศตวรรษที่ ๒๑    คำ “m” ป้องกันพวกเราไม่ให้หลงคิดไปว่า ความอยุติธรรมทั้งหลาย—ตั้งแต่การดื้อยาปฏิชีวนะ จนถึง การฆ่าตัวตายของชาวนา ถึงการปฏิวัติ—จะต้องดูเป็นเรื่องๆ แยกจากกัน โดยการเคลื่อนไหวต่างๆ และคนกลุ่มต่างๆ    คำ “m” อนุญาตให้เราเห็นสถาปัตยกรรมของระบบเศรษฐกิจโลก อย่างที่มันเป็น—สนามเล่นสำหรับพวกโจรผู้ร่ำรวยมหาศาล  ซึ่งเป็นกลุ่มบรรษัทศักดินา  อันเป็นระบบผสมผสานของการผูกขาด ที่ประคับประคองรูปแบบการจัดการที่ประมวลความอยุติธรรมทั้งหมด

Sasha Breger Bush is a Lecturer at the Josef Korbel School of International Studies at the University of Denver.  Her new book, Derivatives and Development: A Political Economy of Global Finance, Farming and Poverty, is due out this month from Palgrave Macmillan.  Email: sbreger@du.edu
ซาชา เบรเกอร์ บุ๊ช เป็นอาจารย์ ที่คณะการศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเดนเวอร์  หนังสือใหม่ของเธอ Derivatives and Development: A Political Economy of Global Finance, Farming and Poverty (ผลิตภัณฑ์การเงิน และ การพัฒนา: เศรษฐศาสตร์การเมืองของการเงิน  การเกษตร และความยากจนของ โลก) จะออกวางตลาดเดือนนี้ 

Published on Thursday, June 28, 2012 by Common Dreams