วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

129. ช่วยผู้ผลิต/ชาวนาพื้นบ้านรายย่อย/ชนบท เพื่อช่วยพวกเรา/ผู้บริโภค/เมืองเอง



Q&A: Food Production Accounts for 29 Percent of Greenhouse Gases
            ปุจฉา-วิสัชนา: การผลิตอาหารมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจก 29%
โดย แฟบิโอลา ออร์ติส                                                                                                ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Fabíola Ortiz interviews SONJA VERMEULEN and PHILIP THORNTON, climate change and agriculture experts
            แฟบิโอลา ออร์ติส สัมภาษณ์ ซอนญา เวอร์มิวเลน และ ฟิลิป ธอร์นตัน, ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศแปรปรวนและเกษตร.

RIO DE JANEIRO, Oct 31 2012 (IPS) - Food production, including agriculture, represent 29 percent of the greenhouse gases that are causing global warming, say scientists with the Consultative Group on International Agricultural Research (CGIAR).
ริโอ เดอ จาไนโร, ๓๑ ตค ๕๕การผลิตอาหาร, รวมเกษตร, มีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อภาวะโลกร้อน, นักวิทยาศาสตร์ของกลุ่มที่ปรึกษาด้านการวิจัยเกษตรนานาชาติ (CGIAR).
Feeding the global population today involves the release of 10,000 to 16,000 megatonnes of CO2 equivalent into the atmosphere annually, say two reports published Wednesday Oct. 31 in Copenhagen by CGIAR’s Research Programme on Climate Change, Agriculture and Food Security (CCAFS).
การเลี้ยงประชากรโลกทุกวันนี้ มีส่วนปล่อยก๊าซเทียบเท่าคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 10,000 – 16,000 เมกกะตันสู่ชั้นบรรยากาศทุกปี, รายงานที่เผยแพร่ในวันที่ 31 ตค ในโคเปนเฮเก็น โดย โปรแกมวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ, เกษตร และความมั่นคงทางอาหาร (CCAFS) ของ CGIAR.
Rising global temperatures and shifting rainfall patterns will affect production of staple foods like maize, rice and wheat. The reports estimate that by 2050, climate change could cause irrigated wheat yields to fall by 13 percent in developing countries, and irrigated rice yields by 15 percent.
อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น และ ฝนตกผิดฤดู จะมีผลกระทบต่อการผลิตอาหารหลัก เช่น ข้าวโพด, ข้าว และ ข้าวสาลี.  รายงานได้ประเมินว่า ภายในปี 2050, ภาวะอากาศแปรปรวนจะทำให้ผลผลิตของข้าวสาลีที่อาศัยระบบชลประทานตกลง 13% ในประเทศกำลังพัฒนา, และข้าวที่อาศัยระบบชลประทานลดลง 15%.
The reports are “Recalibrating Food Production in the Developing World: Global Warming Will Change More Than Just the Climate” by CCAFS theme leader Philip Thornton, and “Climate Change and Food Systems” by CCAFS head of research Sonja Vermeulen. IPS spoke to the two researchers by telephone. Excerpts of the interviews follow:
รายงานสองฉบับนี้ กำลังจัดทำ “มาตรวัดใหม่สำหรับการผลิตอาหารในโลกกำลังพัฒนา: ภาวะโลกร้อนจะเปลี่ยนมากกว่าเพียงภูมิอากาศ” โดย ฟิลิป ธอร์นตัน หัวหน้าคณะ CCAFS, และ “ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงกับระบบอาหาร” โดย ซอนญา เวอร์มิวเลน หัวหน้ากองวิจัย CCAFS.  ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์โดย IPS ที่สกัดจากการคุยกันทางโทรศัพท์.
Q: What is the global warning sounded by the reports launched by CCAFS?
ถาม: รายงานได้ส่งสัญญาณเตือนภัยโลกว่าอย่างไร?
PHILIP THORNTON: I would say that the overall message from the two studies is that climate change may have considerable impacts on agriculture in developing countries, but there are many things that can be done now to help reduce the burden on smallholders.
ฟิลิป: ผมขอบอกว่า สาระรวมจากการศึกษาทั้งสองฉบับ คือ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอาจส่งผลกระทบมากต่อเกษตรกรรมในประเทศกำลังพัฒนา, แต่ก็ยังมีหลายอย่างที่สามารถทำได้ตอนนี้ เพื่อลดภาระของเกษตรกรรายย่อย.
Action is required now at many levels, not only to adapt but also to mitigate – and there are wide overlaps of actions that can serve both adaptation and mitigation.
เราต้องเริ่มปฏิบัติการตอนนี้ในหลายๆ ระดับ, ไม่เพียงแต่ปรับตัว แต่ต้องบรรเทาด้วย—และมีปฏิบัติการมากมายที่เหลื่อมซ้อนกัน ที่สามารถทำหน้าที่ปรับตัวและบรรเทาไปด้วยกัน.
Related IPS Articles
Q: Agriculture and the food production chain are among the biggest contributors to greenhouse gas (GHG) emissions. Does feeding the world produce a huge carbon footprint?
ถาม: เกษตรกรรมและห่วงโซ่การผลิตอาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) มากที่สุด.   การเลี้ยง/ป้อนโลกผลิตรอยเท้าคาร์บอนขนาดใหญ่หรือไม่?
SONJA VERMEULEN: The emissions footprint of food production involves the combined emissions of all the stages of food production, from ‘fertiliser to fork’. It includes manufacture of inputs like fertilisers, then agriculture itself, but also food distribution and sales, use of food in the home, and how food waste is managed.
ซอนญา: การปล่อยรอยเท้าคาร์บอนของการผลิตอาหาร รวมการปล่อยก๊าซในทุกๆ ขั้นตอนของการผลิตอาหาร, ตั้งแต่ “ปุ๋ยถึงช้อน-ส้อม”.  มันรวมถึงการผลิตวัสดุ เช่น ปุ๋ย, แล้วก็ตัวเกษตรกรรมเอง, แต่ยังรวมถึงการกระจายและจำหน่ายอาหาร, การใช้อาหารในบ้าน, และการจัดการกับเศษอาหาร.
There are large country variations, but food production, including agriculture, contributes from 19 to 29 per cent of anthropogenic (man-made) emissions. The sector that contributes the most is the energy industry, however.
มีความแตกต่างระหว่างประเทศมาก, แต่การผลิตอาหาร, รวมทั้งเกษตร, โดยรวมปล่อยก๊าซผลิตโดยมนุษย์ตั้งแต่ 19 ถึง 29%.  แต่ภาคส่วนที่ปล่อยมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมพลังงาน.
An important part of the impact of agriculture and food production on GHG emissions is of course the energy it uses: machinery on farms, refrigeration, transport over long distances. (Feeding the world represents) between 10,000 and 16,000 megatonnes of CO2 equivalent.
ส่วนสำคัญหนึ่งของผลกระทบจากเกษตรและการผลิตอาหารต่อการปล่อย GHG คือ การใช้พลังงานในกระบวนการทั้งหมด: เครื่องจักรกลในไร่นา, การแช่เย็น, การขนส่งในระยะทางไกล.  การป้อนโลก จึงมีส่วนปล่อยก๊าซเทียบเท่ากับ CO2 ถึง 10,000 และ 16,000 เมกกะตัน.
Q: How could climate change impact people’s lives with regard to food security, especially commodities and natural resources?
ถาม: ภูมิอากาศแปรปรวนส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน ในแง่ความมั่นคงทางอาหาร, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้า และทรัพยากรธรรมชาติ ได้อย่างไร?
SV: It highlights the imperative of providing help to those people who need it to adapt – most of whom are in developing countries and contribute very little to the global footprint of agriculture – while at the same time doing everything we can to reduce the footprint of agriculture in the developed countries.
ซอนญา: มันทำให้เห็นชัดขึ้น ถึงรูปธรรมในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่จำเป็นต้องอาศัยมันเพื่อทำการปรับตัว—คนเหล่านี้ ส่วนมากอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และปล่อยก๊าซน้อยมากให้กับรอยเท้าเกษตรกรรมโลก—ในขณะเดียวกัน เราต้องทำทุกอย่างที่จะทำได้  เพื่อลดรอยเท้าเกษตรในประเทศพัฒนาแล้ว.
Ensuring food security for nine billion people (the projected global population in 2050) has to be a priority, but we have to do this in a way that reduces emissions.
การสร้างความมั่นใจในความมั่นคงทางอาหารสำหรับประชากร 9 พันล้านคน (ดังคาดการณ์ไว้ในปี 2050) จะต้องเป็นวาระต้นๆ, แต่เราต้องทำเช่านนี้ด้วยวิธีการที่ลดการปล่อยก๊าซด้วย.
Q: The reports point to the urgent need to mitigate and adapt due to the reality of climate change. What actions should countries and food companies take?
ถาม: รายงานได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการบรรเทาและปรับตัว เพราะเรากำลังเผชิญกับภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.  ประเทศต่างๆ และบริษัทอาหารต่างๆ ควรปฏิบัติอย่างไร?
SV: There are a wide variety of options that can both help smallholders adapt to climate change as well as reduce emissions – reducing waste, restoring degraded lands, feeding livestock better diets to reduce the amount of emissions per kg of meat and milk, for example.
ซอนญา: มีหลากหลายทางเลือกที่จะช่วยเกษตรกรรายย่อยปรับตัวให้เข้ากับภูมิอากาศแปรปรวน ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซได้—ลดขยะ เศษซาก, ฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม, เลี้ยงปศุสัตว์ด้วยอาหารที่ดีกว่าที่ลดการปล่อยก๊าซในอัตราต่อกิโลกรัมของเนื้อและนมที่ผลิต เป็นต้น.
Q: What are the consequences of the rise in temperatures and the reduction in rainfall periods?
ถาม: อะไรจะเกิดขึ้น อันเป็นผลจากการเพิ่มอุณหภูมิ และ การลดลงของช่วงฝนตก?
PT: Rising temperatures and changing rainfall amounts and patterns will inevitably change the nature of growing seasons in some places and will also change the suitability of different places for different crops. In such cases, it may be that there are different varieties that can be used that are more heat-tolerant; perhaps the areas of production can be shifted to more suitable areas (e.g. shifting potato cultivation to higher elevations where it is cooler).
ฟิลิป: อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น และ ปริมาณและแบบแผนของฝนที่เปลี่ยนไป จะเปลี่ยนฤดูการเพาะปลูกในบางที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะเปลี่ยนความเหมาะสมของที่ต่างๆ ที่พืชเฉพาะอย่างชอบขึ้นด้วย.   ในกรณีเช่นนี้, อาจมีพืชพรรณต่างๆ ที่นำมาใช้ได้ ที่ทนต่ออากาศร้อน, หรือบางที พื้นที่การผลิต อาจขยับไปในพื้นที่ๆ เหมาะสมกว่า (เช่น, ขยับจากการเพาะปลูกมันฝรั่งไปในพื้นที่สูง ซึ่งอากาศเย็นกว่า).
Regarding pests and diseases, it is certain that the prevalence and distribution of these will change, and in some cases will become increasingly important.
ส่วนศัตรูพืชและโรคพืช, แน่นอน การกระจายตัวและความชุกชุมก็จะเปลี่ยนไปด้วย, และในบางกรณี ก็จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น.
Q: What are the changes we may see in our diets?
ถาม: เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในโภชนาการของเราอย่างไร?
PT: Climate change impacts on agricultural production may bring about substantial changes in the relative costs of different sources of calories and proteins. In developed countries, we may want to consider ways of reducing the over-consumption of certain types of food and reducing waste, because such things can help cut emissions.
ฟิลิป: ผลกระทบของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงต่อการผลิตทางเกษตร อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมากในต้นทุนสัมพัทธ์ของแหล่งแคลอรี่และโปรตีน.  ในประเทศพัฒนาแล้ว, เราอาจต้องพิจารณาหาวิธีลดการบริโภคเกินอาหารบางชนิด และลดการกินทิ้งกินขว้าง เศษอาหาร, เพราะสิ่งเหล่านี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซได้ด้วย.
In developing countries, research and development organisations may want to start thinking about ways to help smallholders grow and utilise new crops that they currently have no or only limited experience with. The issue here is to help provide smallholders with options to diversify their diets where this is appropriate.
ในประเทศกำลังพัฒนา, องค์กรวิจัยและพัฒนา อาจต้องการที่จะเริ่มคิดหาวิธีช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยให้เพาะปลูกและใช้พืชพันธุ์ใหม่ ที่พวกเขายังไม่มีประสบการณ์มากพอในการทำงานกับมัน.  ประเด็น คือ ช่วยเสนอทางเลือกให้เกษตรกรรายย่อย ให้พวกเขามีความหลากหลายในโภชนาการของเขาตามความเหมาะสม.
Q: The reports say farmers around the world, especially smallholders in developing countries, should have access to the latest technology and science. Is climate-smart agriculture possible?
ถาม: รายงานบอกว่า ชาวนาทั่วโลก, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา, ควรเข้าถึงเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ล่าสุดได้.  จะเป็น เกษตรกรรมที่ฉลาดรู้/ปรับกับภูมิอากาศ ได้ไหม?
PT: Smallholders have enormous experience of farming, but the pace of change means that many of them are having to operate in very unfamiliar conditions. In such cases, proven technology and good science can surely help enhance food security and livelihoods – this may involve the use of new varieties that are drought-tolerant, or helping farmers to use seasonal weather forecasts to adapt their management practices to the current season. But yes, to help them towards an intelligent and resilient agriculture.
ฟิลิป: เกษตรกรรายย่อย มีประสบการณ์มหาศาลในการเพาะปลูก, แต่ก้าวย่างของการเปลี่ยนแปลง หมายความถึง พวกเขาหลายๆ คน จะต้องทำงานในสภาวะที่พวกเขาไม่คุ้นเคย.  ในกรณีเหล่านี้, เทคโนโลยีที่ผ่านการพิสูจน์ และวิทยาศาสตร์ที่ดี สามารถจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและวิถีชีวิตแน่นอนน—อันนี้อาจรวมถึงการใช้พืชสายพันธุ์ใหม่ที่ทนต่อภาวะแห้งแล้ง, หรือ ช่วยชาวนาให้ใช้การพยากรณ์อากาศตามฤดูกาล เพื่อปรับวิถีการจัดการให้เข้ากับฤดูกาลปัจจุบัน.  แต่ก็ใช่, ช่วยพวกเขาให้เดินหน้าสู่เกษตรกรรมที่ใช้ภูมิปัญญาและมีความยืดหยุ่น.
Q: How will these global changes affect different parts of the world?
ถาม: การเปลี่ยนแปลงในโลกเหล่านี้ จะมีผลต่อส่วนต่างๆ ของโลกอย่างไร?
PT: Several studies show that large areas of sub-Saharan Africa and parts of South Asia and South-East Asia may be particularly vulnerable to the effects of climate change.
ฟิลิป: การศึกษาหลายๆ ชิ้น แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ขนาดใหญ่ในอนุภาคซาฮาราอาฟริกา และเอเซียใต้ และ อุษาคเนย์ อาจมีความเปราะบางมากต่อผลกระทบของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.
Q: Is it true that growing crops is about to become even more unpredictable at a global level?
ถาม: เป็นความจริงไหมที่ว่า การเพาะปลูกพืชจะกลายเป็นเรื่องที่พยากรณ์ได้ยากยิ่งขึ้นในระดับโลก?
PT: The climate during the rest of this century is very likely to become more variable (more droughts, more floods, more extreme events), and as a result, agricultural production may well become more variable, particularly in developing countries in rain-fed situations. This is one reason why it is so important to enhance smallholders’ resilience and ability to adapt.
ฟิลิป: ภูมิอากาศในเวลาที่เหลือในศตวรรษนี้ น่าจะแปรปรวนยิ่งขึ้น (แล้งมากขึ้น, ท่วมมากขึ้น, ปรากฏการณ์สุดโต่งมากยิ่งขึ้น), และผลคือ, การผลิตทางเกษตรอาจแปรปรวนมากยิ่งขึ้น, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งฝนฟ้าตามฤดูกาล.  นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่า ทำไมจึงสำคัญมากที่จะช่วยให้เกษตรกรมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวได้.
Q: The CCAFS reports predict a catastrophic scenario in the near future. How can we deal with this?
ถาม: รายงานของ CCAFS คาดการณ์ถึงหายนะครั้งยิ่งใหญ่ในอนาคตอันใกล้.  เราจะรับมือกับมันได้อย่างไร?
PT: My take would be: it doesn’t have to be like this – if we sit and do nothing, the future does indeed look bad, particularly for those who are in fact least to blame for the emissions trajectory we are currently on. But what I take from these two publications is that there are many practical things that we can do to reduce emissions and to help smallholders adapt. We need action at all levels – local, national, regional and global.
ฟิลิป: ผมคิดว่า: มันไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้—หากเรานั่งเฉยๆ และไม่ทำอะไรเลย, อนาคตก็ดูแย่จริงๆ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ อันที่จริง มีส่วนถูกตำหนิว่าปล่อยก๊าซมหาศาลที่เรากำลังเห็นอยู่.  แต่สิ่งที่ผมได้จากรายงานทั้งสองฉบับนี้ คือ ยังมีวิธีปฏิบัติอีกมากมายที่เราสามารถทำเพื่อลดการปล่อยก๊าซ และช่วยเกษตรกรรายย่อยปรับตัว.   เราจำเป็นต้องมีปฏิบัติการในทุกระดับ—ท้องถิ่น, ประเทศ, ภูมิภาค และโลก.
Thursday, November 1, 2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น