Why
Monsanto Is Fighting Tooth and Nail Against California's Prop 37
เหตุใดมอนซานโตจึงสู้หัวฟัดหัวเหวี่ยงกับญัตติ 37 ของแคลิฟอร์เนีย
โดย
โซนาลี โกลหัตการ์ และ วันทนา ศิวะ
ดรุณี
ตันติวิรมานนท์ แปล
A new poll conducted by the
University of Southern California and the LA Times has found that
Proposition 37, the GMO labeling initiative has slipped a whopping 17 points
since the last poll in September. The proposition continues to lead but only by
2 percentage points with less than a week before the election. Thirteen percent
of likely voters are still undecided on whether to require mandatory labeling
of genetically modified organisms in foods.
การสุ่มฟังเสียงความเห็น/โพล
รอบใหม่ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเซาเธิร์นแคลิฟอร์เนีย และ นสพ LA Times
พบว่า ญัตติ 37,
การริเริ่มให้ติดฉลาก จีเอ็มโอ, ได้ร่วงหล่นฮูบไป 17
จุดตั้งแต่การโพลครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน.
ญัตติยังคงนำอยู่ แต่เพียง 2%
ของจุดในช่วงเวลาไม่ถึงสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง.
ยังมีผู้มีสิทธิ์และอาจไปลงคะแนนอีก 13%
ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องมีการติดฉลากภาคบังคับว่ามีจุลินทรีย์ที่ตัดแต่งพันธุกรรมในอาหารไหม.
The dramatic shift in opinion is
likely due to the barrage of dollars spent by vested corporate interests to
defeat Prop 37. Chief among them are Monsanto corporation, the leading
commercial force behind the creation, promotion, and widespread use of
pesticides and genetically modified seeds in farming, and the Grocery
Manufacturers Association which represents the world's largest processed food
producers and distributors such as Coca Cola, Pepsi Co, and Nestle. Together, they
have spent $41 million in advertising and other campaigning, claiming that
Proposition 37 is "anti-science," and would lead to huge increases in
food prices and the banning of safe foods. At least two newspapers have
concluded the No on Prop 37 ads are misleading and deceptive.
การขยับตัวในความเห็นที่ฮวบฮาบเช่นนี้
คงมาจากการทุ่มเงินมหาศาลโดยบรรษัทที่จะเสียผลประโยชน์ เพื่อฟาดฟันญัตติ 37 ให้พ่ายแพ้.
หัวหน้าหมู่ของพวกนี้คือ บรรษัทมอนซานโต,
พลังพาณิชย์นำที่อยู่เบื้องหลังการก่อสร้าง, การส่งเสริม, และการแพร่ขยายการใช้ยากำจัดศัตรูพืช
และ เมล็ดที่ถูกตัดแต่งทางพันธุกรรม (จีเอ็ม) ในการเกษตร และ สมาคมอุตสาหกรรมของชำ
ที่เป็นตัวแทนของผู้ผลิตอาหารแปรรูปใหญ่ที่สุดของโลก, และผู้กระจายสินค้า เช่น
โคคาโคลา, เปปซี่, และ เนสเล่ย์.
รวมทั้งหมด, พวกเขาทุ่มเงิน $41 ล้าน
(1,230
ล้านบาท) ในการโฆษณาและรณรงค์อื่นๆ, โดยอ้างว่า ญัตติ 37 “ต่อต้าน-วิทยาศาสตร์”, และจะนำไปสู่การเพิ่มราคาอาหารอย่างมหาศาล
และการห้ามจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย.
อย่างน้อย นสพ สองแห่ง ได้สรุปว่า แผงโฆษณา “ไม่เอา ญัตติ 37” บิดเบือนและหลอกลวง.
Now, one of the world's most
renowned scientists and environmental activists, Vandana Shiva, is speaking out
on behalf of proposition 37. Long a thorn in the side of Monsanto, Dr. Shiva
has taken on big bio-tech and agribusiness companies in her home country of
India and works with farmers groups all over the world to protect their right
to farm using their traditional methods and seeds.
ตอนนี้,
นักวิทยาศาสตร์และนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง, วันทนา
ศิวะ, กำลังลุกขึ้นพูดเพื่อสนับสนุนญัตติ 37. เป็นเวลานานแล้วที่เธอเป็นเสมือนหอกข้างแคร่ของ
มอนซานโต, ดร.ศิวะ ได้ต่อสู้กับบริษัทไบโอเทคและธุรกิจเกษตรใหญ่ๆ ในประเทศของเธอ
คือ อินเดีย และทำงานกับกลุ่มชาวนาทั่วโลก
เพื่อปกป้องสิทธิของพวกเขาที่จะทำการเพาะปลูกด้วยกรรมวิธีและเมล็ดดั้งเดิมของพวกเขา.
Trained as a physicist, Vandana
Shiva is the founder of Navadanya, "a movement which aims to protect
nature and people's rights to knowledge, biodiversity, water and food," by
creating community seed banks among other things. She just concluded a two week
long global action called seed freedom." She has written nearly two dozen
books, including Democratizing Biology: Reinventing Biology from a Feminist,
Ecological and Third World Perspective, and Soil Not Oil. Her forthcoming book
out next year is entitled Making Peace With the Earth: Beyond Land Wars And
Food Wars. Vandana Shiva has won a number of awards including the Sydney Peace
Prize and the Right Livlihood Award and was named by the Guardian newspaper as
one of their Top 100 most inspiring women.
ด้วยพื้นฐานที่ถูกฝึกให้เป็นนักฟิสิกส์,
วันทนา ศิวะ เป็นผู้ก่อตั้ง นวธัญญะ,
“ขบวนการหนึ่งที่มุ่งปกป้องธรรมชาติและสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงความรู้, ความหลากหลาย
(ทางชีวภาพ), น้ำและอาหาร”, ด้วยการก่อตั้งชุมชนธนาคารเมล็ดพันธุ์—หนึ่งในหลายๆ
อย่าง.
เธอเพิ่งสิ้นสุดปฏิบัติการโลกในสองสัปดาห์ ที่เรียกร้องเสรีภาพให้กับเมล็ดพันธุ์”. เธอได้เขียนหนังสือกว่า 20 เล่ม, รวมทั้ง “ให้ประชาธิปไตยแก่ชีววิทยา:
ประดิษฐ์ชีววิทยาใหม่จากมุมมองของสตรีนิยม, นิเวศ และโลกที่สาม”, และ “เอาดิน
ไม่เอาน้ำมัน”.
หนังสือเล่มใหม่ที่จะออกปีหน้ามีชื่อว่า “สร้างสันติกับธรณี: เหนือโพ้นสงครามที่ดินและสงครามอาหาร”.
วันทนา ศิวะ ได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้ง รางวัลสันติภาพซิดนีย์ และ รางวัลสัมมาชีพ
และได้ถูกเลือกโดย หนังสือพิมพ์ the
Guardian ว่าเป็นหนึ่งในสตรีชั้นนำ 100 คนที่สร้างแรงบันดาลใจมากที่สุด.
I had the opportunity to recently
speak with Vandana Shiva during her visit to Los Angeles where she was
promoting a "Yes" vote on Prop 37.
ฉันมีโอกาสเมื่อเร็วๆ
นี้ พูดคุยกับ วันทนา ศิวะ ในระหว่างการเยือนลอสแองเจิลลิส
ที่เธอช่วยส่งเสริมให้ลงคะแนน “เอา” ญัตติ 37.
Kolhatkar: One of the most exciting developments since I last spoke to
you is the ballot measure proposition 37 which has garnered a lot of excitement
here in the state. As somebody who is an international activist, how far behind
is the US government on the issue of labeling genetically modified organisms in
our food?
ถาม: วิวัฒนาการหนึ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดตั้งแต่ฉันได้พูดกับคุณครั้งล่าสุด
คือ มาตรการลงคะแนนญัตติ 37
ที่ได้สร้างความตื่นเต้นอย่างมากในสหรัฐฯ.
ในฐานะที่เป็นนักกิจกรรมสากล, รัฐบาลสหรัฐฯ รั้งท้ายแค่ไหนในการติดฉลาก
จีเอ็ม ในอาหารของเรา?
Shiva: I think Proposition 37 is an opportunity for both the US
citizens - and I put the US citizens first - and the US government, to catch up
with the rest of the world. Europe has had mandatory labeling from early 2003. India
has just announced mandatory labeling beginning in January 2013. And this is
out of a case we filed in 2006 saying every citizen has a right to know what
they are eating and a right to choose: Do they want to be vegetarians or non
vegetarians? Do they want to be chemical eaters or do they want to be organic
eaters? Do they want to be GMO eaters or non-GMO eaters?
ตอบ: ฉันคิดว่า ญัตติ 37 เป็นโอกาสให้ทั้งพลเมืองสหรัฐฯ—และฉันขอเอาพลเมืองสหรัฐฯ
ขึ้นหน้า—และรัฐบาลสหรัฐฯ, ให้ไล่ทันส่วนอื่นของโลก. ยุโรปได้บังคับให้ติดฉลากตั้งแต่ต้นปี 2003.
อินเดียเพิ่งออกประกาศบังคับให้ติดฉลาก เริ่มในเดือนมกราคม 2013.
และนี่ก็เป็นผลจากการที่เรายื่นฟ้องในปี 2006 บอกว่า
พลเมืองทุกคน มีสิทธิ์ที่จะรู้ว่าพวกเรากำลังกินอะไรเข้าไป และมีสิทธิ์ที่จะเลือก: พวกเขาต้องการจะกินมังสวิรัติ หรือไม่ใช่มังสวิรัติ? พวกเขาต้องการกินสารเคมี
หรือพวกเขาต้องการกินอาหารอินทรีย์?
พวกเขาต้องการเป็นผู้กินจีเอ็มโอ หรือ ไม่ใช่จีเอ็มโอ?
These are fundamental choices and if
on chemicals, we can accept labeling, if on transfats we can accept labeling,
on simple things like how much salt and sugar is in our food, we can accept
labeling, why should the government and the industry be scared of just putting
a label saying, "This has GMOs." Especially if they are not worried
about what GMOs do and they are not worried about how many facts they are
suppressing in the process of pushing GMOs on unwilling consumers not getting
the full information.
เหล่านี้เป็นทางเลือกพื้นฐาน
และถ้าเป็นเรื่องสารเคมี, เราสามารถยอมรับการติดฉลากได้, หากเป็น ทรานสแฟ็ต เราก็สามารถยอมรับการติดฉลากได้,
เกี่ยวกับเรื่องง่ายๆ เช่น มีเกลือและน้ำตาลมากแค่ไหนในอาหารของเรา, เราสามารถยอมรับการติดฉลากได้,
แล้วทำไมรัฐบาลและอุตสาหกรรมจึงต้องหวาดกลัวกับเพียงแค่การติดฉลาก บอกว่า,
“อันนี้มี จีเอ็มโอ”. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าพวกเขาไม่มีความกังวลว่า จีเอ็มโอ จะทำอะไรได้ และพวกเขาก็ไม่มีความกังวลต่อข้อเท็จจริงมากมายที่พวกเขาพยายามปิดบัง
ในกระบวนการยัดเยียด จีเอ็มโอ เข้าปากผู้บริโภคที่ไม่เต็มใจ
ผู้ไม่ได้รับข้อมูลเต็มที่.
Kolhatkar: You are a scientist by background - your training is in
science. Those who are against prop 37 such as Monsanto, which is a long time
foe of yours, say that Proposition 37 is anti-science, because there is no
evidence that GMOs harms human beings. Does one actually need evidence of harm
in order to have labeling?
ถาม: พื้นเพของคุณเป็นนักวิทยาศาสตร์—คุณได้รับการฝึกอบรมในสาขาวิทยาศาสตร์. พวกที่ต่อต้าน ญัตติ 37 เช่น มอนซานโต, ซึ่งเป็นศัตรูของพวกคุณมานานด้วย,
บอกว่า ญัตติ 37
เป็นมาตรการต่อต้านวิทยาศาสตร์, เพราะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า จีเอ็มโอ
เป็นอันตรายต่อมนุษย์. จริงๆ แล้วมันจำเป็นต้องมีหลักฐานของการทำอันตราย
เพื่อรับรองการติดฉลากไหม?
Shiva: Well I think the labeling question is totally separate from
the scientific debate of safety. A label is just a fundamental democratic
issue. It's about the freedom of citizens' right to know and choose. A certain
amount of salt is not harmful for us, but we still put it on the label. Calcium
is not harmful for us; we still put it on the label, just for people to make
decisions on the basis of information.
ตอบ: ฉันคิดว่า คำถามของการติดฉลาก ต้องแยกขาดจากการถกเถียงทางวิทยาศาสตร์ถึงความปลอดภัย. ฉลาก
เป็นเพียงประเด็นของประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน.
มันเกี่ยวกับอิสรภาพของสิทธิพลเมืองที่จะรู้และเลือก. เกลือปริมาณแน่นอนหนึ่งๆ
ไม่เป็นอันตรายต่อพวกเรา, แต่เราก็ยังเขียนใส่ในฉลาก. แคลเซียมไม่เป็นอันตรายต่อพวกเรา,
เราก็ยังเขียนใส่ฉลาก, เพียงเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล.
Earlier this year, CODEX
Alimentarius which is the highest body on food safety, said every country has a
right to label. This was after a twenty year tussle where the United States had
tried to block the right to label as a global right, because then they could
have used labeling to sue countries, which they did with Europe.
ตอนต้นปีนี้,
CODEX Alimentarius ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร,
กล่าวว่า ทุกๆ ประเทศมีสิทธิ์ที่จะติดฉลาก.
นี่เกิดขึ้นหลังจากการชักคะเย่อกันมา 20 ปี ที่สหรัฐฯ
ได้พยายามกีดกันไม่ให้สิทธิในการติดฉลากเป็นสิทธิของโลก,
เพราะพวกเขาจะได้ใช้การติดฉลากฟ้องร้องประเทศได้, ซึ่งพวกเขาก็ได้ทำไปแล้วกับยุโรป.
There are of course huge scientific
issues related to GMOs and tragically it is corporations like Monsanto who are
pushing anti-science, non-science on the public. I have lived long enough with
this issue to know what they’ve done across the world. I was on the first
expert group set up by the United Nations to frame the bio-safety protocol and
I saw how in the United Nations they tried to mislead.
แน่นอน
มีประเด็นทางวิทยาศาสตร์มากมายเกี่ยวกับ จีเอ็มโอ และ
มันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่บรรษัทเช่น มอนซานโต เป็นฝ่ายยัดเยียดสิ่งที่ต่อต้านวิทยาศาสตร์
และสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ให้แก่สาธารณชน.
ฉันมีชีวิตอยู่มานานพอกับประเด็นพวกนี้จนรู้ว่า พวกเขาได้ทำอะไรไปทั่วโลก.
ฉันเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญชุดแรกที่ก่อตั้งโดยสหประชาชาติ
ให้ตีกรอบพิธีสารความปลอดภัยเชิงชีวะ และฉันได้เห็นในสหประชาชาติด้วยว่า พวกเขาได้พยายามบิดเบือนให้ไขว้เขวอย่างไร.
The United Nations which represents
countries across the world wouldn't have a protocol on bio-safety if safety had
been proven. Now unfortunately the United States is not a signatory [to that
protocol] and therefore it is constantly denying its citizens the rights that
citizens elsewhere have.
สหประชาชาติ
ที่เป็นตัวแทนของประเทศทั่วโลก คงจะไม่มีพิธีสารเกี่ยวกับความปลอดภัยเชิงชีวะ
หากพิสูจน์ได้ว่ามีความปลอดภัยแล้ว.
ตอนนี้ โชคไม่ดี สหรัฐฯ ไม่ได้ร่วมลงนาม (ในพิธีสารนั้น) ดังนั้น
รัฐบาลจึงยังคงปฏิเสธสิทธิของพลเมืองเรื่อยมา ทั้งๆ ที่พลเมืองที่อื่นๆ
มีสิทธิ์ดังกล่าวแล้ว.
On the Science question, what is the
science of genetic engineering? It is really not a science; it is a technology
of shooting a gene that doesn’t belong to a plant through two means. One is a
gene gun and one is an agro bacterium or a plant cancer. You don’t know where
it’s landing; you don’t have the science of prediction. You don’t know what it
is doing. You don’t know if it is getting absorbed, that is why you add
antibiotic resistance markers. You know the plant is not expressing it so you
add super virulent viruses to pump up the expression. They’re called promoters.
ต่อคำถามด้านวิทยาศาสตร์,
อะไรคือวิทยาศาสตร์ของพันธุวิศวกรรม?
มันไม่ใช่วิทยาศาสตร์จริงๆ, มันเป็นเทคโนโลยีของการฉีดพันธุกรรมหนึ่งที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพืชมาก่อน
ด้วยสองวิธีการ. ทางหนึ่งคือ ใช้ปืนพันธุกรรม
และ อีกส่วนคือ ใช้แบคทีเรียเกษตร หรือ มะเร็งพืช. คุณไม่อาจรู้ได้ว่า มันจะไปจบลงที่ตรงไหน,
คุณไม่มีวิทยาศาสตร์แห่งการพยากรณ์.
คุณไม่รู้เลยว่า มันกำลังทำอะไรอยู่.
คุณไม่อาจรู้ได้ว่า มันถูกซึมซับเข้าไปหรือเปล่า,
นั่นคือเหตุผลที่คุณเติมเครื่องหมายของการดื้อยาปฏิชีวนะลงไป. คุณรู้ว่า พืชไม่สามารถพูด/แสดงออกได้ ดังนั้น
คุณจึงเติมซุปเปอร์ไวรัสที่มีพิษแรงสูง เพื่อให้พืชแสดงอาการตอบสนอง. พวกนี้มีชื่อว่า โปรโมเตอร์ (ตัวส่งเสริม).
So, you have a bundle of toxic risky
genes. All of the real science tells us there is a phenomenon called horizontal
gene transfer in nature. Vertical transfer is where your genes are taken from
your parents, so it's offspring to offspring. Horizontal transfer is when it
moves across species. We know the bacteria in our food hybridize with the
bacteria in our gut. We know the viruses in our food hybridize with the viruses
in our gut. We know, in spite of them saying the BT toxin doesn't last, new
studies in Canada show it has been found in the blood of pregnant women and in
the fetuses they've given birth to.
และแล้วคุณก็มีมัดสายพันธุ์ที่เป็นพิษและเสี่ยง. วิทยาศาสตร์ที่แท้จริงทั้งหลายบอกเราว่า
ในธรรมชาติ มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การส่งถ่ายพันธุกรรมในแนวนอน. การส่งถ่ายในแนวตั้ง คือ
การที่พันธุกรรมของคุณมาจากพ่อแม่ของคุณ, ดังนั้น จึงเป็นลูกสู่ลูก. การส่งถ่ายในแนวนอน
เป็นการขนถ่ายข้ามสายพันธุ์. เรารู้ว่า
แบคทีเรียในอาหารของเราผสมพันธุ์กับแบคทีเรียในลำไส้ของเรา. เรารู้ว่า
ไวรัสในอาหารของเราผสมพันธุ์กับไวรัสในลำไส้ของเรา. เรารู้ว่า, ทั้งๆ ที่พวกเขาพร่ำบอกว่า พิษของ
บีที ไม่คงทนอยู่นาน, การศึกษาใหม่ๆ ในแคนาดา ได้แสดงให้เห็นว่า
มันถูกพบในเลือดของหญิงมีครรภ์ และในตัวอ่อนที่พวกเธอกำลังจะให้กำเนิด.
A new 2 year feeding study in France
showed high levels of cancer in mammals. A similar study had similar results,
in Russia at the Academy of Sciences. These are independent studies done by
scientists with absolutely no involvement in any business industry interest.
They are what we call public scientists.
ในการศึกษาชิ้นใหม่จากการป้อนเลี้ยง
(อาหารจีเอ็ม) ถึงสองปี ในฝรั่งเศส ได้แสดงถึงผลของการเป็นมะเร็งระดับสูงในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม. การศึกษาคล้ายกันอีกชิ้นหนึ่ง ก็ให้ผลเหมือนกัน, ในสถาบันวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย. เหล่านี้เป็นการศึกษาที่เป็นอิสระ
ไม่เกี่ยวข้องกัน
โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิงกับผลประโยชน์จากธุรกิจอุตสาหกรรมใดๆ. พวกเขาเป็นพวกที่เราเรียกว่า
นักวิทยาศาสตร์สาธารณะ.
The UK government asked Hungarian
scientist Arpad Putzai, one of the most eminent scientists to do a study on GM
foods, way back around 1998 and he did it. He was actually a promoter of
genetic engineering, but when he did the study, he found the following result:
the rats he had fed had shrunken brains, enlarged pancreases and a collapse of
immunity. He went to his director and said if this has happened with three
months of feeding rats, what will happen to a lifetime of feeding human beings?
He wanted to inform the public. They did, and he went all over BBC immediately.
รัฐบาลอังกฤษ
ได้ขอให้นักวิทยาศาสตร์ฮังการี อาร์พัด พุตไซ, เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง
ให้ทำการศึกษาอาหารจีเอ็ม, นานแล้วประมาณปี 1998 และเขาก็รับงานนั้นไปทำ. ที่จริง
เขาเป็นคนหนึ่งที่เคยส่งเสริมพันธุวิศวกรรม, แต่พอเขาทำการศึกษาไป,
เขาได้พบผลดังนี้: หนูทดลองที่เขาป้อน มีสมองฝ่อ, ตับอ่อนโตเกิน
และภูมิคุ้มกันไม่ทำงาน.
เขาไปหาผู้อำนวยการของเขา และกล่าวว่า หากนี่เกิดขึ้นได้กับหนูทดลองที่เขาเลี้ยงอยู่สามเดือน,
แล้วอะไรจะเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ที่กินอาหาร (จีเอ็ม) ตลอดชีวิต? เขาต้องการจะแจ้งต่อสาธารณชน. เขาได้ทำเช่นนั้น, และเขาก็รี่ตรงไปหา บีบีซี
ทันที.
Then, a call was made from Monsanto
to Bill Clinton to Tony Blair to get rid of this top scientist who had left
Hungary for freedom. And he said "I had more freedom in Communist Soviet
Union, in Hungary, than in corporate ruled England." That freedom is what
the US is losing and US citizens are losing as corporations take over our
science, our decision-making, our food systems and our seed.
และแล้ว,
มอนซานโตก็โทรศัพท์ไปหา บิล คลินตัน, ไปหา โทนี แบลร์
ให้กำจัดนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดคนนี้ ผู้ได้ละฮังการี เพื่อเสรีภาพ. และเขาได้กล่าวว่า
“ผมมีอิสรภาพในสหภาพโซเวียตคอมมิวนิสต์, มากกว่าในอังกฤษที่อยู่ภายใต้การครอบครองของบรรษัท”. อิสรภาพนั้น เป็นสิ่งที่สหรัฐฯ กำลังสูญเสียไป
และพลเมืองสหรัฐฯ กำลังสูญเสียไป เมื่อบรรษัทเข้าครอบครองวิทยาศาสตร์ของเรา,
การตัดสินใจของเรา, ระบบอาหารของเรา และเมล็ดพันธุ์ของเรา.
So Proposition 37 is not an
insignificant proposition. It is, in a way, a reflection of the larger debate
in this election. Will money run it or will the people’s democratic votes run
it? Will democracy in America be “of the people, by the people, for the people”
or is it going to be reduced to “of the corporations, by the corporations, for
the corporations?” In which case, you have corporate rule and corporate rule
means corporate dictatorship and corporate dictatorship as Mussolini said is
Fascism. The convergence of political power with economic power is a very
dangerous moment, but it is also a moment that pushes us to create new levels
of aspiration and actions for freedom.
ดังนั้น
ญัตติ 37 ไม่ใช่ญัตติที่ไม่มีนัยสำคัญ.
มันเป็นภาพสะท้อนของการถกเถียงในวงกว้างกว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้. เงิน หรือ คะแนนเสียงประชาธิปไตยของประชาชน
จะเป็นผู้กำกับการเลือกตั้ง?
ประชาธิปไตยในอเมริกา จะเป็น “ของประชาชน, โดยประชาชน, เพื่อประชาชน” หรือ
มันจะถูกลดทอนเป็น “ของบรรษัท, โดยบรรษัท, เพื่อบรรษัท”? ในประการหลัง, คุณมีบรรษัทครอบครอง,
และการครอบครองของบรรษัท หมายถึง เผด็จการบรรษัท และ เผด็จการบรรษัท
ดังที่มุสโสลินี กล่าวไว้ คือ ลัทธิฟาสซิสต์.
การบรรจบสุมหัวของอำนาจทางการเมืองกับอำนาจทางเศรษฐกิจ
เป็นห้วงเวลาที่อันตรายมาก, แต่มันก็เป็นห้วงเวลาที่ผลักดันให้พวกเราสรรค์สร้างความทะยานอยากในระดับใหม่
และ ปฏิบัติการเพื่ออิสรภาพด้วย.
Kolhatkar: What would the ripple effect be, if Californians passed
Proposition 37? This is the biggest state, the most economically successful
state in the union. It is also the ninth largest economy in the world and, as
you have said, the US is so far behind other countries. Could there be a ripple
effect far beyond California and globally if labeling, were to become law in
California?
ถาม: อะไรจะเป็นแรงกระเพื่อมจากผลกระทบ,
หากชาวแคลิฟอร์เนีย ผ่านญัตติ 37? นี่เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด,
รัฐที่ประสบความสำเร็จเชิงเศรษฐกิจสูงที่สุดในสหภาพ.
มันยังเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่เก้าของโลก และ,
ดังที่คุณได้กล่าวไว้แล้ว, สหรัฐฯ รั้งท้ายประเทศอื่นๆ มาก. แล้วผลกระทบจะส่งแรงกระเพื่อมไปได้ไกลกว่าแคลิฟอร์เนียและถึงระดับโลกได้ไหม
หากการติดฉลาก ได้กลายเป็นกฎหมายในแคลิฟอร์เนีย?
Shiva: I think there'd be a huge ripple effect - not in the way
fear-mongers, the "No to Proposition 37" people are saying. They're
saying there will be a $400 cost per family. That's nonsense, labeling has
never ever increased cost. You have to just look at what happened in Europe.
You just have to look at what happened with other food labeling. So this is
totally creating fear, especially among the less privileged, who are already
having a difficult time meeting their food bills.
ตอบ: ฉันคิดว่า จะมีแรงกระเพื่อมมหาศาลทีเดียว—ไม่ใช่แบบพวกกระต่ายตื่นตูม,
อย่างที่ผู้คนกำลังบอกว่า “ไม่เอาญัตติ 37”. พวกเขากำลังบอกว่า
จะทำให้แต่ละครอบครัวใช้เงินเพิ่มขึ้น $400. นั่นเป็นเรื่องไร้สาระ, การติดฉลากไม่เคยเพิ่มต้นทุนให้ใคร.
คุณเพียงแต่เหลียวไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นในยุโรป.
คุณเพียงแต่มองดูได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับการติดฉลากอาหารอื่นๆ. แล้วทำไม อันนี้จึงสร้างความกลัวมากมาย,
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ด้อยโอกาส, ผู้มีรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัวอยู่แล้ว.
The second thing they're saying is
there will be too much of a burden, a segregation of products. This is already
an obligation that California has when it exports. Europe requires segregation.
You can't mix up GM seeds with non-GM seeds, so you are anyway doing it for
your export market. Why don't you then expand it to your citizens? Surely they
should be treated at least as equal to citizens elsewhere.
สิ่งที่สองที่พวกเขากำลังบอก
คือ จะเกิดภาระยุ่งยาก ในการแยกผลผลิต. นี่เป็นหน้าที่ของแคลิฟอร์เนียอยู่แล้วเมื่อต้องส่งออก. ยุโรปต้องการให้แยก. คุณไม่สามารถผสมปนเปเมล็ดจีเอ็มกับเมล็ดที่ไม่ใช่จีเอ็ม,
ดังนั้น คุณทำอยู่แล้วสำหรับตลาดส่งออก.
แล้วทำไมคุณจึงไม่ยอมขยายให้ครอบคลุมพลเมืองของคุณเอง? แน่นอน พวกเขาควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับพลเมืองในที่อื่นๆ.
I hope Proposition 37 goes through
and I’m throwing all my weight behind it, which is a vote for truth against
lies. Washington has actually been held captive by the Monsantos of this
country and their lobby groups. The biggest ripple effect of prop 37 passing
will be to liberate Washington and we need liberation of Washington to liberate
the rest of the world.
ฉันหวังว่า
ญัตติ 37
จะประสบความสำเร็จ และ ฉันก็กำลังออกแรงหนุนหลังเต็มที่, มันเป็นการลงคะแนนให้ความจริงปรากฏ
ต่อต้านการโกหก. อันที่จริง
วอชิงตันถูกจับตัวกักขังไว้โดยมอนซานโตของประเทศนี้
และพวกกลุ่มนักล็อบบี้ของพวกเขา.
แรงกระเพื่อมที่ใหญ่ที่สุดจากผลกระทบของการผ่านญัตติ 37 จะเป็นการปลดแอกวอชิงตัน และเราจำเป็นต้องปลดแอกวอชิงตัน
เพื่อปลดแอกส่วนที่เหลือของโลก.
I've had to deal with my country of
India where Washington dictates to the Prime Minister's office. They now have
an agreement called the US Indian Knowledge Agreement in Agriculture. Monsanto sits
on the board and the Prime Minister's office tells the regional governments,
sign an agreement with Monsanto, hand over your seeds, genetic resources,
research, and let them patent everything India's done for five thousand years
of farming. We had to do a massive "Bija yatra," or a "seed
liberation journey" to get that Memorandum of Understanding (MOU) of
Rajasthan canceled.
ฉันได้รับมือกับอินเดีย
ประเทศของฉัน ที่วอชิงตันได้บงการถึงสำนักนายกรัฐมนตรี. ตอนนี้ พวกเขามีข้อตกลงที่เรียกว่า
ข้อตกลงความรู้ของสหรัฐฯ-อินเดียในด้านเกษตรกรรม.
มอนซานโตนั่งอยู่ในคณะกรรมการนี้
และสำนักนายกรัฐมนตรีบอกรัฐบาลในภูมิภาคให้เซ็นสัญญากับมอนซานโต, ส่งมอบเมล็ดในพื้นที่,
ทรัพยากรเชิงพันธุกรรม, งานวิจัย,
และให้พวกเขาจดลิขสิทธิ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่อินเดียได้ทำมาในช่วง ๕,๐๐๐ ปีของการทำเกษตร. พวกเราต้องระดมพลังมวลชนทำการ “พิชายาตรา” หรือ
“การเดินเพื่อปลดแอกเมล็ด” เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกข้อตกลงแห่งราชสถาน.
Poor little Nepal, a tiny country
bullied by Washington, was told “if you don’t accept GMOs and write an
agreement with Monsanto, we won’t give you aid.” Again my colleagues in Nepal
had to do a massive mobilization to say no to GMOs and no to Monsanto.
เนปาลน้อยๆ
ที่น่าสงสาร, ประเทศเล็กๆ ที่ถูกวอชิงตันรังแก, ถูกสั่งว่า “หากคุณไม่ยอมรับ
จีเอ็มโอ และเขียนข้อตกลงกับมอนซานโต, เราจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่คุณ”. อีกครั้ง เพื่อนร่วมงานของฉันในเนปาล
ต้องระดมมวลชนเพื่อขับเคลื่อน บอกว่า ไม่เอากับจีเอ็มโอ และ ไม่เอากับมอนซานโต.
So today the empire is a “GMO empire”
because it is a patent empire that collects royalties. The British collected
royalties from land and became the power of the world by stealing from
peasants, which created the hunger of India and the two million deaths during
the great Bengal Famine.
ดังนั้น
ทุกวันนี้ อาณาจักร คือ “อาณาจักร จีเอ็มโอ” เพราะมันเป็นอาณาจักรของการจดลิขสิทธิ์ที่คอยตามเก็บค่าลิขสิทธิ์. สหราชอาณาจักรเก็บค่าลิขสิทธิ์จากที่ดิน
และกลายเป็นมหาอำนาจของโลกด้วยการขโมยจากชาวนา, ซึ่งเป็นการสร้างความหิวโหยของอินเดีย
และ คนตายสองล้าน ในระหว่างมหาทุพภิกขภัยเบงกอล.
Today the super extractions through
royalties on seeds are linked to GMOs. GMOs have no other purpose except to
bring royalties to Monsanto. That is why Brazilian farmers have sued Monsanto
for $2.2 billion. That is why nearly a quarter million Indian farmers have
committed suicide because of the royalties they are paying and the debt they're
getting into. The ripple effect is absolutely huge.
ทุกวันนี้
ซุปเปอร์นักสูบสกัดด้วยการเก็บค่าลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ เชื่อมโยงกับจีเอ็มโอ. จีเอ็มโอ
ไม่มีวัตถุประสงค์อื่นยกเว้นนำค่าลิขสิทธิ์เข้ากระเป๋ามอนซานโต. นี่เป็นเหตุผลที่ชาวนาบราซิล
ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากมอนซานโต $2.2
พันล้าน. นั่นเป็นเหตุผลว่า
ทำไมชาวนาอินเดีย ¼
ล้านคน ต้องฆ่าตัวตายเพราะค่าลิขสิทธิ์ที่พวกเขาต้องจ่าย
และหนี้สินที่พวกเขาติดหล่มอยู่.
แรงกระเพื่อมของผลกระทบนี้มีมหาศาลทีเดียว.
Freedom in my view is indivisible
and that is why every step we take anywhere in the world matters. For example,
the parliamentary committee of India has said there is no role for GMOs in
agriculture after the suicides. Our recent technical group appointed by the
Supreme Court has said there should be a ten year moratorium on GMOs til we
start to do more independent science, to inform the public that most of what is
passed as science these days is Monsanto’s public relations, because they just
literally kill the work, research, the lab of every independent scientist.
อิสรภาพในความเห็นของฉัน
แบ่งแยกไม่ได้ และนั่นคือเหตุผลว่า ทำไมทุกๆ ก้าวที่เราเดินไป ไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก
มีความสำคัญ. เช่น,
คณะกรรมาธิการรัฐสภาในอินเดีย ได้บอกว่า จีเอ็มโอไม่มีบทบาทใดๆ ต่อไปหลังจากอัตวินิบาตกรรม. คณะวิชาการของเรา ที่ศาลสูงสุดได้แต่งตั้งขึ้นเมื่อเร็วๆ
นี้ ได้บอกว่า ควรจะมีการระงับจีเอ็มโอชั่วคราวเป็นเวลา 10 ปี จนกว่าเราจะเริ่มทำการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นอิสระ,
เพื่อแจ้งสาธารณชนได้ว่า สิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์อยู่ทุกวันนี้
เป็นการโฆษณาชวนเชื่อของมอนซานโต, เพราะพวกมันมีแต่ฆ่างาน, การวิจัย,
ห้องทดลองของนักวิทยาศาสตร์อิสระทุกๆ คน.
They're going after Seralini, there
going after Arpad Putzai, and the only reason they've not gotten rid of me is
that I got rid of a job I had in 1982. I have no job they can take away from me
and that is the reason I've carried on for twenty-five years.
พวกเขาไล่ล่าตาม
เซอราลินี, อาร์พัด พุตไซ, และเหตุผลเดียวที่พวกเขายังไม่ได้กำจัดฉันได้ คือ
ฉันได้กำจัดงานที่ฉันทำในปี 1982.
ฉันไม่มีงานที่พวกเขาสามารถแย่งไปจากฉันได้ และ
นั่นคือเหตุผลที่ฉันสามารถทำงานนี้ได้มาตลอด 25 ปี.
Kolhatkar: You talk about "seed slavery" and I want to ask
you about that, because "slavery" is a heavy word. If seeds can be
owned then food can be owned which in turn allows these corporations to control
life - is that what you mean by "seed slavery?"
ถาม: คุณพูดเรื่อง “ทาสเมล็ด”
และฉันขอถามคุณเรื่องนั้น, เพราะ “ทาส” เป็นคำที่หนักหน่วง. หากเมล็ดสามารถถูกครอบครองได้
แล้วอาหารก็สามารถถูกครอบครองได้ ซึ่งในทางกลับกัน เป็นการยอมให้บรรษัทควบคุมชีวิต—อันนี้เป็นสิ่งที่คุณหมายถึง
“ทาสเมล็ด” ไหม?
Shiva: I mean exactly that. After all, what was slavery when human
beings were owned and captured in Africa, brought to cotton plantations in this
country? They were owned as property, to be bought and sold.
ตอบ: ฉันหมายถึงเช่นนั้นแน่นอน. ทั้งนี้และทั้งนั้น, การเป็นทาสคืออะไร
เมื่อมนุษย์ถูกครอบครองและถูกจับในอาฟริกา, ถูกนำเข้าสู่ไร่ฝ้ายในประเทศนี้? พวกเขาถูกครอบครองดั่งสมบัติ,
เพื่อถูกซื้อและถูกขาย.
Monsanto writes the WTO agreement on
intellectual property and Monsanto is on record saying, "we were the
patient, the diagnostician, and the physician all in one, we define the
problem." And for them the problem was that farmers save seeds. And they
offered a solution that it should now be a criminal offense to save seeds.
According to them seeds should be an intellectual property and they created
this new fictitious law of intellectual property and patents on seeds, as if
they were the inventors and creators of life on earth.
มอนซานโตเขียนในข้อตกลงขององค์การค้าโลก
เรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญา และมอนซานโตได้ถูกบันทึกไว้ว่าได้กล่าวว่า
“พวกเราเป็นทั้งผู้ป่วย, เป็นผู้วินิจฉัยโรค, และเป็นหมอในคนเดียวกัน,
พวกเราเป็นผู้นิยามปัญหา”.
และสำหรับพวกเขา ปัญหาคือ ชาวนาเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้เอง. แล้วพวกเขาก็เสนอทางออกว่า
ตอนนี้ให้การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นเรื่องอาชญากรรม. พวกเขาบอกว่า เมล็ดพันธุ์ควรจะเป็นสมบัติ/ลิขสิทธิ์ทางปัญญา
และ พวกเขาก็สร้างกฎหมายจอมปลอมใหม่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ทางปัญญา
และจดลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์, ประหนึ่งว่า พวกเขาเป็นผู้ประดิษฐ์
หรือผู้สร้างชีวิตบนผืนพิภพ.
When I heard these corporations in
1987 use this language of intellectual property, I said they want a slavery of
life on this planet. If I tell a plant, "I have created you and your next
generation is my property and I will manipulate you to my will, I will put in
toxic genes so that I can sell more toxics; I will put terminator genes so that
there is no future seed, it's a sterile seed," this is the ultimate
slavery.
เมื่อฉันได้ยินบรรษัทเหล่านี้ในปี
1987 ที่ใช้ภาษาของสิทธิทางปัญญา, ฉันบอกว่า
พวกเขาต้องการชีวิตของความเป็นทาสในโลกนี้.
หากฉันบอกพืชว่า, “ฉันได้สร้างเจ้าขึ้นมา และรุ่นต่อๆ
ไปของเจ้าเป็นสมบัติของฉัน และฉันจะบงการเจ้าตามอำเภอใจของฉัน,
ฉันจะใส่พันธุกรรมพิษในตัวเจ้า เพื่อฉันจะได้ขายสารพิษได้มากขึ้น, ฉันจะใส่พันธุกรรมพิฆาต
เพื่อเมล็ดจะได้ไม่มีอนาคต, มันเป็นเมล็ดหมัน”, นี่เป็นระบบทาสชัดๆ.
The earlier slavery was for one
species, some people of the human species. This new slavery is an empire over
all life on earth and it is also leading to human slavery. More than a quarter
million farmers in India have committed suicide. They became seed slaves. That’s
why they ended their lives. They couldn’t find a way out.
ระบบทาสในสมัยก่อนๆ
เป็น (การครอบครอง) เพียงสายพันธุ์เดียว, คนบางคนในสายพันธุ์มนุษย์. ระบบทาสใหม่นี้ เป็นอาณาจักรที่ครอบคลุมชีวิตทั้งหมดในพิภพ
และ มันกำลังทำให้มวลมนุษย์เป็นทาสด้วย.
ชาวนากว่า ¼ ล้านในอินเดียต้องฆ่าตัวตาย.
พวกเขาได้กลายเป็นทาสเมล็ดพันธุ์.
นั่นคือเหตุผลที่พวกเขาปลิดชีพตัวเอง.
พวกเขาไม่สามารถหาทางออกได้.
The farmer in Europe who is being chased
by new seed laws that these companies are putting in place are being told
"you can't have your own seed. If you have your own seed that's a crime.
Diversity is a crime. Your own seed freedom is a crime."
ชาวนาในยุโรปผู้ถูกไล่ล่าจากกฎหมายเมล็ดพันธุ์ฉบับใหม่
ที่บรรษัทเหล่านี้ได้นำเข้าไปบรรจุไว้ กำลังถูกบอกว่า “คุณไม่สามารถมีเมล็ดพันธุ์ของตัวเองได้. หากคุณมีเมล็ดของตัวเอง ก็เป็นอาชญากรรม. ความหลากหลาย (ทางชีวภาพ) เป็นอาชญากรรม. คุณครอบครองอิสรภาพของเมล็ด ก็เป็นอาชญากรรม”.
This is why we are making a call for
“seed freedom” globally. And we have created the Global Citizen’s Alliance for
Seed Freedom which issued a new report. The report is global, both in the
positive steps that citizens are taking everywhere to liberate seeds and fight
these corporations, as well in as the new laws and the new implementations they’re
trying to shape.
นี่คือเหตุผลว่า
ทำไมเราจึงออกมาเรียกร้องให้มี “เสรีภาพของเมล็ดพันธุ์” ทั่วโลก. และพวกเราก็ได้สร้าง “พันธมิตรกของพลเมืองโลกเพื่อเสรีภาพของเมล็ด”
ที่ได้เผยแพร่รายงานชิ้นใหม่. รายงานนี้ครอบคลุมทั่วโลก,
ทั้งในก้าวย่างด้านบวกที่พลเมืองกำลังเดินหน้าทุกหนแห่ง เพื่อปลดแอกเมล็ด
และต่อสู้กับบรรษัทเหล่านี้, ตลอดจนกฎหมายใหม่ และ
การดำเนินงานที่พวกเขาพยายามผลักดัน.
If you take it all into account what
we really need is something like the abolition movement. It was a handful of
people who thought it was wrong that people should own other people. When I
started 25 years ago it was a handful of us who thought it was wrong that some
companies should decide to declare life as their creation and property and then
extract royalties and close our options.
หากคุณรวมเรื่องทั้งหมดเข้ามาดู
สิ่งที่เราต้องการจริงๆ เป็นบางอย่างคล้ายกับขบวนการล้มเลิก (เลิกทาส). มัน (เริ่มจาก) คนเพียงหยิบมือเดียวที่คิดว่า
เป็นการผิดที่คนกลุ่มหนึ่ง จะครอบครองคนกลุ่มอื่นได้. เมื่อฉันเริ่มต้นใน 25 ปีก่อน มันมีเพียงพวกเราหยิบมือเดียว ที่คิดว่า มันเป็นการผิดที่บางบริษัทจะมาตัดสิน
เพื่อประกาศว่าชีวิตเป็นสิ่งที่พวกเขาสร้าง และเป็นสมบัติของพวกเขา และเที่ยวรีดไถค่าลิขสิทธิ์
และปิดทางเลือกของพวกเรา.
Why are GMOs spreading so much?
Because GMOs are connected to patents. Only when GMOs grow will they collect
the royalties. That’s why all of Latin America grows Round Up Ready soya. All
of Brazil grows Round Up Ready soya. All of the farming areas of the mid-west
of this country grows GM corn and soya. Two percent of the soya is eaten as
food. The myth that GMOs are feeding the world is a big lie. It is feeding the
hunger for profits for just five corporations: Monsanto, Dupont, Syngenta,
Basf, and Dow.
ทำไม
จีเอ็มโอ ถึงกระจายตัวได้มากขนาดนั้น?
เพราะ จีเอ็มโอ เชื่อมโยงกับการจดลิขสิทธิ์. ต่อเมื่อมีการปลูกจีเอ็มโอ เท่านั้น ที่พวกเขาก็จะเริ่มเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้. นี่เป็นเหตุผลว่า
ทำไมคนในลาตินอเมริกาทั้งหมดจึงปลูกถั่วเหลือง ราวนด์อัพ. ทั้งหมดในบราซิลก็ปลูกถั่วเหลือง
ราวนด์อัพ.
พื้นที่เกษตรทั้งหมดในตะวันตกกลางของประเทศนี้ก็ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลือง
จีเอ็ม. ถั่วเหลืองเหล่านี้ เพียง 2% ที่ถูก (มนุษย์) กินเป็นอาหาร.
นิทานโกหกที่ว่า จีเอ็มโอ กำลังป้อนโลก เป็นเรื่องหลอกลวงใหญ่หลวง. มันกำลังป้อนความหิวกระหายกำไรของเพียงห้าบรรษัท:
มอนซานโต, ดูปองต์, ซินเจนตา, บาสฟ์, และ ดาว.
Kolhatkar: The standard argument is that they can create genetically
modified plants that are drought resistant and resistant to all of the temperaments
of nature, but in reality, don't these GM seeds often require more chemical
intervention, which then Monsanto happily sells to farmers?
ถาม: คำโต้เถียงมาตรฐาน คือ
พวกเขาสร้างพืช จีเอ็ม ที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง และทนทานต่อการแปรปรวนของธรรมชาติ,
แต่ในความเป็นจริง, เมล็ดจีเอ็มเหล่านี้ ล้วนต้องการสารเคมีมากขึ้นไม่ใช่หรือ,
ซึ่งมอนซานโตย่อมยินดีที่จะขายให้ชาวนา?
Shiva: Well, so far in these 20 years of commercialization of GM
crops (and we're not talking about the future we are talking about an experiment
of twenty years), there are only two traits that have commercialized on a large
scale. One is a family of crops called the BT crops in which a toxin is taken
from a soil organism and put into the plant. The claim is that it will control
one pest called the boll worm. But that pest has become resistant and new pests
have been created. In India 13 times more pesticide is being used on cotton
compared to what was being used before.
ตอบ: เอาล่ะ, ถึงตอนนี้ในช่วง 20 ปีของการค้าพืชจีเอ็ม
(และเราไม่ได้พูดถึงอนาคต เรากำลังพูดถึงการทดลองที่ยาวนาน 20 ปี), มีเพียงสองคุณสมบัติที่ถูกค้าขายในวงกว้าง. อันแรกคือครอบครัวพืชกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า พืช
บีที (BT) ที่ถูกตัดแต่งด้วยการเติมพันธุกรรมจากจุลินทรีย์ในดิน. ข้ออ้างคือ มันจะช่วยควบคุมศัตรูพืชตัวหนึ่งที่เรียกว่า
หนอนโบลล์. แต่ศัตรูพืชตัวนั้น
ได้กลายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยายิ่งขึ้น.
ในอินเดีย ต้องใช้ยากำจัดศัตรูพืชมากขึ้นกว่าเดิมถึง 13 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณที่พวกเขาเคยใช้ในการปลูกฝ้ายแต่เดิม.
The second family is the Round Up
resistant crops or the herbicide resistant crops. These herbicide resistant
crops were supposed to control weeds. Instead, the US has fifteen million
hectares of land overtaken by super weeds that can't be controlled by Round Up.
Now they are asking farmers to spray Agent Orange that was sprayed in Vietnam.
ครอบครัวพืชกลุ่มที่สอง
คือ พืชดื้อยา ราวน์ดอัพ หรือ พืชดื้อยากำจัดวัชพืช.
พืชดื้อยากำจัดวัชพืชเหล่านี้ควรทำหน้าที่ควบคุมวัชพืช.
แทนที่จะเป็นเช่นนั้น, สหรัฐฯ มีพื้นที่ถึง 15 ล้านเฮตเตอร์
ที่ถูกยึดโดยซุปเปอร์วัชพืชที่ไม่สามารถปราบด้วย ยาราวน์ดอัพ. ตอนนี้ พวกเขากำลังบอกให้เกษตรกรฉีดสเปรย์
เอเย่นต์ออเร๊นจ์ ซึ่งใช้ฉีดใน (สงคราม) เวียดนาม
(และได้ส่งผลร้ายต่อสุขภาพจนถึงปัจจุบัน).
So it is not the case that GMOs do
the work of weed control and pest control. Ecological farming does that much
better. The argument that they can engineer climate resilience with a single
gene is, again, a false claim. It's an anti-scientific claim. All complex
traits like resilience to the environmental stress whether it is climate or a
pest are multi-genetic traits. Many genes come into play.
ดังนั้น
มันไม่ใช่เป็นเรื่องที่ว่า จีเอ็มโอ ทำงานควบคุมวัชพืชและแมลง. เกษตรเชิงนิเวศทำงานนี้ได้ดีกว่ามาก. ข้ออ้างที่ว่า พวกเขาจะทำการตัดแต่ง (วิศวกรรม)
ให้พืชมีความยืดหยุ่นเข้ากับภูมิอากาศ ด้วยการตัดเติมพันธุกรรม (ยีนส์) ตัวเดียว,
เป็นการอ้างที่ผิด.
มันเป็นข้ออ้างที่ต่อต้านวิธีการทางวิทยาศาสตร์. คุณสมบัติซับซ้อนทั้งปวง เช่น ความยืดหยุ่นต่อความเครียดในสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าจะเป็นภูมิอากาศ หรือ ศัตรูพืช ล้วนมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน. ยีนส์ตัวอื่นๆ มากมายก็เล่นบทของมันด้วย
(โดยที่เรายังไม่รู้เท่าทัน).
These seeds have been evolved by
farmers and nature over millennia. My organization, Navdanya, with its 110 seed
banks, saves climate resilient crops because we know that this is what farmers
need today: salt tolerant seeds that we can use after cyclones, flood tolerant
seeds after flooding, and drought tolerant seeds. All that the companies are
doing is stealing and engaging in bio-piracy of what farmers have already bred.
เมล็ดเหล่านี้ได้ผ่านวิวัฒนาการด้วยน้ำมือของเกษตรกรและธรรมชาติมานับพันๆ
ปี. องค์กรของฉัน, นวธัญญะ,
กับธนาคารเมล็ดพันธุ์อีก 110 แห่ง, ได้รักษาพืชที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับภูมิอากาศ
เพราะเรารู้ว่า นี่เป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องการในวันนี้:
เมล็ดที่ทนทานกับดินเค็ม ที่เราสามารถใช้ได้หลังจากพายุไซโคลน,
เมล็ดที่ทนทานกับภาวะหลังน้ำท่วม, และเมล็ดที่ทนทานต่อภาวะแห้งแล้ง. สิ่งที่บริษัทเหล่านั้นทำ คือ
ขโมยและมั่วสุมกันเป็นโจรสลัดชีวภาพฉกฉวยแย่งชิงสิ่งที่เกษตรกรได้ทำการผสมพันธุ์ไว้แล้ว.
An herbicide tolerant crop means
they sell more herbicide. They have said very clearly in conversations I've had
with them that "every failure is a success." When Round Up ready 1
fails, they bring in Round Up Ready 2 with two genes of Round Up resistance.
When Boll Guard 1 fails with one gene of a BT toxin, they bring in Boll Guard 2
with two genes and they've now carried on up to 8 genes. Every single time they
stack up the royalties.
พืชที่ทนทานต่อยากำจัดวัชพืช
หมายความว่า พวกเขาจะขายยาฆ่าวัชพืชได้มากขึ้น.
พวกเขาได้บอกอย่างชัดแจ๋วในการสนทนาที่ฉันได้คุยกับพวกเขาว่า “ทุกๆ
ความล้มเหลว คือ ความสำเร็จ”. เมื่อ ราวน์ดอัพเรดดี้
(Round Up ready) 1 ล้มเหลว, พวกเขานำเสนอ ราวน์ดอัพเรดดี้
2
ที่มียีนส์ดื้อราวน์ดอัพสองตัว.
เมื่อ โบลการ์ด (Boll
Guard)
1 ล้มเหลวกับยีนส์หนึ่งตัวของ สารพิษ บีที, พวกเขาก็เสนอ โบลการ์ด 2 ที่มียีนส์สองตัว และตอนนี้ พวกเขาก็ยังคงเพิ่มยีนส์ขึ้นไปถึง 8 ตัว. ทุกๆ ครั้งที่แก้ไข
พวกเขาก็เพิ่มค่าลิขสิทธิ์ขึ้นไปด้วย.
So for them it’s a game that will
not lose because every failure means more chemicals, every failure means more
royalties, every failure means more control. That’s why the only thing that can
stop them is a people’s democratic movement. And that’s why Proposition 37 comes
back to the center of this discussion.
ดังนั้น
สำหรับพวกเขา มันเป็นเกม/การเล่น ที่ไม่มีคำว่าแพ้ เพราะ ทุกๆ ความล้มเหลว หมายถึง
การใช้สารเคมีมากขึ้น, ทุกๆ ความล้มเหลว หมายถึง ค่าลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น, ทุกๆ
ความล้มเหลว หมายถึง การเข้าควบคุมได้มากขึ้น. นั่นคือเหตุผลว่า
ทำไมสิ่งเดียวที่จะหยุดพวกเขาได้ คือ ขบวนการประชาธิปไตยของประชาชน. และนั่นก็เป็นเหตุผลว่า ทำไม ญัตติ 37 จึงกลับมาเข้าอยู่ใจกลางของการอภิปราย.
Kolhatkar: I wonder how you see Americans learning from what you and
the farmers in India have done. Here in the United States, although of course
we've got a rich culture of small farmers, much of our food system is
controlled by big agri-businesses. In the US do you see this more as a
consumers' movement rather than a farmer's movement or a hybrid of the two?
ถาม: ฉันสงสัยว่า
คุณเห็นยังไรกับการเรียนรู้ของชาวอเมริกันจากสิ่งที่คุณและเกษตรกรในอินเดียได้กระทำ. ที่นี่ในสหรัฐฯ,
แม้ว่าเราจะมีวัฒนธรรมที่อุดมไปด้วยเกษตรกรรายย่อย,
ระบบอาหารส่วนใหญ่ของเราถูกควบคุมโดยธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่. ในสหรัฐฯ คุณเห็นว่า
นี่เป็นขบวนการของผู้บริโภค มากกว่า เป็นขบวนการเกษตรกรหรือไม่
หรือว่าเป็นพันทางระหว่างสองขบวนการดังกล่าว?
Shiva: The small family farm of this country has been destroyed by
big agri-business. The United States like India was the land of small farmers.
But now there is a huge explosion of small farmers. The organic movement is new
agriculture. It's a whole new movement. I saw data showing that the majority of
small organic farmers are actually women - urban women moving to do
agriculture.
ตอบ: ครอบครัวเกษตรกรรายย่อยในประเทศนี้
ได้ถูกทำลายโดยธุรกิจเกษตร. สหรัฐฯ
ก็เหมือนกับอินเดีย คือ เป็นดินแดนของเกษตรกรรายย่อย. แต่ตอนนี้ มีการระเบิด/พรั่งพรูของเกษตรกรรายย่อย. ขบวนการอินทรีย์ เป็นเกษตรใหม่. มันเป็นขบวนการใหม่เอี่ยม. ฉันได้ดูข้อมูลที่แสดงว่า
เกษตรกรอินทรีย์รายย่อยส่วนใหญ่ที่แท้เป็นผู้หญิง—ผู้หญิงเมืองที่เดินหน้าไปทำเกษตร.
I've built this movement of Navdanya
which means nine seeds and we have a farm which is a teaching and research farm
and a bio-diversity conservation farm where we are at this moment harvesting
630 varieties of rice. We get people from around the world including a lot of
young Americans who want to become farmers or chefs or something in the food
system.
ฉันสร้างขบวนการ
นวธัญญะ นี้ ซึ่งหมายถึง เก้าเมล็ด และเรามีฟาร์มที่ทำการสอนและวิจัย
การอนุรักษ์เกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ
ฟาร์มที่เราอยู่ขณะนี้ เก็บเกี่ยวข้าวถึง 630
สายพันธุ์. เราได้ผู้คนจากทั่วโลก
รวมทั้งคนหนุ่มสาวอเมริกัน ผู้ต้องการเป็นเกษตรกร หรือ พ่อครัว/แม่ครัว
หรือบางอย่างในระบบอาหาร.
This is happening for two reasons:
one is that the options are fewer after the financial collapse of 2008. Why is
Occupy Wall Street such an important movement in this country? Because the
youth recognize that their future is being limited by a Wall Street-driven,
Monsanto-driven, Walmart-driven economy.
อันนี้กำลังเกิดขึ้นด้วยสาเหตุ
2
ประการ: หนึ่ง,
ทางเลือกลดลงหลังจากระบบการเงิน (โลก) พังทลายในปี 2008. ทำไม กลุ่มยึดครองวอลล์สตรีท
จึงเป็นการขับเคลื่อนที่สำคัญนักในประเทศนี้?
เพราะว่า คนหนุ่มสาวตระหนักว่า อนาคตของพวกเขากำลังถูกลิดรอนโดยระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดย
วอลล์สตรีท, มอนซานโต และ วอลมาร์ท.
But the second reason is that those
who do have an option to have a job realize how dead these jobs are. They're
not fulfilling and people are seeking a deeper meaning in life working with the
earth, protecting seeds.
แต่เหตุผลข้อสอง
คือ พวกที่มีทางเลือกที่จะได้งานทำ ประจักษ์ถึงทางตัน จุดตายของงานเหล่านี้. พวกเขาไม่รู้สึกอิ่มใจ และผู้คนก็กำลังแสวงหาความหมายของชีวิตที่ลึกล้ำกว่านี้
ด้วยการทำงานกับผืนธรณี, ปกป้องเมล็ด.
Our report on seed freedom has many
contributions from seed savers in this country. So it’s a huge movement and
this issue of seed freedom and the issue of fighting these giants will also be
an issue of the small initiatives.
รายงานของเราเรื่อง
เสรีภาพของเมล็ดพันธุ์ ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์มากมายในประเทศนี้. ดังนั้น มันเป็นขบวนการมหาศาล และ
เสรีภาพของเมล็ดพันธุ์ฉบับนี้ และฉบับ ต่อสู้กับยักษ์ใหญ่พวกนี้
จะเป็นฉบับเกี่ยวกับการริเริ่มรายย่อยเหล่านี้.
It will be an issue for children. I
see in the future the movement for edible education, the movement of school
gardens, being a major political force because when a child has tasted a
healthy tomato, and more than that gone through the miracle of having that seed
give them one hundred tomatoes, that child can never be brain washed into the
idea of scarcity for dependence on Monsanto. That child can never ever be
sterilized into thinking bad food is good for you. They will celebrate taste
and quality and nutrition and freedom. That is going to be a very important set
of players. I'm doing this in India and I believe this needs to be done in the
United States.
มันจะเป็นฉบับสำหรับเด็ก. ฉันมองเห็นในอนาคตถึงการขับเคลื่อนเพื่อการศึกษาที่กินได้,
การขับเคลื่อนของสวน (ผัก) โรงเรียน, ว่าเป็นพลังทางการเมืองหลักกระแสหนึ่ง
เพราะเมื่อเด็กได้ลิ้มชิมรสผลมะเขือเทศที่แข็งแรง, และมากกว่านั้น
ได้ผ่านกระบวนการมหัศจรรย์ของการประจักษ์ว่า หนึ่งเมล็ดที่เขาได้รับ
จะให้ผลมะเขือเทศกับเขานับร้อย,
เด็กคนนั้นจะไม่มีวันถูกล้างสมองให้ยอมรับความคิดที่ว่า
มีความขาดแคลนที่ต้องพึ่งพาอาศัย มอนซานโต.
เด็กคนนั้นจะไม่มีวันถูกทำให้เป็นหมันในความคิด ให้หลงเชื่อว่า อาหารเลวๆ
ดีสำหรับคุณ. พวกเขาจะเฉลิมฉลองกับรสชาด
และคุณภาพ และโภชนาการ และเสรีภาพ. นั่นจะเป็นชุดผู้เล่นที่มีความสำคัญมากๆ. ฉันกำลังทำเรื่องนี้ในอินเดีย และฉันเชื่อว่า
เรื่องนี้ จำเป็นต้องทำในสหรัฐฯ ด้วย.
We always believe that because
organic is costly (and it's costly because the subsidies go to the poisons)
that therefore it's an option only for the rich. But the point is that there
are huge subsidies to make the chemical food, the GMO food, move toward the
poor. All we have to do is redirect our tax money. Just like we have the right
to know what we eat, we have a right to decide how our tax money will be used
for the public good rather than private greed.
พวกเรามักจะเชื่ออยู่เสมอว่า
เพราะอาหารอินทรีย์มีราคาแพง (และที่มันแพงเพราะ เงินอุดหนุนช่วยเหลือจากรัญเอียงเทไปทางอาหารพิษ)
ดังนั้น มันจึงเป็นทางเลือกสำหรับคนรวยเท่านั้น.
แต่ประเด็นคือ มีการอุดหนุนทางการเงินมหาศาลเพื่อทำให้อาหารเคมี,
อาหารจีเอ็มโอ, ไหลเคลื่อนไปสู่คนยากจน.
สิ่งที่พวกเราต้องทำ คือผันทิศทางของเงินภาษีของพวกเรา. ก็เหมือนกับที่เรามีสิทธิ์ที่จะรู้ว่าเรากินอะไร,
เรามีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจว่าจะใช้เงินภาษีของเราอย่างไร เพื่อประโยชน์สาธารณะ
มากกว่า เพื่อความโลภของภาค (ธุรกิจ) เอกชน.
Kolhatkar: The economy is inextricably tied to how food is created,
bought and sold in today's corporate capitalist driven economy. The Monsantos
and Walmarts rely on GMOs because they can own the patents and they can make
money that way and the never ending growth model that we're told is the only
model for running our economic system assumes that there are never ending
resources on this planet, which of course there aren't. What do you see as an
alternative to this global economic system that we call capitalism that is in
many ways driving both climate change as well as the end of bio-diversity.? Do
you back small scale capitalism and small markets or do you back socialist
alternatives, etc.?
ถาม: ระบบเศรษฐกิจได้ผูกติดอย่างแก้ไม่หลุดกับกระบวนการที่อาหารของเราถูกสร้าง,
ถูกซื้อ และถูกขาย ในระบบเศรษฐกิจทุกวันนี้ ที่ถูกขับเคลื่อนโดย
บรรษัททุนนิยม. มอนซานโตและวอลมาร์ท พึ่ง
จีเอ็มโอ เพราะพวกเขาสามารถครอบครองลิขสิทธิ์ และพวกเขาสามารถทำเงินได้ด้วยวิธีนั้น,
และเจ้าโมเดลของการเติบโตขยายตัวอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
ที่พวกเราถูกกรอกหูว่าเป็นเพียงโมเดลเดียวในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของเรา
ล้วนสมมติเอาว่า ทรัพยากรจะไม่มีวันหมดสิ้นไปในโลกนี้, ซึ่งในความเป็นจริง
มันไม่เป็นเช่นนั้น. คุณเห็นอะไร
ที่จะเป็นทางเลือกของระบบเศรษฐกิจโลกอันนี้ ที่เราเรียกว่า ทุนนิยม ที่ในหลายๆ ทาง
มันเป็นตัวขับเคลื่อนทั้งภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ตลอดจน
การสุดสิ้นของความหลากหลายทางชีวภาพ?
คุณจะสนับสนุน ทุนนิยมรายย่อย และตลาดเล็กๆ หรือ
คุณจะสนับสนุนทางเลือกสังคมนิยม, ฯลฯ?
Shiva: I think we need a far more radical shift to deal with this
new mythology of limitless growth. And that shift is taking place. It is taking
place, for example, in that a country called Bhutan which said "we're not
going to measure GDP or Gross Domestic Product because it measures nothing but
the commercialization and commodification of society." If I cut my forest
and sell off the timber, I have growth but I have no forest, I have no water.
ตอบ: ฉันคิดว่า เราจำเป็นต้องขยับจุดยืน/กระบวนทัศน์อย่างถอนรากถอนโคน
เพื่อรับมือกับเรื่องลวงโลกว่า มีการขยายตัว/เติบโตที่ไม่มีขอบเขตจำกัด. และการขยับตัวดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นแล้ว. มันเกิดขึ้น, เช่น, ในประเทศภูฏาน ที่บอกว่า
“เราจะไม่วัดด้วย จีดีพี หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (เพราะ)
มันไม่ได้วัดอะไรเลยนอกจากการพาณิชย์ และการทำสังคมให้เป็นสินค้า”. หากฉันตัดไม้ทำลายป่า และขายเป็นไม้ซุง,
(เศรษฐกิจของ) ฉันก็มีการขยายตัว แต่ฉันไม่มีป่า, ฉันไม่มีน้ำอีกต่อไป.
This is why the Chipko movement, the
first movement I was part of, said trees provide water not timber. Change your
mind set.
นี่คือสาเหตุของขบวนการ
ชิปโก้ (โอบกอดต้นไม้), ขบวนการแรกที่ฉันมีส่วนร่วม, ที่บอกว่า ต้นไม้ให้น้ำ
ไม่ใช่ท่อนซุง.
ขอให้เปลี่ยนความเชื่อฝังใจของคุณเอง.
Bhutan shifted to measuring “Gross
National Happiness,” and not happiness in an empty way, it is happiness and
well being. People need to remember that the original root of wealth is well
being. Coming back to the real meaning of the term “economy” derived from “oikos”
is looking after your home, looking after this planet. Ecology and economy were
two sides of the same coin. Ecology was the science, economy was the
management.
ภูฏานได้ขยับไปเป็นการวัด
“ความสุขมวลรวมประชาชาติ”, และไม่ใช่ความสุขในวิธีที่โพรงกลวง,
มันเป็นความสุขและความอยู่ดี.
ประชาชนจำเป็นต้องระลึกไว้ว่า รากเหง้าต้นตอของความมั่งคั่ง คือ
ความอยู่ดี. กลับมาที่ความหมายที่แท้จริงของคำว่า
“เศรษฐกิจ” ที่มาจากรากศัพท์ (กรีก) “oikos”
หมายถึง ดูแลครัวเรือนของคุณเอง, ดูแลโลกใบนี้.
นิเวศวิทยาและเศรษฐกิจเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน. นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์, เศรษฐกิจเป็นศาสตร์ของการจัดการ.
Aristotle said economia is the art
of living. Chrematistics is the art of money making. We have taken the art of
money making which has created the oligarchs and has allowed the stealing of
our democracies and the creation of poisoned food, climate change and
disappearing diversity - that art of money making is being called the art of
living but it is really the end of humanity. It is time to reclaim our
humanity, our future, and it is a very exciting moment.
อริสโตเติล
บอกว่า เศรษฐกิจ (economia) คือ
ศิลปะในการดำรงชีวิต. Chrematistics
เป็นศิลปะของการทำเงิน. เราได้นำศิลปะของการทำเงิน
ที่เป็นตัวก่อเกิดระบบคณาธิปไตย และที่ได้อนุญาตให้ปล้นประชาธิปไตยของพวกเรา
และก่อเกิดอาหารที่มีพิษ, ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และการสาบสูญของความหลากหลายทางชีวภาพ—ศิลปะการทำเงินนั้น
กำลังถูกเรียกว่าเป็นศิลปะในการดำรงชีพ แต่ที่แท้ มันเป็นจุดจบของมนุษยชาติ. ถึงเวลาแล้วที่เราจะกู้คืนมนุษยชาติของเรา,
อนาคตของเรา, และ มันเป็นห้วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง.
The Government of Bhutan has asked
us to help make them 100% organic because as the Prime Minister wrote to me, “
I can only see one way of growing happiness and that is growing organic.” They
have also set up a think tank for every person anywhere in the world who is
rethinking the economic paradigm. Ancient wisdoms are resurging again, the
ecology movement is taking a new shape. The Women’s movement is saying this was
never our economy. Feminist economists are saying if you put the well being of
other species, the well being of humanity, at the center, you get another
economics. Stop measuring money transactions, start measuring the health of our
rivers, our forests, our children, our communities. It’s not very difficult.
Most of the work is being done now. We need the political power to shift the
crowd. Proposition 37 is that tiny little test case for many of the other
issues that are related to this.
รัฐบาลของภูฏานได้ขอให้ฉันช่วยทำให้พวกเขาเป็นประเทศอินทรีย์
100% เพราะนายกรัฐมนตรี ได้เขียนถึงฉัน, “ผมเห็นได้ว่า หนทางเดียวที่จะปลูกความสุข
คือ การปลูกอินทรีย์”. พวกเขาได้ตั้งกลุ่มนักคิด
เพื่อรองรับทุกๆ คน ไม่ว่าจะอยู่ที่มุมไหนของโลก
ที่กำลังคิดทบทวนเรื่องกระบวนทัศน์เศรษฐกิจ.
ภูมิปัญญาโบราณกำลังผุดพุ่งขึ้นอีกครั้ง,
ขบวนการนิเวศกำลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น.
ขบวนการสตรีกำลังบอกว่า อันนี้ไม่เคยเป็นระบบเศรษฐกิจของเราเลย. นักเศรษฐศาสตร์เชิงสตรีนิยมกำลังบอกว่า
หากคุณวางความอยู่ดีของ (สิ่งมีชีวิต) สายพันธุ์อื่นๆ, ความอยู่ดีของมนุษยชาติ,
ไว้ที่ตรงกลาง, คุณจะได้ระบบเศรษฐกิจที่หลากหลายอันอื่น. หยุดวัดการไหลเลื่อนของธุรกรรมทางการเงิน,
เริ่มวัดสุขภาพของแม่น้ำของเรา, ป่าของเรา, เด็กๆ ของเรา, ชุมชนของเรา. มันไม่ยากนักหรอก. งานส่วนใหญ่ได้ดำเนินไปแล้วขณะนี้. เราจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นทางการเมืองเพื่อขยับฝูงชน. ญัตติ 37
เป็นการทดสอบเล็กๆ สำหรับประเด็นอื่นๆ มากมายที่พัวพันเกี่ยวข้องกับมัน.
Kolhatkar: Vandana Shiva it's always an honor to speak with you.
ถาม: วันทนา ศิวะ
ฉันรู้สึกเป็นเกียรติเสมอที่ได้พูดคุยกับคุณ.
Shiva: It's my pleasure and I wish all the strength to the vote on
November 6th not just for Proposition 37 but for the larger election because
both are about the same thing: Will money rule our lives or will we govern
ourselves?
ตอบ: ด้วยความยินดี และฉันหวังว่า
พละกำลังทั้งหมดที่ทุ่มเทให้กับการลงคะแนนในวันที่ 6 พย. นี้
จะไม่เพียงเพื่อ ญัตติ 37
แต่เพื่อการเลือกตั้งที่ใหญ่กว่าด้วย เพราะ ทั้งสองวาระเป็นเรื่องเดียวกัน: เงินจะครอบครองชีวิตของเรา หรือ เราจะปกครองพวกเราเอง?
|
|
.
This issue is most illustrative of
the colossal hypocrisy of the so-called "free market." Randians claim
that we can all make our own choices without the help of the nanny state, but
they are not willing to give us the information we need to do that, because our
choices might force their favorites out of business. Where are you, Ron Paul
trolls? You should be in the forefront, pushing for labeling!!!
Exactly.
In their supposed land of perfect
freedom, you are free only to the extent that you have cash and assets. And
boy-oh-boy, they like it! Worry about your Yunzer food?, then hire an analytical laboratory to test that can
of beans. "Can't afford it? Tough. Join the ranks of those who
"perish as they should" to quote Milton Friedman.
That
USAns, a majority of them in many areas, uniquely among nations support such
utter savagery and barbarism, and enshroud it with high principle and moral
conviction, says something very dark and disturbing about the character and
culture of the USA.
Lest anyone forget... Obama
appointed Michael Taylor, a Monsanto Vice President / Lobbyist, to Obama's FDA.
And before Obama?
Clinton did the same.
This is Not Change We Can Believe
In.
Don't believe the lie of
"lesser of two evils".
It's Time To Wake Up.
Vote for GM labeling, Californians.
This is a no-brainer.
Dr. Vandana Shiva is an Einstein for
our times. Few thinkers so gracefully connect so many dots. Brilliant stuff!
It's mind boggling to think that a
for profit concern can impose it's will over so many indigenous farmers of poor
countries, simply trying to make an honest living and provide nutritious food
for their families. They think we should be forced to ingest whatever they
decide to dream up in their Frankenstein labs without right to question whether
it's safe or not?! This is what 'PLUTOCRACY looks like'. If Monsanto cannot
find the ethics to understand this perfectly legitimate argument, they are not
worthy of the public trust! How can anyone suggest this company has the
wellbeing of the consumer in mind?
I'm not voting this election, but I
would if I could vote for this.
I've got some fairly conservative
people on my Facebook page who started out buying into the No side of the
debate but who have come around. The anti-argument is that this will somehow
hurt small family farmers and make groceries more expensive and that some foods
aren't covered, The ads from both sides are full of this election season's
buzzwords, and they print flyers on expensive coated non biodegradable paper.
But some truth in labeling is better than none, and regulations in place can be
revised to make them better, so I'm voting for this one even though I personally
are scared of many things more than I am GMO food
Even though it's implied in her
response that she sees no role for profit in an economy geared toward need
rather than greed, I wish Shiva has explicitly rejected the capitalist model.
We need persons with her visibility
to speak directly to the impossibility of a fair system - one that gives to
each what they need, and takes from each what they can contribute - under a
competitive paradigm.
They, and we, need to be talking
about a democratic socialism - and that's just a name to hang on it - that is
organic, nondogmatic, utilitarian ...
And above all, based on cooperation
and respect
For each other, for all life, and
for the planet that makes life possible.
It was always our only hope for
justice
And now it's our only hope for
survival.
With
47% of the people voting for Romney and another 47% hoping that B.O. will do
good things this time, we're a long way from voting in any form of democratic
socialism. First a proposal would have to be spelled out showing exactly how
such a transition could occur. And it would have to be voted in unless one
supports an enforced at gunpoint change.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น