วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

128. ผู้บริโภค ถูกล่อหลอกให้ร่วมขืนใจพระแม่ธรณีและเกษตรกรพื้นบ้าน...ต้นเหตุหายนะโลก


Food MythBusters: Do We Really Need Industrial Agriculture to Feed the World?
"นักเปิดโปงอาหารลวงโลก: เราจำเป็นต้องอาศัยอาหารอุตสาหกรรมเพื่อเลี้ยงโลกจริงหรือ?"

Have you heard the myth that we need industrial agriculture to feed the world?
คุณเคยได้ยินเรื่องลวงโลกที่ว่า คุณจำเป็นต้องอาศัยเกษตรอุตสาหกรรมในการเลี้ยงโลก?
The biggest players in the food industry—from pesticide pushers to fertilizer makers to food processors and manufacturers—spend billions of dollars every year not selling food, but selling the idea that we need their products to feed the world. But, do we really need industrial agriculture to feed the world? Can sustainably grown food deliver the quantity and quality we need—today and in the future? Our first Food MythBusters film answers these questions and more in under seven minutes. Next time you hear them, you can too.
ตัวเล่นใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมอาหาร—ตั้งแต่พวกยัดเยียดยากำจัดศัตรูพืช, พวกผลิตปุ๋ย ถึงพวกแปรรูปอาหารและโรงงาน—จ่ายเงินนับพันล้านเหรียญทุกๆ ปี ไม่ใช่เพื่อขายอาหาร, แต่เพื่อขายความคิดที่ว่า เราจำเป็นต้องอาศัยผลิตภัณฑ์ของพวกเขาเพื่อเลี้ยงโลก.   แต่, เราจำเป็นต้องอาศัยเกษตรอุตสาหกรรมเลี้ยงโลกจริงๆ หรือ?   การเพาะปลูกอาหารอย่างยั่งยืนจะสามารถให้ปริมาณและคุณภาพที่เราต้องการ—วันนี้และในอนาคต--ได้ไหม?  ภาพยนต์สารคดีเรื่องแรกของ นักเปิดโปงอาหารลวงโลก ตอบคำถามเหล่านี้และอื่นๆ ในเวลาเจ็ดนาที.  ครั้งหน้า หากคุณได้ยินคำถามเหล่านี้, คุณก็จะโต้ตอบได้เช่นกัน.
(เปิดชมได้ที่ยูทุบดังเว็บ.  ต่อไปนี้เป็นแปลไทยบทพูด)
(ชาย) ต้องเพิ่มการผลิตอาหารสองเท่าตัวในปี 2050
-                    ประชากรโลกเพิ่มรวดเร็ว จะต้องเพิ่มผลิตภาพของอาหารสองเท่า
-                    เพื่อให้ได้เช่นนั้น เราต้องใช่จีเอ็ม, ยากำจัดศัตรูพืชล้ำยุค, และปุ๋ยมากๆ. 
-                    นี่เป็นเหตุผลที่ แอ๊คโกรคอน ทำงานชนิดจับมือกันกับเกษตรกรทุกวัน.  แล้วคุณยังจะไม่ต้องการเลี้ยงโลกหรือ?
(หญิง) แอนนา แลปเป้ นักเปิดโปงอาหารลวงโลก
-                    ข่าวสารดังเช่นที่ผ่านไปนี้ ผุดขึ้นทุกที่.  แต่ใครนะที่อยู่เบื้องหลังจริงๆ?  
-                    ที่จริงคือ บริษัทใหญ่ๆ ที่กำไรจากการเกษตรแบบนี้: ดาวน์ แอ็คโกรซายน์/ไพฟ์เซอร์,  ดูปองต์, เอดีเอ็ม, มอนซานโต -- พวกที่ขายสารเคมี ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย
-                    พวกเขาใช้เงินนับพันล้าน เพื่อพร่ำเตือนพวกเราว่า วิธีการของพวกเขาเป็นเพียงทางเดียวเท่านั้น.  และกลุ่มอุตสาหกรรมพันธมิตรของพวกเขา เช่น พันธมิตรเพื่อเลี้ยงอนาคต.  สมาชิกมีใครมั่ง?  สมาคมน้ำราดสลัดและซุป, และสถาบันพิซซาแช่แข็งแห่งชาติ
-                    แต่ลองถามเกษตรกรดูว่า คุณจะเลี้ยงพวกเราได้อย่างไร, แล้วคุณจะได้ยินเรื่องที่ต่างออกไป.  มันเป็นเรื่องที่ทำให้เราหัวใจแตกสลายและก็ให้ความหวัง  หลังจากพูดคุยกับครอบครัวเกษตรกรนับร้อย ดังต่อไปนี้:
o   ห้าสิบปี ของการล็อบบี้ ที่เงินร่อนปลิวสะพัดสู่สภา (หลังคาเปิด) เพื่อให้เกิดนโยบายสนับสนุน (ยูเอ็สดีเอ / กระทรวงเกษตร,    พรบ ไร่นา)  ที่โน้มเอียงไปเข้าข้างบริษัทเกษตรอุตสาหกรรม,
§  อุตสาหกรรม/โรงงานผลิตปุ๋ย, เมล็ดพันธุ์, ยากำจัดศัตรูพืช, นักค้าธัญพืช,
§  แต่เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ได้รับการสนับสนุนน้อยมากจนเกือบไม่มีอะไรเลยจากนโยบายต่างๆ.
-                    ดังนั้น จึงง่ายที่จะเข้าใจความรู้สึกของชาวนาว่า  จะออกจากไร่นาตัวเอง หรือ กระโจนเข้าร่วมกระแสเกษตรอุตสาหกรรม. 
o   การเข้าร่วมกระแส หมายถึง หยุดกรรมวิธีเกษตรแบบเดิม ที่รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน, แต่หันไปปลูกพืชเชิงเดี่ยว.  ปศุสัตว์ที่เคยกินหญ้าเป็นอิสระ ก็ถูกกักขังในเล้าในคอกที่แออัด.
o   เพื่อให้ระบบที่ฝืนธรรมชาตินี้ดำเนินไปได้, เกษตรกรต้องซื้อวัสดุราคาแพงจากไม่กี่บริษัท เพื่อขับเคลื่อนไร่นาของตน.  และวิ่งไล่ตามราคาวัสดุที่มีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆ. 
o   มันกลายเป็นเสพติดอย่างรวดเร็ว.
o   แมลง ศัตรูพืช ได้กลายเป็น ดื้อยา.  ดังนั้น คุณต้องใช่สารเคมีมากขึ้น.
o   ปศุสัตว์ (อยู่อย่างเบียดเสียด ไม่ออกกำลังกาย) ป่วยง่ายและมากขึ้น.  ดังนั้น คุณต้องใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น.
o   ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ. ดังนั้น คุณต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น.
o   ในอีกด้านหนึ่ง, ชาวนาพยายามขายผลิตผลของตน.  แต่ก็ต้องเจอกับนักค้าธัญพืชรายใหญ่ ไม่กี่ราย และ เกษตรกรก็ไม่มีทางคาดราคาได้. 
o   ระบบเศรษฐกิจไม่เข้าข้างเกษตรกรเลย. 
-                    ในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา,  ชาวไร่ชาวนานับล้านที่หมดหนทาง ต้องเซ็นสัญญากับบริษัทเกษตรใหญ่ๆ  ซึ่งกลายเป็นผู้เผด็จการ บังคับทุกฝีก้าวของชาวไร่ชาวนา. 
o   พวกเขาสูญเสียไร่นาหมด (ป้าย ประมูล/ขายทอดตลาด)
o   ที่ไร่นามากขึ้น ไปกระจุกตัวที่ข้างบน.  และตอนนี้ ก็เหลือเพียง ๑ ใน ๑๐ ของชาวไร่ชาวนาในสหรัฐฯ ที่เป็นครอบครัวเกษตรที่พึ่งตนเองได้.
o   ในอีกหลายๆ ประเทศ, สถานการณ์คล้ายๆ กันนี้ได้เกิดขึ้นเช่นกัน.
§  ชาวนารายย่อย, ที่หลงเชื่อบริษัทเหล่านี้ ด้วยคิดว่า มันเป็นหนทางเดียว, กลับตกอยู่ในหล่มหนี้ทบทวี.  และต้องพึ่งบริษัท (เหมือนเสพติด หรือทาส).  อันนี้อาจเป็นการดีสำหรับคนบางกลุ่ม รวมทั้งเกษตรกรรายใหญ่, แต่ไม่ดีเลยสำหรับครอบครัวเกษตรกรธรรมดาๆ.
-                    และนี่ก็ขีดฆ่า คำโกหกที่หนึ่ง “จับมือควงแขนกับชาวไร่ชาวนา”. 
-                    แต่เรายังต้องเลี้ยงโลกใช่ไหม?  แล้วถ้าไม่เอาทางนี้, เรามีทางเลือกอื่นไหม?  มีสิ, เป็นวิธีที่ดีมากทีเดียว.  เพียงแต่เราไม่ค่อยเห็นโฆษณาหนทางนี้ เพราะการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐ เทไปที่บริษัทเกษตรพาณิชย์.
o   เกษตรยั่งยืนอาศัยธรรมชาติแทนที่จะเสพติดสารเคมี
o   มันใช้กรรมวิธีที่ดีกว่า โดยไม่ต้องซื้อวัตถุดิบราคาแพง
o   เกษตรยั่งยืนสร้างดินให้แข็งแรงสมบูรณ์ เพาะปลูกพืชหลากหลายสายพันธุ์   และปลูกแบบหมุนเวียน
o   พวกเขาเลี้ยงปศุสัตว์ในทุ่งกว้างของไร่นา แทนกักขังในคอก
o   พวกเขาใช้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ซึ่งทำให้พืชพรรณแข็งแรง
o   การปลูกพืชที่หล่อเลี้ยงดินให้อุดมสมบูรณ์ และหมุนเวียนก็ช่วยขับไร่ศัตรูพืช แทนการใช้สารเคมีที่ทำร้ายแมลงที่มีประโยชน์
o   เช่น ผึ้ง และ นกที่จำเป็นสำหรับการผสมเกสร
-                    ทางเลือกเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ อย่างไร?
o   (ภาพ: ไร่อุตสาหกรรม และ ไร่ยั่งยืน)—มหาศาลที่เดียว
§  เกษตรอุตสาหกรรมทำลายดิน นำไปสู่การชะ สึกกร่อนและสูญเสียหน้าดิน
§  ในสหรัฐฯ  หน้าดินสูญไป ๖๔ ตัน ต่อ หนึ่งเอเคอร์ ทุกปี ในใจกลางของประเทศ
§  การสูญเสียน้ำ เพราะต้องปั๊มน้ำบาดาลมาใช้
§  และพวกเขาใช้อาหารอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเติมยาปฏิชีวนะปีละ ๒๙ ล้านปอนด์  ซึ่งนำไปสู่การขยายตัวของแบคทีเรียดื้อยาที่อันตรายยิ่งขึ้น
§  พวกเขายังเป็นต้นเหตุให้เกิดการกัดเซาะและชะล้างสารพิษเคมี  ที่ไหลไปปนเปื้อนแม่น้ำ จนถึง มหาสมุทร และรวมทั้งในร่างกายของพวกเรา
§  โดยเฉลี่ย ชาวอเมริกันแต่ละคน มียากำจัดศัตรูพืชในร่างกายถึง ๑๓ ชนิด
§  และด้วยการพ่นสารเคมีในไร่นา  เกษตรกรมีอัตราเสี่ยงสูงกว่า ที่จะเป็นมะเร็งประเภทต่างๆ
-                    ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เกษตรยั่งยืน ดีกว่า เกษตรอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม.  แล้วเกษตรยั่งยืนจะเลี้ยงโลกได้จริงๆ หรือ?    การศึกษาวิจัยต่างๆ บอกว่า “ได้”.
o   เกษตรยั่งยืนผลิตได้ดีพอๆ กับเกษตรอุตสาหกรรม.  อันที่จริง ดีกว่าด้วยซ้ำ. 
o   นี่เป็นข่าวสำคัญสำหรับเกษตรรายย่อยทั่วโลก ที่เป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงโลกถึง ๗๐%.   เพื่อเพิ่มผลผลิต พวกเขาไม่ต้องเดินตามวิถีสารเคมี.
-                    และสำหรับอนาคต เราก็พูดแต่เรื่องการเลี้ยงโลก
o   เกษตรอุตสาหกรรม ผลาญใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์, น้ำ และขุดเจาะเหมืองแร่...ซึ่งหดหายไปอย่างรวดเร็ว และมีแต่ทำให้วัตถุดิบเกษตรอุตสาหกรรมแพงขึ้นเรื่อยๆ.
o   ดังนั้น สุดท้าย วิถีสารเคมีจะไม่ใช่เป็นทางเลือก แต่จะไม่มีอีกแล้วสำหรับชาวไร่ชาวนาอีกต่อไป.
o   เกษตรอุตสาหกรรม/พาณิชย์ พึ่งไม่ได้ในการผลิตอาหารเลี้ยงโลกอย่าว่าแต่ในอนาคต  ยังไม่พอสำหรับทุกวันนี้ด้วยซ้ำ. 
-                    และนี่ก็เป็นการฆ่าออก เรื่องลวงโลกที่สอง ว่าเป็นเทคโนโลยีเพื่อปลูกให้มากขึ้น.
-                    เอาหละ มาถึงข้อสาม.  พวกเขาบอกว่า จะต้องเพิ่มผลิตภาพเป็นสองเท่าตัวภายในปี ๒๐๕๐.  มิฉะนั้น พวกเราจะอดอยาก หิวตาย.  จริงหรือ?
o   เรามีอาหารเพียงพอที่จะให้ทุกคนในโลก ได้กินเกือบสามพันแคลอรีในแต่ละวัน.  มีมากเกินพอเสียอีก.
o   และเราเห็นหนึ่งในสามของอาหารที่ปลูก (กินทิ้งกินขว้าง)
o   และอาหารที่ปลูกส่วนใหญ่ ที่เรากินได้, หนึ่งในสามกลายเป็นธัญพืชสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์.
o   ในสหรัฐฯ, พืชส่วนใหญ่ที่สุดคือข้าวโพด
o   แต่เราได้กินข้าวโพดที่ปลูก น้อยกว่า ๑%.  ส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเลี้ยงปศุสัตว์.
o   หากเป็นเช่นนี้ต่อไป, เราสามารถเพิ่มผลผลิต...แต่ก็ยังมีคนหิวโหยอีกมาก.
-                    ในการยุติหนทางนี้, ทุกคนจะต้องมีอำนาจในการปลูก และซื้ออาหารที่พวกเขาต้องการ  และนั่นก็เป็นเรื่องทั้งหมดของเกษตรยั่งยืน. 
-                    ก็มาถึงการขีดฆ่าที่สาม ที่หลอกว่า จะต้องเพิ่มการผลิตอาหารสองเท่าตัวในปี ๒๐๕๐.
-                    ครั้งหน้า หากเจอพวกพิซซาแช่แข็ง, ยากำจัดศัตรูพืช ฯลฯ ที่บอกคุณว่า มีทางเดียวเท่านั้น ที่จะเลี้ยงโลก, บอกไปเลยว่า นิทานของเขาลวงโลก
-                    หลักฐานชัดเจนมาก.  เกษตรยั่งยืนได้พิสูจน์แล้วว่า พวกเราทั้งหมดสามารถกินอาหารแข็งแรงได้   และพวกเราแต่ละคนมีอำนาจที่จะทำให้มันเกิดเป็นจริงเช่นนั้นได้  โดยผันเงินจ่ายตลาดของเรา และงบรัฐนับพันล้านที่เทไปเข้าสู่กระเป๋าของธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่.  เราสามารถจะลุกขึ้นยืน และพูดขึ้น สนับสนุนเกษตรยั่งยืน ที่นี่ และทั่วโลก.
-                    (โครงการสื่ออาหารจริง...เรียนรู้มากขึ้น  เปิดโปงเรื่องโกหก  ปฏิบัติการ)
ดรุณีแปล
Very nicely done. If anything, this video understates the case. In many situations, sustainable agriculture is not AS productive as conventional, but much MORE productive. See for example http://www.whale.to/a/blume.ht....
·  ·  4
Industrial Ag feeds profits for multinational corporations. Farmers feed people. Even if you grow your own, support your local and regional farmers by buying local. If we don't do that now, they won't be there for us or the planet when we need them.
·  ·  4
  Description: Avatar
This is a big step in the right direction, however, I question any food policy which implies sustainability through a gentler, kinder animal slavery and killing. Yes, we need to urge legislators remove the tilted playing field that benefits Big Ag companies like Monsanto, Dow, DuPont, etc., but let's not stop there. Intentional killing and cruelty to animals will never bring this planet into balance. A vegetarian diet can feed us all.
·  ·  5 2
  Description: Avatar
One of the factors that contributes to hunger throughout the world and is present even in industrialized nations such as the United States that has nothing to do with inadequate production of food is that a significant amount of the food that is produced and makes it's way to retailers and ultimately to consumers is never eaten.
I've seen estimates that within the United States alone, tens of billions of dollars of food is purchased by consumers and perishes uneaten. The same holds true in many industrialized nations of Europe such as Great Britain. Serious efforts need to be made to ensure that food that is produced at current rates is actually eaten rather than being wasted.
·  ·  1
E.F. Schumacher's Small is Beautiful: Economics as if People Mattered

Chapter 1: The Problem of Production
One of the most fateful errors of our age is the belief that "the problem of production" has been solved.
The arising of this error, so egregious and so firmly rooted, is closely connected with the philosophical, not to say religious, changes during the last three or four centuries in man's attitude to nature…Modern man does not experience himself as a part of nature but as an outside force destined to dominate and conquer it. He even talks of a battle with nature, forgetting that, if he won the battle, he would find himself on the losing side.
The illusion of unlimited powers, nourished by astonishing scientific and technological achievements, has produced the concurrent illusion of having solved the problem of production. The latter illusion is based on the failure to distinguish between income and capital where this distinction matters most. Every economist and businessman is familiar with the distinction, and applies it conscientiously and with considerable subtlety to all economic affairs – except where it really matters: namely, the irreplaceable capital which man has not made, but simply found, and without which he can do nothing.

…we are estranged from reality and inclined to treat as valueless everything that we have not made ourselves.
…we have indeed labored to make some of the capital which today helps us to produce – a large fund of scientific, technological, and other knowledge; an elaborate physical infrastructure; innumerable types of sophisticated capital equipment, etc. – but all this is but a small part of the total capital we are using. Far larger is the capital provided by nature and not by man – and we do not even recognize it as such. This larger part is now being used up at an alarming rate, and that is why it is an absurd and suicidal error to believe, and act on the belief, that the problem of production has been solved.

Is it not evident that our current methods of production are already eating into the very substance of industrial man?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น