Q&A: “The Main Challenge for Ecofeminism Is Its
Own Contradictions”
ถาม/ตอบ: “ข้อท้าทายหลักสำหรับสตรีนิยมเชิงนิเวศ
คือ ความขัดแย้งในตัวเอง”
โดย มาเรียเนลา จาร์รัด
Marianela Jarroud interviews COCA TRILLINI,
Argentine theologian, women’s rights activist and environmentalist
มาเรียเนลา จาร์รัด สัมภาษณ์ โคคา ตริลลินี, นักเทววิทยาอาร์เจนตินา,
นักกิจกรรมสิทธิสตรี และ นักสิ่งแวดล้อม
SANTIAGO, Nov 9 2012 (IPS) – We must
work “for all of the human rights of women,” not just sexual and reproductive
rights, said Coca Trillini, describing the challenges facing the ecofeminist
movement that she has embraced since becoming an activist in Católicas por el
Derecho de Decidir (CDD – Catholics for Choice).
ซานติอาโก,
9 พย 2012 – เราต้องทำงาน “เพื่อสิทธิมนุษยชนทั้งหมดของผู้หญิง”,
ไม่ใช่เพียงสิทธิเพศสัมพันธ์และการเจริญพันธุ์, โคคา ตริลลินี,
บรรยายถึงข้อท้าทายที่กำลังเผชิญ ในการขับเคลื่อนของสตรีนิยมเชิงนิเวศ ที่เธอได้อุทิศตัวตั้งแต่เป็นนักกิจกรรมใน
Católicas por el Derecho de Decidir (CDD – Catholics for Choice, คาทอลิกเพื่อทางเลือก).
Dealing with its own contradictions,
and understanding that social processes and changes move slowly, are the main
challenges for ecofeminism at this time, Trillini told IPS.
การรับมือกับความขัดแย้งในตัวขบวนการเอง,
และการทำความเข้าใจว่า กระบวนการทางสังคมและการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนตัวช้า, เป็นสิ่งท้าทายหลักสำหรับสตรีนิยมเชิงนิเวศในยุคนี้,
ตริลลินี กล่าว.
The movement, which in her words
combines “radical feminism with environmental consciousness,” works with the
profound conviction that women’s oppression and the destruction of the planet
arise from the same patriarchal system.
การเคลื่อนไหว,
ที่เธอบอกว่าเป็นการประสม “สตรีนิยมชนิดถอนรากถอนโคนกับจิตสำนึกเชิงสิ่งแวดล้อม”,
ทำงานด้วยความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า การกดขี่ผู้หญิง และการทำลายล้างโลก
เกิดจากระบบปิตาธิปไตยเดียวกัน.
“Environmental awareness allows us
to add the defence of environmental rights to feminism,” said Trillini, who sat
down with IPS during a trip to Chile. The Argentine theologian is a member of
the Latin American Network of Catholics for Choice, made up of 12 local CDD
organisations of Catholic women who work for gender equity and women’s rights,
combating religious fundamentalism.
“ความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมอนุญาตให้เราเติมประเด็นการปกป้องสิทธิสิ่งแวดล้อมในสตรีนิยม”,
ตริลลินี กล่าว.
เธอเป็นนักเทววิทยาชาวอาร์เจนตินาและเป็นสมาชิกของเครือข่ายคาทอลิกเพื่อทางเลือกแห่งลาตินอเมริกา,
ที่ประกอบด้วยองค์กรท้องถิ่น CDD ของสตรีคาทอลิก ที่ทำงานด้านความเท่าเทียมเชิงเพศสภาพ และสิทธิสตรี,
ต่อสู้กับลัทธิคลั่งศาสนา.
“Ecofeminism is based on a radical
defence of women’s rights, and environmental awareness.” Credit: Courtesy of
Coca Trillini
“สตรีนิยมเชิงนิเวศ
ตั้งอยู่บนฐานของการปกป้องสิทธิสตรีชนิดถอนรากถอนโคน,
และความตื่นตัวเชิงสิ่งแวดล้อม”
Q: How is ecofeminism constructed?
ถาม:
สตรีนิยมเชิงนิเวศถูกสร้าง (ด้วยความคิด) อย่างไร?
A: With a radical defence of women’s
rights, and environmental awareness. When I say “radical,” I mean the
definition of feminism I was taught years ago, which means asking myself and
others if we can recognise the occurrence of abuse and lack of recognition of
women’s human rights.
ตอบ: สร้างด้วย (ความคิด) การปกป้องสิทธิสตรีชนิดถอนรากถอนโคน,
และความตื่นตัวเชิงสิ่งแวดล้อม.
เมื่อฉันบอกว่า “ถอนรากถอนโคน”,
ฉันหมายถึงคำนิยามของสตรีนิยมที่ฉันถูกสอนมาหลายปีที่แล้ว,
ซึ่งหมายถึงการถามตัวเองและคนอื่นๆ ว่า
เราสามารถตระหนักรู้ถึงการเกิดขึ้นของการข่มเหง
และการขาดการยอมรับสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้หญิงไหม.
If the answer is yes, the next
question is whether you are willing to work for those rights so that all women
and men can attain equality.
หากคำตอบคือ
ได้, คำถามต่อไปคือ
แล้วคุณจะยินดีทำงานเพื่อสิทธิเหล่านั้นเพื่อให้หญิงและชายทั้งปวงสามารถบรรลุถึงความเท่าเทียมกันหรือไม่.
And if you ask the same questions
about planet Earth, then that environmental awareness allows us to add the
defence of environmental rights to feminism. That is how, in combination, we
understand ecofeminism.
และหากคุณถามคำถามเดียวกันนี้เกี่ยวกับโลก,
แล้วความตื่นตัวเชิงสิ่งแวดล้อมนั่น ก็จะยอมให้เราเติมการปกป้องสิทธิสิ่งแวดล้อมลงในสตรีนิยม. ด้วยการประสมเช่นนี้, ทำให้เราเข้าใจสตรีนิยมเชิงนิเวศ.
Q: Do you agree with those who
regard the environmental and feminist movements as being among those who have
done the most to promote social change in the 20th century?
ถาม:
คุณเห็นด้วยไหมกับพวกที่ถือว่า
การเคลื่อนไหวเชิงสิ่งแวดล้อมและสตรีนิยม เป็นสองในบรรดาการเคลื่อนไหวอื่นๆ
ที่ได้ทำอะไรให้มากที่สุดในการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 20?
A: Yes, I think so. And it’s not
just me who says so, but a number of research studies, because in one way or
another we have been able to shine a light on the areas where respect has been
lacking.
ตอบ: ใช่, ฉันเห็นด้วย. และก็ไม่ใช่แค่ฉันที่บอกเช่นนี้,
งานศึกษาวิจัยมากมายก็บอกเช่นนั้น, เพราะไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
พวกเราได้ส่องแสงเข้าไปในพื้นที่ๆ ไม่เคยได้รับความเคารพเลย.
In the case of women, it is simply
because they are women. That is why we can talk of femicide (gender-related
murder). And in the case of the environment, it is because no matter who comes
after us, we are using all the water and rendering the land infertile. Here we
can talk of ecocide (destruction of ecosystems).
ในกรณีของผู้หญิง,
มันก็เพียงเพราะพวกเขาเป็นหญิง.
นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เราพูดเรื่องการฆ่าสตรีเพศ
(ฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพ).
และในกรณีของสิ่งแวดล้อม, มันก็เพราะ ไม่ว่าใครจะเดินตามข้างหลังพวกเรา,
เรากำลังใช้น้ำทั้งหมด และทำให้ผืนดินหมดความอุดมสมบูรณ์. อันนี้ เราก็บอกว่าเป็นการ ฆ่านิเวศ (ทำลายล้างระบบนิเวศ)
ได้.
In recent times, we were the ones
who sounded the alarm in defence of the dignity of women and of the ecosystem.
We brought together many voices, and at times led activism on day-to-day issues
that needed to be denounced.
ในยุคนี้,
เราเป็นพวกที่ตีฆ้องร้องป่าว เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของผู้หญิงและของระบบนิเวศ. เรานำเสียงต่างๆ ให้เข้ามารวมกัน, และบางครั้ง
ก็รณรงค์ประเด็นในชีวิตประจำวันที่จำเป็นต้องถูกประณาม.
Q: What role has ecofeminism played
in the social movements that are active in different countries?
ถาม:
สตรีนิยมเชิงนิเวศมีบทบาทอะไรในการเคลื่อนไหวทางสังคมที่กำลังขับเคลื่อนในประเทศต่างๆ?
A: We have supported the student
protests in Chile, and have participated in the “indignados” (Occupy) movement
and others. In every case, we have contributed not just theory but also
concrete practices, taking to the streets and joining in the demands.
ตอบ: เราได้ให้การสนับสนุนการประท้วงของนักศึกษาในชิลี, และได้มีส่วนร่วมในขบวนการ
“indignados”
(ยึดพื้นที่) และการขับเคลื่อนอื่นๆ. ในทุกๆ กรณี, เราได้ให้ไม่เพียงแต่ด้านเทววิทยา
แต่ยังรวมถึง วิธีปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม, เช่นการประท้วงบนท้องถนน และเข้าร่วมในการเรียกร้อง.
Sometimes, for a certain type of
social movement to emerge, particular circumstances have to arise, but prior to
that there has been an accumulation of reflection and synthesis coming from
several converging lines. I dare say one of these is ecofeminism.
บางครั้ง,
สำหรับการเคลื่อนไหวทางสังคมบางอย่าง, สถานการณ์เฉพาะบางอย่างเกิดขึ้น,
แต่ก่อนหน้านั้น ก็ได้มีการสั่งสมการตรึกตรองและการสังเคราะห์ที่มาจากการบรรจบกันของหลายๆ
สาย (ธารแห่งอุดมการณ์). ฉันกล้าพูดได้ว่า
หนึ่งในสายนี้ คือ สตรีนิยมเชิงนิเวศ.
Q: What are the main challenges
facing ecofeminism?
ถาม:
อะไรเป็นข้อท้าทายหลักที่สตรีนิยมเชิงนิเวศกำลังเผชิญอยู่?
A: Our own contradictions and the
need to understand that social processes and changes take time.
ตอบ: ความขัดแย้งในพวกเรากันเอง และความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า กระบวนการทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา.
When I talk about contradictions, I
mean that recently sectors have emerged that have tried to return to a far more
essentialist discourse, and are trying to defend only the sexual and
reproductive rights of women.
ที่ฉันพูดถึงความขัดแย้ง,
ฉันหมายถึง เมื่อเร็วๆ นี้ มีภาคส่วนต่างๆ ผุดขึ้นมา ที่พยายามถอยกลับไปสู่วาทะกรรม
essentialist ยิ่งขึ้น,
และกำลังพยายามปกป้องแต่สิทธิทางเพศสัมพันธ์และการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง.
But we feminists do not agree with
this. We continue to work for all of the human rights of women, which certainly
include sexual and reproductive rights, as well as the right to decide whether
to have an abortion.
แต่นักสตรีนิยมอย่างพวกเรา
ไม่เห็นด้วยกับแนวโน้มนี้.
พวกเรายังคงทำงานสำหรับสิทธิมนุษยชนทั้งหมดของผู้หญิง, ซึ่งแน่นอน รวมถึง สิทธิทางเพศสัมพันธ์และการเจริญพันธุ์,
ตลอดจนสิทธิในการตัดสินใจว่าจะทำแท้งหรือไม่.
On the other hand, we must
understand that we are all bound by a patriarchal structure. I think progress
is slow, and so is the road to awareness of the domination that enthralls us,
but that we are not condemned to repeat.
ในอีกด้านหนึ่ง,
เราต้องเข้าใจว่า เราทั้งหมดถูกโครงสร้างระบบปิตาธิปไตยหุ้มอยู่.
ฉันคิดว่า ความก้าวหน้าช้า, และหนทางสู่ความตื่นรู้เท่าทันอำนาจการแข่งอำนาจที่น่าหลงใหลก็ไม่ง่ายนักเช่นกัน,
แต่เราก็ไม่ได้ถูกสาปให้ต้องย่ำอยู่กับที่.
What we are compelled to do
constantly is to re-revise and deconstruct, and reconstruct taking the elements
we regard as somehow being able to push us towards freedom and the defence of
women’s rights.
สิ่งที่เราถูกบังคับให้ทำตลอดเวลา
คือ การแก้ไข ทบทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่า และ รื้อถอน, และสร้างใหม่
โดยนำปัจจัยที่เราถือว่าจะสามารถผลักดันให้เรามุ่งไปข้างหน้าสู่อิสรภาพ และ
ปกป้องสิทธิของผู้หญิง.
No one changes overnight, certainly
not by means of speeches and theories.
ไม่มีอะไรเปลี่ยนง่ายๆ
เพียงชั่วข้ามคืน, แน่นอน ไม่ใช่ด้วยวิธีกล่าวสุนทรพจน์และร่ายทฤษฎี.
Q: What does feminist theology
propose?
ถาม:
เทววิทยาเชิงสตรีนิยมได้เสนอแนะอะไร?
A: There is no single feminist
theology. But there is a very simple definition that I like to use because I
find it helps me: it’s theology that tries to reflect on the image that we have
of what we call God.
ตอบ: ไม่มีเทววิทยาเชิงสตรีนิยมอันเดียวเดี่ยวๆ. แต่มีคำนิยามง่ายๆ ที่ฉันชอบใช้
เพราะมันช่วยฉันได้: มันเป็นเทววิทยาที่พยายามสะท้อน
ตรึกตรอง ถึงภาพที่เรามีต่อสิ่งที่เราเรียกว่า พระเจ้า.
Whatever that image may be, we have
discovered that traditional theology has given women only the answers to
questions we have never asked.
ไม่ว่าภาพนั้นจะเป็นอย่างไร,
เราพบว่า เทววิทยาแบบดั้งเดิมตามประเพณีนิยมได้ให้ผู้หญิงแค่คำตอบต่อคำถามที่พวกเราไม่เคยถาม.
For instance, we ask ourselves about
our relationship with God when we have to make choices in critical situations,
because we are being violently attacked, and we are forced to believe in things
that have nothing to do with our lives.
เช่น,
เราถามตัวเราเองเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับพระเจ้า
เมื่อเราต้องตัดสินใจเลือกในยามวิกฤต, เพราะเรากำลังถูกทำร้ายอย่างรุนแรง, และเราถูกบังคับให้เชื่อในสิ่งที่ไม่จำเป็นอะไรเลยในชีวิตของเรา.
Historically, women have not been
recognised as persons with rights, and capable of taking ethical decisions in
life.
ในทางประวัติศาสตร์,
ผู้หญิงไม่ได้ถูกยอมรับว่าเป็นบุคคลที่มีสิทธิ์, และสามารถจะรับผิดชอบในการตัดสินใจด้านจริยธรรมในชีวิต.
In the early history of the Catholic
Church, there were even doubts as to whether women had souls. There is
inequality, oppression and symbolic violence against women that feminist
theologies have tried to deconstruct in order to find, through reconstruction,
meaning in our daily life.
ในประวัติศาสตร์ตอนต้นของศาสนจักรคาทอลิก,
ถึงกับตั้งข้อสงสัยว่า ผู้หญิงมีวิญญาณหรือไม่.
มีความไม่เท่าเทียม, การกดขี่ และ ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์ต่อผู้หญิง
ที่เทววิทยาเชิงสตรีนิยมได้พยายามรื้อถอน เพื่อค้นหา, ด้วยการสร้างขึ้นใหม่,
ความหมายในชีวิตประจำวันของเรา.
Q: You belong to the Catholics for
Choice movement. What is it like to confront such a conservative tradition?
ถาม:
คุณเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการคาทอลิกเพื่อทางเลือก. มันเป็นอย่างไร
เมื่อต้องปะทะกับประเพณีนิยมที่อนุรักษ์เช่นนี้?
A: Our group does not exist to
confront anyone, but to propose, to demand action by the state, and to defend
people’s rights.
ตอบ: กลุ่มของเราไม่ได้มีอยู่เพื่อปะทะกับใคร,
แต่เพื่อเสนอแนะ, เพื่อเรียกร้องให้มีปฏิบัติการโดยรัฐ,
และเพื่อปกป้องสิทธิของประชาชน.
There are different theological
views within the Catholic tradition – it is not monolithic. There is a lack of
information among the faithful about being able to take decisions with freedom
of conscience.
มีมุมมองเชิงเทววิทยาหลายสายในคาทอลิก—มันไม่ใช่เป็นก้อนมหึมาหนึ่งเดียว. ในบรรดาสาธุชนที่มีความศรัทธา มีการเข้าไม่ถึง/ขาดข้อมูล
ที่ว่า พวกเขาสามารถจะตัดสินใจได้ด้วยจิตสำนึกอิสระ.
In Latin America, the Catholic Church
and the state are intertwined, and this relationship was granted legitimacy by
the constitutions adopted after the Spanish colonial period came to an end.
Unfortunately, this relationship has conditioned our culture and exerts an
influence beyond the personal choice of a particular religion.
ในลาตินอเมริกา,
ศาสนจักรคาทอลิกและรัฐพัวพันกัน, และความสัมพันธ์นี้ ก็ได้รับความชอบธรรมจากรัฐธรรมนูญ
ที่ได้รับหลังสิ้นสุดยุคอาณานิคมสเปน. โชคไม่ดี,
ความสัมพันธ์นี้ ได้สร้างเงื่อนไขให้วัฒนธรรมของเรา และยัดเยียดอิทธิพลของศาสนาหนึ่งๆ
ให้อยู่เหนือทางเลือกส่วนตัว.
http://www.ipsnews.net/2012/11/qa-the-main-challenge-for-ecofeminism-is-its-own-contradictions/, 11-14-12
Related IPS Articles
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น