วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

126. ภูฏานขานรับบท “เดวิด” หาญสู้ ยักษ์ “โกไลแอธ” ในสงครามกู้ชีพพระแม่ธรณี และมนุษยชาติ



Bhutan Pledges to be First 100% Organic Nation
The small, Himalayan kingdom plans to be chemical free within decade
- Common Dreams staff
                ภูฏานสัญญาจะเป็นประเทศอินทรีย์ 100% แห่งแรก
          ราชอาณาจักรหิมาลัยเล็กๆ วางแผนสู่ปลอดเคมีในทศวรรษ
                -คณะคอมมอนดรีมส์
(ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล)
The small nation of Bhutan, nestled in the Himalayas between China and India, is committed to becoming the first "hundred percent organic" nation.
                ประเทศเล็กๆ แห่งภูฎาน, ซุกอยู่ในหิมาลัยระหว่างจีนและอินเดีย, มุ่งมั่นที่จะกลายเป็นประเทศแรกที่เป็น “อินทรีย์ 100%”.

 Farmers in Bhutan hope to be 100 percent organic in ten years. Photo by *christopher* via flickr

At the Rio+20 Conference on Sustainable Development in June, Prime Minister Jigmi Thinley announced that his government is developing a National Organic Policy and a plan to convert 100% of his nation's agricultural land to organic farms. The policy's goal is to phase out artificial chemicals in farming over the next 10 years.
                ณ ที่ประชุมริโอ+20 ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนในเดือนมิถุนายน, นายกรัฐมนตรี จิกมี ธินเลย์ ประกาศว่า รัฐบาลของเขากำลังพัฒนานโยบายอินทรีย์แห่งชาติ และแผนที่จะปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรของชาติให้เป็นฟาร์มอินทรีย์ 100%.  เป้าหมายของนโยบาย คือ ละ ลด เลิก สารเคมีแปลกปลอมออกจากการเกษตรใน 10 ปีข้างหน้า.
"Bhutan has decided to go for a green economy in light of the tremendous pressure we are exerting on the planet," Agriculture Minister Pema Gyamtsho told the Agence France-Presse. "If you go for very intensive agriculture it would imply the use of so many chemicals, which is not in keeping with our belief in Buddhism, which calls for us to live in harmony with nature."
                “ภูฏานได้ตัดสินใจแล้วว่าจะมุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจเขียว ท่ามกลางแรงกดดันอันมหาศาลที่พวกเรากำลังยัดเยียดให้โลก”, รัฐมนตรี เปมา กยัมต์โช กล่าว.   “หากคุณมุ่งไปทางเกษตรเข้มข้นยิ่ง ย่อมหมายถึงการใช้สารเคมีมากมาย, ซึ่งไม่ใช่วิถีทางตามความเชื่อในศาสนาพุทธของเรา, ซึ่งเรียกร้องให้พวกเราดำรงชีพอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ”.
The Himilayan kingdom of 700,000 became a pioneer in 1972 when Bhutan's fourth Dragon King,
Jigme Singye Wangchuck coined the term "Gross National Happiness" and announced that the nation would measure their success based on well-being and other Buddhist spiritual values rather than economic measures. This value rating has been publicly embraced by the United Nations and other countries worldwide. Other measures Bhutan has taken to ensure their quality of life include banning television until 1999 and deterring mass tourism to protect its culture from foreign influence.
                ราชอาณาจักรหิมาลัยของประชาชน 700,000 คน ได้กลายเป็นผู้บุกเบิกในปี 1972 เมื่อกษัตริย์องค์ที่สี่ของภูฏาน จิกมี ซินเกย์ วังชุก ได้ตั้งคำว่า “ความสุขมวลรวมของประชากรในหนึ่งปี” และประกาศว่า ประเทศชาติจะวัดความสำเร็จของตนบนฐานของความอยู่ดีมีสุข และ คุณค่าทางจิตวิญญาณทางพุทธ แทนที่จะใช้มาตรทางเศรษฐกิจ.   การจัดอันดับคุณค่าเช่นนี้ ได้ถูกยอมรับโดยยูเอ็นและประเทศต่างๆ ทั่วโลก.   มาตรการอื่นๆ ที่ภูฐานได้นำมาใช้เพื่อสร้างความมั่นใจว่า จะรักษาคุณภาพชีวิตได้ รวมถึงการห้ามโทรทัศน์จนถึงปี 1999 และยับยั้งการท่องเที่ยวมวล เพื่อปกป้องวัฒนธรรมของตนจากอิทธิพลต่างชาติ.
According to Gyamtsho, Bhutan's chemical use is already "very low" by international standards. He explained, "only farmers in areas that are accessible by roads or have easy transport have access to chemicals." The majority of farmers are already organic and rely on rotting leaves or compost as a natural fertilizer. Two-thirds of the country depend on farming the nation's 7.8 percent arable which is peppered among the plains in the south and the Himalayan peaks to the north.
                ตามความเห็นของ กยัมต์โช, การใช้สารเคมีของภูฎานอยู่ระดับ “ต่ำมาก” อยู่แล้วเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล.  เขาอธิบายว่า, “มีแต่ชาวนาในพื้นที่ๆ ถนนเข้าไปถึง หรือมียานพาหนะพื้นๆ เท่านั้นที่เข้าถึงสารเคมี”.   ชาวนาส่วนใหญ่ทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว และพึ่งอยู่กับการเน่าเปื่อยของใบไม้และการทำปุ๋ยหมัก ให้เป็นปุ๋ยธรรมชาติ.   สองในสามของประเทศ พึ่งเกษตรกรรมบนเนื้อที่เพาะปลูก 7.8% ที่กระจายอยู่ตามที่ราบตอนใต้ และ บนยอดเขาหิมาลัยทางเหนือ.
The Prime Minister is employing a step-by-step strategy to going organic: "We have identified crops for which we can go organic immediately and certain crops for which we will have to phase out the use of chemicals, for rice in certain valleys for example." Staple food exports include of wheat, exotic mushrooms, red rice, potatoes and fruits.
                นายกฯ กำลังใช้ยุทธศาสตร์ทีละก้าวเพื่อมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์, “เราได้ระบุชี้พืชที่เราจะใช้วิถีอินทรีย์ทันที และ พืชบางชนิดที่เราจะละ ลด เลิก การใช้สารเคมีในที่สุด, เช่น ข้าวในบางหุบเขา”.   อาหารหลักส่งออกมีข้าวสาลี, เห็ดหายาก, ข้าวแดง, มันเทศ และผลไม้.
Gyamtsho released a report (pdf) explaining that the organic program is not just about protecting the environment. It will also train farmers in new methods that will help them grow more food and, consequently, move the country closer to self-sufficiency. Bhutan has sent a number of farmers to India to study at Vanadana Shiva's organic training farm and has invited consultants from the farm to help educate locals so they can help other Bhutanese farmers transition to organic.
                กยัมต์โช ได้แพร่รายงาน อธิบายว่า โปรแกมอินทรีย์ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม.  มันจะฝึกอบรมวิธีใหม่ๆ ให้กับชาวนา ที่จะช่วยให้พวกเขาปลูกอาหารได้มากขึ้นและยังผลให้ประเทศเคลื่อนใกล้สู่การพึ่งตนเองได้.   ภูฏานได้ส่งชาวนาหลายคนไปอินเดีย เพื่อศึกษาที่ฟาร์มฝึกอบรมอินทรีย์ของ วันทนา ศิวะ และได้เชิญที่ปรึกษาจากฟาร์มมาช่วยให้การศึกษาแก่คนท้องที่ เพื่อให้พวกเขาช่วยชาวนาภูฏานอื่นๆ ในการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีอินทรีย์.
The Prime Minister had said in his speech that his goal is for the 'Raised in Bhutan' label to be "synonymous with 'organically grown.'" In addition to the obvious ecological benefits, the Bhutan Observer notes that the hope is for the program is to "pursue organic farming as the finest recourse to alleviate rural poverty in the country."
                นายกฯ ได้กล่าวในสุนทรพจน์ว่า เป้าหมายของเขา คือ ทำให้ยี่ห้อ ปลูก/เลี้ยงในภูฏาน เป็น “คำเดียวกับ ปลูกด้วยวิถีอินทรีย์’”.   นอกเหนือจากผลประโยชน์เชิงนิเวศที่เห็นชัด, ผู้สังเกตการณ์ภูฏานกล่าวว่า  ความหวังของโปรแกม  คือ “หาทางทำให้เกษตรอินทรีย์ ให้เป็นทรัพยากรดีเยี่ยมในการบรรเทาความยากจนในชนบทของประเทศ”.
There is a growing market for organic goods in neighboring countries, like India, with a growing middle class. Nadia Scialabba, global specialist on organic farming at the UN's Food and Agriculture Organization, told the AFP that this trend is "happening in very small countries who are not competitive on quantity, but they would like to be competitive in quality."
                ตลาดสินค้าอินทรีย์กำลังขยายตัวในประเทศเพื่อนบ้าน, เช่น อินเดีย, พร้อมกับชนชั้นกลางที่ขยายตัว.   นาเย สเยลาพา, ผู้ชำนาญพิเศษโลกเรื่องเกษตรอินทรีย์ที่องค์การอาหารและเกษตรของยูเอ็น, กล่างว่า แนวโน้มนี้กำลัง “เกิดขึ้นในประเทศเล็กมากๆ ที่ไม่แข่งในเชิงปริมาณ, แต่ต้องการแข่งด้วยคุณภาพ”.
Published on Wednesday, October 3, 2012 by Common Dreams

N8W1der • 7 hours ago
Completely unstated in the piece but lingering like an 800 lbs. gorilla in the room: going organic also denies chemical fertilizer and GMO seed companies like Monsanto & Con-Agra entry into Bhutan's market. In fact, do not be surprised if Bhutan becomes a sanctuary for organic and heirloom seeds that Monsanto recently had the European Court ban from the mails.
10 / 
Texxtyn • 4 hours ago • parent
MonSatan is going down. They have nothing to offer that anyone wants. It must be prophecy that the Grim Reaper was pictured with the scythe,
4 / 
George Buzzetti • 4 hours ago
Thank you Bhutan. You are one of the only countries who is thinking about reality and sustainability without destroying the planet. Eventually we are going to have to go to aquaculture and hydroponic farming without GMO to feed the planet and not destroy it through all of the insane chemicals we use. Just look at the delta around the Mississippi. It is a death zone as a result of the chemical runoff. Over time something special was developed in the Himalaya's for respect for the earth and beings of all kinds. We should learn from them.
3 / 
Bo Moden • 8 hours ago
Yes we in the overdeveloped world have a lot to learn.
4 / 
Texxtyn • 4 hours ago
This is awesome. This will bring prosperity and recognition to
Bhutan. Just think of the money they will save in health care treatments.
2 / 
lamonte • 2 hours ago −
That's really nice of Bhutan, but does it count if they actually have to import food to feed themselves?
0 /  

6 ความคิดเห็น:

  1. Surasavadee Hunpayon
    Sun, Oct 7, 2012 at 8:08 AM

    ในฐานะอดีตผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งได้เคยรับผิดชอบการคัดเลือกและอบรมเตรียมความพร้อมให้กับอาสาสมัครเพื่อไทย (Friends from Thailand) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศ(สพร.) หรือกรมวิเทศสหการเดิมที่เคยขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ปัจจุบัน ภายใต้การปฏิรูประบบราชการได้เปลี่ยนมาสังกัดกับกระทรวงการต่างประเทศ

    ภายใต้โครงการอาสาสมัครเพื่อนไทย ประเทศไทยได้มีการส่งอาสาสมัคร ไปเรียนรู้และร่วมทำงานในประเทศภูฏานต่อเนื่องกันกว่า 3 ปีแล้ว มีอาสาสมัครไปทำงานประมาณ 10 คน มีอาสาสมัครที่ไปทำงานกับ หน่วยงานด้านการเกษตรทั้งพืช และแมลง ซึ่งเป็นการส่งไปตามความต้องการของเขา ผลการทำงานร่วมกันพบว่า ในการส่งเสริมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นความต้องการของรัฐบาลนั้น ในระดับผู้ปฏิบัติงานแล้ว ไม่ต่างจากข้าราชการในประเทศไทย ในอดีตและปัจจุบันที่มีผลประโยชน์กับบริษัทผู้ผลิตและค้าเคมีการเกษตร

    เมื่อผลประโยชน์และทัศนคติเป็นเช่นนี้จึงไม่ได้ส่งเสริมกันจริงจัง และบอกว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก สู้ใช้ปุ๋ยเคมีและใช้ยาฆ่าแมลงไม่ได้

    ผลจากการทำงานร่วมกันทำให้อาสาสมัครที่ไปทำงานด้วยรู้สึกผิดหวัง เกิดความท้อแท้ใจในการทำงาน เพราะเข้าไปด้วยใจเต็มร้อย แต่พอทำงานไป 1 ปี มีบางคนถอดใจไปเลยก็มี แต่ยังมีความรู้สึกดี ประทับใจในผู้คนทั่วไป หากแต่ไม่ประทับใจในระบบการทำงานของรัฐเลย รวมทั้ง 1 ปีที่อยู่ได้พบเห็นเรื่องราวสารพัด ที่ไม่ใช่ข่าวสารที่เผยแพร่โฆษณาไปทั่วโลก เรื่องความสุขมวลรวม ก็ไม่ใช่ความจริงของผู้คนจำนวนมากจริง ชีวิตในเมืองหลวงทิมพู ไม่มีความปลอดภัย อาสาสมัครเพื่อนไทยถูกคนบุกเข้าขโมยของในท้องพักเวลากลางวันแสกๆ ขณะที่ตนเองอยู่อีกห้องหนึ่ง ตำรวจจับใครไม่ได้เหมือนเมืองไทย และยังถูกล้วงกระเป๋าในที่สาธารณะอีกด้วย พบเห็นผู้คนกลุ่มน้อยจากเนปาล ที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงานอพยพ บ้างมาเป็นหญิงโสเภณีมากมาย อาสาสมัครบางคนทำงานกับกลุ่มหญิงบริการเหล่านี้ และพบชีวิตที่ทุกข์ยาก พบผู้คนเป็นโรคเอดส์ ผู้คนไม่รู้จักโรคเอดส์และไม่ได้รับบริการจากรัฐอีกมหาศาล

    ในฐานะผู้รับผิดชอบในการเตรียมความพร้อม ติดตามการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร พบว่าสถานการณ์นี้ไม่ต่างจากความรู้สึกของอาสาสมัครต่างประเทศทั้งอาสาสมัคร อังกฤษ แคนาดา และอเมริกันที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีข้อสรุปว่า ข้าราชการไทย ไม่ใคร่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไรง่าย ๆ ทำงานตามระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยุ่งยากซับซ้อน ไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่ตกแก่ประชาชนมากนัก คิดแต่จะทำงานตามกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัด สภาพการทำงานของระบบราชการของเขาเหมือนกับของประเทศไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทำงานแบบเช้าชามเย็นชามไปเรื่อย ๆ ไม่รีบร้อนอะไร แต่อย่างใด จนอาสาสมัครต้องพยายามเข้าใจ และทำใจว่าเข็นไม่ไป ทำเท่าที่ทำได้

    แต่อย่างไรก็ตามอาสาสมัครทุกคนมีความประทับใจในสภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยรวม ที่ส่วนใหญ่ยังอยู่กับธรรมชาติ แต่ในเมืองใหญ่ทั้งทิมพู พาโร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คนไทยที่อยู่ในภูฏานกว่า 30 ปี สารภาพว่า สภาพชีวิตของผู้คนไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะในเมืองหลวง ยังมีอะไรอีกมากมายที่คนนอกไม่รู้ แล้วเชื่อถือเฉพาะสิ่งที่เขาโฆษณาเผยแพร่

    แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายที่ประเทศภูฏานต้องการเป็นสิ่งไม่ดี ทั้งเรื่องความสุขมวลรวม และเรื่องเกษตรอินทรีย์ เป็นสิ่งดี แต่เราเห็นภาพลวงตาที่มากกว่านั้น เราพบเห็นความไม่ตั้งใจจริงของข้าราชการของเขา เราเห็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้องของข้าราชการของเขาในเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างนี้แล้วจะหวังว่าจะได้เกษตรอินทรีย์ในราคาคุยคงเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ คือการใช้ปุ๋ยเคมี และเคมีกำจัดศัตรูพืชและแมลงต่างหาก

    ***

    ตอบลบ
  2. malee pruekpongsawalee
    Sun, Oct 7, 2012 at 1:45 PM

    ขอบคุณที่แบ่งปันข้อมูลประสบการณ์เรื่องประเทศภูฏาน อ่านแล้วตาสว่างขึ้นอีกเยอะเลย ถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิด อุดมการณ์และการปฏิบัติที่เป็นจริง อีเมลล์ของอาจารย์ใหม่อาจนำไปสู่ข้อสรุป ๒ ประเด็นใหญ่ๆ คือ (๑) ปัญหาของคนที่อยู่ในระบบราชการ และปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้มีหน้าที่ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และผลประโยชน์ที่งอกเงยจากส่วนตน (๒) ปัญหาเรื่องการตลาดและการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งดูจะเป็นยุทธศาสตร์ร่วมที่ใช้อยู่โดยทั่วไป เห็นประเด็นแต่ขี้เกียจวิเคราะห์ มาถึงอายุปูนนี้แล้ว ทำให้ได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า บางทีปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของสังคมไทย คือการ "พูด" มากกว่า "การลงมือทำ" จริงๆ การพูดมักเป็นการพูดเป็นภาพกว้างภาพรวม แต่การทำนั้นคงทำได้ในขอบเขตที่จำกัด สำหรับตัวเอง ซึ่งเคย "พูด" มาเสียเยอะ ตอนนี้คิดว่าจะพยายามทำให้มากขึ้น แม้จะได้ผลเพียงน้อยนิดก็ตาม ความจริงสำหรับคนบางกลุ่มแล้ว "การพูด" ก็เป็น "การทำ" อย่างหนึ่งใช่ไหมคะ ตุลาคมปี ๕๖ พี่จะครบเกษียณอีกครั้งหนึ่งแล้ว ต้องใครครวญว่าเวลาที่เหลืออยู่ควรจะทำอะไรดี

    ***

    ตอบลบ
  3. Ranee Hassarungsee
    Sun, Oct 7, 2012 at 8:21 PM

    ข้อมูลของอาสาสมัคร 3 ปี หนักแน่นมากที่จะสวนกับกระแสโฆษณาประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลภูฏาน ในโลกยุคใหม่คนที่รู้จักใช้สื่อก็สามารถสร้างภาพมายาขึ้นอย่างเป็นกระบวนการและขบวนการ อย่างไรก็ตามพื้นฐานเดิมของภูฏานเป็นเกษตรอินทรีย์ เช่นเดียวกับประเทศเราเมื่อ50ปีก่อน แต่โลกยุคใหม่คงทำให้ภูฏานสับสนและเปลี่ยนเร็วกว่าเรา

    โลกที่จากเดิมที่ไม่มีทีวี มาเป็นเคเบิลทีวีที่รับได้เป็นร้อยช่องจากทั่วโลก ไม่มีโทรศัพท์มามีมือถือ โลกใหม่กับโลกเก่าปะทะกันอย่างรุนแรง สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการสังเกตการณ์ในช่วงที่ติดตามกลุ่มเกษตรอินทรีย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปแลกเปลี่ยนดูงานเพียงหนึ่งอาทิตย์

    การระเบิดภูเขาเปิดถนนให้กว้างขึ้น เพื่อให้รถแทรคเตอร์ขนาดใหญ่เข้าไปสร้างเขื่อนพลังงานน้ำได้ เป็นภาพเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในทวายที่พม่า และ เขมร ทิศทางการพัฒนากระแสหลักไม่ได้เปลี่ยน

    ***

    ตอบลบ
  4. Sutada
    Tue, Oct 9, 2012 at 8:11 AM

    ความจริงแล้ว อาจจะเห็นมุมมองที่แตกต่างหากจะได้นำเสนอเรื่องราวของภาคประชาสังคมในภูฎาน (Bhutan) บ้าง อีกอย่างการด่วนสรุปเพียงเพราะปรากฏการณ์ด้านหนึ่งด้านใดอาจไม่สมควร

    เรื่องการที่ภาคประชาสังคมลุกขึ้นมาต่อต้านพืช GMO หรือเคมีการเกษตร เป็นเรื่องที่ทำกันในเกือบทุกมุมโลกไม่ใช่เพียงแต่ในซีกโลกตะวันออก ที่เราคิดว่าเป็นตัวเอกและโลกซีกตะวันตกเป็นตัวร้าย

    ในมุมมองของภาคประชาสังคมแล้ว ที่ไม่มีมายาคติเชิงอำนาจเหนือมาครอบงำ จะเห็นพลังเล็กๆ ที่เรืองแสงอยู่ หากสนใจจะส่องกล้องมองเข้าไป แต่มันจะง่ายหากในมือเรามีหมึกสีดำ หรือมีผ้าดำทีพร้อมจะป้ายหรือคลุมลงไปยังที่ต่างๆ ที่เราคิด...เห็นว่ามัน "ไม่ใช่" และ "ไร้แก่นสาร" แล้ว

    อยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างหลากหลายแง่มุม การนำเสนอเกษตรอินทรีย์ที่เนื้อแท้และสาระเป็นเรื่องที่ดี การเปิดเผยให้เห็นพิษภัยของเคมีการเกษตรก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะทำให้เกิดการตระหนักและฉลาดรู้

    แต่การให้ค่าสิ่งหนึ่งและด้อยค่าอีกสิ่งหนึ่ง ไม่น่าจะเป็นการนำเสนอที่ดีนัก เพราะก็ไม่ต่างอะไรกับการโฆษณาชวนเชื่อที่ล่อหลอกกันด้วยวาทกรรม

    ***

    ตอบลบ
  5. Ranee Hassarungsee
    Wed, Oct 10, 2012 at 10:40 AM
    ในโลกเรามันซับซ้อนและหลายมิติ บางทีการพูดมุมเดียวก็ไม่เห็นมุมอื่นๆ คนเราชอบง่ายๆ ขาวกับดำ แยกขั้วดีไม่ดี แต่การมองอย่างวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย

    กรณีภูฏานก็เช่นกัน เจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำเขาเรื่องเกษตรอินทรีย์ก็เห็นว่ามีอยู่จากการเข้าพบนายกรัฐมนตรีเขา เขาฉลาดและเก่งมาก กล้าตัดสินใจทางการเมือง นักนโยบาย นักวิชาการเขาที่มีเจตนาและความคิดที่ดีก็ได้พบปะแลกเปลี่ยนบ้าง (งานวิจัยเรื่องดัชนีความสุขของเขาก็น่าศึกษาเรียนรู้)

    การเป็นประเทศเกษตรอินทรีย์เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจหลักของเขาคือ การท่องเที่ยว นอกเหนือจากการขายพลังงานน้ำแล้ว เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของเขาเป็นนักแสวงหาธรรมชาติ และกระแสเกษตรอินทรีย์ก็กำลังมาแรงมากขึ้นท่ามกลางแบบวิถีชีวิตที่ทำลายสุขภาพ และการใช้สารเคมี เขาคิดเชื่อมโยงหลายเรื่อง การแสดงบทบาทในระดับโลกเรื่องนี้ก็ทำให้เขามีที่ยืนท่ามกลางมหาอำนาจอินเดียและจีนที่ขนาบเขาอยู่

    (นายกฯเขายังชวนว่าจะเชื่อมกับพวกเราทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะลุ่มน้ำโขงเพราะต้นน้ำอยู่ที่เขา)

    นักปฏิบัติการสังคมระดับโลกก็หนุนเขาเพราะต้องการสังคมทางเลือก อย่างไรก็ตามการสร้างสังคมทางเลือกจากระดับฐานน่าจะยั่งยืนกว่า

    ไม่ได้สรุปว่าจริงหรือลวง แต่น่าศึกษาติดตามเขาในโลกแห่งความเป็นจริงและในโลกแห่งความฝัน บางทีมองเขาแล้วอาจทำให้มองตัวเราเองกระจ่างชัดขึ้นนะคะ
    ***

    ตอบลบ
  6. บทความภูฎานนี้ ทำให้สงสัยว่า รัฐบาลไทยจะกล้าเหมือนภูฏาน--ราชอาณาจักรเล็กๆ--ไหมที่จะประกาศอย่างเดียวกัน ทั้งๆ ที่เรามีในหลวงที่ทรงชี้นำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และทั่วโลกก็ยอมรับว่าเป็นทางรอดวิถีหนึ่ง

    ดู "Food MythBusters: Do we really need industrial agriculture to feed the world?" (http://www.commondreams.org/video/2012/10/26)
    "นักเปิดโปงเรื่องลวงโลกเกี่ยวกับอาหาร: เราจำเป็นต้องอาศัยอาหารอุตสาหกรรมเพื่อเลี้ยงโลกจริงๆ หรือ?"

    แผนพัฒนาชาติ นำโดยรัฐไทย เป็นตัวทำลายกระดูกสันหลังของชาติ ตอนนี้กลับบอกว่าคนไทยไม่ยอมทำเกษตร จึงต้องพึ่งอุตสหาหกรรม...นั่นคือ ทำลายนิเวศต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการขยายนิคมอุตสาหกรรม ขยายเมกกะโปรเจกชายฝั่งใต้ ฯลฯ ทั้งๆ ที่ประชาสังคมคัดค้าน ใครจะหยุดรัฐไทยได้ ไม่ให้ทำร้ายและทำลายนิเวศ อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ฐานชีวิต แหล่งอาหารโลก

    เราจะรักษานิเวศ แหล่งผลิตอาหารอินทรีย์ ที่เหลือน้อยลงทุกทีได้อย่างไร? ไทยควรจะเป็นครัวโลกและแหล่งท่องเที่ยวนิเวศ ที่มีอาหารอินทรีย์พิชิตโรค ซึ่งจะดีกว่าเป็น hub โรงพยาบาลเลี้ยงโรคราคาแพง ที่ผุดขึ้นดังดอกเห็ด...ที่จะทำให้ไทยต้องเป็นหนี้ชาติค่ายา

    ตอบลบ