อรุณรุ่งฤดูใบไม้ผลิที่ ร้อนผ่าว แห้งผาก และไร้ปราณี
โดย เจนนิเฟอร์ บราวดี เดอ เฮอนานเดซ
Silent Spring Dawns Hot, Dry and Merciless
by Jennifer Browdy de Hernandez
สัปดาห์นี้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่แปลกประหลาดอย่างมหึมา พอออกจากฤดูหนาวที่อบอุ่นก็เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างกะทันหัน. ฉันหมายถึงร้อน—84 องศาฟาเรนไฮต์ ในแมสซาชูเสตส์วันนี้ เมื่อพระอาทิตย์ส่องแสงจ้า, เมฆปุยขาวเกาะกลุ่มลอยฟ่องตัดกับท้องฟ้าสดใส โดยไม่ถูกบดบังด้วยใบไม้ใดๆ. ไม่มีเงาให้บังเลย.
This week, turning the corner into the astronomical Spring, we have gone abruptly from warm winter to hot summer. And I mean hot: it was 84 degrees Farenheit in western Massachusetts today, brightly sunny, with puffy white cumulus clouds against a brilliant blue sky, unobstructed by any leaves. No shade.
วันนี้ทำให้ฉันคิดถึงหุ่นขี้ผึ้ง: สวยแต่ว่างเปล่า. ฉากสวยแต่ขาดชีวิตชีวา.
Today reminded me of a wax model: beautiful but blank. The façade of beauty, with the crucial vital spark missing.
เมื่อฉันเดินขึ้นเขาตอนเช้านี้, ป่าดูเงียบเหงาอย่างน่าขนลุก. ฉันหวนอาลัยถึงยามเช้าในวัยเด็กของฉัน, เมื่อฉันถูกปลุกให้ตื่นขึ้นด้วยเสียงร้องเพลงที่ร่าเริงของวงประสานเสียงยามอรุณเบิกฟ้าของเหล่านกนับพันที่ร้องทักทายกันและกันอย่างสนุกสนานและทักทายวันใหม่.
When I went for a walk up the mountain early this morning, the woods were eerily silent. I remembered mournfully the spring mornings of my childhood, where I would be awakened by the joyful singing of the dawn chorus of thousands of birds each happily greeting each other and the new day.
ในระหว่างเดินสู่ยอดเขา มีแต่เสียงร้องของนกเล็กๆ เพียงตัวเดียวที่แว่วมาจากที่ห่างไกล, ฉันหยุดลงนั่งบนก้อนหินและเงี่ยหูฟังเสียงอีกสักพัก. สิ่งที่ฉันได้ยิน มีแต่เสียงเบาๆ ของจราจรที่วิ่งเร่งไปมาบนถนนห่างออกไปใต้ที่ฉันยืนอยู่, และเสียงหึ่งๆ ของเครื่องบินที่ปั่นเครื่องข้ามฟากฟ้า ไปตามทางของมัน.
Reaching the top of the mountain having heard only the distant cry of a single phoebe, I stopped to sit on a rock and listen for a few minutes. All I heard was the dim rushing of the traffic on the road far below me, and the drone of an airplane churning its way across the sky.
ลงมาอีกที, ชิปมังค์ 2-3 ตัวรีบวิ่งหายหนีจากทางเดิน, และฉันก็สังเกตเห็นว่าไม่มีผลโอ๊กที่โคนต้นเลย, ทั้งๆ ที่ต้นโอ๊กสูงลิ่วอยู่ไปทั่ว. ฤดูใบไม้ที่ผ่านมาเป็นปีสาหัสสำหรับผลโอ๊ก, ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายที่ต้องพึ่งพามันในช่วงฤดูหนาว จะต้องพากันหิวโหยมากตอนนี้. ฉันรู้ว่าพวกหมีก็กำลังเคลื่อนตัวหาอาหารด้วย, อย่างที่ตัวหนึ่งได้มาและดึงหิ้งเลี้ยงนกของฉันลงมาเมื่อวานนี้. ฉันคิดว่าจะนำเมล็ดทานตะวันติดตัวมาพรุ่งนี้ เพื่อโปรยตามทางเป็นการไถ่โทษ.
Coming down again, a few chipmunks hurried out of sight along the path, and I was keenly aware that there were no acorns underfoot, despite the oak trees towering overhead. Last fall was a terrible year for acorns, so all the animals that depend on them for overwintering must be very hungry now. I know the bears are on the move, as one came and pulled down my bird feeder yesterday. I am thinking of bringing some sunflower seeds along on my walk tomorrow, to spread by the path as an offering of atonement.
ในขณะที่ไม่มีใครในพวกเราสามารถแบกความรับผิดชอบส่วนตัวต่อโศกนาฏกรรมของสมบัติร่วมนี้, พวกเราทั้งหมดที่ได้รับประโยชน์จากการสกัดน้ำมันที่ไม่สนใจใคร และการทำลายป่าและมหาสมุทรอย่างไม่ยอมลดละผ่อนปรน จะต้องตระหนักรู้ถึงขอบเขตที่พวกเราได้มีส่วนทำให้เกิดผลเช่นนี้ต่อตัวเราเอง, และดึงโลกธรรมชาติทั้งปวงให้ถลำไปกับพวกเราด้วย.
While no one of us can shoulder personal responsibility for this tragedy of the commons, all of us who have benefited from the heedless extraction of oil and relentless destruction of the forests and the oceans must be aware of the extent to which we have brought this on ourselves, and taken the rest of the natural world along with us.
จะมีวันหนึ่งมาถึงไหม เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นสู่ฟ้าสีครามสดใส และมองลงมายังพื้นพิภพที่ร้อนผ่าว, แห้งผาก, เงียบเหงายกเว้นสัตว์ที่ทนทานที่สุด, เช่นแมลงสาปและมด, ที่รอดพ้นจากเหตุการณ์ทำลายล้างเผ่าพันธุ์สรรพสัตว์มาหลายยุคแล้ว, และอีกครั้ง ก็จะทำธุระของพวกมันต่อไปอย่างใจจดใจจ่อ, รอคอยไปชั่วกัปชั่วกาลในขณะที่ชีวิตค่อยๆ เริ่มเดินเครื่องและผุดขึ้นมาใหม่?
Will there come a day when the sun rises in the brilliant blue sky and looks down on a hot, dry planet, silent except for the hardiest of species, like the cockroaches and the ants, who survived previous major extinction events, and will once again continue about their business single-mindedly, able to wait out the eons while life reboots and resurges again anew?
***
สุดสัปดาห์นี้ ฉันได้ดูภาพยนตร์สารคดีเรื่องหนึ่ง ถ่ายทำโดย พาเมลา เยตส์ เรื่อง “เกรนิโต: จะตรึงเผด็จการได้อย่างไร”, ซึ่งสื่อสารได้อย่างทรงพลังว่า การเข่นฆ่าในกัวเตมาลา เป็นเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ที่กองกำลังทหารพรานสนับสนุนโดยสหรัฐฯ ทำงานให้เจ้าของที่ดินและบริษัท เพื่อกวาดล้างที่ดินของชนพื้นเมืองดั้งเดิมและชาวนา เพื่อให้โครงการมหึมาที่ได้รับทุนระหว่างชาติ เช่น เขื่อนและเหมือง สามารถดำเนินไปได้อย่างไม่มีใครขัดขวาง.
This weekend I had the chance to see the new documentary film by Pamela Yates, Granito: How to Nail a Dictator, which powerfully makes the point that the genocide in Guatemala was about land rights, with U.S.-backed military juntas working for the landowners and the corporations to clear the land of indigenous people and peasants so that big internationally funded projects like dams and mines could proceed unobstructed.
ประชาชนสองแสนคน, ส่วนใหญ่ชนพื้นเมืองมายัน, ถูกสังหารหมู่ในปีทศวรรษ 1970s และ 1980s จากบริการแห่งความละโมภเชื้อเพลิงของอเมริกัน, ในกัวเตมาลาตามลำพัง.
Two hundred thousand people, mostly indigenous Mayans, were massacred in the 1970s and 1980s in the service of American-fueled greed, in Guatemala alone.
เรื่องนี้โดนใจของฉันว่า มันกำลังเกิดซ้ำรอยขณะนี้—เหมือนกับว่ามันเคยหยุดจริงๆ—ในขณะที่เราต่อสู้กันต่อไปเพื่อแย่งชิงทรัพยากรและที่ดินในผืนพิภพที่จำกัด.
It strikes me that this story is repeating now—if indeed it ever stopped—as we continue to fight over resources and land on our finite planet.
มันกำลังเกิดขึ้นตอนนี้ในป่าของอินโดนีเซีย, บนเกาะสุมาตรา ที่มีขนาดเท่าสหราชอาณาจักร หรือเบลเยี่ยม—ซึ่งเป็นป่าดงดิบที่งดงามมหึมา มีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแหล่งหนึ่งบนพื้นพิภพ—กำลังถูกขุดโค่น และปลูกต้นปาล์มแทน เพื่อป้อนความโหยหาน้ำมันปาล์มในระดับสากล.
It is happening now in the forests of Indonesia, where on the island of Sumatra plantations the size of the United Kingdom, the size of Belgium—unimaginably huge tracts of magnificent rain forest with some of the richest stores of biodiversity on the planet—are being bulldozed and replanted with palms to feed international demand for palm oil.
ชนพื้นเมืองที่มีป่าเป็นบ้านมานับพันปีกำลังถูกเบียดขับอย่างไร้ความปราณีให้ออกจากที่อยู่ธรรมชาติของพวกเขา อย่างแน่นอน พอๆ กับพืชและสัตว์ในที่นั้นๆ.
The indigenous people who made the forest their home for millennia are being mercilessly deprived of their natural habitat just as surely as the rest of the flora and fauna there.
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ, รวมทั้งการสูญเสียวัฒนธรรมโบราณของมนุษย์พื้นเมืองดั้งเดิม, เป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่สามารถวัดเป็นปริมาณได้. สิ่งที่สูญหายไปแล้ว ประมาณค่ามิได้.
The loss of biodiversity, including the loss of ancient indigenous human cultures, is a tragedy that cannot be quantified. What is being lost is priceless.
มันล้วนเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก, คุณอาจบอก, แต่ก็เกิดขึ้นในที่ห่างไกลโพ้นโน่น.
It’s all very sad, you may say, but all very far away, too.
แต่อุณหภูมิในฤดูร้อนนี้ ในเดือนมีนาคม มันเกี่ยวเนื่องกับการทำลายล้างผืนป่าเก่าแก่สุดท้ายที่เหลืออยู่ในอินโดนีเซีย, ในอัฟริกา, ในอเมริกาใต้, ในแคนาดา.
But our summer temperatures in March have everything to do with the destruction of the last remaining old-growth forests in Indonesia, in Africa, in South America, in Canada.
เมื่อไรที่ป่าหมด, หน้าดินก็จะเริ่มพังทลาย.
Once the forest is gone, the topsoil will begin to erode.
ทะเลทรายจะมาเยือนตามขอบเขตที่เคยเป็นป่าใหญ่.
Desert will prowl the borders of what used to be forest.
เมื่อ, อย่างที่เกิดในสวนปาล์มในอินโดนีเซีย, ระบบนิเวศที่หลากหลายถูกแทนที่ด้วยพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว, พืชเชิงเดี่ยวเหล่านั้นจะยิ่งเปราะบางต่อแมลงและความผันผวนของภูมิอากาศ.
When, as in the Indonesian palm oil plantations, diverse ecosystems are replaced with monocultures, those monocultures more vulnerable to pest and climate disruption.
และแล้ว?
And then?
***
เมื่อไม่นานมานี้ ฉันตื่นขึ้นกลางดึกบ่อยๆ จากฝันร้ายซ้ำๆ ซากๆ เกี่ยวกับอาหารขาดแคลน. ฉันเป็นห่วงกังวลอยู่แล้ว, ในฐานะชาวผักสวนครัว, ว่าวันเวลาในฤดูใบไม้ผลิที่ร้อน แห้งผากเหล่านี้ จะไม่ทำให้เกิดภาวะที่เหมาะสมให้พืชฤดูใบไม้ผลิ เช่น ถั่วและผักกาดหอม เติบโตได้.
Lately I have been having recurring waking nightmares about food shortages. Already I am concerned, as a backyard gardener, that these hot, dry spring days will not provide the proper growing conditions for spring crops like peas and lettuce.
ลองจินตนาการถึงสภาวะเช่นนี้ ที่เกิดขึ้นแบบเดียวกันทั่วโลก
Imagine conditions like these being replicated across the globe.
ลองจินตนาการถึงฤดูเพาะปลูกที่ทุกแห่งหนทั่วพิภพ พวกเราซวนเซจากความร้อนและแห้งแล้ง สู่พายุฝนและทอร์นาโด.
Imagine a growing season where all over the planet we lurched from heat and drought to torrential rains and tornadoes.
ในสหรัฐฯ พวกเราเคยชินกับการคิดว่า ความไม่มั่นคงทางอาหาร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลก.
In the US we have become accustomed to thinking of food insecurity as something that happens in other parts of the world.
ความหิวโหยเกาะติดเอเชียและอัฟริกา. มันไม่มาใกล้พวกเราหรอก.
Famine stalks Asia and Africa. It doesn’t come near us.
ปีนี้, ในขณะที่ฉันเห็นโลกธรรมชาติรอบๆ ตัวดิ้นรนต่อสู้เพื่อเลี้ยงชิปมังค์, หมี และไก่งวง; ในขณะที่ฉันต้อนรับการมาถึงของนกย้ายถิ่นหลงทาง 2-3 ตัว ที่อุตส่าห์หาทางในภูมิทัศน์ที่ถูกทำลายด้วยสงครามสารเคมีและอุตสหากรรมเกษตร; ในขณะที่ฉันมองออกไปที่ต้นไม้โกร๋น ยืนล้อแสงอาทิตย์ท่ามกลางความร้อนระอุที่ผิดธรรมชาติในยามเที่ยงวัน, ฉันรู้ดีแก่ใจว่า มันเป็นแค่เวลา ก่อนที่จะถึงตาเรา.
This year, as I see how the natural world around me is struggling to provide for the chipmunks, the bear and the turkeys; as I greet the arrival of the few straggling migrant birds who have managed to run the gauntlet of a landscape devastated by chemical warfare and industrial agriculture; as I gaze out at the bare trees shimmering in the unnatural midday heat, I know in my heart that it is only a matter of time before our turn comes.
วันนี้ พวกชนพื้นเมืองดั้งเดิมแห่งอินโดนีเซีย เป็นคนถูกโค่นลงพร้อมกับป่าของพวกเขา.
Today it is the indigenous people of Indonesia who are going down with their forests.
พวกชนทะเลทรายแห่งอัฟริกาเหนือ เป็นคนที่กำลังอดอยาก, และมวลชนมหาศาลแห่งเอเชีย เป็นคนหนีน้ำท่วมจากน้ำฝนเชี่ยวกลาก.
It is the desert people of North Africa who are starving, and the teeming masses of Asia who are fleeing the floods of torrential rains.
พวกเราอยู่ในชุมชนใหญ่และถูกปรนเปรอตามใจในอเมริกาเหนือและยุโรป จะถูกกันด้วยฉนวนจากความสะดุ้งสะเทือนเหล่านี้ไปอีกนาน นานกว่าพวกที่อยู่นอกชุมชนของเรา.
We in the huge, pampered gated communities of North America and Europe will be insulated from these shocks for much longer than those on the outside.
แต่เวลาของเราจะมาถึง.
But our time will come.
และเมื่อมันมาถึง, มันจะมาพร้อมกับพลังเต็มที่อย่างที่ฉายในภาพยนตร์เชิงอนาคต ทุกๆ ความรุนแรงที่พวกเราเคยคิดฝันขึ้นมา.
And when it comes, it will be with the full force of every violent futuristic film we’ve ever dreamed up.
“โลกน้ำ”, อะไรอีก? “แม๊กซ์บ้า”?
Waterworld, anyone? Mad Max?
***
ปกติ ฉันมักจะมองโลกในแง่บวก และประคองเปลวแห่งความหวังให้ส่องสว่าง, ประทีปสำหรับตัวเองและสำหรับผู้อื่น.
Usually I try to stay positive and keep the flame of hope burning brightly, a beacon for myself and for others.
แต่วันนี้ ความตายตัว, ที่ปรากฏซึ่งหน้า, ในวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ เป็นสัญญาณของการมาถึงของขบวนรถไฟอับปางเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ได้บดขยี้ความหวังของฉัน.
But today this stark, in-your-face, first-day-of-spring evidence of the coming train wreck of climate change has guttered my hope.
เวลากำลังหดสั้นลงแล้วสำหรับพวกเรา, อย่างที่เกิดขึ้นกับหมีและนกและชนพื้นเมืองแห่งป่า.
Time is running short for us, just as it is for the bears and the birds and the native peoples of the forest.
พวกเรากำลังมาถึง และเข้าสู่ “ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบเหงา” ของ เรเชล คาร์สัน อย่างไม่มีอะไรจะหยุดยั้งได้.
We are coming inexorably into Rachel Carson’s Silent Spring.
เจนนิเฟอร์ บราวดี เดอ เฮอร์นานเดซ สอนวรรณกรรมเปรียบเทียบ และ เพศสภาพศึกษา เธอมีแนวโน้มไปทางนักกิจกรรม ที่ Bard College ที่ Simon's Rock ใน Great Barrington, MA และ blogs ที่ Transition Times
Jennifer Browdy de Hernandez teaches comparative literature and gender studies with an activist bent at Bard College at Simon's Rock in Great Barrington, MA and blogs at Transition Times.
Published on Wednesday, March 21, 2012 by Common Dreams
ดรุณีแปล / 3-25-12
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น