วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

25. ภูมิอากาศผันผวน & ตลาดเสรี / Climate change & Free market



Published on Wednesday, February 29, 2012 by Common Dreams
Naomi Klein: 'If You Take Climate Change Seriously, You Have to Throw Out the Free-Market Playbook'
Naomi Klein on ideological impediments to addressing climate change and how to move forward
- Common Dreams staff
นาโอมิ ไคล์น “หากคุณจริงจังกับเรื่องภูมิอากาศผันผวน คุณต้องโยนหนังสือการเล่นของตลาดเสรีทิ้ง”
นาโอมิ ไคล์น พูดถึงสิ่งกีดขวางเชิงอุดมการณ์เพื่อการแก้ไขปัญหาภูมอากาศเปลี่ยนแปลง และจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร
-ทีมคอมมอนดรีม
In an interview with Solutions, author and activist Naomi Klein discusses how market-based solutions are not going to meet the needs required to address climate change and how ideologies have hampered both the left and right in climate action. She also states that the Occupy movement has been "a game-changer." There is a way forward, Klein says, and it involves "changing the mix in a mixed economy."
* * *
Throwing Out the Free Market Playbook: An Interview with Naomi Klein
Perhaps one of the most well-known voices for the Left, Canadian Naomi Klein is an activist and author of several nonfiction works critical of consumerism and corporate activity, including the best sellers No Logo (2000) and Shock Doctrine (2007).
In your cover story for the Nation last year, you say that modern environmentalism successfully advances many of the causes dear to the political Left, including redistribution of wealth, higher and more progressive taxes, and greater government intervention and regulation. Please explain.
The piece came out of my interest and my shock at the fact that belief in climate change in the United States has plummeted. If you really drill into the polling data, what you see is that the drop in belief in climate change is really concentrated on the right of the political spectrum. It’s been an extraordinary and unusual shift in belief in a short time. In 2007, 71 percent of Americans believed in climate change and in 2009 only 51 percent believed—and now we’re at 41 percent. So I started researching the denial movement and going to conferences and reading the books, and what’s clear is that, on the right, climate change is seen as a threat to the Right’s worldview, and to the neoliberal economic worldview. It’s seen as a Marxist plot. They accuse climate scientists of being watermelons—green on the outside and red on the inside.
It seems exaggerated, but your piece was about how the Right is in fact correct.
I don’t think climate change necessitates a social revolution. This idea is coming from the right-wing think tanks and not scientific organizations. They’re ideological organizations. Their core reason for being is to defend what they call free-market ideology. They feel that any government intervention leads us to serfdom and brings about a socialist world, so that’s what they have to fight off: a socialist world. Increase the power of the private sector and decrease the public sphere is their ideology.
You can set up carbon markets, consumer markets, and just pretend, but if you want to get serious about climate change, really serious, in line with the science, and you want to meet targets like 80 percent emissions cuts by midcentury in the developed world, then you need to be intervening strongly in the economy, and you can’t do it all with carbon markets and offsetting. You have to really seriously regulate corporations and invest in the public sector. And we need to build public transport systems and light rail and affordable housing along transit lines to lower emissions. The market is not going to step up to this challenge. We must do more: rebuild levees and bridges and the public sphere, because we saw in Katrina what happens when weak infrastructure clashes with heavy weather—it’s catastrophe. These climate deniers aren’t crazy—their worldview is under threat. If you take climate change seriously, you do have to throw out the free-market playbook.
What is the political philosophy that underscores those who accept climate change versus those who deny it?
The Yale cultural cognition project has looked at cultural worldview and climate change, and what’s clear is that ideology is the main factor in whether we believe in climate change. If you have an egalitarian and communitarian worldview, and you tend toward a belief system of pooling resources and helping the less advantaged, then you believe in climate change. And the stronger your belief system tends toward a hierarchical or individual worldview, the greater the chances are that you deny climate change and the stronger your denial will be. The reason is clear: it’s because people protect their worldviews. We all do this. We develop intellectual antibodies. Climate change confirms what people on the left already believe. But the Left must take this confirmation responsibly. It means that if you are on the left of the spectrum, you need to guard against exaggeration and your own tendency to unquestioningly accept the data because it confirms your worldview.
Members of the Left have been resistant to acknowledging that this worldview is behind their support of climate action, while the Right confronts it head on. Why this hesitancy among liberals?
There are a few factors at work. Climate change is not a big issue for the Left. The big left issues in the United States are inequality, the banks, corporate malfeasance, unemployment, foreclosures. I don’t think climate change has ever been a broad-based issue for the Left. Part of this is the legacy of siloing off issues, which is part of the NGO era of activism. Climate change has been claimed by the big green groups and they’re to the left. But they’re also foundation funded. A lot of them have gone down the road of partnerships with corporations, which has made them less critical. The discourse around climate change has also become extremely technical and specialized. A lot of people don’t feel qualified and feel like they don’t have to talk about it. They’re so locked into a logic of market-based solutions—that the big green groups got behind cap and trade, carbon markets, and consumer responses instead of structural ones—so they’re not going to talk about how free trade has sent emissions soaring or about crumbling public infrastructure or the ideology that would rationalize major new investments in infrastructure. Others can fight those battles, they say. During good economic times, that may have seemed viable; but as soon as you have an economic crisis, the environment gets thrown under the bus, and there is a failure to make the connection between the economy and the climate crisis—both have roots in putting profits before people.
You write in your article, “After years of recycling, carbon offsetting, and light-bulb changing, it is obvious that individual action will never be an adequate response to the climate crisis.” How do we get the collective action necessary? Is the Occupy movement a step in the right direction?
The Occupy movement has been a game changer, and it has opened up space for us to put more radical solutions on the table. I think the political discourse in the United States is centered around what we tell ourselves the American public can handle. The experience of seeing these groups of young people put radical ideas on the table, and seeing the country get excited by it, has been a wake up call for a lot of people who feel they support those solutions—and for those who have said, “That’s all we can do.” It has challenged the sense of what is possible. I know a lot of environmentalists have been really excited by that. I’m on the board of 350.org, and they’ll be doing more and more work on the structural barriers to climate action. The issue is why? Why do we keep losing? Who is in our way? We’re talking about challenging corporate personhood and financing of elections—and this is huge for environmental groups to be moving out of their boxes. I think all of the green organizations who take corporate money are terrified about this. For them, Occupy Wall Street has been a game changer.
"The Occupy movement has been a game changer, and it has opened up space for us to put more radical solutions on the table."
What comes after communism and capitalism? What’s your vision of the way forward?
It’s largely about changing the mix in a mixed economy. Maybe one day we’ll have a perfect “ism” that’s post-communism and -capitalism. But if we look at the countries that have done the most to seriously meet the climate challenge, they’re social democracies like Scandinavia and the Netherlands. They’re countries with a strong social sphere. They’re mixed economies. Markets are a big part, but not the only part, of their economies. Can we meet our climate targets in a system that requires exponential growth to continue? Furthermore, where is the imperative of growth coming from? What part of our economy is demanding growth year after year?
If you’re a locally based business, you don’t need continual growth year after year. What requires that growth is the particular brand of corporate capitalism—shareholders who aren’t involved in the business itself. That part of our economy has to shrink, and that’s terrifying people who are deeply invested in it. We have a mixed economy, but it’s one in which large corporations are controlled by outside investors, and we won’t change that mix until that influence is reduced.
Is that possible?
It is if we look at certain choke points like corporate personhood and financing, and it makes sense for us to zero in on aspects of our system that give corporations massive influence. Another is media concentration. If you had publicly financed elections, you’d have to require public networks to give airtime to candidates. So the fact that networks charge so much is why presidential elections cost more than a billion dollars, which means you have to go to the 1 percent to finance the elections. These issues are all linked with the idea that corporations have the same free-speech rights as people, so there would also be more restrictions on corporate speech.
Entrepreneur and writer Peter Barnes has argued that what’s missing is adequate incorporation of the “commons sector” in the economy—public goods like natural and social capital. “Capitalism 3.0” he calls it, which we’d achieve not by privatizing these goods but by creating new institutions such as public-asset trusts. What’s your opinion of this approach?
I definitely think it’s clear that the road we’ve been on—turning to the private sector to run our essential services—has proven disastrous. In many cases, the reason why it was so easy to make arguments in favor of privatization was because public institutions were so cut off and unresponsive and the public didn’t feel a sense of ownership. The idea that a private corporation has valued you as a customer was a persuasive argument. Now it turns out both models have failed. So this idea that there is a third way—neither private nor state-run public—is out there.
ในการสัมภาษณ์กับ โซลูชั่น นักเขียนและนักกิจกรรม นาโอมิ ไคล์น อภิปรายถึงทางออกบนพื้นฐานของตลาด จะไม่สามารถตอบรับข้อเรียกร้องในการแก้ปัญหาภูมิอากาศผันผวน และว่า อุดมการณ์ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ได้ขวางทางการดำเนินการด้านภูมิอากาศ  เธอกล่าวด้วยว่า ขบวนการยึดพื้นที่ (Occupy movement) เป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” ไคล์นกล่าวว่า มีทางข้างหน้า และมันต้อง “เปลี่ยนส่วนผสมในเศรษฐกิจแบบผสมปนเป”

โยนทิ้งหนังสือการเล่นตลาดเสรี: สัมภาษณ์ นาโอมิ ไคล์น
จาก โซลูชั่น
เสียงซ้ายที่รู้จักกันดีที่สุดเสียงหนึ่ง คงเป็นชาวแคนาดา นาโอมิ ไคล์น ซึ่งเป็นนักกิจกรรมและนักเขียนงานเชิงวิพากษ์มากมายเกี่ยวกับบริโภคนิยม และกิจกรรมบรรษัท รวมทั้งหนังสือขายดีที่สุด No Logo (2000) และ Shock Doctrine (2007)
ในบทความของคุณปีกลายสำหรับ เดอะเนชั่น คุณกล่าวว่า อุดมการณ์ปกป้องสิ่งแวดล้อมยุคใหม่ ประสบความสำเร็จในการผลักดันประเด็นมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่การเมืองฝ่ายซ้ายยึดมั่น รวมทั้งเรื่องการกระจายความมั่งคั่ง การเก็บภาษีก้าวหน้าและสูงขึ้น และการแทรกแซงและการควบคุมโดยภาครัฐ  โปรดอธิบาย
บทความชิ้นนั้นเกิดจากความสนใจของฉัน และฉันรู้สึกช็อคเมื่อทราบว่า ความเชื่อเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในสหรัฐฯ ตกฮวบลง   หากคุณเจาะข้อมูลจากการสุ่มให้ลึกจริงๆ คุณจะเห็นว่า ความเชื่อที่ลดฮวบนี้ กระจุกตัวอยู่ในฟากขวาของแถบการเมือง   นี่เป็นการขยับตัวความเชื่อที่ไม่ธรรมดาและผิดปกติในช่วงเวลาอันสั้น   ในปี 2007 ชาวอเมริกัน 71% เชื่อเรื่องภูมิอากาศผันผวน และในปี 2009 เหลือเพียง 51%--และตอนนี้ มีเพียง 41%   ฉันจึงเริ่มค้นคว้าการเคลื่อนไหวที่ปฏิเสธความจริงนี้ และเข้าร่วมการประชุม และอ่านหนังสือ  แล้วก็เริ่มเห็นชัดขึ้นว่า ในฝ่ายขวา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อโลกทัศน์ขวา และต่อโลกทัศน์เศรษฐกิจเสรีใหม่   มันถูกมองว่าเป็นแผนของพวกมาส์กซิสต์  พวกเขากล่าวหานักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศว่าเป็นแตงโม—เขียวนอก แดงใน
อาจฟังดูเหมือนพูดเกินความจริง แต่บทความของคุณบอกว่า ที่จริงฝ่ายขวาพูดถูกอย่างไร
ฉันไม่คิดว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจะทำให้เกิดการปฏิวัติทางสังคม   ความคิดนี้มาจากค่ายคิดฝ่ายขวา และไม่ใช่องค์กรวิทยาศาสตร์   มันเป็นองค์กรด้านอุดมการณ์  เหตุผลหลักก็เพื่อปกป้องสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า อุดมการณ์ตลาดเสรี   พวกเขาคิดว่า การแทรกแซงใดๆ โดยรัฐบาล จะนำพวกเราสู่ความเป็นทาส และกลายเป็นโลกสังคมนิยม  ดังนั้น พวกเขาจึงตั้งหน้าตั้งตาต่อสู้กำจัดมัน คือ โลกสังคมนิยม   การเพิ่มอำนาจของภาคเอกชน และลดพื้นที่สาธารณะ เป็นอุดมการณ์ของพวกเขา
คุณสามารถจัดตั้งตลาดคาร์บอน ตลาดผู้บริโภค แล้วก็เสแสร้ง   แต่หากคุณต้องการเอาจริงเอาจังกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เอาจริงๆ ที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ และคุณต้องการบรรลุเป้าหมาย เช่น ลดการปล่อยก๊าซ 80% ภายในกลางศตวรรษนี้ ในโลกที่พัฒนาแล้ว เช่นนั้น คุณจำเป็นต้องมีการแทรกแซงอย่างเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจ และคุณไม่สามารถทำทั้งหมดด้วยตลาดคาร์บอน หรือการชดเชย   คุณต้องควบคุมบรรษัททั้งหลายอย่างจริงจัง และลงทุนในภาคส่วนสาธารณะ  และเราจำเป็นต้องสร้างตั้งแต่ระบบการคมนาคมสาธารณะ แสงไฟรายทาง และที่อยู่อาศัยที่คนทั่วไปจ่ายไหวตลอดเส้นทางระบบขนส่งมวลชน จนถึงลดการปล่อยก๊าซ   ตลาดไม่มีวันที่จะลุกขึ้นรับมือกับข้อท้าทายเหล่านี้   เราต้องทำมากกว่านั้น: บูรณะคันกั้นน้ำและสะพาน และพื้นที่สาธารณะ เพราะเราได้เห็นแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อพายุกาตรินาถาโถมเข้ามา สาธารณูปโภคที่อ่อนแอพากันล้มครืน—มันเป็นหายนะ   พวกที่ปฏิเสธภูมิอากาศไม่ได้เป็นบ้า—โลกทัศน์ของพวกเขากำลังถูกคุกคาม   หากคุณเชื่อเรื่องภูมิอากาศผันผวนอย่างจริงจัง คุณจะต้องโยนทิ้งหนังสือการเล่นเรื่องตลาดเสรีออกไป
อะไรเป็นปรัชญาการเมืองที่เป็นกรอบสำหรับพวกที่ยอมรับ และพวกที่ปฏิเสธปัญหาภูมิอากาศผันผวน?
โครงการของเยลเรื่องการรับรู้ด้านวัฒนธรรม ได้จับเรื่องโลกทัศน์เชิงวัฒนธรรมและภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง  และพบว่า อุดมการณ์เป็นปัจจัยหลักไม่ว่าเราจะเชื่อเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหรือไม่   หากคุณมีโลกทัศน์ของความเท่าเทียมและเน้นที่ชุมชน และคุณมีแนวโน้มไปที่ระบบความเชื่อในการรวบรวมทรัพยากรเป็นกองกลาง และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาส เช่นนี้ ก็นับได้ว่าคุณเชื่อเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง   หากระบบความเชื่อของคุณยิ่งโน้มไปที่โลกทัศน์ที่เหลื่อมล้ำ หรือเป็นปัจเจกมากเพียงไร โอกาสที่คุณจะปฏิเสธเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงก็มากขึ้นเท่านั้น   เหตุผลนั้นแจ่มชัดมาก เพราะผู้คนจะปกป้องโลกทัศน์ของตนเอง   พวกเราทำเช่นนั้นกันหมด  พวกเราพัฒนาภูมิต้านทานทางปัญญา  ภูมิอากาศผันผวนยืนยันสิ่งที่คนในฝ่ายซ้ายเชื่ออยู่แล้ว  แต่ฝ่ายซ้ายจะตอบรับการยืนยันนี้ด้วยความรับผิดชอบ   นี่ย่อมหมายความว่า หากคุณอยู่ในแถบซ้าย คุณจำเป็นต้องระวังตัวไม่ทำตัวเกินความจริง และระวังแนวโน้มของคุรเองที่จะยอมรับข้อมูลนี้อย่างไม่ไตร่ตรอง เพียงเพราะมันยืนยัน ตอกย้ำโลกทัศน์ของคุณ
สมาชิกฝ่ายซ้ายได้ต่อต้านหรือไม่ยอมรับว่า โลกทัศน์ดังกล่าวอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนของพวกเขาต่อปฏิบัติการด้านภูมิอากาศ ในขณะที่ฝ่ายขวาเผชิญหน้าแบบพุ่งชนทีเดียว  ทำไมพวกเสรีนิยมจึงลังเลเช่นนี้?
มันมีไม่กี่ปัจจัยที่ส่งผลอยู่  การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับฝ่ายซ้าย  ประเด็นใหญ่ๆ สำหรับฝ่ายซ้ายในสหรัฐฯ คือ ความไม่เท่าเทียม ธนาคาร การทุจริตในบริษัท การว่างงาน การยึดทรัพย์สินที่จำนองไว้   ฉันไม่คิดว่าภูมิอากาศผันผวนได้เคยเป็นประเด็นที่มีฐานมวลชนแต่ไหนแต่ไรมาก่อนสำหรับฝ่ายซ้าย   ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสืบทอดวิธีการจากรุ่นก่อนๆ ในการเก็บแช่ประเด็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากยุคกิจกรรมเฟื่องฟูของเอ็นจีโอ   กลุ่มกรีน/สีเขียวใหญ่ๆ ได้จับเรื่องความผันผวนของภูมิอากาศมานาน และพวกเขาก็ค่อนไปทางซ้าย   แต่พวกเขาก็ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิต่างๆ ด้วย   หลายๆ กลุ่มได้เป็นภาคี/หุ้นส่วนกับหลายๆ บริษัท ซึ่งทำให้พวกเขาลดความคมในการวิพากษ์   วาทกรรมรอบๆ ภูมิอากาศผันผวน ก็ได้กลายเป็นเรื่องเทคนิคและชำนาญเฉพาะกิจอย่างยิ่ง   หลายๆ คนไม่รู้สึกว่าตัวเองมีคุณสมบัติพอ และรู้สึกว่าไม่ต้องพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้   พวกเขาถูกกักอยู่ในตรรกะของทางออกบนพื้นฐานของตลาด—กล่าวคือ กลุ่มกรีนใหญ่ๆ เดินตามหลังทุนและการค้า ตลาดคาร์บอน และการตอบรับผู้บริโภค แทนประเด็นโครงสร้าง—ดังนั้น พวกเขาจะไม่พูดว่า การค้าเสรีได้ปล่อยก๊าซออกมากขึ้นอย่างไร หรือ เกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคกำลังล่มสลายอย่างไร หรืออุดมการณ์ที่ถูกใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินการลงทุนใหม่ๆ ที่สำคัญๆ ในระบบสาธารูปโภค   พวกเขาบอกว่า คนอื่นต่อสู้ในสมรภูมิเหล่านั้นได้   ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น การกล่าวเช่นนี้ดูเหมือนจะใช้ได้อยู่ แต่ทันทีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น สิ่งแวดล้อมก็ถูกโยนเข้าใต้ท้องรถเมล์ และยังมีความล้มเหลวในการเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจและวิกฤตภูมิอากาศ—ทั้งสอง ต่างมีรากเหง้าในการให้ความสำคัญต่อกำไรเหนือมนุษย์
คุณเขียนในบทความของคุณว่า “หลังจากการรีไซเคิลมากหลายปี การชดเชยคาร์บอน และการเปลี่ยนดวงไฟ กลับเห็นชัดว่า ปฏิบัติการปัจเจกจะไม่มีวันเป็นการโต้ตอบอย่างเพียงพอต่อวิกฤตภูมิอากาศ”  ทำอย่างไรเราจึงจะรวมตัวเป็นปฏิบัติหมู่คณะอย่างที่ต้องเป็น?  การเคลื่อนไหวยึดพื้นที่ เป็นก้าวหนึ่งในทิศทางที่ถูกไหม?
การเคลื่อนไหวยึดพื้นที่ได้เป็นผู้เปลี่ยนเกม และได้เปิดพื้นที่สำหรับพวกเราในการวางข้อเสนอทางออกที่หัวรุนแรงยิ่งขึ้นบนโต๊ะ  ฉันคิดว่า วาทกรรมเชิงการเมืองในสหรัฐฯ เล็งอยู่รอบๆ สิ่งที่พวกเราชอบบอกตัวเองว่า สาธารณชนอเมริกันสามารถจัดการได้   ประสบการณ์ของการเห็นกลุ่มคนหนุ่มสาวเหล่านี้ วางความคิดชนิดหัวรุนแรงบนโต๊ะ และเห็นทั้งประเทศตื่นเต้นตามไปด้วยนั้น เป็นการปลุกให้หลายๆ คนที่รู้สึกว่าสนับสนุนทางออกเหล่านั้น—และสำหรับพวกที่บอกว่า “เราทำได้แค่นั้นแหละ”   มันได้ท้าทายความรู้สึกว่าอะไรเป็นไปได้บ้าง   ฉันรู้จักนักสิ่งแวดล้อมหลายคนที่ตื่นเต้นกับเรื่องนี้   ฉันเป็นกรรมการใน 350.org และพวกเขาจะทำงานมากขึ้นๆ เกี่ยวกับสิ่งกีดขวางเชิงโครงสร้างต่อการปฏิบัติการเรื่องภูมิอากาศ  ประเด็นคือ ทำไม?  ทำไมพวกเราจึงพ่ายแพ้ตลอด?  ใครยืนขวางทางของเรา?  เรากำลังพูดถึงการท้าทายความเป็นบุคคลของบริษัท และการเงินของการเลือกตั้ง—และนี่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับกลุ่มสิ่งแวดล้อม ที่จะเคลื่อนตัวออกจากกล่องของพวกเขา  ฉันคิดว่า องค์กรกรีน/สีเขียวทั้งหมดที่รับเงินจากบริษัท ตื่นกลัวกับเรื่องนี้  สำหรับพวกเขา การยึดถนนวอลล์สตรีท ได้เป็นผู้เปลี่ยนเกม
“ขบวนการยึดพื้นที่ ได้เป็นผู้เปลี่ยนเกม และมันได้เปิดพื้นที่ให้พวกเราวางทางออกที่สุดเหวี่ยงบนโต๊ะ”
อะไรจะตามมาหลังจากลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิทุนนิยม?  คุณมีวิสัยทัศน์อะไรสำหรับหนทางข้างหน้า?
ส่วนใหญ่มันเป็นการเปลี่ยนส่วนผสมในระบบเศรษฐกิจที่ผสมปนเป  อาจจะในวันหนึ่ง เราจะมี “ism” (ลัทธิ) ที่สมบูรณ์แบบ ที่ตามหลังลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิทุนนิยม   แต่ถ้าเราดูที่ประเทศที่ได้ทำจริงจังที่สุดเพื่อรับมือกับความท้าทายของภูมิอากาศ ก็จะพบว่าเป็นประเทศสังคมประชาธิปไตย เช่น สแกนดิเนเวียและเนเธอแลนด์  พวกเขาเป็นประเทศที่มีปริมณฑลเชิงสังคมที่เข้มแข็ง  พวกเขามีระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ตลาดเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่เพียงส่วนเดียว ของระบบเศรษฐกิจของเขา    เราจะบรรลุเป้าภูมิอากาศในระบบที่ต้องทำให้การเติบโตแบบยกกำลังต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ได้ไหม?  นอกจากนี้ ปัจจัยของการขยายตัวจะมาจากไหน?  ส่วนไหนของระบบเศรษฐกิจที่เรียกร้องให้เติบโตปีแล้วปีเล่า?
หากคุณทำธุรกิจที่มีฐานในท้องที่ คุณไม่จำเป็นต้องโตอย่างต่อเนื่องปีแล้วปีเล่า  สิ่งที่ต้องการให้โต คือ ยี่ห้อของบริษัทในลัทธิทุนนิยม—ผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำธุรกิจเอง   ส่วนนั้นในระบบเศรษฐกิจของเราจะต้องหดเหี่ยวลง และมันทำให้คนที่ลงทุนอย่างหนักในหุ้นหวาดกลัว  เรามีระบบเศรษฐกิจแบบผสม แต่มันเป็นแบบที่บริษัทใหญ่ๆ ถูกควบคุมโดยนักลงทุนจากข้างนอก และพวกเราจะไม่เปลี่ยนส่วนผสมนั้น จนกว่าอิทธิพลนั้นจะถูกลดลง
มันเป็นไปได้หรือ?
เป็นไปได้ ถ้าเราดูที่บางจุดของระบบกันกระเทือน เช่น ความเป็นบุคคลของบริษัท และการเงิน  และมันดูเข้าท่าที่เราจะเพ่งไปที่ภาคส่วนในระบบของเราที่ให้บริษัทมีอิทธิพลมหาศาล   อีกอันหนึ่งคือ การกระจุกตัวของสื่อ   หากคุณมีการเลือกตั้งที่ได้งบจากสาธารณะ คุณจะต้องให้โครงข่ายสาธารณะจัดเวลาออกอากาศให้ผู้ลงชิงตำแหน่ง  ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า โครงข่ายคิดราคาสูงมาก เป็นเหตุว่า ทำไมการเลือกตั้งประธานาธิบดีจึงมีราคามากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่า คุณจะต้องไปขอให้กลุ่มคน 1% ช่วยสนับสนุนทางการเงินในการเลือกตั้ง   ประเด็นเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงกับความคิดที่ว่า บริษัทมีสิทธิในการพูดอย่างเสรี เหมือนประชาชนทั่วไป ดังนั้นก็สมควรจะมีการจำกัดการพูดของบริษัทมากขึ้นเช่นกัน
ผู้ประกอบการและนักเขียน ปีเตอร์ บาร์นส์ ได้แย้งว่า สิ่งที่ขาดหายไป คือ การผนวกรวม “ภาคส่วนร่วม” ลงในระบบเศรษฐกิจ—นั่นคือ วัสดุสาธารณะ เช่น ทุนธรรมชาติและทุนสังคม  “ลัทธิทุนนิยม 3.0” อย่างที่เขาเรียก คือสิ่งที่เราบรรลุได้ไม่ใช่ด้วยการถือครองเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว แต่ด้วยการสร้างสถาบันใหม่ เช่น ทรัสต์ (ผู้ปกครอง) สินทรัพย์สาธารณะ  คุณมีความเห็นอย่างไรกับแนวทางนี้?
ฉันคิดว่า มันชัดอยู่แล้วว่าหนทางที่เราได้เดินอยู่—หันไปหาภาคเอกชน เพื่อดำเนินการกิจการบริการพื้นฐานที่ขาดไม่ได้—ได้พิสูจน์แล้วว่า เป็นหายนะ  ในหลายๆ กรณี เหตุผลว่า ทำไมจึงง่ายนักที่จะเถียงเข้าข้างการออกนอกระบบ ก็เพราะสถาบันสาธารณะได้ถูกตัดงบ และก็ไม่สามารถตอบสนอง และสาธารณชนเองก็ไม่มีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ   ความคิดที่ว่า บริษัทเอกชนหนึ่งๆ จะให้คุณค่าแก่คุณในฐานะลูกค้า เป็นคำโต้เถียงที่ชวนให้เชื่อ   บัดนี้ กลายเป็นว่า ทั้งสองแบบล้มเหลว  ดังนั้น ความคิดที่ว่า มีทางที่สาม—ไม่ใช่ทั้งเอกชน หรือสาธารณะที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการ (รัฐวิสาหกิจ)—จึงผุดขึ้นมา
ดรุณีแปล / 3-5-12

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น