วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

26. สงครามชนชั้น/Class war


Don’t Tell Us It’s Not a Class War
by Gerald Caplan             
อย่าบอกนะว่า มันไม่ใช่สงครามชนชั้น
โดย เจอรัลด์ คาปลาน
Published on Saturday, February 25, 2012 by the Globe and Mail (Canada)
The entire world seems to be one huge advertisement for The Shock Doctrine. Naomi Klein showed in her revelatory book how the corporate-political-military-media complex exploits crises to further impose their harsh right-wing agenda – even when they themselves created the crisis. In a sane world, the economic meltdown and deep recession of the past four years would have led at minimum to stringent regulation of financiers and speculators plus programs to assist their victims. But in this world, you have to be nuts to believe in a sane world.
โลกทั้งใบดูเหมือนจะเป็นป้ายโฆษณามหึมาหนึ่งสำหรับ ทฤษฎีช็อค   นาโอมิ ไคล์น ได้แสดงในหนังสือตีแผ่ของเธอว่า การรวมหัวของ บริษัท-การเมือง-การทหาร-สื่ออย่างซับซ้อน ได้ฉวยโอกาสจากสถานการณ์วิกฤต เพื่อยัดเยียดวาระฝ่ายขวาที่หนักหน่วงอย่างไร—แม้ว่าพวกเขาจะเป็นผู้สร้างวิกฤตนั้นเอง   ในโลกของคนปกติ การล่มสลายของเศรษฐกิจ และภาวะถดถอยอย่างลึกในสี่ปีที่ล่วงมา น่าจะนำไปสู่อย่างน้อยให้มีการควบคุมนักการเงินและนักเก็งกำไรอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้นบวกกับโครงการเพื่อช่วยเหยื่อผู้ถูกกระทบ  แต่ในโลกนี้ คุณจะต้องเป็นคนบ้า ที่จะเชื่อในเรื่องโลกของคนปกติ
In reality, everything that’s happened in the past several years has gone to further empower and enrich the 1 per cent (or maybe the 5 per cent) at the expense of the rest of us. Look anywhere you want. What else does the universal demand for austerity programs mean? What else does the sudden concerted attack on public sector workers mean? What else does the intransigent line taken by multinational corporations against their unions mean? What else does the demand for “right-to-work” laws mean? What else does the widespread attack on seniors’ pensions mean?
ในความเป็นจริง ทุกอย่างที่ได้เกิดขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา ได้ช่วยเสริมพลังอำนาจและทำให้คน 1% ร่ำรวยมากยิ่งขึ้น (หรืออาจจะ 5%) โดยพวกเราที่เหลือเป็นผู้จ่าย   มองไปที่ไหนก็ได้  ข้อเรียกร้องสากลให้จัดโครงการรัดเข็มขัดนี่มันหมายความเป็นอื่นอย่างไร?  แล้วการคุกคามอย่างสมานฉันท์ต่อคนงานในภาคส่วนสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันนั้นหมายความเป็นอื่นได้อย่างไร?  เส้นแบ่งที่ไม่ยอมประนีประนอมของบรรษัทข้ามชาติที่มีต่อสหภาพจะหมายความเป็นอื่นได้อย่างไร?  การเรียกร้องกฎหมายรับรอง “สิทธิในการทำงาน” มีความหมายอื่นอะไรมั่ง?  และการคุกคามเงินบำนาญสำหรับคนชราอย่างกว้างขวางหมายถึงอะไรอื่นได้มั่ง
Ms. Klein could have invented it as a pure case study for her thesis. Big economic problems, it’s true. So how do you fix them? As a Greek journalist wrote matter-of-factly in The New York Times, the latest bailout program imposed by the IMF, the European Union and the European Central Bank “almost guarantees recession.” And this will be on top of the punishment that had already been inflicted on the 99 per cent, including deep cuts to private-sector wages, layoffs in the civil service and significant reductions in health and social security.
น.ส. ไคล์น อาจจะประดิษฐ์มันขึ้นมาให้เป็นกรณีบริสุทธิ์สำหรับวิทยานิพนธืของเธอ  ปัญหาเศรษฐกิจใหญ่โต มันเป็นความจริง  แล้วคุณจะซ่อมมันอย่างไร?  ในขณะที่นักข่าวชาวกรีกเขียนตามความจริงใน นิวยอร์คไทมส์ โครงการช่วยเหลือล่าสุดที่ยัดเยียดโดย ไอเอ็มเอฟ สหภาพยุโรป และธนาคารกลางยุโรป “เกือบสร้างหลักประกันว่ากรีซจะเข้าสภาวะถดถอย”   และนี่จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนโทษทัณฑ์ที่ได้ตีตรวนในประชาชน 99% รวมทั้งการตัดค่าแรงอย่างลึกในธุรกิจเอกชน  การลอยแพข้าราชการ และตัดลดความมั่นคงทางสุขภาพและสังคมอย่างมีนัยสำคัญ
Throughout, economists like Joseph Stiglitz and Paul Krugman, whose forecasts have repeatedly been borne out, assured the few who would listen this was a guaranteed recipe for exacerbating Greece’s economic woes. It meant, after all, instead of growth, a guaranteed contraction of the economy. Which is exactly what happened. But apparently these critics, while correct about the consequences of enforced austerity, were wrong about the proper solution. The punishment, it seems, had not been crushing enough. Now a new and improved package of pain will be inflicted, a condition for the country receiving bailout funds at sky-high borrowing costs. For the vast majority of them, it’s a Greek tragedy.
ทั่วไป นักเศรษฐศาสตร์ โจเซฟ สติกลิตซ์ และพอล ครุกแมน ผู้พยากรณ์และถูกอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า ได้ให้ความมั่นใจแก่คนไม่กี่คนที่ฟังเรื่องนี้ ว่ามันเป็นสูตรสำเร็จที่รับประกันสำหรับการกดทับให้เศรษฐกิจของกรีซแย่ลง  มันหมายถึง แทนที่จะมันจะขยายตัว ก็จะกลายเป็นการประกันการหดตัวของเศรษฐกิจ  ซึ่งตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นทีเดียว   แต่นักวิพากษ์เหล่านี้ ในขณะที่พูดถูกอยู่เกี่ยวกับผลลัพธ์ของการบังคับให้รัดเข็มขัด ก็ผิดเกี่ยวกับทางแก้ไขที่เหมาะสม   การลงโทษ ดูเหมือน ไม่หนักหน่วงพอ  ตอนนี้ จึงมีชุดความเจ็บปวดใหม่และฉบับปรับปรุงที่จะลงทัณฑ์มาอีก เป็นเงื่อนไขที่ประเทศที่ต้องการรับเงินทุนช่วยฉุดออกจากหลุมหนี้ ต้องจ่ายด้วยราคาการยืมที่สูงเท่าฟ้า  สำหรับนักวิพากษ์ส่วนใหญ่ มันเป็นโศกนาฏกรรมของชาวกรีก
At least 21 per cent of Greeks are unemployed. Yet the thumbscrews are to be tightened once again: more austerity, more spending cuts, eliminating another 20 per cent of all government jobs and slashing the minimum wage by another 22 per cent. All this, in a country in its fifth year of recession.
Spain is not far behind, collapsing under the same burden of salvation. The economy’s contracting, unemployment has soared; 350,000 newly out of work, giving a jobless rate of 22.8 per cent, including almost half of all young Spaniards. These are staggering figures. In Britain too, David Cameron’s punishing economic strategy had led to a shrinking economy.
อย่างน้อย ชาวกรีก 21% ไม่มีงานจ้างทำ  แต่นิ้วโป้งที่บี้ลงมาจะย้ำให้แน่นอีกครั้ง—รัดเข็มขัดยิ่งขึ้น ตัดค่าใช้จ่าย ตัดงบรัฐบาล 20% สำหรับงานข้าราชการ และตัดค่าแรงต่ำสุดอีก 22%  ทั้งหมดนี้ ในประเทศที่ถลำเข้าภาวะถดถอยเป็นปีที่ห้า
สเปนอยู่ไม่ห่างเท่าไร ได้ล้มลงภายใต้น้ำหนักเดียวกันของการไถ่บาป   เศรษฐกิจกำลังหดตัว การว่างงานลอยตัวสูง  คนงาน 350,000 เพิ่งหลุดจากงาน ทำให้อัตราไร้งานจ้างถึง 22% รวมทั้งเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรหนุ่มสาวชาวสเปน   นี่เป็นตัวเลขที่สูงจนซวนเซ  ในอังกฤษ ยุทธศาสตร์การลงโทษเศรษฐกิจของ เดวิด แคมเมอรอน ได้นำไปสู่ภาวะหดตัวของเศรษฐกิจ
How exactly ordinary Greeks and Spaniards and Brits will endure, get by, pay for their rent or groceries or transportation, or offer their kids a hopeful life – this has become the greatest question of the early 21st century.
In Canada, Stephen Harper's attack on old-age pensions may not be in the same league as the plagues being inflicted on Greece, but it’s a start. It took no time at all for his entire rationale to be repudiated by real data. As The Globe reported on its front page, “Expert advice commissioned by the federal government [itself] contradicts Stephen Harper's warnings that Canada can’t afford the looming bill for old age security payments.”
คนธรรมดาๆ ชาวกรีก ชาวสเปน และชาวอังกฤษ จะทนต่อไปได้อย่างไร  อยู่รอดไปวันๆ จ่ายค่าเช่า หรือค่าผักปลา หรือค่ารถ หรือให้ลูกๆ มีชีวิตที่มีความหวังได้—นี่ได้กลายเป็นคำถามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในต้นศตวรรษที่ 21
ในแคนาดา การคุกคามของ สตีเฟน ฮาร์เปอร์ ต่อเงินบำนาญของคนชรา อาจจะไม่อยู่ในระดับเดียวกับภัยพิบัติที่ฟาดลงในกรีซ แต่มันกำลังเริ่มต้น   ไม่นาน หลักการและเหตุผลของเขา ได้ถูกท้าทายด้วยข้อมูลจริง  ดังที่ เดอะโกลบ ได้รายงานในหน้าแรก “ผู้เชี่ยวชาญที่จ้างโดยรัฐบาลสหพันธรัฐ (ตัวมันเอง) ได้ขัดแย้งคำเตือนของ สตีเฟน ฮาร์เปอร์ ว่า แคนาดาไม่มีกำลังจ่ายตามใบเสร็จที่มากมายก่ายกองสำหรับความมั่นคงในวัยชรา”
Soon enough, from all directions came other credible reports all showing that our Prime Minister had been inventing his own reality, not for the first time. As Robert Brown, a maven on actuarial science, quaintly suggested: “Old Age Security reform needs to be based on facts rather than alarmist fantasy.”
He was wasting his breath. When Parliamentary Budget Officer Kevin Page flatly contradicted the Prime Minister’s assertion that benefits for the elderly were neither sustainable nor affordable, he was slandered by Finance Minister Jim Flaherty, who called Page’s research “unbelievable, unreliable and incredible”.
ไม่ช้า รายงานที่เชื่อถือได้จากทุกสารทิศ ต่างแสดงว่า นายกรัฐมนตรีของเรา ได้ประดิษฐ์ความจริงของตัวเอง ไม่ใช่เป็นครั้งแรก  ดังที่โรเบิร์ต บราวน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สถิติประกันภัย ได้แนะนำอย่างฉลาดว่า “การปฏิรูปความมั่นคงในวัยชรา จำเป็นต้องตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง มากกว่าจินตนาการตื่นตูม”
เขากำลังเปลืองลมหายใจ  เมื่อเจ้าหน้าที่งบประมาณรัฐสภา เควิน เพจ พูดขัดแย้งคำยืนยันของนายกฯ ที่ว่า ผลประโยชน์สำหรับคนสูงวัยไม่ยั่งยืน และไม่สามารถแบกรับภาระจ่ายได้ เขากลับถูกรัฐมนตรีการคลัง จิม ฟราเฮอตี้ กล่าวร้าย ด้วยการเรียกงานวิจัยของเพจว่า “เชื่อไม่ได้ พึ่งพาไม่ได้ และไม่น่าเชื่อถือ”
In a paper for the Canadian Centre for Policy Alternatives, Monica Townson, a long-time expert on seniors, also identified the fictional qualities of Mr. Harper's statement, but reminded us as well of the human consequences of his little initiative: “This is the worst possible time to be considering cutting back on the basic benefit that provides the foundation for the retirement income of all Canadians. It could well reverse the progress Canada has made in reducing the poverty of older Canadians.” Here was the real point, of course. Exactly who will be hurt by either increasing the age of old-age pension entitlement or decreasing the amount of the benefit, and who won’t even know anything’s changed?
As if the attack on pensions weren’t threatening enough, in true shock-doctrine fashion Conservative ministers soon launched their strategy of creating a phony intergenerational war among Canadians, who don’t yet realize that all but the deeply-privileged need be very wary.
ในรายงานสำหรับศูนย์แคนาดาเพื่อนโยบายทางเลือก มอนิกา ทาวน์ซัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผู้สูงวัย ก็ได้ระบุความจริงที่แต่งขึ้นในแถลงการณ์ของนายฮาร์เปอร์ แต่ก็เตือนพวกเราด้วยว่า ถึงผลพวงต่อมนุษย์จากการริเริ่มเล็กน้อยของเขา “นี่เป็นช่วงเวลาที่แย่ที่สุดในการคิดตัดผลประโยชน์พื้นฐาน ที่เป็นฐานสำหรับเป็นรายได้ปลดเกษียณสำหรับชาวแคนาดาทั้งหมด  มันอาจพลิกผันความก้าวหน้าที่แคนาดาได้บรรลุในการลดความยากจนของชาวแคนาดาผู้สูงวัย”  นี่คือความจริง แน่นอน   ที่แท้ ใครจะเจ็บตัวจากการเพิ่มอายุของผู้มีสิทธิ์ด้รับเงินบำนาญ หรือการลดปริมาณของผลประโยชน์ และใครจะไม่รู้แม้กระทั่งว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?
ประหนึ่งว่าการคุกคามเงินบำนาญจะข่มขู่ไม่พอ ในแบบฉบับที่แท้จริงของทฤษฎีช็อค ไม่ช้า รัฐมนตรีอนุรักษ์นิยม ก็เปิดตัวยุทธวิธีการสร้างสงครามระหว่างวัยที่จอมปลอมในระหว่างชาวแคนาดาที่ยังไม่ตระหนักว่า ทั้งหมดยกเว้นพวกอภิสิทธิ์สุดๆ จะต้องระมัดระวังอย่างมาก
The same is true in Ontario, thanks to Don Drummond’s remarkably hyped report on how the Ontario government should operate. Mr. Drummond insisted mightily that the tough measures he recommends should hit everyone in order to be seen as fair. But as the Toronto Star’s Tom Walkom pointed out, there’s no way that will happen or was ever intended to happen. “The well-off will fare better than the poor and middle class.” If enacted, his recommendations “would throw tens of thousands more Ontarians out of work … and push the provincial unemployment rate into double-digit territory.” Isn’t that what happened in Spain and Greece?
เรื่องทำนองเดียวกันเกิดที่ออนตาริโอ ต้องขอบคุณรายงานตื่นตูมของ ดอน ดรัมมอนด์ ที่เสนอว่า รัฐบาลออนตาริโอควรทำอย่างไร  นายดรัมมอนด์ ยืนยันอย่างแข็งขันว่า มาตรการที่หนักหน่วงที่เขาแนะนำ ควรจะกระทบทุกคน เพื่อความเป็นธรรม  แต่ ดังที่ ทอม วอล์คอม จาก ออนตาริโอสตาร์ ได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีทางเลยที่จะเกิดเช่นนั้น หรือเคยตั้งใจให้เกิดขึ้น  “คนมั่งมีจะอยู่ดีกว่าคนยากจนและชนชั้นกลาง” หากบังคับใช้ คำแนะนำของเขา “จะโยนชาวออนตาริโออีกนับหมื่นให้ไม่มีงานจ้างทำ... และดันให้อัตราว่างงานในจังหวัดสูงขึ้นเป็นเลขสองหลัก”  นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในกรีซและสเปนหรือ?
I wonder how many Ontarians know that Premier Dalton McGuinty actually chose to instruct Mr. Drummond not to look at surtaxes on high-income earners, and that Mr. Drummond chose to accept that mandate. Yet the wholly predictable consequence of these choices was a report that calls for austerity only for those already most vulnerable.
Finally, in the United States, where the President is hysterically accused of inciting class war every time he hiccups, the old pinko has just announced that he wants to lower the top corporate tax rates significantly. Take that, you greedy 1 per cent!
ผมสงสัยว่า ชาวออนตาริโอสักกี่คนที่รู้ว่า นายกฯ ดัลตัน แม็คกวินตี ที่แท้เลือกที่จะสอนนายดรัมมอนด์ ไม่ให้ดูที่การเพิ่มภาษีกับพวกที่มีรายได้สูง และว่า นายดรัมมอนด์ เลือกที่จะยอมรับคำสั่ง  แต่ผลพวงจากทางเลือกเหล่านี้ ที่ทำนายได้ทั้งหมด เป็นรายงานที่เรียกร้องให้รัดเข็มขัดในบรรดาผู้ที่เปราะบางอยู่แล้ว
ในที่สุด ในสหรัฐฯ ที่ๆ ประธานาธิบดี กำลังถูกกล่าวโทษอย่างคลั่งไคล้ ว่ากำลังยุแหย่ให้เกิดสงครามชนชั้นทุกครั้งที่เขาสะอึก  คำแถลงเพิ่งออกมาว่า เขาต้องการจะ ลด อัตราภาษีของบริษัทชั้นนำอย่างมีนัยสำคัญ   เอาไปเลย เจ้าพวกตระกละ 1%
© 2012 Gerald Caplan
Gerald Caplan is a Canadian academic, public policy analyst, commentator and political activist. He has had a varied career in academia, as a political organizer for the New Democratic Party, in advocacy around education, broadcasting and African affairs and as a commentator in various Canadian media. He is the author of Rwanda: The Preventable Genocide, the report of the international panel of eminent persons that investigated the 1994 slaughter in Rwanda.
ดรุณีแปล / 3-7-12

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น