วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

5 การใช้กฎหมายกดปิดมโนสำนึก และมนุษยธรรม เปิดทางให้ทุนและกำไร


มาเลเซีย:  ข้อหาหมิ่นประมาทกัดเซาะงานที่ถูกกฎหมายของนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน
การฟ้องนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ชาร์ลส์ เฮคเตอร์ เฟอร์นันเดซ โทษฐานหมิ่นประมาท
ได้ยุติลงด้วยการยอมความ

Malaysia: Libel suits undermine the legitimate work of human rights defenders -
Defamation case against human rights defender Charles Hector Fernandez ended with a settlement


เจนีวา-ปารีส  26 สค 2011   โครงการสังเกตการณ์เพื่อปกป้องนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง องค์กรโลกต่อต้านการทารุณกรรม (OMCT) และ สหพันธ์สากลเพื่อสิทธิมนุษยชน (FIDH) ได้แสดงความห่วงใยต่อผลลัพธ์ของคดีหมิ่นประมาทที่ ชาร์ลส์ เฮคเตอร์ เฟอร์นันเดซ ถูกบริษัทแห่งหนึ่งฟ้องร้องโดยอ้างถึงข้อมูลที่เขาลงพิมพ์เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์ของแรงงานย้ายถิ่นพม่า 31 คนในมาเลเซีย
Geneva-Paris, August 26, 2011. The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders, a joint programme of the World Organisation Against Torture (OMCT) and the International Federation for Human Rights (FIDH), expresses its concern about the outcome of the judicial case against human rights defender Charles Hector Fernandez, who was sued by a company for publishing information regarding the violation of the rights of 31 Burmese migrant workers in Malaysia.

ในวันที่ 25 สค 2011 คดีฟ้องร้องนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ชาร์ลส์ เฮคเตอร์ เฟอร์นันเดซ ณ ศาลสูง ชาห์ อะลาม ยุติลงด้วยการยอมความกันระหว่างนักพิทักษ์และบริษัทที่ได้กล่าวหาว่าเขาได้กระทำการหมิ่นประมาท   ในการยอมความนี้ นายชาร์ลส์ เฮคเตอร์ เฟอร์นันเดซ จะจ่ายเงิน 1 ริงกิต (น้อยกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับค่าใช้จ่าย และจำนวนเดียวกันเป็นค่าที่ทำให้บริษัทเสียหาย และจะลงพิมพ์คำขออภัยครึ่งหน้าในหนังสือพิมพ์รายวันมาเลเซีย The Star  และNanyang Siang Pau.
On August 25, 2011, the case against human rights defender Charles Hector Fernandez before the Shah Alam High Court ended in a settlement between the defender and the company that had sued him for civil “defamation”. According to the settlement, Mr. Charles Hector Fernandez will pay 1 Malaysian Ringgit (less than one USD) in costs and the same amount in damages to the company, and will publish a half-page apology in the Malaysian daily newspapers The Star and Nanyang Siang Pau.

นายชาร์ลส์ เฮคเตอร์ เฟอร์นันเดซ ถูกฟ้องในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 โดยบริษัทที่ชาวญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ อาซาฮิ โกเซอิ ในรัฐเซลังงอ มาเลเซีย อันเนื่องมาจากการที่เขาได้พิมพ์ข้อมูลออนไลน์ว่า ฝ่ายจัดการของบริษัทได้ละเมิดสิทธิ์ของแรงงานย้ายถิ่นพม่า 31 คน   บริษัท อาซาฮิ โกเซอิ ได้เรียกร้องให้เขาจ่ายเงินชดเชย 3.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งให้ลงพิมพ์ขอโทษในที่สาธารณะ โดยอ้างว่า แรงงานพม่า 31 คนนั้น ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท เพราะพวกแรงงานเหล่านั้นถูกนำมาทำงานให้บริษัทโดย เอเย่นต์จัดจ้างคนภายนอก แห่งหนึ่ง
Mr. Charles Hector Fernandez was sued in February 2011 by the Japanese-owned company Asahi Kosei, in Selangor, Malaysia, for publishing information on-line regarding the violation of the rights of 31 Burmese migrant workers by this company management. Asahi Kosei Company was demanding a compensation of USD 3.3 million, in addition to a public apology, with the argument that these 31 Burmese workers have not been under their responsibility, as they were supplied to them by an ‘outsourcing agent’.

โครงการสังเกตการณ์ ได้ส่งคณะผู้แทนนานาชาติไปร่วมสังเกตการดำเนินคดี นายชาร์ลส์ เฮคเตอร์ เฟอร์นันเดซ และสอบสวนสถานการณ์ของนักสิทธิมนุษยชนในมาเลเซีย   คดีของ ชาร์ลส์ เฮคเตอร์ เฟอร์นันเดซ แสดงให้เห็นถึงอำนาจการปกป้องผลประโยชน์ของบรรษัทในการจัดการและปิดปากนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนด้วยการรวบจับที่เขาทั้งสองข้าง   การฟ้องเรียกค่าเสียหายที่สูงลิ่วจากนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน โทษฐานรายงานข้อกล่าวหาการละเมิดสิทธิ์ของบริษัท ได้ส่งสัญญาณ/สร้างตัวอย่างพร้อมทั้งความรู้สึกหนาวกลัวสู่งานที่ถูกกฎหมายของนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน นส สุธา รามาลิงคัมกล่าว หลังจากที่ได้ติดตามการดำเนินคดี
The Observatory sent an international mission to observe the trial against Mr. Charles Hector Fernandez and to investigate the situation of human rights defenders in Malaysia.
The case of Charles Hector Fernandez shows how powerful corporate interests are taking on and silencing a human rights defender by his horns. Using exorbitant civil libel claims against human rights defenders reporting alleged corporate abuse sends a dangerous precedent with a chilling effect on the legitimate work of human rights defenders”, said Ms. Sudha Ramalingam, following the observation of the trial.

โครงการสังเกตการณ์มีความห่วงใยที่เห็นนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในกรณีนี้ ถูกทำให้ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยอมรับข้อตกลงที่มีอานิสงค์เป็นการลงโทษกิจกรรมของเขาเองในฐานะนักพิทักษ์สิทธิของแรงงานย้ายถิ่น   หลายปีที่ผ่านมา นายชาร์ลส์ เฮคเตอร์ เฟอร์นันเดซ ได้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่สำคัญแก่แรงงานและคนย้ายถิ่นที่แสวงความยุติธรรม
The Observatory is concerned that the human rights defender in this case was left with little choice other than accepting a settlement having the effect of sanctioning his activities as a defender of the rights of migrant workers. For many years, Mr. Charles Hector Fernandez has provided vital legal assistance to workers and migrants seeking justice.

โครงการสังเกตการณ์ขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในมาเลเซียยุติการรังควานทุกรูปแบบต่อนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ทั้งทางกฎหมายแพ่งและอาญา และทำให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามปฏิญญาสหประชาติว่าด้วยนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน และอนุสัญญา/กลไกนานาชาติและภูมิภาคที่มาเลเซียได้ให้สัตยาบันไว้   โครงการสังเกตการณ์ ขอเตือนผู้ดำเนินการภาคเอกชน รวมทั้งกิจการธุรกิจในอาณัติ ให้เคารพสิทธิมนุษยชนและให้หมั่นเพียรหลีกเลี่ยงการร่วมทำผิดในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศที่พวกเขาเข้าไปทำงาน
The Observatory calls upon the authorities of Malaysia to put an end to all forms of harassment against human rights defenders in the country, including through criminal or civil libel laws, and to ensure full conformity with the United Nations Declaration on Human Rights Defenders and other international and regional instruments ratified by Malaysia. The Observatory also reminds private actors including business enterprises of their responsibility of respecting human rights and exercising due diligence to avoid complicity in abusing human rights in countries where they operate.


[1] See The Observatory Press Release issued on June 27, 2011.
ดรุณีแปล / 8-29-11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น