331. Balancing Tri-sphere : An analytical
framework guiding humanity’s survival path--6
Canals
and Concrete: Floods and the Singapore State
Loh
Kah Seng, pp.25
ลำคลองและคอนกรีต:
น้ำท่วมและรัฐสิงคโปร์
ล้อก่าเส็ง
ดรุณี ตันติวิรมานนท์
แปล
สิงคโปร์ยืนอยู่ที่ทางแยก. ตั้งแต่ทศวรรษ 1990s, รัฐ-เมืองแห่งนี้
ไม่เพียงแต่ทะเยอทะยานพยายามพลิกโฉมตัวเองให้เป็นเมืองโลก, แต่เมื่อเร็วๆ นี้,
ได้ประกาศความเป็นสุดยอดของตัวเองในการสร้างความสมดุลวาระเศรษฐกิจ, สังคม และ
สิ่งแวดล้อม. ในปี 2011/๒๕๕๔, สิงคโปร์ติดอันดับ ๔ ของเมืองน่าอยู่ในเอเชีย (อันดับ ๕๑ ทั่วโลก)
ในดัชนีความน่าอยู่โลก. ห้าปีก่อน,
รัฐบาลได้รับโปรแกมน้ำ ABC (‘Active, Beautiful and Clean’),
ซึ่งไม่เพียงแต่มี สวนฝน และ สวนบนหลังคา เพื่อการเก็บกักน้ำไว้ใช้, แต่ยังเป็น ‘พื้นที่เมืองที่สวยงาม, สร้างจุดศูนย์กลางของชุมชนใหม่ และ
ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ’.
ในอีกด้านหนึ่ง, เกาะน้อยที่มีเนื้อที่
๗๐๐ ตร กม. ในเอเชียอุษาคเนย์
กำลังเผชิญกับการตีตลบกลับจากการวางแผนที่รัฐนำ.
ผู้นำที่น่าจะมีวิสัยทัศน์ยาวไกล
ไม่ได้เห็นล่วงหน้าถึงผลกระทบเชิงลบของนโยบาอพยพเข้าเมืองเสรี ซึ่งมั่นหมายว่าจะพัดพาสิงคโปร์ให้แล่นฉิวสู่ความเป็นเมืองชั้นหนึ่งของโลก. ความสำนึกทางเชื้อชาติดีดตัวขึ้นสูง
เมื่อคนท้องถิ่นกล่าวโทษผู้อพยพมาใหม่ว่า ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
(โดยเฉพาะในราคาที่อยู่อาศัย) ในขณะที่, ดังที่ สมาคมธรรมชาติ (สิงคโปร์)
ได้เตือนว่า ในปี 2009/๒๕๕๒,
การพัฒนาเมืองจะเร่งการสูญเสียที่อยู่อาศัย.
ในการเลือกตั้งทั่วไปปี ๒๕๕๔ พรรครัฐบาล People’s Action Party (PAP)
เห็นคะแนนของตนดำดิ่งต่ำสุดตั้งแต่ปี 1963/๒๕๐๖. การประท้วงต่อต้านนโยบายการอพยพเข้า
ได้กลายเป็นเรื่องที่รับได้ในประเทศที่เคยเงียบเชียบมาก่อน.
อุทุกภัย 1954/๒๔๙๗ และจุดตกต่ำที่สุดของลัทธิอาณานิคม
อุทุกภัย มีผลต่อสิงคโปร์ในช่วง ๖๐
ปีที่ผ่านมา และเป็นจุลจักรวาลหนึ่งของมนุษยมณฑลท้องถิ่น,
แสดงให้เห็นถึงวิธีการของรัฐในการจัดการเศรษฐกิจ, สังคม และ สิ่งแวดล้อม. มุมมองเชิงประวัติศาสตร์จะเป็นประโยชน์,
ไม่เพียงเพราะ PAP ได้ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 1959/๒๕๐๒,
แต่ช่วยให้เห็นชัดถึงเป้าประสงค์และวิธีการที่รัฐบาลใช้จัดการกับน้ำท่วม, และ
ผลพวง, พร้อมทั้งเผยให้เห็นถึงธรรมชาติของความสัมพันธ์ของ รัฐ-สังคม ในปัจจุบัน.
น้ำท่วมไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของอากาศ,
เทคโนโลยี หรือ การบริหาร แต่เกี่ยวพันกับบริบทเชิงประวัติศาสตร์. สิงคโปร์เป็นพื้นที่น้ำหลาก,
ทางผ่านของพายุแถบศูนย์สูตร
(โดยเฉพาะในระหว่างช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือระหว่าง ธันวาคม และ มีนาคม),
เป็นพื้นที่ราบต่ำ และ ไม่มีทางน้ำไหลออกตามธรรมชาติ. แต่ที่สำคัญกว่าสภาพเงื่อนไขธรรมชาติ คือ
วงจรอุบาทว์ของการพัฒนาและน้ำท่วม.
เช่นเดียวกับเมืองใหญ่อื่นๆ ในเอเชียอุษาคเนย์,
น้ำท่วมเมื่อปริมาณน้ำฝนเกินพิกัดท่อน้ำทิ้ง,
ซึ่งลดลงอย่างมากเพราะการพัฒนาเข้มข้นของที่อยู่อาศัย, โครงสร้างพื้นฐาน,
ย่านธุรกิจ และ อุตสาหกรรม.
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒, ตอนแรกรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ และ ต่อมา รัฐบาล PAP เริ่มพลิกโฉมโรงเก็บสินค้าที่มั่งคั่ง แต่ขาดการวางแผน
อย่างเอาจริงเอาจัง สู่การเป็นรัฐเมืองที่มีแบบแผน พร้อมที่อยู่อาศัยมาตรฐาน
และเขตอุตสาหกรรม เพื่อรองรับประชากรที่ขยายตัว.
ทั้งๆ ที่ใส่ใจกับการวางแผนเพื่อให้เมืองขยายตัวได้อย่างเป็นระเบียบ,
ระบบท่อน้ำเสีย ไม่สามารถไล่ทันตามการพัฒนา.
การตอกย้ำการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม-เศรษฐกิจ
เป็นบริบททางการเมือง. ในเดือนธันวาคม 1954, น้ำท่วมต่อเนื่องเพราะฝนตกหนัก ได้ท่วมที่ราบต่ำในชนบท, คนตาย ๕
คน. น้ำท่วมถูกทำให้เป็นเรื่องการเมือง,
ทั้งอังกฤษ และ นักวิพากษ์
ต้องการให้คนเห็นว่าพวกเขาทำอะไรเกี่ยวกับน้ำท่วมและเหยื่อน้ำท่วม. การตอบรับของอังกฤษเป็นเรื่องทางเทคนิค:
วางแผนทำระบบระบายน้ำ และ
เสริมความแข็งแรงให้บริเวณน้ำหลากของแม้น้ำ เบดก.
แต่นี่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปลดแอกอาณานิคมอย่างเป็นระเบียบ; มันเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ต่างจากนโยบายเฉื่อยแฉะก่อนสงคราม,
ชี้ให้เห็นความรับผิดชอบของอังกฤษต่อผู้อยู่ใต้อาณานิคม
ซึ่งพวกเขากำลังเตรียมตัวให้ปกครองตัวเอง.
ในทางตรงข้าม, PAP,
ตอนนั้นเป็นพรรคต่อต้านเจ้าอาณานิคม, และ สมาคมชาวนาสิงคโปร์,
กลุ่มสังกัดฝ่ายซ้าย,
ได้แสวงหาทางดึงดูดแรงสนับสนุนมวลชนต่อต้านลัทธิอาณานิคม. พวกเขากล่าวหาอังกฤษว่า
ล้มเหลวในการดูแลทางระบายน้ำในชนบท และ เคลื่อนย้ายสลัมไปอยู่ในบริเวณแม่น้ำเบดก
ที่ไม่มีระบบระบายน้ำเพียงพอ.
การวางแผนควบคุมน้ำท่วมเพื่อการพัฒนา
ความพยายามของอังกฤษ
ได้กลายเป็นต้นแบบนำหน้าที่ PAP
ยอมรับทันทีที่พรรคครองอำนาจ. PAP รับทอดความคิดตะวันตกของการวางแผนหลัก และ กำหนดเขตการพัฒนา
เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางอุตสาหกรรมของประเทศอ่อนวัยนี้,
โดยเน้นที่การวางแผนทางกายภาพ และ การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบราชการ. เป้าหมายของการควบคุมน้ำท่วม ส่วนหนึ่งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ—เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากที่ดินเพื่อการพัฒนา—แต่ก็ยังเพื่อสังคมด้วย,
ซึ่งชี้ให้เห็นแนวทางวิศวกรรมทางสังคม เพื่อการปกครองเมือง, รัฐบาลหาทางชักจูงประชาชนให้ย้ายออกจากบ้านเรือนในระหว่างน้ำท่วม
(แทนที่จะเก็บตัวในบ้านเพื่อเฝ้าสมบัติ), ให้ย้ายออกจากบริเวณสลัมที่เสี่ยงน้ำท่วม
ไปยังที่อยู่อาศัยที่รัฐจัดขึ้น ในที่ๆ ปลอดน้ำท่วม, และ
ลงโทษประชาชนที่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง.
คอนกรีตเป็นว้สดุที่กรมการระบายน้ำรักมากที่สุด
เพื่อสร้างทางระบายน้ำ และ คลองผันน้ำ, ปรับปรุงทางระบายน้ำที่มีอยู่,
ก่อประตูน้ำ, และขุดบ่อพักน้ำ.
ในกลางทศวรรษ 1960s (๒๕๐๐- ),
กรมได้สร้างสองลำคลองที่ปูด้วยคอนกรีต เพื่อผันน้ำจากพายุฝนจากบริเวณ บูกิต ติมาห์
ซึ่งเจริญมาก แต่ระบบระบายน้ำแย่. คอนกรีต
ไม่เพียงแต่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าคลองธรรมชาติ,
แต่ยังสร้างภาพหนักแน่นในฐานะสัญลักษณ์ของความทันสมัยอย่างมีระเบียบ: ในปี 1967 (๒๕๑๐), กรมโยธาสดุดีทางระบายน้ำใหม่ว่า
ได้ “พลิกโฉมลำห้วยเกรอะโคลนและรุงรัง เป็นลำคลองที่น่ารื่นรมย์, ง่ายต่อการดูแล
และ เป็นระเบียบ”.
แต่
การควบคุมน้ำท่วมตามแผนก็ยังไม่ได้หมายถึงจุดจบของอันตรายทางสิ่งแวดล้อม. น้ำท่วมรุนแรงทั่วเมืองในปี ๒๕๑๒—ร้ายแรงที่สุดในรอย
๓๕ ปี—ส่งผลกระทบต่อประชาชน ๑๐,๐๐๐ คน ทั้งในบริเวณอาคารที่อยู่ที่รัฐสร้าง และ ในหมู่บ้านในเมืองที่ไม่เป็นระเบียบ. โฆษกรัฐบาลอธิบายว่า
เป็นการยากที่รัฐบาลจะอุทิศทรัพยากรเพื่อจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงหนึ่งครั้งในรอบ
๓๕ ปี, แต่นี่ก็สะท้อนให้เห็นว่า ทำไมน้ำท่วมจึงเกิดขึ้น.
คำแถลงการณ์นี้เผยความเข้าใจของรัฐบาลที่เห็นว่า น้ำท่วมเป็นเรื่องของภูมิอากาศ—ดังนั้น
จึงเป็นปัญหาทางเทคนิค, แทนที่จะเป็นกระบวนการที่ฝังตัวอยู่ในนโยบายสังคม-เศรษฐกิจ
ที่มันกำลังผลักดัน.
หนึ่งทศวรรษต่อมา,
ในเดือนธันวาคม 1978 (๒๕๒๑), น้ำท่วมพื้นที่ส่วนใหญ่ของสิงคโปร์อีกครั้ง,
และ ๗ คนเสียชีวิต. ครั้งนี้, วิกฤตได้จุดประกายความพยายามมโหฬารในการสร้างลำคลองที่ใหญ่ขึ้นและใหม่กว่า
พร้อมทั้งยกระดับท่อระบายน้ำในบริเวณอาคารที่อยู่อาศัยที่รัฐสร้าง และ
ในสลัมที่เหลือไม่กี่แห่ง.
คลองที่ไหลตัดถนน ออร์ชาร์ด ย่านธุรกิจสำคัญ ได้ถูกขยายให้กว้างและลึกขึ้น;
มีการดูแลไม่ให้กระทบกระเทือนการช็อปปิ้ง. ข้อห่วงใยนี้
ต่างจากความโกลาหลที่เกิดขึ้นในชีวิตประชาชนในระหว่างทศวรรษ 1960s และ 1980s,
เมื่อชาวสลัมถูกเคลื่อนย้ายในอาคารของรัฐเพื่อเปิดทางให้สร้างคลองและท่อระบายน้ำตามแผน. ในบูกิต ติมาห์, กรมโยธา
ประกาศด้วยความยินดีในปี 1968 ว่า
มีเครื่องจักรกลขนาดใหญ่เพื่อไถบ้านเรือนเถื่อน และ
จะสามารถทำงานเสร็จตามกำหนดเวลาได้.
หนึ่งชั่วอายุคนให้หลังในปี
2010-2011, นักช็อปในถนนออร์ชาร์ด ต้องตื่นตระหนกที่พบน้ำฝนพายุ บุกรุกถนน, ร้านค้า
และ ลานจอดรถ. อีกครั้ง,
รัฐบาลสถาปนามาตรการทางเทคนิค ให้ยกระดับพื้นที่บริเวณนั้น,
ติดตั้งเครื่องกันน้ำท่วม และ ปรับปรุงการระบายน้ำ. แต่ ครั้งนี้ การขานรับจากบนลงล่าง
ไม่ได้รับการยอมรับนัก. คณะกรรมการที่รัฐจัดตั้ง
ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ ได้แนะนำให้รัฐบาล “ให้การความรู้ การศึกษา
และ ชักชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมเชิงรุก” ในการต่อสู้กับน้ำท่วม. ชาวสิงคโปร์, โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดีย,
เริ่มส่งเสียงพึมพำเกี่ยวกับเขื่อนที่อ่าวมารินา สร้างในปี 2008 ที่ชื่นชมกันนักว่า รัฐได้สร้างขึ้น
เพื่อป้องกันที่ราบต่ำแถบชายฝั่งทะเล, ที่แท้ ทำให้เกิดน้ำท่วมในใจกลางเกาะ. คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญถึงกับต้องลบล้างคำร่ำลือนี้. ความจริงคือ
น้ำท่วมเกิดจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (ทำให้พายุเข้มข้นขึ้น) และการขยายตัวของประชากรและเมืองในทศวรรษที่ผ่านมา. แต่ก็เห็นชัดว่า
มีบางอย่างที่หายไปในโมเดลของรัฐบาลเพื่อทำให้เกิดความสมดุลระหว่างงานระบายน้ำและการพัฒนา.
มนุษยมณฑล
การควบคุมน้ำท่วมในสิงคโปร์แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของภาครัฐ
ที่ว่า วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และ วิศวกรรม สามารถพลิกโฉมทั้งธรรมชาติของมนุษย์ และ
ภัยธรรมชาติ.
จึงเน้นที่ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค, มาตรการทางกายภาพ และ
การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ, นั่นคือ, ลำคลองและคอนกรีต. ชาวสิงคโปร์ถูกจัดอยู่ในวงนโยบายในฐานะพลเมืองที่นิ่งเฉย
ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ หรือ เป็นพวกคนโง่เขลา ที่ต้องดุด่าหรือขับไล่. แต่
การวางแผนควบคุมน้ำท่วมล่วงหน้าการพัฒนาแห่งชาติ
ก็ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ต่อภัยน้ำท่วมในอนาคต. นี่ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับการที่รัฐ ไม่ได้ทำนายล่วงหน้าถึงผลกระทบร้ายแรงจากนโยบายอพยพคนเข้าเมือง
ต่อค่าครองชีพ, ต่อความไม่พอใจของคนท้องถิ่นต่อนโยบายนี้, หรือ
ความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม.
กรอบคิดของ
มนุษยมณฑล เป็นทางเลือกแทนทฤษฎีการก้าวสู่ความทันสมัยที่มีตะวันตกเป็นศูนย์กลาง
ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลก. ความคิดของ
มนุษยมณฑล ปฏิเสธความคิดตะวันตกว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจที่ประยุกต์ใช้เป็นสากลได้นั้น
เป็นเส้นตรง, อาศัยความชำนาญทางเทคนิค และ เทคโนโลยี. แต่ตั้งอยู่ในจุดที่ว่า
มีความประทับใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น, การปรับตัว และ บริบท ว่าเป็นทรัพยากร,
แทนที่จะมองเอเชียอุษาคเนย์ว่าเป็นภูมิภาคด้อยพัฒนา. อาจไม่จำเป็นต้องแบ่งขั้วแยกสุดโต่งระหว่าง
ท้องถิ่น และ สากล, หรือ ตะวันตก และ เอเชียอุษาคเนย์. แต่การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์แนะว่า
นักวางแผนของสิงคโปร์ จำเป็นต้องยอมรับข้อจำกัดของทางออกเชิงวิศวกรรม
ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมิติทางการเมืองปนอยู่ด้วย. ความยากลำบากในการแก้ปัญหาหมอกควันที่ไม่รู้จบ
ร่วมกับรัฐบาลอินโดนีเซีย เป็นบทพิสูจน์.
อีกบทเรียนหนึ่งคือ จำเป็นต้องขยับออกจากโมเดลการวางแผนแบบเผด็จการ และ
พึงเอื้อให้พลเมืองมีบทบาทมากขึ้นในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และ สังคม-เศรษฐกิจของรัฐ-เมืองแห่งนี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น