326. Balancing Tri-sphere : An analytical
framework guiding humanity’s survival path--1
Collaborative
Research in Southeast Asia: Towards a sustainable humanosphere
Mario
Lopez, The Focus, IIAS, The Newsletter, No.66, Winter 2013, pp.23-25
การวิจัยร่วมในอุษาคเนย์: สู่มนุษยมณฑลที่ยั่งยืน
มาริโอ
โลเปซ
ดรุณี ตันติวิรมานนท์
แปล
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา,
อุษาคเนย์ มีการผนวกรวมตัวกันด้านเศรษฐกิจ,
โดยมีอาเซียน ทำหน้าที่เป็นหมุดดุมแห่งการก่อตัวของภูมิภาคในระดับสถาบัน. การผนวกรวมนี้ดำเนินไปพร้อมกับการจัดตัวใหม่ของระบบเศรษฐกิจภูมิภาค,
กระตุ้นให้ต้องการพลังงาน, อาหารและน้ำ เพิ่มขึ้นอย่างแข็งขัน
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม-การเมืองอย่างมีนัยสำคัญ.
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็วเช่นนี้ท้าทายให้นักวิจัยเกาะติดสถานการณ์ของภูมิภาคในระดับประเทศ
ในขณะที่ตายังคงจับอยู่ที่มุมมองกว้างใหญ่กว่า.
ในขณะที่การผนวกตัวดำเนินไป, ความต้องการและการแข่งขันแย่งชิงทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น
ได้นำนักวิจัยให้ตรวจสอบประเด็นข้ามพรมแดน เช่น ความมั่นคง,
ความเสื่อมโทรม/การพลิกโฉมทางสิ่งแวดล้อม และ
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม-การเมือง. ความซับซ้อนของประเด็นต่างๆ
ได้กระตุ้นให้เกิดวาระร่วมมือทางงานวิจัย เพื่อพัฒนาไม่เพียงการวิเคราะห์ระดับจุลภาคและมหภาคของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาค,
แต่ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย และ นำข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ
ด้วย.
ประเด็นเหล่านี้ ได้จูงใจให้เกิดพันธมิตรสหสาขาวิชา
(multidisciplinary alliances) เพื่อสร้างแนวทาง “ผูกพัน” (engaged) อำนวยให้ปรับตัวเข้ากับพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของเอเชียอุษาคเนย์. แนวทางเหล่านี้ อยู่ในรูปของพลวัตของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
สิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยี, สถาบัน และสังคม; การตรวจสอบเรื่องชาติพันธุ์,
ศาสนา และวัฒนธรรมอันหลากหลาย; และความจำเป็นที่จะต้องบรรจุ
เขตร้อนศูนย์สูตร ในฐานะเป็นจุดแยกพื้นฐานในการวิเคราะห์
เพื่อทำความเข้าใจกับการพัฒนาของสังคมมนุษย์ในภูมิภาค. โฟกัสของจดหมายข่าว IIAS (สถาบันระหว่างประเทศเพื่อเอเชียศึกษา) ฉบับนี้ ดูที่ความร่วมมือทางการวิจัยในอุษาคเนย์ว่าได้กล่าวถึงความท้าทายที่ซับซ้อนของการสร้างภาษาใหม่ในการวิจัยร่วมกันอย่างไร
ให้เข้าจังหวะกับความฉุกเฉินเร่งด่วนในเพลานี้.
แนวทางการวิจัยแบบผสมผสาน
เป็นเวลากว่า
๔๐ ปีแล้วที่ ศูนย์ศึกษาเอเชียอุษาคเนย์ (CSEAS,
เกียวโต) ได้ริเริ่มแนวทางมุ่งมั่นผสมผสานสู่การศึกษาเอเชียอุษาคเนย์และได้ส่งเสริมให้เกิดการอภิปรายและเสวนาในเชิงสหสาขาวิชา. นี่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยปราศจากอุปสรรคสาหัส. มันดำเนินไปโดยไม่ได้กล่าวว่า ในขณะที่สายธรรมชาติ/วิทยาศาสตร์
และ สายสังคมศาสตร์ พัฒนาไปในต้นศตวรรษที่ ๒๐, ความรู้ได้เริ่มแตกระแหงมากขึ้น
ซึ่งนำไปสู่ความชำนาญพิเศษของแต่ละสาขาวิชา, ซอยเป็นสาขาวิชาย่อยๆ, และ
การแข็งตัวมากขึ้นของเส้นแบ่งสาขาวิชา.
แต่, ความที่เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายมหาศาล, ทำให้เอเชียอุษาคเนย์เป็นโจทย์วิจัยที่ท้าทายเสมอมา
และเลี่ยงไม่ได้ที่จูงใจให้เกิดความร่วมมือระหว่างและข้ามสาขาวิชา. ไม่ว่าจะเพ่งเล็งการวิเคราะห์ไปที่เรื่อง
ความเสี่ยงทางสังคม, ความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม, โรคระบาด, ภัยพิบัติธรรมชาติ,
สังคมชราภาพ, การหาพลังงาน หรือ ความมั่นคงทางการเมือง, เราไม่สามารถพึ่งแนวทางที่อยู่ในขอบเขตจำกัดของสาขาวิชาการ
ที่ฝึกฝนพวกเราให้ตีกรอบ. ถึงอย่างไร,
การขยายแนวทางให้กว้างขึ้นสู่ประเด็นที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
ไม่ควรจะเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางวิชาการเพื่อถล่มเสถียรภาพของสาขาวิชาการต่างๆ ที่เราคุ้นชินกัน. ระเบียบและวิธีการเก็บข้อมูลที่ฝึกฝนพวกเรามา
สามารถเป็นพลังพลิกโฉม เมื่อหยิบยืมจากสาขาวิชาที่ได้สร้างมันขึ้นมา และ ประยุกต์ใช้มันในบริบทใหม่. ตัวอย่างหนึ่งของความร่วมมือนี้ คือ
ความพยายามในการเขียนแผนที่การแพร่กระจายตัวของเชื้อแบคทีเรีย (พบในหอย) ที่ทำให้อาหารเป็นพิษ
ซึ่งเกิดจากการปรุงอาหารตามวัฒนธรรมต่างๆ ในหลายชนชาติของเอเชียอุษาคเนย์
โดยทีมนักจุลชีววิทยา, ผู้เชี่ยวชาญทางอาหาร และ
อุตสาหกรรมอาหารที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค.
กล่องเครื่องมือเพื่อความร่วมมือจากสาขาวิชาต่างๆ สามารถใช้กะเทาะประเด็นซับซ้อนทะลวงข้ามเส้นแบ่งแยก
เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในวิธีปฏิบัติระดับภูมิภาค.
นักวิจัยที่ CSEAS ได้หาทางระดมการแลกเปลี่ยนเชิงสหสาขาวิชาผ่านหลายโครงการขนาดใหญ่ที่ต่อเนื่องกัน
เพื่อผลักดันขอบเขตของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
นอกเหนือจากการส่งเสริมความชำนาญเฉพาะทาง.
ในปี ๒๕๕๐, ด้วยงบพิเศษจากกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น, โครงการขนาดใหญ่ หัวเรื่อง
“การแสวงหามนุษยมณฑลที่ยั่งยืนในเอเชียและอาฟริกา” (In Search of
Sustainable Humanosphere in Asia and Africa”) (2007-11 / ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ก็ได้เริ่มขึ้น.
โปรแกมนี้ ได้ใช้แนวทางองค์รวม ซึ่งนักวิจัยที่เข้าร่วม เรียกว่า
“มนุษยมณฑลที่ยั่งยืน”.
คำนี้มีความหมายในทั้งมิติเวลา และ พื้นที่ ซึ่งโอบรวมวงจรการไหลเวียนของวัตถุและพลังงานทั้งมวลของโลก
และ ระบบการปกครองสู่ความยั่งยืนของมัน. มนุษยมณฑล
ประกอบด้วย ภูมิมณฑล (Geosphere), ชีวมณฑล
(Biosphere) และ สังคมมนุษย์ (Human Societies).
ภูมิมณฑลประกอบด้วยองค์ประกอบเชิงธรณีวิทยาของระบบโลก
รวมทั้งชั้นบรรยากาศ, น้ำ และผืนดิน.
ชีวมณฑล รวมสรรพชีวิตทุกๆ รูปแบบบนโลก, รวมทั้งกระบวนการสืบพันธุ์, แปรเปลี่ยน
ตลอดจนวิวัฒนาการที่กำลังเกิดขึ้น.
เมื่อเวลาผ่านไป, สังคมมนุษย์ได้อภิวัฒน์และอุบัติผ่านกระบวนปฏิสัมพันธ์กับทั้งสองมณฑล,
นำไปสู่รูปแบบเฉพาะของการอยู่ร่วมกัน.
สังคมมนุษย์ของเราเช่นนี้, สามารถมองว่าเป็นระบบเทคนิค ซึ่งพลังงาน,
วัตถุดิบ และ ข้อมูล, ลื่นไหลและวนเวียนอยู่ในระหว่างสามมณฑลนี้. โดยรวม, มนุษยมณฑล เป็น สิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศและสังคมที่ๆ
คนท้องถิ่นอาศัยอยู่ และ ก็เป็น พื้นฐานเชิงทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการสืบค้นเชิงสหสาขาวิชา
ข้ามสาขาวิชา สู่เอเชียอุษาคเนย์, อุษาเอเชีย และอาฟริกาแถบศูนย์สูตร. ด้วยวิธีการสืบค้นดังกล่าว มีแถบศูนย์สูตรเป็นปฐม,
โครงการมีจุดประสงค์ทบทวนและก้าวข้ามกระบวนทัศน์ที่มีอยู่เดิม ที่อุบัติขึ้นในแถบอบอุ่น
(temperate
zone). ซูกิฮารา คาโอรุ
ใช้กรอบคิดแนวนี้ บอกให้พวกเราคิดถึงประสบการณ์ของการพัฒนาของเอเชียอุษาคเนย์ภายในบริบทที่กว้างกว่าของมนุษยมณฑล.
การพัฒนาสหสาขาวิชาศึกษาผ่านการเสวนาร่วมมือ
การเสวนาแลกเปลี่ยนที่เป็นประโยชน์ได้เกิดขึ้นระหว่างนักวิจัยจากสาขาวิชาต่างๆ
ในโปรแกม มีอานิสงค์ให้เกิดผลงานจำนวนหนึ่ง และ ทิศทางใหม่ในการทำวิจัย. ในแง่ของการทำให้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะของสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์
(ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพดิน) ของเอเชียอุษาคเนย์ให้ได้ลุ่มลึกขึ้น,
ชีวมวลของภูมิภาคจึงมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างความเข้าใจระหว่างสังคมมนุษย์และการจัดการสิ่งแวดล้อม. ในแง่ประวัติศาสตร์, สังคมชีวมวลในเอเชียอุษาคเนย์แถบศูนย์สูตร—พวกที่มีประชากรน้อยแต่เดิมมา
ที่วิถีชีวิตต้องพึ่งผลผลิตเชิงวนเกษตร (agro-forestry)—เป็นพวกที่แสดงให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่น, พัฒนาวิธีปฏิบัติที่ยั่งยืน และ
สร้างโยงใยโครงข่ายของชุมชนข้ามภูมิภาคในแถบศูนย์สูตร. ในช่วง ๕๐ กว่าปีก่อน, รัฐชาติ ได้รื้อจัดกระบวนใหม่,
และด้วยการกำหนดลำดับการพัฒนาก่อนหลังและนโยบาย,
ข้อบังคับของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ,
และการผนวกตัวเข้ากับระบบการผลิตของทุนนิยมโลก.
ปฏิวัติเขียวในเอเชียอุษาคเนย์ในยุค ทศวรรษ 1960s / ๒๕๐๐
เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว เป็นเพียงหนึ่งในตัวเริ่มต้น ที่นำไปสู่สวนพืชเศรษฐกิจขนาดใหญ่
และ การจัดโครงสร้างใหม่ของการผลิตอุตสาหกรรมในภูมิภาค. ตอนนี้ เรามีผืนดินขนาดใหญ่ที่ถูก
“ขัดเกลาเชิงชีว” (bio-refined), ผลคือ รูปแบบหนึ่งของการ
“แย่งชิง” (dispossession),
ซึ่งเปลี่ยนกระบวนการจัดวางรูปแบบของระบบนิเวศทั้งหมดทั่วภูมิภาค. ถึงอย่างไร, การจัดกระบวนใหม่เหล่านี้
ไม่ควรจะมองว่า เป็นผลกระทบจากสังคมมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นถ่ายเดียว, ควรถามว่า
การกระทำของเรา เป็นอย่างไร
ถึงได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ซึ่งเราอาจไม่สามารถหวนกลับไปได้. แต่,
นักวิจัยสามารถเสนอทางออกที่เอาจริงเอาจังเพื่อผนวกรวม พื้นที่ๆ
ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้กลับเข้ามาใหม่.
มิซูโน คูซูเกะ และทีมวิจัยของเขา
ได้แสดงให้เห็นชัดเจนในโครงการที่ ริอู, อินโดนีเซีย, ว่า การวิจัยทางวิทยาศาสตร์
สามารถมุ่งไปที่เสนอข้อแนะนำสู่วิถีพัฒนาระยะยาว
ที่ไม่ใช่มุ่งเพียงด้านเศรษฐกิจถ่ายเดียว.
พวกเขากำลังสืบค้นในกรอบทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (ด้วยการวัดชีวมวล,
ประเมินระดับของความหลากหลายทางชีวภาพ และ ผลกระทบของอุตสาหกรรมและวนเกษตร). ในอีกด้านของงานวิจัยนี้,
ในกรอบของวิทยาศาสตร์สังคม, ก็ทำการตรวจสอบว่า ประชาชนคิดอะไร และ
ประชาชนตอบสนองต่อสิ่งท้าทายอย่างไร; จุดประสงค์
คือ ประเมินปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจก, บริษัท, รัฐบาลท้องถิ่น และ รัฐ.
การรวบรวมผลงานวิจัยเข้าด้วยกันจากโครงการวิจัยร่วมนี้ ช่วยให้เราเห็นแนวทางที่มีศักยภาพในการสร้างมนุษยมณฑลของเราขึ้นใหม่
ด้วยการผนวกสาระข้อมูลสะท้อนจากป่าแถบศูนย์สูตร.
อิชิกาวะ โนโบรุ ได้ชูศักยภาพต่างๆ
ในการวิจัยร่วมนี้. โครงการของเขาใน
ซาราวัก, มาเลเซีย, แสดงถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้แนวทางหลากมิติเพื่อให้ได้วิธีวิเคราะห์ภูมิทัศน์ของนิเวศที่แปรเปลี่ยน
ดังที่พบในหมู่เกาะของเอเชียอุษาคเนย์.
การเพาะปลูกเชิงเดี่ยวและการแปลงป่าแถบศูนย์สูตรให้เป็นที่ดินเกษตร
สามารถมีผลที่ไม่อาจหวนคืนสภาพเดิมได้หากก้าวข้ามพิกัด
สู่การจัดรูปกระบวนซึ่งจำเป็นต้องใช้ความชำนสญในการสังเกตของสาขาวิชาต่างๆ. โครงการดังกล่าวทั้งสอง แสดงให้เห็นว่า
ความร่วมมือระหว่างสาขาวิชา สามารถช่วยสร้างแนวทางที่เป็นองค์รวมมากขึ้น
ที่ช่วยฉายภาพให้ชัดยิ่งขึ้นว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของเอเชียอุษาคเนย์
และ เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐิกจโลกในวงกว้างอย่างไร.
การแทรกแซงของมนุษย์ และการแทนที่ในระบบนิเวศที่ตามมา
ไม่ใช่เพียงผิวเผิน, แต่กระทบสรรพชีวิตใต้ดินอีกมาก. ชีวมวล—จุลชีพและสสาร—สำคัญยิ่งสำหรับการธำรงอยู่ของดิน
และ การกำกับการไหลของน้ำ. สภาวะดินดี
มีค่าประมาณมิได้สำหรับแมลงและแบคทีเรีย,
ซึ่งให้บริการเชิงระบบนิเวศที่ไม่อาจวัดได้.
ความสัมพันธ์ของเรากับสิ่งแวดล้อมของเรา
เชื่อมโยงต่อกันอย่างลึกล้ำกับสายพันธุ์ต่างๆ
ที่แบ่งปันกันอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์.
เช่น สังคมมนุษย์มีความสัมพันธ์อันบอบบางกับปลวก และมด
ที่เป็นส่วนสำคัญของชีวมวลสัตว์บกในเอเชียอุษาคเนย์. เนียวก๊กบุ๊น นักกีฏวิทยา
ผู้ทำงานเรื่องชุมชนมดและความสัมพันธ์ของมันกับการผลิตทางเกษตรในเอเชียอุษาคเนย์,
ได้แสดงให้เห็นชัดขึ้นว่าจำเป็นต้องทบทวนมุมมอง “สามัญสำนึก” ที่ฝังหัว
เกี่ยวกับปลวก ว่าเป็นแมลงร้าย ที่ลดผลิตภาพและกัดกินที่อยู่อาศัยของมนุษย์. ที่ชัดเจนขึ้น คือ นโยบายต่อภูมิทัศน์เกษตรของเรา
จำเป็นต้องเปลี่ยนมุมมองของเราต่อบทบาทของสัตว์สายพันธุ์อื่น
ในพื้นที่ร่วมนิเวศหนึ่งๆ.
ผู้อ่านอาจสงสัยว่า มานุษวิทยา
ถูกเบียดตกฟากในความร่วมมือนี้ไหม ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
กับ วิทยาศาสตร์สังคม. การวิเคราะห์ใดๆ
ของการแปรเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยอิทธิพลอันแพร่หลายของสังคมมนุษย์จะยังพร่องอยู่หากปราศจากการตรวจสอบเชิงประวัติศาสตร์ต่อเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีและการใช้
ที่ได้มาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของรัฐชาติยุคใหม่ในภูมิภาค. หัวข้อที่ปักหมุดอยู่ในบทความทั้งหมดใน
โฟกัสฉบับนี้ คือ
ความจำเป็นยิ่งยวดในการรวมบทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. ล้อก่าเส็ง แสดงให้เห็นความจำเป็นนี้
ในบทอภิปรายเกี่ยวกับน้ำท่วม—ประเด็นตลอดปีตลอดชาติทั่วภูมิภาค—และ
การจัดการน้ำท่วมของรัฐสิงคโปร์ มีรากเหง้าอยู่ในบริบทประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคม (และข้ามชาติ)
ในมุมกว้างกว่า.
การกำหนดตัวชี้วัดใหม่เพื่อรับมือกับพลวัตในภูมิภาค
ดัชนีต่างๆ,
เช่น ผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี GDP),
ผลผลิตมวลรวมแห่งชาติ (จีเอ็นพี GNP), หรือ ดัชนีพัฒนามนุษย์ (HDI) ของสหประชาชาติ, มีอยู่มาก่อนนานพอสมควร. ขอให้เก็บคำวิจารณ์ที่ข้องใจไว้ก่อนที่ว่า
ดัชนีเหล่านี้วัดสถานภาพของโลกได้ถูกต้องขนาดไหน, ตอนนี้ ก็ยังไม่มีความพยายามที่พร้อมเพรียงกันเท่า
(จีดีพี) ในการวัดปริมาณกิจกรรมของมนุษย์และจัดวางในบริบทของการไหลเวียนของบรรยากาศ-กระแสน้ำของโลก
และ ประเมินความยั่งยืนของภูมิมณฑล, ชีวมณฑล และ
มนุษยมณฑลในลักษณะองค์รวมผสมผสาน.
หลายส่วนของเอเชียอุษาคเนย์แถบศูนย์สูตร
เป็นที่อยู่อาศัยของบางระบบนิเวศที่หลากหลายและเปราะบางที่สุดของโลก. ภูมิภาคนี้ มีทรัพยากรชีวมวลมหาศาล
ที่ธำรงอยู่ได้ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่อุดมสมบูรณ์. แต่เราสามารถวัดศักยภาพดังกล่าวของภูมิภาคนี้ไหม—รวมทั้งที่ๆ
พบในแถบศูนย์สูตรของอาฟริกา และ อเมซอน—ด้วยดัชนีที่มีอยู่ปัจจุบัน,
ซึ่งเน้นหนักไปที่การวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ, ความยั่งยืน
และการพัฒนามนุษย์? ซาโตะ ทากาฮิโร
และทีม, ทำงานภายในกรอบคิดของระบบนิเวศเกษตรศูนย์สูตร, นำเสนอทางเลือกเพื่อประเมินปฏิสัมพันธ์ระหว่างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
และ สวัสดิภาพของสังคมมนุษย์. ด้วยการเปรียบเทียบพิกัดการรองรับ
(carrying capacity) ระหว่างแถบอบอุ่น (temperate
zone) และแถบศูนย์สูตร (tropical zone), ทำให้เห็นร่องรอยว่า
พื้นที่ส่วนไหนเหมาะที่สุดเพื่อรองรับอนาคตของสังคมมนุษย์ ใน, ที่เป็นอยู่ตอนนี้,
โลกที่จัดโครงสร้างใหม่แล้ว เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง. ด้วยการรวมสายพันธุ์หลากหลาย, ระบบนิเวศ และ
พลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งหมด เข้าไปวิเคราะห์ด้วย จะสามารถสร้างการอภิปรายในระดับสูงขึ้น
เพื่อให้ข้อมูลแก่นักกำหนดนโยบาย
และเตรียมสังคมอนาคตให้รับมือได้กับการเปลี่ยนแปลงที่รอคอยพวกเราอยู่.
การหล่อเลี้ยงอนาคตร่วม
เพื่อทำตามสัญญาที่จะเสนอทางออกที่มีความยืดหยุ่น
สามารถรับมือกับความต้องการระดับภูมิภาคและระดับโลก—ว่าจะมุ่งไปที่ความต้องการหลากด้านของเอเชียอุษาคเนย์ใหม่
หรือ สู่การพัฒนากรอบวิจัยที่สามารถนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว—จำเป็นจะต้องมีปณิธานชัดเจนจากความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมมือกันระหว่างสาขาวิชา. อันนี้เป็นความต้องการมากกว่าอาณัติเชิงสถาบันที่รวมทีมนักวิจัยต่างๆ
ให้เป็น “โอเอซีส” (บ่อน้ำกลางทะเลทราย) ของภูมิภาค. ในที่สุด
จะต้องมีการเปลี่ยนโครงสร้างของกระบวนการเชิงปัญญา ที่จะชี้นำวาระของเราให้จัดลำดับก่อนหลังของทางออกที่เป็นรูปธรรม. สิ่งเหล่านี้
สามารถช่วยก่อตั้งการใช้สิ่งแวดล้อมและแหล่งพลังงานอย่างยั่งยืน, สนับสนุนสังคมชีวมวล,
และผลักดันให้เกิดวิถีการผลิตที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สอดคล้องกับลักษณะการพัฒนาสังคมในปัจจุบัน. ด้วยความพยายามร่วมมือข้ามและผ่านสาขาวิชาด้วยความมุ่งมั่น,
เราขยายขอบเขตของข้อตกลงเชิงวิเคราะห์ และ รวมผู้เล่นบทระดับโลกมากขึ้น ผู้สามารถมีอิทธิพลต่อนโยบายในด้านต่างๆ.
นี่จะสามารถบรรลุได้ด้วยการก้าวให้ออกจากกรอบคิดกระแสหลัก และ
ปรับสาขาวิชาการของเราใหม่. การทำเช่นนั้น
จะอนุญาตให้เราสนับสนุนความคิดเห็นและนักวิจัยใหม่ๆ
ผู้จะสามารถรับการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับสิ่งท้าทายข้างหน้าได้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น