วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

328. สมดุลสามมณฑล : กรอบวิเคราะห์นำมนุษยชาติสู่ทางรอด--๓

328.  Balancing Tri-sphere : An analytical framework guiding humanity’s survival path--3

Towards Forest-based Management of the Past Lands in Riau, Indonesia
Kosuke Mizuno, pp.34
             สู่การจัดการที่เน้นป่าของที่ดินในอดีตใน ริอู, อินโดนีเซีย
             โคซูเกะ มิซูโน
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
ในเอเชียอุษาคเนย์, ป่าพรุแฉะ (wet peat lands) อุดมสมบูรณ์ไปด้วยชีวมวลและทรัพยากรน้ำ, แต่ก็เปราะบางยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงสิ่งแวดล้อมจากฝีมือมนุษย์.  ป่าพรุเป็นส่วนหนึ่งของป่าศูนย์สูตรที่สารอินทรีย์เน่าเปื่อยสะสมอยู่เป็นเวลาหลายๆ ปี, กลายเป็นดินที่มั่งคั่งคาร์บอน.  ป่าพรุของอุษาคเนย์มีมากเป็น 11-14% ของแหล่งคาร์บอนพรุโลกทั้งหมด.  แม้ว่าผืนดินพรุจะไม่เหมาะสำหรับเพาะปลูก, ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา มีการผันเปลี่ยนมันให้เป็นทรัพยากรมากขึ้น.   มันได้ถูกผลาญใช้ขนานใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน, นำไปสู่ความเสื่อมโทรมอย่งรุนแรง, ไฟไหม้ขนานใหญ่ และการปลดปล่อยคาร์บอนทั่วทั้งภูมิภาค.  เพื่อแสวงหาความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของป่าพรุ, ทีมวิจัยจากเกียวโต (ญี่ปุ่น) และ ริอู (อินโดนีเซีย) ได้ทำโครงการสหสาขาวิชา สองระยะใน เบงการิส (ริอู) เพื่อสร้างความกระจ่างในการใช้ป่า.  งานวิจัยของเรามุ่งไปที่การวิเคราะห์แบบองค์รวมของการใช้ป่าในบริบทของสังคม-เศรษฐกิจ และ การประเมินวิธีการที่ชาวบ้านท้องถิ่นเป็นไปได้ที่จะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูบำบัดป่าพรุเสื่อมโทรม สู่การจัดการที่ดีขึ้นในระยะยาว.

บริบทของป่าพรุ
ในไม่กี่ปีนี้, ความเข้าใจของเราต่อบทบาทของป่าในระดับท้องถิ่นและระดับโลก ได้นำไปสู่การสนับสนุนรณรงค์ เพื่อเน้นความสำคัญของอนุรักษ์ป่าพรุที่เหลือ.  มีการโต้แย้งสนับสนุนให้ฟื้นฟูระบบน้ำในป่าพรุเสื่อมโทรม และ พืชคลุมดินที่ยั่งยืนอื่นๆ, และ เรียกร้องให้มี “แผนหลัก” ในการจัดการน้ำ สำหรับพื้นที่ป่าพรุ, รวมทั้งในสวนพืชเศรษฐกิจ.  แดนพรุจำเป็นต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นทรัพย์สมบัติสิ่งแวดล้อมตลอดทั่วภูมิภาค, ซึ่งสามารถจะส่งต่อเป็นมรดกให้อนุชนในอนาคต โดยไม่ต้องวางคำตำหนิติเตียนที่แทบเท้าของพวกที่ใช้มันผิดๆ ในปัจจุบัน.
            ในอินโดนีเซีย, ตั้งแต่ทศวรรษ 1930s, การวิจัยได้ดูที่การกระจายของดินแดนพรุ, ตรวจสอบลักษณะทางเคมี, กายภาพและชีวภาพของพืชที่ครอบคลุมอยู่.   การศึกษาภูมิประเทศและดิน ได้กระทำอย่างละเอียดบนป่าพรุดั้งเดิม, และหลังจากพิธีสารเกียวโต, งานศึกษาเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนจากป่าพรุได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก.  แต่ การศึกษาส่วนใหญ่ได้กระทำโดยนักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ, และ ไม่กี่คนเปิดใจที่จะแตะประเด็นทางสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวพันอย่างเฉียบขาดกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่พึ่งพาอาศัยป่าพรุศูนย์สูตร.  ด้วยเหตุนี้, การร่วมมือกับสาขาสังคมศาสตร์จึงจำเป็นยิ่ง.
            ในสุมาตรา, ชาวบ้านสองกลุ่มหลักที่ใช้ป่าพรุแฉะ.   กลุ่มแรกคือ ชาวบ้านมาเลย์ และ “วัฒนธรรมเปลี่ยนผ่าน” ของพวกเขา.  ดินศูนย์สูตรกร่อนหายไปอย่างรวดเร็วด้วยการเพาะปลูกเข้มข้น, แต่ชาวบ้านมาเลย์ได้ทำนุรักษามันด้วยการทำไร่หมุนเวียน, ประมง, และ ค้าขาย แบบประปราย—ด้วยการเลือกตัดไม้หอม, เก็บผลิตผลที่มีประโยชน์ และ สร้างแปลงปลูกพืชหมุนเวียนอย่างรอบคอบ.  ด้วยกิจกรรมเหล่านี้, พวกเขาได้รักษาป่าส่วนใหญ่ให้คงสภาพสมบูรณ์.
            อีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้อพยพ เช่น ชาวชวา, ที่ได้ย้ายเข้ามาอยู่อาศัย และ ใช้ป่าพรุผืนใหญ่เพื่อผลิตข้าว.  ผ่านไปหลายปี, พวกเขากลายเป็นผู้อาศัยถาวรในบริเวณที่พวกเขาได้ตั้งรกราก.  ในวิธีปฏิบัติดั้งเดิมของชาวมาเลย์ในสุมาตรา ได้สร้างรอยเท้านิเวศปริมาณจำกัด และ เป็นวิธีที่เข้ากันได้กับหน้าที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติของป่าพรุ.   ตั้งแต่ปี 1965 (๒๕๐๘), ระเบียบใหม่ที่มุ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจได้กระตุ้นให้ใช้ป่าพรุเพิ่ม และใช้ซ้ำๆ อย่างรวดเร็ว.  ความเสื่อมโทรมเกิดจากการอพยพย้ายผู้คน (ทั้งเกิดเอง และ โดยทางการ), การตัดไม้ขนานใหญ่ (ทั้งสัมปทานและเถื่อน), สวนปาล์ม, และ สวนไม่หมุนเวียนอายุสั้นเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ และ ไฟป่า.  น่าตกใจที่ในปี ๒๕๓๑, กว่า 93% ของป่าพรุในสุมาตราและกาลิมันตัน ล้วนเสื่อมโทรม, เหลือเพียงไม่กี่บริเวณที่ยังดีอยู่.

การฟื้นฟูบำบัดด้วยการร่วมมือกัน
ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา, เราได้ทำการศึกษาป่าพรุเสื่อมโทรมเหล่านี้ใน ริอู ด้วยความร่วมมือกับชาวบ้านท้องถิ่น ผู้มีวิถีชีวิตผูกพึ่งอยู่กับสุขภาพ, การกลับมาเจริญงอกงาม และ การจัดการที่ยั่งยืนของป่าพรุ, โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา “ป่าเพื่อประชาชน”.  ทีมของเราประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขา เศรษฐศาสตร์, มานุษวิทยา, น้ำ, วิเคราะห์ดิน และ นิเวศ, ใช้แนวองค์รวมศึกษาป่าพรุ.   การทำความเข้าใจถึงความ หลากหลายทางชีวภาพของแดนพรุจะต้องคิดถึงปัจจัยของความหลากหลายของพืช รวมทั้งบทบาทของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, การไหลของน้ำ, และการแปรเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยน้ำมือมนุษย์.  แต่พวกเราก็ต้องจำไว้ด้วยว่า การอนุรักษ์ระดับต่างๆ เกิดขึ้นเองในป่าธรรมชาติ, สวนพืชเศรษฐกิจ, สวนปาล์ม และ ชุมชนท้องถิ่นด้วย.  การใช้ที่ดินพรุอย่างชาญฉลาดจะเกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญๆ เช่น การจัดการน้ำ และ การใช้พืช.  เช่นนี้, การศึกษาความหลากหลายของพืช จะช่วยให้เราเข้าใจว่า เราจะนำพืชเข้ามาปลูกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ที่มีความสำคัญต่อการใช้ที่ดิน.
            การศึกษาชีวมวล—พวกที่ศึกษาประเด็นหลักของสังคมชีวมวล (biomass society) เช่น การผลิต, การใช้ที่ดิน, ป่าธรรมชาติ, สวนไม้ซุง, สวนปาล์ม, และปฏิสัมพันธ์ชุมชนท้องถิ่น—ก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับกระบวนการผลิตเฉพาะทาง ของชีวมวล, สภาพของที่ดินพรุ, ผลิตภาพ และการหมุนเวียนเชิงวัตถุ.  การไหลเวียนของการผลิตชีวภาพเกี่ยวพันใกล้ชิดกับการทำกำไรสูงสุด.  แต่ปริมาณวัตถุดิบของการผลิตชีวมวลเกี่ยวพันใกล้ชิดกับการอนุรักษ์.
            การศึกษาสหสาขาวิชาการ เช่นของเรา ที่ขึ้นอยู่กับการรวมชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใน และรอบๆ ป่าให้มีส่วนร่วม, และความรู้ท้องถิ่นของพวกเขาในการทำนุรักษา, จะช่วยให้เราสามารถฟันธงได้ถึง สาเหตุของความเสื่อมโทรม.   สังคมมนุษย์ และ ความต้องการที่ตามกันมาของพวกเขา จะต้องรวมเข้าไว้ในรูปแบบต่างๆ ของการจัดการป่าแบบชาวบ้านที่ยั่งยืน และการคืนชีวิตให้แก่แหล่งที่ของพวกเราในโลก.

การแปรโฉมที่ดินที่ค่อยเป็นค่อยไปใน ริอู
จวบจนต้นทศวรรษ 1980s, สังคมท้องถิ่นเบงการิส (ริอู) ได้ธำรงลักษณะสังคมแดนพรุที่สมดุล.  นั่นคือ ประชากรขนาดย่อม และชาวบ้านใช้ที่ดินพรุด้วยวิธีดั้งเดิม, เช่น การประมง, ตัดไม้ขนาดย่อม และ ค้าขายในป่ายาง, โดยไม่ได้แปรเปลี่ยนภูมิประเทศอย่างรุนแรง.  ในช่วงทศวรรษ 1990s  และ 2000s การเปลี่ยนโฉมในพื้นที่เกิดขึ้นอย่างสุดเหวี่ยง.   การตัดไม้ขนานใหญ่เริ่มขึ้นในปี 1998 และ นำไปสู่การปลูกน้ำมันปาล์ม.  ต่อมา, ในช่วงเวลา ๑๕ ปี, การสำรวจและเปิดสวนไม้ซุงรวมทั้งสวนปาล์ม ได้นำไปสู่การไหลทะลักเข้ามาของประชาชน   และความเสื่อมโทรมของดินแดนพรุขยายมากขึ้น.   ชาวบ้านในท้องถิ่น มีความกระตือรือร้น ต่อการปลูกสวนปาล์ม, แต่การเพาะปลูกแบบนี้ ไม่ได้สนองความคาดหวังเชิงเศรษฐกิจของทุกคนได้ เพราะผลิตภาพต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศ และจังหวัด แถมยังเสี่ยงต่อไฟป่า, ทั้งๆ ที่ใช้ปุ๋ยและเกษตรเคมีภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง.  ที่ดินได้ลดความอุดมสมบูรณ์เรื่อยๆ และไฟไหม้ถี่ขึ้น.
            เราพบว่า ชาวบ้านทำหลากอาชีพต่อไป และไม่ได้พึ่งรายได้จากการเพาะปลูกบนที่ดินพรุอย่างเดียว.  พวกเขามีรายได้จากประมง, ค้าขาย, บริการสาธารณะ, ก่อสร้าง, ร้านขายของชำ และ สหกรณ์.  เช่น ยางป่า เป็นแหล่งรายได้เสถียร, มันเป็นมรดกที่ตกทอดได้, และมันก็ไม่ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของแดนพรุอย่างผิดสังเกต.  แม้ว่าผลิตภาพของมันจะต่ำกว่ามาตรฐานชาติ, มันก็ให้รายได้ที่ดีพอสมควรเพราะค่าใช้จ่ายเพาะปลูกน้อยมาก.  ในช่วง ๑๕ ปีที่ผ่านมา, ยุทธวิธีอยู่รอดของชาวบ้าน คือ ใช้โอกาสทุกอย่างที่มากับการเพาะปลูกน้ำมันปาล์ม, การว่าจ้างที่บริษัทตัดไม้ และ ต่อมา การตัดไม้เถื่อนและการลักลอบขนานใหญ่ที่เพิ่มมากขึ้น.
            แม้ชาวบ้านจะได้รับมรดกวิธีปฏิบัติที่ดีในการใช้ที่ดินพรุอย่างเข้มข้น, สวนไม้ซุงขนาดใหญ่, การตัดไม้, การทำลายป่า และ การเพาะปลูกน้ำมันปาล์ม ล้วนเปลี่ยนแปลงพวกเขา และทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อไฟไหม้.  ผลคือ ที่ดินเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง, และในที่สุด ก็กลายเป็นที่ดินร้าง แร้นแค้น, เป็นหายนะสำหรับวิถีชีวิตของชาวบ้าน และ ลดทอนสมรรถนะพิกัดรองรับของธรรมชาติ.

สู่การฟื้นฟูบำบัดดินแดนพรุเสื่อมโทรม
งานวิจัยของเราได้มาถึงระยะที่สอง คือ การฟื้นฟูและอนุรักษ์ ดินแดนพรุเสื่อมโทรม ด้วยข้อมูลเก็บจากการศึกษานี้.  จนถึงบัดนี้ ภัยใหญ่ที่สุด คือ ไฟ  ดังนั้น เพื่อฟื้นฟูภูมิประเทศ เราเน้นที่นำเข้า และ ปลูกพืชสายพันธุ์ที่ขึ้นอยู่เดิมของป่าเลน เช่น Bintangur [Colophyllum lowii], Romin [Gonustylus bancanus], Menranti bunga [Shorea teysamanniana], Jelutung [Dyera lowii] บนที่ดินพรุร้าง.  ต้นไม้เหล่านี้ เติบโตได้รวดเร็ว (ในเวลา ๘-๑๐ ปี) และสามารถตัด และ ขายในตลาดซุงในประเทศหรือ สากล.  เป้าหมายคือ ฟื้นฟูที่ดินแห้งแล้งเสื่อมโทรม, เปลี่ยนมันให้เป็นที่แฉะมีต้นไม้ปกคลุม และสร้างสภาวะที่สามารถสร้างรายได้สำหรับชาวบ้าน.  เราหวังว่า ป่าที่รวมความจำเป็น/ต้องการของชาวบ้านเข้าด้วย จะเพิ่มการทำหน้าที่อนุรักษ์ได้ด้วย, ในขณะที่เป็นหลักประกันรายได้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การอยู่รอด ที่ขับเคลื่อนโดยไร่นาขนาดเล็ก.  ช่วบ้านท้องถิ่นสามารถส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ หากพวกเขารู้สึกว่าได้รับประโยชน์จากโปรแกมที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์.  ผลคือ เป็นทางออกที่ทุกคนได้ จากมุมมองของยุทธศาสตร์ทั้งการอนุรักษ์ และ การอยู่รอด.

เราหวังว่า บรรดาบริษัทจะใช้แนวคิด “ป่าของชาวบ้าน” เพื่อส่งเสริมเขตปกป้องในบรรดาอุตสาหกรรมป่าไม้ซุง.  ถึงที่สุด, เราหวังให้เกิด เส้นทางการขยายการผลิต ที่ไม่ยอมมองข้ามยุทธศาสตร์การอยู่รอด (เช่น ระบบเศรษฐกิจในครัวเรือน) และ ปัจจัยการอนุรักษ์ (เช่น การฟื้นฟูที่ดินพรุ).  เส้นทางนี้ รวมตัวละคร และ ความสนใจอันหลากหลาย, และ ความต้องการของภาคธุรกิจ และ ทำงานในลักษณะต้นแบบจากล่างสู่บน ของการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน ที่ผนวกรวมความพยายามสหสาขาวิชา เพื่อฟื้นชีวิตของมรดกสิ่งแวดล้อมเพื่อคนยุคปัจจุบันและอนาคต.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น