วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

327. สมดุลสามมณฑล : กรอบวิเคราะห์นำมนุษยชาติสู่ทางรอด--๒

327.  Balancing Tri-sphere : An analytical framework guiding humanity’s survival path--2

Sustainable Humanosphere in Global History
Kaoru Sugihara, pp.26-27
มนุษยมณฑลที่ยั่งยืนในประวัติศาสตร์โลก
คาโอรุ ซูกิฮารา
ดรุณี แปล 
วิวัฒนาการของมนุษยมณฑล
สมมติฐานหลักในที่นี้ คือ มนุษยมณฑลปกครองโดยตรรกะที่รองรับสามมณฑลที่แตกต่างกัน.   ภูมิมณฑลโผล่ขึ้นมาเป็นอันดับแรก, ตามมาด้วย ชีวมณฑล, และ ในที่สุด สังคมมนุษย์.  ลำดับนี้มีความสำคัญ คือ สังคมมนุษย์ต้องพึ่งการมีอยู่ก่อนของสองมณฑลแรก.  สมมติฐานนี้ กล่าวว่า ตรรกะที่ขับเคลื่อนแต่ละมณฑลแตกต่างกัน และ ส่วนใหญ่เป็นอิสระจากกันและกัน.
            ประการแรก, โลก, โดยเฉพาะแถบศูนย์สูตร, ได้รับความร้อนในรูปของพลังงานจากดวงอาทิตย์, และถ่ายเทหมุนเวียนไปสู่ส่วนที่เหลือของโลก ถ่ายเทไหลเวียนผ่านชั้นบรรยากาศและกระแสน้ำ.  ตรรกะพื้นฐานของภูมิมณฑล, ที่ขับเคลื่อนการกระจายพลังงานความร้อน, ยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงจากการแทรกแซงของมนุษย์.   ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (การเพิ่มของอุณหภูมิและระดับน้ำทะเล ฯลฯ) คงเป็นความโกลาหลจากน้ำมือมนุษย์ที่ชัดเจนที่สุด, แต่ความรู้สึกต่อผลกระทบมีเพียงในชีวมณฑล และสังคมมนุษย์, แทนที่จะเป็นที่ตรรกะของตัวภูมิมณฑลเอง.
            ประการที่สอง, ตรรกะของชีวมณฑล, ที่มีสรรพชีวิตและการสืบพันธุ์ของพวกมันเป็นศูนย์กลาง, ก็ได้ทำงานอยู่เป็นเวลานานแล้วเช่นกัน, และเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อความยั่งยืนของมนุษยมณฑล.  ชีวมวลปริมาณมหาศาลที่กักเก็บอยู่ในป่าดิบแถบศูนย์สูตร ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ เป็นการสาธิตถึงระบบการกระจายพลังงานของแสงอาทิตย์.  ความหลากหลายทางชีวภาพนี้ ได้ถูกคุกคามมากยิ่งขึ้นโดยโลกาภิวัตน์, แต่ก็ยังคงเป็นพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารโลก ที่มนุษย์ต้องพึ่งเพื่อยังชีพ.  เป็นที่รู้ดีว่า เอเชียอุษาคเนย์ เป็นพื้นที่ทดสอบที่สำคัญยิ่ง ต่อความยั่งยืนของโลกในแง่นี้.
            สุดท้าย, ตรรกะของสังคมมนุษย์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิดที่ว่า สมาชิกของสังคมควรเคารพสิทธิ์ของพวกเขา ในการมีชีวิตอยู่และอนาทร ดูแลกันและกัน, อยู่เบื้องหลังของการอยู่รอดและขยายตัวของสังคมมนุษย์, ทั้งๆ ที่ได้เคยแตกหัก ล่มสลายเพราะความรุนแรง, สงคราม และ ความขัดแย้งอื่นๆ, ตลอดจน การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ, เพศภาวะ และชนชั้น.  มันแสดงออกถึงความสามารถของมนุษย์ในการเกาะกลุ่มและขยายตัวเป็นประชากรใหญ่ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรท้องถิ่น และ ภัยต่อเนื่องของเชื้อโรค.  แต่ในทางตรงข้าม, ปฏิบัติการของมนุษย์ที่ตั้งอยู่บนการตัดสินตามอำเภอใจ และมักจะตามมาด้วยผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจ, เพิ่มเติมธรรมชาติที่คาดการณ์ไม่ได้ของความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม.

องค์ประกอบของ มนุษยมณฑล
ในเชิงประวัติศาสตร์, มนุษยมณฑล ได้สนองความจำเป็นเฉพาะ ๓ ประการ.  ประการแรก, ความอยู่รอดของปัจเจก เป็นหน้าที่รากฐานของ มนุษยมณฑล.  ในสังคมนักล่ากิน-นักเก็บกิน ยุทธศาสตร์อยู่รอดพื้นฐาน คือ สร้างความมั่นคงทางอาหาร, น้ำ และ พลังงาน (มักจะเป็น ชีวมวล), และสำหรับมนุษย์ให้ปกป้องตัวเองได้จากภัยพิบัตธรรมชาติ, โรคติดต่อ และ ภัยคุกคามอื่นๆ (จากสัตว์ และชุมชนมนุษย์กลุ่มอื่นๆ).  พื้นที่ๆ มีเงื่อนไขดังกล่าวครบถ้วน เป็นมนุษยมณฑล, และ ความคิดของการตั้งรกรากถิ่นฐานแยกเฉพาะ และ แดนของการผลิตที่แยกออกจากธรรมชาติแวดล้อม (มักจะเป็นลักษณะ แปลงเพาะปลูก), ซึ่งตามมาภายหลัง, ไม่ได้ขจัดนัยสำคัญของการอยู่รอดของปัจเจก ที่ดิ้นรนต่อสู้กับภัยจากธรรมชาติและมนุษย์เหล่าอื่น.
            ประการที่สอง, มนุษย์จัดตั้งสถาบัน, ซึ่งมักจะอยู่รอบๆ ครัวเรือน หรือ ครอบครัว เพื่อช่วยเหลือให้ผู้อื่นอยู่รอด, ซึ่งเอื้อให้พวกเขาคลอดลูก และ เลี้ยงดูเด็กได้ง่ายขึ้น.  นี่คือ พื้นฐานของการสืบพันธุ์ และ การขยายตัวของสังคมมนุษย์, แม้จะไม่มีเจตนาให้เกิดการขยายตัวเสมอไป.  การสร้างความมั่นคงทางอาหารและดูแลสมาชิกของครอบครัว (ตั้งแต่เด็ก, ถึงคนชราและคนป่วย; ตั้งแต่ทางกาย, ถึงทางจิตใจ และ ความต้องการของสังคม) จำเป็นต้องมีวิธีคิดที่เป็นระบบและครอบคลุมทั้งสังคม เพื่อตอบโจทย์ว่า ทำอย่างไร จึงจะสนองความต้องการของมนุษย์ในทุกๆ ระยะของวงจรชีวิต.  ดังนั้น การแบ่งปันคุณค่าทางสังคมในระหว่างชุมชน, เช่น การให้ความเคารพต่อการมีอยู่ และศักดิ์ศรีของผู้อื่น และ เอื้ออารีดูแลพวกเขา, ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มนุษยมณฑลยั่งยืนต่อไปได้.
            ประการที่สาม, มนุษยมณฑลเกิดเป็นพื้นที่แยกเฉพาะ ได้พัฒนาขึ้นในที่ๆ มนุษย์รักษาความมั่นคงของการ “ยังชีพ”, เช่น อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม และ ที่อยู่อาศัย.   การปฏิวัติเกษตร, ซึ่งต่อยอดจากความสำเร็จก่อนหน้าในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในที่อยู่อาศัย, กล่าวกันว่า เป็นจุดเปลี่ยนเข้าสู่ยุคของการตั้งรกรากอย่างหนาแน่นของชุมชนมนุษย์ต่างๆ.  ในขณะเดียวกัน, การแบ่งแยกแรงงานตามหน้าที่ภายในสังคมท้องถิ่น ได้พัฒนาขึ้นผ่านการขยายตัวของการแลกเปลี่ยน.   อำนาจเริ่มกระจุกตัวในเมือง, และได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางของรัฐมากยิ่งขึ้น.  มณฑล “เศรษฐกิจ” และ “การเมือง” ได้กลายเป็นพื้นที่ๆ กว้างใหญ่ขึ้น และ มองเห็นชัดขึ้น.  วิถียังชีพ กลายเป็นส่วนหนึ่งของ มนุษย์มณฑล; มนุษยมณฑลที่ยั่งยืน เป็นสภาวะที่ตอบสนององค์ประกอบของตรรกะทั้งหมดดังบรรยาย ที่ขับเคลื่อนมณฑลที่แยกกันทั้งสามนี้.

ระบบเศรษฐกิจโลกบนฐานของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
สังคม “ขับเคลื่อนโดยมนุษยมณฑล” เมื่อมรรคาของการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง เป็นไปอย่างสม่ำเสมอกับตรรกะของธรรมชาติ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับตรรกะของภูมิมณฑล (การหมุนเวียนของพลังงานและวัตถุดิบ, การเคลื่อนไหวของกระแสน้ำและอากาศ ฯลฯ) และ ตรรกะของชีวมณฑล (การอนุรักษ์ระบบนิเวศ ด้วยห่วงโซ่อาหารที่เหมาะสม และ ความหลากหลายทางชีวภาพ).
            จวบจนกระทั่ง (ทศวรรษ) 1800s / ๒๓๔๓-, การขยายตัวของประชากรไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดปัญหาใหญ่หลวงต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม, หากเราให้คำนิยามมันว่า โดยพื้นฐาน ธรรมชาติ ถูกปกครองโดยพลังของ ภูมิมณฑล (การไหลเวียนอย่างราบรื่นของพลังงานและวัตถุดิบ ได้ถูกธำรงไว้ให้สอดคล้องกับกลไกการหมุนเวียนของโลก)  และ ชีวมณฑล (ระบบนิเวศ และ ห่วงโซ่อาหาร ทำหน้าที่ด้วยการผนวกรวมการแทรกแซงของมนุษย์ แทนที่จะเป็นไปในทางกลับกัน).  มนุษย์พึ่งแรงงานของตนเองในการผลิตอาหาร (บนแปลงเพาะปลูก) และ พลังงานก็มาจากชีวมวล (หลักๆ มาจากป่า), ตลอดจน จากมนุษย์, สัตว์, น้ำ และ ลม.  การเผาชีวมวล เป็นเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานเพื่อผลิตความร้อนและแสงสว่าง, ตลอดจนการถาง ปราบพื้นดิน.
            แต่, การใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ่านหินและน้ำมัน) ตั้งแต่ปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้เปลี่ยนแปลงถึงระดับรากฐานในความสำคัญเชิงเปรียบเทียบของ ภูมิมณฑล และ ชีวมณฑล, เพราะความสมดุลระหว่าง แหล่งพลังงานที่ขับเคลื่อนโดยภูมิมณฑล และ โดยชีวมณฑล ได้เปลี่ยนไปอย่างน่าตกตะลึง.  ระบบอุตสาหกรรมที่ใช้ทุนเข้มข้น, การใช้เครื่องจักรไอน้ำ และ การพัฒนาระบบรางรถไฟ และ เรือกลไฟ, ได้เพิ่มระดับความสามารถของสังคมมนุษย์ ให้ขุดรีดไถ ทรัพยากรธรรมชาติ และ ขนส่งมันไปยังศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรม และ มวลการบริโภค.  การอุบัติขึ้นของระบบเศรษฐกิจโลกบนฐานของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ได้ทำลายอุปสรรคเชิงภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เปิดทางให้ค้าขาย, และขยายสวนพืชเศรษฐกิจ และ การขุดเจาะเหมืองแร่ ก็เปิดมากขึ้นทั่วพื้นที่นอกซีกโลกตะวันตก.   ดังนั้น สิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างเป็นเอกเทศ, ที่ๆ สังคมท้องถิ่นพึ่งพาทรัพยากร, ได้สึกกร่อนสูญไปเรื่อยๆ.  ในขณะที่ประชากรโลก และ จีดีพี ขยายตัว, แนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไป นำไปสู่การทำลายป่า, ความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม และ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.
            ทุกวันนี้, มูลค่าพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์จากผืนดิน และ ป่า ในโลกการค้า มีความสำคัญน้อยกว่าของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์.  ชีวมวล ยังคงเป็นแหล่งสำคัญของเชื้อเพลิงในประเทศกำลังพัฒนา (ซึ่งมักจะเป็นแหล่งสำคัญยิ่งยวดสำหรับวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น), แต่เมื่อเทียบกันแล้ว ความตระหนักในคุณค่าของชีวมวล ลดลงมากกว่าเมื่อสองศตวรรษก่อน.  ในแง่นี้, ระบบเศรษฐกิจโลกได้ลดความเป็นอินทรีย์ (มีชีวิต, ยืดหยุ่น), มีความเป็นเมืองมากขึ้น และ เชื่อมโยงทั่วโลกผ่านวัสดุ, การขนส่ง และ โครงสร้างพื้นฐาน ที่มนุษย์สร้าง.  ตัวการหลักในการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ ระบบอุตสาหกรรมโลก.   ขอบเขตชายแดนถูกรุกล้ำจนหมด, และ การขยายตัวของประชากรกลายเป็นต้องพึ่งอุตสาหกรรมและการบริการยุคใหม่มากยิ่งขึ้น.  ความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างมนุษย์และชีวมณฑล, ซึ่งเคยเป็นกลไกพื้นฐานของการธำรงประชากรท้องถิ่น ได้ถูกตีแตก และ แทนที่ด้วยโครงข่ายล่องหนของการติดต่อผ่านการค้า และ การถ่ายทอดเชิงเทคโนโลยีและสถาบัน, โดยปราศจากวิธีการที่ยอมรับกันได้ในการประเมินผลพวงเชิงสิ่งแวดล้อมของการกระทำเหล่านี้.

ทางแยกที่ยิ่งใหญ่
เช่นนี้, มรรคาของสังคมมนุษย์ได้ฉีกแยกอย่างมีนัยสำคัญจากแบบแผนเดิมที่มนุษย์ และ ธรรมชาติอยู่ประชิดกัน.  มรรคาการพัฒนาได้เปลี่ยนจาก การขับเคลื่อนด้วยมนุษยมณฑล เป็น การขับเคลื่อนด้วยผลิตภาพ.  ในอังกฤษ และ ส่วนอื่นๆ ของยุโรปตะวันตก, สังคมต่างๆ มีความกังวลมากขึ้นต่อการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน และยกระดับมาตรฐานชีวิต ในตอนต้นยุคสมัยใหม่, ในขณะที่ในเอเชียตะวันออก มีความกังวลต่อการธำรงและเพิ่มผลิตภาพของผืนดิน เพื่อป้อนประชากรมหึมา.  แต่ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ่านหินในอังกฤษ หรือ การขยายตัวของประชากรที่ผิดปกติในจีน ต่างไม่มีผลกระทบอย่างเฉียบขาดต่อประวัติศาสตร์โลก ก่อนที่ระบบอุตสาหกรรมจะได้ซึมเซาะ รุกคืบ แผ่ซ่าน และสร้างผลกระทบที่รู้สึกกันได้ทั่วโลก.  ผลกระทบของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ต่อโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจโลก ยิ่งใหญ่ขนาดที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์และชีวมณฑล ได้กลายเป็นเรื่องชายขอบ ของประเด็นทรัพยากรโลก และ ความมั่นคงทางพลังงาน, ดังที่เราเห็นทุกวันนี้.
            อย่างไรก็ตาม, การฉีกแยกนี้ไม่ได้เป็นเส้นตรง, หรือเส้นทางที่ประวัติศาสตร์มนุษย์เลี่ยงไม่ได้.  ตอนต้นยุคใหม่/ทันสมัย (Modern Period), ในอุษาเอเชีย, ที่ดินขาดแคลนเมื่อเทียบกับประชากร, และ มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้แรงงานเข้มข้น และสถาบันที่ดูดซับแรงงาน.  เมื่อ ญี่ปุ่น, จีน และ ส่วนอื่นๆ ของเอเชียอุษา และ อุษาคเนย์ เริ่มเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมภายหลังเล็กน้อยกว่ายุโรปตะวันตก (เริ่มต้นในญี่ปุ่นตอนปลายศตวรรษที่ 19 และ แพร่หลายไปทั่วภูมิภาคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒), ภูมิภาคก็ได้สร้างระบบอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น.  ส่วนใหญ่แล้ว, ภูมิภาคนี้ ก็ยังพึ่งพลังงานจากชีวมวล มากกว่าที่ยุโรปตะวันตกใช้ในช่วงเริ่มอุตสาหกรรม.  เอเชียยังมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน และ อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเข้มข้นน้อยกว่า.
            ในที่สุด ซีกโลกตะวันตก ได้พุ่งความสนใจไปที่พลังงานเข้มข้น.  ก่อนวิกฤตน้ำมัน ๒ ครั้งในทศวรรษ 1970s, อุตสาหกรรมหนักและเคมี (พร้อมกับอุตสาหกรรมการทหาร ที่นำไปสู่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานเข้มข้น), ได้เห็นมหาอำนาจ (สหรัฐฯ และ สหภาพโซเวียต) ใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นชัดเจน, ในขณะที่หลายๆ ประเทศบนเส้นทางแรงงานเข้มข้น ก็ยังอยู่ในระดับเดิม.  แต่หลังจากทศวรรษ 1970s ก็เริ่มมีการหันเห เบนเข้าบรรจบกัน, ผ่านการเริ่มลดความเข้มข้นในสหรัฐฯ และ ยุโรปตะวันตก, ตลอดจนในจีน, และ ในที่สุดใน (อดีต) สหภาพโซเวียตด้วย.  ความแตกต่างดั้งเดิมระหว่างอุตสาหกรรมทุนเข้มข้น กับอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น เริ่มเอียงจากแบบแผนเก่า, ในขณะที่จุดเน้นเรื่องเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน ได้เริ่มบงการทิศทางของนวัตกรรมเทคโนโลยีโลก.  ดังนั้น เป็นไปได้ที่จะแนะนำว่า เส้นทางอุตสาหกรรมโลก ได้เริ่มขยับตัวจากการใช้พลังงานเข้มข้น สู่การประหยัดพลังงานแล้ว.  มองย้อนหลัง, ในสองศตวรรษของอุตสาหกรรมพลังงานเข้มข้นในภาพรวม อาจมองว่าเป็นการฉีกแยกออกจากเส้นทางที่สมดุล, และมีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากกว่า.
            แน่นอน, นิทานเรื่องการใช้พลังงานเข้มข้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าที่ใหญ่โตกว่า ในการสถาปนาวิถีโลกที่ยั่งยืนเชิงสิ่งแวดล้อม.  มันจะต้องรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในความสำคัญเปรียบเทียบระหว่าง แหล่งพลังงานที่มาจากภูมิมณฑล และ จากชีวมณฑล (และสะอาด), ความเคารพเต็มที่ต่อตรรกะของภูมิมณฑล และ ชีวมณฑล (เช่น การพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรตั้งอยู่ในทิศทางมุ่งสู่ความห่วงใยต่อความยั่งยืน), และการจัดเรียงกระบวนของสังคมมนุษย์ใหม่ ให้เข้ากับความยั่งยืนที่ธรรมชาติเรียกร้อง.  เมื่อไรที่มีการสถาปนามุมมองดังกล่าว, อุตสาหกรรมจะได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวหมากเชิงบวกที่แท้จริงของประวัติศาสตร์โลก.

เอเชียอุษาคเนย์                  
ในทศวรรษ 1950, ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียอุษาคเนย์ เป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบยอดเยี่ยม.  ถึงตอนปลายศตวรรษที่ 20, อาเซียน ๔ ได้กลายเป็นผู้ส่งออกสินค้าโรงงานแรงงานเข้มข้น และ สั่งเข้าสินค้าโรงงานทุนเข้มข้น.  ด้วยการเดินตามเกาหลีใต้และไต้หวัน, เกิดการขยับตัวอย่างกระทันหันสู่อุตสาหกรรมส่งออกในทศวรรษ 1970s และโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 1980s.  ค่า จีดีพี ที่มาจากผลผลิตจากโรงงาน และ การจ้างงาน ต่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้จะต่างในเวลาและรายละเอียด.  ตลอดทั้งกระบวนการนี้, การตัดไม้ทำลายป่า และความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ชักนำโดยระบบอุตสาหกรรมและโลกาภิวัตน์ เป็นข้อห่วงใยอย่างแรงของทั้งชุมชนท้องถิ่น และ นักสิ่งแวดล้อม.  เมื่อเร็วๆ นี้, การตัดไม้ทำลายป่าได้ดึงดูดความสนใจในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ.
            ดังนั้น, เพื่อหวนกลับไปที่คำถามเปิดประเด็น, ในการเปรียบเทียบกับประสบการณ์เชิงประวัติศาสตร์ของภูมิภาคอื่นๆ ในมิติเหล่านี้แล้ว เอเชียอุษาคเนย์ ทำได้แย่กว่าหรือไม่?  ตรงข้ามกับเหล่าประเทศตะวันตกที่ก้าวหน้าไปไกล, ที่ได้ใช้ถ่านหินในครัวเรือนนานมาแล้ว, อาเซียน ๔ ใช้พลังงานชีวมวลในปริมาณมากในบริบทนอกการพาณิชย์ ในช่วงเวลาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม, ซึ่งเพิ่มจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าและสวนพืชเศรษฐกิจ.  ทรัพยากรเหล่านี้ถูกใช้, ซึ่งมักจะปราศจากความห่วงใยต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม.  ในขณะเดียวกัน, การใช้พลังงานพาณิชย์ (ถ่านหิน, น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ และ ไฟฟ้า) ได้เพิ่มสูงขึ้น, แต่ประสิทธิภาพของพลังงาน (วัดด้วยปริมาณบริโภคพลังงานพาณิชย์ หารด้วย จีดีพี) ของอาเซียน ๔ และ สิงคโปร์ ในภาพรวม ยังสมเหตุสมผลอยู่.  แต่ปัจจัยเหล่านี้ รวมกันแล้ว ไม่พอเพียงที่จะสนองอุปสงค์/ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว, และ การนำเข้าน้ำมันของเอเชียอุษาคเนย์ จากนอกภูมิภาค ได้พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ.  สรุปในแง่การใช้พลังงานและทรัพยากร, ภูมิภาคนี้เริ่มลดการพึ่งตัวเองลงเรื่อยๆ.
            ไม่มีแง่มุมใดตามที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า เอเชียอุษาคเนย์ทำได้ล้ำเลิศกว่าภูมิภาคอื่น, ทันทีที่ฝีก้าวของการพลิกโฉมกลายเป็นโจทย์.  สิ่งที่พิเศษเฉพาะคือ, หลังจากที่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้เกิดขึ้น, ภูมิภาคนี้ ก็ยังมีชีวมวลที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพที่ไม่มีใครเทียบได้.  บางส่วนของชนบทเอเชียอุษาคเนย์ ยังคงขับเคลื่อนด้วย มนุษยมณฑล แทนที่จะขับเคลื่อนด้วย ผลิตภาพ.  ไม่ว่าเราจะสรุปได้หรือไม่ว่า ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม จะต้องเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระยะยาวนั้น เป็นสิ่งท้าทายใหญ่หลวง ทั้งสำหรับภูมิภาค และ สำหรับโลกทั้งมวล.  คำตอบต่อคำถามข้อนี้ จะตัดสินอนาคตของเอเชียอุษาคเนย์, และ ในที่สุด จะปรุงแต่งรูปแบบของการพัฒนามนุษย์ในภูมิภาค และ ในโลก.


โลก
๔.๕๖ พันล้านปีก่อน





สิ่งมีชีวิต
๔ พันล้านปีก่อน


ผลกระทบของ
ชีวมณฑล



พืช, สัตว์ และ รา
๕๙๐-๕๗๐ ล้านปีก่อน




สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
๒๕๐ ล้านปีก่อน

สายพันธุ์มนุษย์
๒๐๐,๐๐๐ ปีก่อน




ผลกระทบของ
มนุษยมณฑล

ผลกระทบของ
มนุษยมณฑล


ปฏิวัติเกษตร




ปฏิวัติอุตสาหกรรม
ภูมิมณฑล
ชีวภูมิ
สังคมมนุษย์
วิวัฒนาการเชิงประวัติศาสตร์ของมนุษยมณฑล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น