วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

333. ฟรี! ความรู้อาหารต้านโรค

333.  ฟรี!  ความรู้อาหารต้านโรค





โครงการ “น้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”


โครงการน้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย   มีข่าวดีสำหรับผู้สนใจพัฒนาตนเอง ให้เป็นนักธรรมชาติบำบัดที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ของการปรุงอาหารให้สมดุล  ถึงขั้นสามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วยโรคอันเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย  เช่น เบาหวาน, ความดัน, ไขมัน ตลอดจนมะเร็ง  โดยอาหารดังกล่าวจะช่วยซ่อมแซมให้ร่างกายต่อสู้ต้านทานโรคเองได้
             โครงการน้ำท่วมกินผัก  เป็นโครงการจิตอาสา ที่ต้องการกระจายองค์ความรู้ อาหารต้านโรคสู่ชุมชนทั่วประเทศ    องค์ความรู้อาหารต้านโรคนี้  เป็นผลจากการค้นคว้าพัฒนากว่า ๗ ปีของ  ชมรมรักสุขภาพ (Health Club 6009)  จนตกผลึกเป็นชุดเมนูอาหาร ๑๔ วัน    ซึ่งได้ทำให้สมาชิกของชมรมรักสุขภาพ หายจากโรคอันเกิดจากความเสื่อมของร่างกายจนเป็นที่น่าพอใจ

ความแตกต่างระหว่างโครงการน้ำท่วมกินผักกับโครงการอื่น
1)      หลักการรักษาทั่วไป มี 2 แบบ คือใช้สิ่งตรงข้าม  และสิ่งเหมือนกันรักษา  ต้องใช้หมอตรวจร่างกาย  แต่ของเราใช้ความสมดุลรักษาไม่ต้องใช้หมอ  à ขยายงานได้กว้างขวางรวดเร็วกว่าทั่วประเทศ
2)      องค์ประกอบหลักของการบำบัดโรคอยู่ในที่เดียวกัน (ประหยัด, สะดวก, รวดเร็ว,เปรียบเสมือนมีโรงพยาบาลเล็กๆ กระจายทั่วประเทศ)  ในหมู่บ้านมี
1.      ผู้ป่วย
2.      อสม. หมู่บ้าน (หรือชาวบ้านรักษากันเอง à นักธรรมชาติบำบัด)
3.      เกษตรกร
3)      เกิดรายได้เลี้ยงโครงการได้เอง  โดยไม่ต้องพึ่งทุนจากภายนอก
1.      ผู้ป่วย                  จ่ายเพิ่มจากราคาตลาด  บาท/มื้อ
2.      อสม หมู่บ้าน          รายได้  15,000 -20,000 บาท/เดือน
3.      เกษตรกร              รายได้เพิ่ม 2 เท่า 5% ค่าบริหารโครงการหรือ ตามศรัทธา
4)      โครงการสามารถดำเนินการให้สำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว (4-6 เดือน)
5)      ระยะเวลาการบำบัดสั้น
1.      โรคความเสื่อมของร่างกาย  14 วัน  เห็นผล
2.      มะเร็ง  30 วัน  เห็นผล เปลี่ยนดีขึ้นชัดเจน
6)      เป็นธรรมชาติบำบัด  บำบัดโรคที่ต้นเหตุ  หายขาดจากโรค
7)      สามารถสร้างเมนูอาหารตามแบบพื้นบ้าน  อร่อยและบำบัดโรคได้ (ไม่จืดชืด,  ไม่จำเป็นต้องเป็นมังสวิรัติ)  นั่นคือ  สามารถทานได้อย่างยั่งยืน
8)      สามารถใช้การวัดผลทางกายภาพ  19  ข้อ  แทนการตรวจเลือดได้  ประหยัดค่าใช้จ่าย และค่าเดินทาง
9)      เพิ่มรายได้ชุมชนในชนบทอย่างแท้จริง à ลดความเหลื่อมล้ำได้จริง
10)  เกิดกิจกรรมมากมายตามมา (ดูเอกสารแนบ)  โดยเฉพาะหากทำให้เสร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว  อาจสามารถสร้างชุมชนพลเมืองใหม่ à ประเทศไทยใหม่ (เศรษฐกิจพอเพียง)
11)  โครงการฯ ลักษณะนี้  จะเป็นทิศทางการบำบัดโรคที่สำคัญในอนาคต
12)  โครงการนี้ใช้เงินเพียง  10,000 20,000  ล้านบาท  สามารถบำบัดโรคเรื้อรังอันเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย  ให้เกิดผลกับผู้ป่วย 10 ล้านคนได้ทั่วประเทศ  และในระยะยาวประชาชนจะรู้วิธีทานอาหารให้เป็นยา (คาดว่า  6  เดือน  หลังโครงการเริ่มจะกระจายความรู้อย่างทั่วถึง  ทั่วประเทศ)

ผู้สนใจสามารถสมัครขอรับถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ได้ฟรี  โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
-                   เป็นผู้มีจิตสาธารณะ ต้องการใช้ความรู้นี้  ช่วยเหลือผู้ป่วยดังกล่าว  โดยส่งชื่อผู้ป่วยที่สนใจจะรับการบำบัดด้วยอาหารต้านโรคนี้ อย่างน้อย ๕ ท่าน
-                   สำรวจและส่งรายชื่อเกษตรกรอินทรีย์ / ปลอดสาร  ในละแวกใกล้เคียง  ที่ท่านมีความมั่นใจในคุณภาพผลผลิต และจะซื้อวัตถุดิบ มาใช้ประกอบอาหารดังกล่าว
-                   ผู้มีประสบการณ์ทำอาหารมาก่อน  จะได้รับพิจารณาพิเศษ

ผู้สนใจ สามารถติดต่อขอใบสมัคร และ รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  
คุณดรุณี         084-130-2574
คุณพีรพงศ์      081-555-8816
คุณสุภชัย       091-995-4654

คุณบุญล้อม     080-010-1472

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

332. สมดุลสามมณฑล : กรอบวิเคราะห์นำมนุษยชาติสู่ทางรอด--๗

332.  Balancing Tri-sphere : An analytical framework guiding humanity’s survival path--7

Humanosphere Potentiality Index
Takashiro Sato, et al., pp.32-33
             ดัชนีศัยภาพของมนุษยมณฑล
             ทาคาชิโร ซาโตะ
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
หลายๆ ประเทศที่เรียกกันว่า ประเทศพัฒนาแล้ว ได้กำหนดเป้าหมายสังคมอย่างคับแคบว่าเป็นการผลิต และ การเพิ่มผลิตภาพ.  ภายใต้โลกทัศน์ที่มีการผลิตเป็นศูนย์กลาง, ค่า จีดีพี (หรือ จีเอ็นพี) ต่อหัว ได้ถูกอุปโหลกให้เป็นตัวชี้วัด โดยนิตินัย ของความมั่งคั่งของพลเมืองมานาน แม้ว่าจะมีการชี้ให้เห็นถึงปัญหามากมาย.  ตั้งแต่เริ่มทศวรรษ 1990s (๒๕๓๐-), องค์กรต่างๆ ได้พยายามพัฒนาดัชนีแทนที่ จีดีพี และ เพื่อประเมินสถานภาพของโลกจากจุดยืนของกรอบคิดใหม่ เช่น “ความยั่งยืน” หรือ “การพัฒนามนุษย์”.  อย่างไรก็ดี, ยังไม่มีดัชนีใดที่พัฒนาขึ้นที่วางกิจกรรมของมนุษย์ให้อยู่ในบริบทของวงจรการไหลเวียนของบรรยากาศ-กระแสน้ำ หรือ สมรรถนะของสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่างๆ ของโลก.

เพื่อขานรับแนวโน้มปัจจุบันของการพัฒนาดัชนี ที่ใช้อ่านสถานภาพของโลกได้, พวกเราได้พัฒนา ดัชนีศักยภาพของมนุษยมณฑล (Humanosphere Potentiality Index, HPI), โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อชูประเด็นสวัสดิภาพของสังคมมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต ภายในบริบทกว้างขึ้นของความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม.  มุมมองนี้ งอกมาจากกรอบคิดของ “มนุษยมณฑล”, ดังที่ได้อธิบายในบทนำของ โฟกัส ฉบับนี้, ซึ่งได้แสดงออกถึงความไม่พอใจของเราต่อข้อจำกัดของการวัดสถานภาพของสังคมมนุษย์ ผ่าน ค่าดัชนีพัฒนามนุษย์ (Human Development Index, HDI).

มนุษยมณฑล: กรอบวิเคราะห์เพื่อประเมินศักยภาพของมนุษยมณฑล
มนุษยมณฑล ประกอบด้วยสามมณฑลที่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา นั่นคือ ภูมิมณฑล, ชีวมณฑล และ สังคมมนุษย์.  ทั้งสามมณฑลนี้ ตามประวัติศาสตร์ ได้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง และ เป็นข้อมูลรองรับแหล่งที่ของเราทุกวันนี้ในโลก, ในขณะเดียวกัน ต่างก็มีตรรกะฝังในตัวเองของแต่ละมณฑล.  ภูมิมณฑล อยู่ในรูปของ “กระแสการไหลเวียน” (circulation), ชีวมณฑล อยู่ในรูปของ “ความหลากหลาย” (diversity) และ สังคมมนุษย์ อยู่ในรูปของ “เอกเทศและความเห็นใจ” (autonomy and empathy) (รูปที่ ๑).   ในการทำงานสู่มนุษยมณฑลที่ยั่งยืน, เราเชื่อว่า สังคมมนุษย์จำเป็นต้องยอมรับ หลักการพื้นฐาน ๒ ข้อ กล่าวคือ สังคมมนุษย์ได้พัฒนาผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับทั้งภูมิมณฑล และ ชีวมณฑล; และ จำเป็นที่จะต้องรื้อถอนและสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับทั้งคู่ ด้วยการทำความเข้าใจถึงการทำงานขอตรรกะของทั้งสองมณฑล ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมมนุษย์.
          ความตั้งใจเชิงยุทธศาสตร์ของเรา คือ นำเสนอทางเลือกแทน HDI.  ในปี ๒๕๓๓, UNDP ได้ประกาศใช้ HDI ด้วยความตั้งใจจะให้เป็นทางเลือกของ จีดีพี (จีเอ็นพี).  ดัชนีนี้ ตั้งอยู่บนทฤษฎีที่รู้จักกันในนามของ แนวทางความสามารถ (Capability Approach)—สิ่งที่ปัจเจกมีความสามารถทำได้—สนับสนุนโดยนักเศรษฐกศาสตร์ อมาตยา เค.เซน.  HDI เป็นผลลัพธ์ของการคำนวณเฉลี่ยสามค่าของการพัฒนามนุษย์ : ความสามารถในด้านสุขภาพ, การศึกษา และ รายได้.  เราขอเสนอมุมมองต่างจาก HDI.  HPI ไม่ได้เป็นเพียงความพยายามง่ายๆ เพื่อสวนทางกับภาพที่ฉายผ่าน HDI, และไม่ใช่เป็นเพียง “มุมมองเพิ่มเติม”.  แต่ HPI พยายามประเมินศักยภาพของ ภูมิมณฑล, ชีวมณฑล และ สังคมมนุษย์ เพื่อรองรับวิถีชีวิตของเราผ่านกรอบตรรกะที่ได้นิยามไว้อย่างชัดเจน.  ผลคือ เราช่วยขยายมุมมองของ HDI.


รูปที่ ๑: ตรรกะของสามมณฑล


ภูมิมณฑล

ชีวมณฑล

สังคมมนุษย์

ตรรกะขับเคลื่อน

















เอกเทศ และ ความเห็นใจ


à

ความเอื้ออาทร
















ความหลากหลายของชีวิต

ความหลากหลายของมนุษยนิเวศ, สังคม และ วัฒนธรรม

à

ความหลากหลาย













การไหลเวียนของ อากาศ และ น้ำ

การไหลเวียนของวัตถุดิบ และ พลังงาน ผ่านห่วงโซ่อาหาร

การไหลเวียนของวัตถุดิบ และ พลังงาน ผ่านเทคโนโลยี

à

การไหลเวียน






















         หากเราพิจารณา HDI จากมุมมองของ HPI เราจะเห็นได้ว่า มันเน้นที่การประเมิน การประสบความสำเร็จในการมีวิถีชีวิต
ที่ “ดีกว่า” ที่ “เป็นเอกเทศ”.  HDI ก็ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า จำเป็นที่ปัจเจกชนต้องเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐาน (สุขภาพ, การศึกษา และ รายได้) และ ร่วมกันสร้าง และ แสวงหาคุณค่าในชีวิตของตน.  HPI ยืดมุมมองของการประเมิน ด้วยการรวมศักยภาพสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าไปด้วย.   แนวทางนี้ ได้รับการยอมรับให้พิจารณาวิธีปฏิบัติในการดูแลของสังคมมนุษย์ และ ความสามารถพื้นฐานในการเห็นอกเห็นใจกัน.  ในที่สุด, จะเป็นการประเมินที่ระบุ แกนตรรกะของการไหลเวียนในภูมิมณฑล และ ความหลากหลายในชีวมณฑล.  ดังที่เราจะแสดงให้เห็น, เมื่อมอง HDI ผ่านมุมขยาย บนฐานของชั้นตรรกะดังกล่าว, ความสัมพันธ์และมุมมองต่างที่คาดไม่ถึง ก็เริ่มเด่นชัดขึ้น.

การคำนวณ HPI
จากโครงการห้าปี, ทีมนักวิจัยทำงานในเอเชียและอาฟริกา ได้สร้างองค์ประกอบของ HPI ขึ้น (รูปที่ ๒).  เราได้สร้างดัชนี ๙ ตัว ซึ่งกระจายเป็นดัชนี ๓ x ๓ แสดงออกเป็นตัวชี้วัด ศักยภาพ, ความมีอยู่ และ ความอลหม่าน ในแต่ละมณฑล.  ดัชนีศักยภาพของเรา อ้างถึงมาตรเชิงปริมาณ ที่แต่ละมณฑลเป็นเจ้าของ, ในขณะที่ ดัชนี ความมีอยู่ พยายามนำเสนอ สัมพันธภาพที่ “ถูกต้อง สมควร” ของปัจจัยต่างๆ ที่ก่อประกอบเป็นแต่ละมณฑล.  ดัชนทั้งสองตัวนี้ แสดงออกในรูปของ คุณค่า/มูลค่าต่อหน่วยพื้นที่.   ดัชนีความอลหม่าน เป็นผลกระทบด้านลบจากฝีมือมนุษย์ ที่เกิดขึ้นในสองมณฑล.  เราหักค่านี้ เพื่อปรับศักยภาพในแต่ละมณฑล, โดยคำนึงถึงสังคมมนุษย์ยุคใหม่.  เช่นนี้, ดัชนีความอลหม่าน แสดงออกโดยใช้ ค่าต่อหัว, ไม่ใช่ ค่าต่อหน่วยพื้นที่ของที่ดิน.


รูปที่ ๒: โครงสร้างของ HPI

ดัชนี
ภูมิมณฑล

ชีวมณฑล

สังคมมนุษย์














ดัชนี ศักยภาพ
พลังงานแสงอาทิตย์

ชีวมวล

ประชากร
















ดัชนี ความมีอยู่
การไหลเวียนของ อากาศ และ น้ำ

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความสัมพันธ์ในการดูแลกัน















ดัชนีความอลหม่าน
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์

การผลิตปฐมภูมิสุทธิ ที่มนุษย์เป็นผู้จัด

ความตายที่ไม่ได้คาดไว้
























          เราได้เลือกตัวชี้วัด ๓ ตัวให้เป็นตัวแทนของ ภูมิมณฑล นั่นคือ พลังงานแสงอาทิตย์, การไหลเวียนของบรรยากาศ-กระแสน้ำ (เป็นดัชนีศักยภาพและดัชนีความมีอยู่), และ การปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เพื่อแสดงถึงตรรกะของการไหลเวียน, ซึ่งทุกตัวมีฐานข้อมูลทางการที่เข้าถึงได้.  ในทำนองเดียวกันสำหรับ ชีวมณฑล, ได้ใช้ ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ และ ดัชนีการผลิตปฐมภูมิสุทธิด้วยน้ำมือมนุษย์ (Human Appropriated Net Primary Production, HANPP) เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์. 
          ชีวมวล มีตัวแทนเป็น ชีวมวลป่าต่อหน่วยพื้นที่ เพราะ ป่า มีชีวมวลเกือบ 90% ของชีวมวลจากพืชพรรณทั่วโลก.  ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ ประเมินค่าความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศบนบก ซึ่งตั้งอยู่บนจำนวนสายพันธุ์ของพืชที่มีท่อน้ำเลี้ยง, สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก, สัตว์เลื้อยคลาน, นก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม.  HANPP ในฐานะดัชนีความอลหม่าน อธิบายถึง หน่วยการจัดสรรต่อหัวของกิจกรรมมนุษย์เพื่อการผลิตปฐมภูมิสุทธิ.
          ในการสร้างดัชนีสำหรับสังคมมนุษย์, เราได้ใช้ประชากร, ความสัมพันธ์ในการดูแลกัน, และ ยอดรวมความตายที่ไม่ได้คาดไว้.  ดัชนีเหล่านี้ สะท้อนความคิดที่ว่า ลักษณะของสังคมมนุษย์ มีตรรกะพื้นฐาน ๒ ประการ, กล่าวคือ ความเป็นเอกเทศ และ ความเห็นอกเห็นใจกัน (autonomy and empathy) ที่เป็นพื้นฐานให้สามารถมีความสัมพันธ์เชิงดูแลกันได้.   เราเลือกประชากร เป็นดัชนีศักยภาพ เพราะสังคมมนุษย์ทั้งหมด แสดงความอดกลั้นและความเกรงใจต่อกันและกัน.  เช่นนั้น, ขนาดของประชากรก็เป็นตัวแทนของขนาดศักยภาพของความสัมพันธ์ในการดูแลกันและกัน.  เราได้คำนวณความสัมพันธ์เชิงดูแลกัน ผ่านสองอย่าง: อย่างแรก คือ การแบ่งปันที่อยู่อาศัย, ซึ่งแสดงออกถึงศักยภาพการเข้าถึงการดูแลกัน ในครัวเรือน, และ สัดส่วน เพศหญิงต่อเพศชาย, ซึ่งแสดงออกถึงความเสมอภาคเชิงเพศภาวะระดับพื้นฐานในความสัมพันธ์เชิงดูแลกันในครัวเรือน.  ยอดรวมความตายที่ไม่คาดคิด เป็นการรวมจำนวนความตายจากการกระทำของ ภูมิมณฑล (ภัยพิบัติ), ชีวมณฑล (เชื้อโรคติดต่อ), และ สังคมมนุษย์ (การทำให้บาดเจ็บอย่างจงใจ).
          ในแต่ละมณฑล, ตัวเลขทั้งสาม ที่แสดงออกถึง ศักยภาพ, ความมีอยู่ และ ความอลหม่าน จะถูกผนวกรวมเป็นส่วนประกอบของดัชนี, ด้วยการเฉลี่ยดัชนีทั้งสามง่ายๆ.  HPI เป็นดัชนี integrated ด้วยการเฉลี่ยดัชนีทั้งสามตัวนี้.

HPI และ HDI
รูปที่ ๓ เป็นตัวแทนของโลก จากมุมมองของ HPI.  ประเทศที่มีค่า HPI สูงกว่า มีศักยภาพในการพัฒนาที่ยั่งยืนสูงกว่าประเทศที่มีคะแนนต่ำกว่า.  มันแสดงให้เห็นว่า ดัชนีสำหรับเขตศูนย์สูตร ของเอเชียอุษาคเนย์ และ ลาตินอเมริกา ล้วนมีค่าสูงเท่าค่าในเอเชียใต้, อาฟริกากลาง และ บางส่วนของตะวันออกกลาง.  ในประเทศที่มีค่ HPI สูงสุด, ค่าดัชนีสังคมมนุษย์อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย, นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ว่า ดัชนีของ ภูมิมณฑล และ ชีวมณฑล โดยทั่วไปก็สูงด้วย.  ดัชนีสังคมมนุษย์ เป็นตัวแรกที่ทำให้ค่า HPI สูง ในบางประเทศของตะวันออกกลาง.

รูปที่ ๓: HPI (Humanosphere Potentiality Index)
    
รูปที่ ๕ความสัมพันธ์ระหว่าง 
HDI (แกน y) 
HPI  (แกน x)
ประเทศ
-แถบศูนย์สูตร (r = 0.366**
-แถบอบอุ่น     (r = -0.512**)




รูปที่ ๔:  HDI (HumadevelopmenIndex)     0      0.2    0.4    0.6     0.8
                                                                         Human Development Index (HDI)           

          รูปที่ ๔ แสดงให้เห็นโลกที่มองผ่าน HDI.  ด้วยการใช้ค่า HDI สำหรับปี ๒๕๔๘, ประเทศใน อนุภาคซาฮาราในอาฟริกา, เอเชียใต้ และ เอเชียอุษาคเนย์ อยู่ในระดับต่ำ, ในขณะที่ อเมริกาเหนือ, ยุโรปตะวันตก, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์—ซึ่งล้วนแสดงว่ามีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับสูง, อายุขัยเฉลี่ยยืนยาว และ อยู่ในโรงเรียนนานกว่า—อยู่ในระดับสูง.
          เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขทั้งสอง, จะเห็นช่องว่างชัดเจนระหว่างค่า HPI และ HDI.  เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีทั้งสอง ด้วยการจัดประเภทโลก (๑๑๕ ประเทศ) เป็นแถบอบอุ่น (temperate zone, ๖๐ ประเทศ) และ แถบศูนย์สูตร (๕๕ ประเทศ), ขอให้เราแสดงความสัมพันธ์ที่มีอยู่ ระหว่าง HDI ในปี 2005/๒๕๔๘ และ HPI (รูปที่ ๕).  จะเห็นได้ชัดว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างดัชนีทั้งสองตลอดทั่วทั้งโลก.  แต่พอตวจสอบด้วยการหาความสัมพันธ์ระหว่าง HDI และ HPI ในที่ แถบศูนย์สูตร และ แถบอบอุ่น, ก็ปรากฏชัดขึ้นว่า แถบศูนย์สูตรมีความสัมพันธ์บวกอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่แถบอบอุ่น มีความสัมพันธ์ลบอย่างมีนัยสำคัญในระดับ 0.01.  พูดง่ายๆ, ทั้งสองแถบ มีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามชัดเจน.
          ความแตกต่างนี้บอกอะไรแก่เรา?   ประการแรก, ในแถบศูนย์สูตร—ที่มีความสัมพันธ์บวกระหว่าง HPI และ HDI—เราเห็นได้ว่า ในบรรดาดัชนีทั้งสามตัว มีความสัมพันธ์อย่างแรงระหว่างดัชนีชีวมวล และ ค่า HDI (r=0.491***).  พอตรวสอบในรายละเอียดขององค์ประกอบแต่ละตัว, ก็ปรากฏชัดว่า พื้นที่ศูนย์สูตรที่มี HDI สูง เป็นพื้นที่ๆ มีชีวมวลมาก (0.351**) และความหลากหลายทางชีวภาพ (0.338**); มีการไหลเวียนของบรรยากาศ-กระแสน้ำเพียงพอ (0.357**); และปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์น้อยกว่า (0.609**).   รายงานการประเมินระบบนิเวศสหัสวรรษ, กระทำโดยสหประชาชาติ ตั้งแต่ ๒๕๔๔-๒๕๔๘, ใช้กรอบคิดของ “การบริการเชิงนิเวศ”, และ ความเชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศ และ ความอยู่ดีมีสุขของเรา ก็ถูกประเมินด้วย.   องค์ประกอบใจกลางของกรอบคิดนี้ อ้างถึงผลประโยชน์ที่เราได้รับจากระบบนิเวศ, รวมทั้งผลประโยชน์ เช่น การให้บริการ, การกำกับการบริการ, การบริการเชิงวัฒนธรรม, และการบริการเกื้อกูล.   ความสัมพันธ์ที่สังเกตได้ระหว่าง HDI และ ปัจจัยองค์ประกอบของ HPI ในแถบศูนย์สูตร สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่บรรยายเป็น การบริการของระบบนิเวศ ระหว่างสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และ สังคมมนุษย์.
          ประการที่สอง, แถบอบอุ่น แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ลบ ระหว่าง HPI และ HDI.  ในส่วนประกอบของ HPI, ความสัมพันธ์ลบระหว่าง ภูมิมณฑล (-0.582**), ดัชนีองค์ประกอบชีวมณฑล (-0.241**) และ HDI มีนัยสำคัญ.  เมื่อตรวจสอบส่วนประกอบเฉพาะในดัชนีองค์ประกอบอย่างแยกแยะ, พั้นที่แถบอบอุ่น ที่มีคะแนน HDI สูง จะมีลักษณะของพลังงานแสงอาทิตย์น้อย (-0.517**), ความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ (-0.250* ), การไหลเวียนของบรรยากาศและกระแสน้ำ สูง (0.426**) และ ชีวมวลอุดมสมบูรณ์ (0.399**).   แถบนี้ยังมีแนวโน้มปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูง (0.612**)  และมีค่า HANPP สูง (0.386**), ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความอลหม่านระดับสูงทั้งใน ภูมิมณฑล และ ชีวมณฑล.
          มีแนวโน้มยกระดับการดำเนินไปให้เข้าจังหวะพร้อมกันระหว่าง HPI และ HDI ในแถบศูนย์สูตร แต่, การที่มันหายไปในแถบอบอุ่น เป็นการค้นพบที่น่าสนใจ.  อย่างไรก็ตาม, เราได้สังเกตเห็นความสัมพันธ์ชัดเจนในประเทศต่างๆ ระหว่าง HDI และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ทั้งในแถบศูนย์สูตร และ แถบอบอุ่น.  โดยพื้นฐาน, นี่ย่อมหมายความว่า ประเทศที่ HDI อยู่ในระดับสูง  มีส่วนทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง ไม่ว่าประเทศเหล่านั้นจะอยู่ที่ใด.

แสวงหามนุษยมณฑลที่ยั่งยืน
จุดประสงค์ของงานของเรา คือ สร้าง และ นำเสนอวิธีการคำนวณค่า HPI ด้วยการผนวกรวมดัชนีอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น HDI เป็นต้น.  ลักษณะสำคัญที่สุดของ HPI คือ มันนำเสนอผลการประเมินด้านบวกของเขตศูนย์สูตร, เช่น เอเชียอุษาคเนย์, ที่อยู่ของบางระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด.   ด้วยการเปรียบเทียบ ค่า HDI และ HPI, ก็เริ่มเห็นได้ชัดว่า ค่าประเมินของแถบศูนย์สูตรโดดเด่นกว่าเพื่อน.  นี่ย่อมมาจากมุมมองที่ต่างกันในการประเมิน: HDI ประเมิน ๓ มิติ เช่น สุขภาพ, การศึกษา และรายได้, พร้อมทั้งเน้นที่ “ความเป็นเอกเทศ” ในการบรรลุ วิถีชีวิต “ที่ดีกว่า” (นั่นคือ การพัฒนามนุษย์)—ในขณะที่ HPI เน้นที่คุณค่า ของวิถีชีวิต ที่ผนวกรวม การไหลเวียน และ ความหลากหลาย, ความเป็นเอกเทศและความเห็นใจ.  เมื่อความมั่งคั่งทางวัตถุเพิ่ม, เรามีแนวโน้มที่จะคิดว่า ประเทศที่อยู่ในแถบอบอุ่น, เช่น ประเทศในซีกโลกตะวันตก และ ญี่ปุ่น, มีชีวิตที่ล้นเหลือ ในขณะที่ ประเทศในแถบศูนย์สูตร ที่ตั้งอยู่ในเอเชียอุษาคเนย์ และ อาฟริกา, จมอยู่ในควสมยากจน.  แต่ ความเชื่อฝังหัวเหล่านี้ ถูกตั้งคำถามได้ด้วยการถามว่า ในแง่ไหนที่เราได้มีชีวิตที่ “น่าพึงพอใจ” ที่แท้จริง?   ชีวิตดังกล่าวเหล่านั้น จะประกันได้ไหมว่า วิถีชีวิตของเราจะยั่งยืน?  HPI ของเราตั้งคำถามเหล่านี้.
          ดัชนีของเรา ให้เพียงเสี้ยวของความจริงที่สะท้อนความก้าวหน้าที่ผ่านมาถึงเพลานี้.  เราไม่สามารถพยากรณ์แนวโน้มของพื้นที่ป่าลดลง และ เราก็ไม่สามารถเสนอ หรือ ประเมินเทคโนโลยีในอุดมคติ หรือ โครงสร้างเฉพาะสำหรับสถาบันในภูมิภาคต่างๆ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ.  เช่นนี้, HPI มีข้อจำกัด ที่ในที่สุดก็ยังเป็นดัชนีดิบ/หยาบ.  แต่ มันได้ช่วยให้เรานำ การชี้วัด ถึงสถานการณ์ปัจจุบันของโลก ในลักษณะที่ครอบคลุมกว้างขึ้น และเข้าใจง่ายขึ้น ด้วยการแสดงวาระที่ไม่ได้รวมอยู่หรือกล่าวถึงเลยใน HDI.
          HPI เน้นสาส์นสำคัญที่ว่า เราจะต้องให้ความสนใจไม่เพียงด้านการพัฒนา แต่ต้องคำนึงถึง “ศักยภาพ” ของเราด้วย จากมุมมองของมนุษยมณฑล, เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับสังคมมนุษย์ทั้งหมด.  ในที่สุด, โลกที่มองผ่านดัชนี เช่น HPI, นำเสนอมุมมองที่ทำให้เราคิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ ภายในบริบทที่กว้างและลึกกว่ามาก, ของ “มนุษยมณฑลที่ยั่งยืน”.