วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

147. นาฬิกาชี้ขาดชะตากรรมของมนุษยชาติ


End Near? Doomsday Clock Holds at 5 'Til Midnight
By Live Science Staff | LiveScience.com – 13 hrs ago
จุดวาระสุดท้าย?  นาฬิกาวันมหาวินาศบอกว่า อีก 5 นาทีจะถึงเที่ยงคืน
โดย ทีมวิทยาศาสตร์สิ่งชีวิต

The hands of the infamous "Doomsday Clock" will remain firmly in their place at five minutes to midnight — symbolizing humans' destruction — for the year 2013, scientists announced today (Jan. 14).
เข็มสั้นยาวของนาฬิกา “วันมหาวินาศ” อันเรืองนาม ยังแช่อยู่ที่ ห้านาทีก่อนเที่ยงคืน—สัญลักษณ์การทำลายล้างโดยน้ำมือมนุษย์—สำหรับปี 2013, เป็นคำประกาศของเหล่านักวิทยาศาสตร์วันนี้ (14 มค).
Keeping their outlook for the future of humanity quite dim, the group of scientists also wrote an open letter to President Barack Obama, urging him to partner with other global leaders to act on climate change.
ด้วยการให้ภาพอนาคตของมนุษยชาติที่ค่อนข้างมืดมน, กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีบารัค โอบามา, เร่งเร้าให้เขาเข้าร่วมเป็นภาคีกับผู้นำโลกอื่นๆ ในการลงมือแก้ไขภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง.
The clock is a symbol of the threat of humanity's imminent destruction from nuclear or biological weapons, climate change and other human-caused disasters. In making their deliberations about how to update the clock's time this year, the Bulletin of the Atomic Scientists considered the current state of nuclear arsenals around the globe, the slow and costly recovery from events like Fukushima nuclear meltdown, and extreme weather events that fit in with a pattern of global warming.
นาฬิกาเป็นสัญลักษณ์ของภัยแห่งการทำลายล้างมนุษยชาติ จากอาวุธยุทโธปกรณ์นิวเคลียร์ หรือ สรรพาวุธเชิงชีวภาพ, ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และ วิบัติภัยอื่นๆ จากน้ำมือมนุษย์.  ในการแถลงผลจากการไตร่ตรองของพวกเขา เกี่ยวกับการปรับเข็มนาฬิกาปีนี้, Bulletin of the Atomic Scientists เห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันของคลังสรรพาวุธนิวเคลียร์ทั่วโลก, การฟื้นตัวที่เชื่องช้าและแพงมาก เช่น กรณีของ การหลอมละลายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฟูกูชิมะ, และเหตุการณ์อากาศสุดโต่งต่างๆ ที่เข้าแบบแผนของภาวะโลกร้อน.
"2012 was the hottest year on record in the contiguous United States, marked by devastating drought and brutal storms," the letter says. "These extreme events are exactly what climate models predict for an atmosphere laden with greenhouse gases." [Doom and Gloom: 10 Post-Apocalyptic Worlds]
2012 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในสหรัฐฯ, ซึ่งประกอบไปด้วยหายนะจากความแห้งแล้ง และ พายุรุนแรง”,  ดังที่กล่าวในจดหมาย.  “สถานการณ์สุดโต่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่โมเดลภูมิอากาศได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าสำหรับภาวะที่ชั้นบรรยากาศแน่นไปด้วยก๊าซเรือนกระจก”.
At the same time, the letter did give a nod to some progress, applauding the president for taking steps to "nudge the country along a more rational energy path," with his support for wind and other renewable energy sources.
ในขณะเดียวกัน, จดหมายก็ได้ผงกหัวให้กับความก้าวหน้าบางประการ, ปรบมือให้กับประธานาธิบดีที่รุกหน้า “ผลักดันประเทศให้ไปในหนทางพลังงานที่มีเหตุผลมากยิ่งขึ้น”, ด้วยการสนับสนุนพลังงานลม และแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ.
"We have as much hope for Obama's second term in office as we did in 2010, when we moved back the hand of the Clock after his first year in office," Robert Socolow, chair of the board that determines the clock's position, said in a statement. "This is the year for U.S. leadership in slowing climate change and setting a path toward a world without nuclear weapons."
“เรามีความหวังต่อโอบามา ในตำแหน่งประธานาธิบดี วาระที่สองนี้ มากพอๆ กับในปี 2010, เมื่อเราปรับเข็มยาวให้ถอยหลังไป หลังจากที่เขาดำรงตำแหน่งปีแรก”, โรเบิร์ต โซโคโลว, ประธานคณะกรรมการที่ตัดสินตำแหน่งของเข็มนาฬิกา, กล่าวในแถลงการณ์.  “นี่เป็นปีที่ผู้นำสหรัฐฯ จะชะลอการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และ ปรับวางหนทางไปสู่โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์”.
The Doomsday Clock came into being in 1947 as a way for atomic scientists to warn the world of the dangers of nuclear weapons. That year, the Bulletin set the time at seven minutes to midnight, with midnight symbolizing humanity's destruction. By 1949, it was at three minutes to midnight as the relationship between the United States and the Soviet Union deteriorated. In 1953, after the first test of the hydrogen bomb, the doomsday clock ticked to two minutes until midnight.
นาฬิกาวันมหาวินาศ เกิดขึ้นในปี 1947 อันเป็นช่องทางให้นักวิทยาศาสตร์อะตอม ได้ใช้เตือนชาวโลกถึงมหันตภัยจากอาวุธนิวเคลียร์.  ในปีนั้น, Bulletin ได้ตั้งเวลาให้เหลือ  7 นาที ก่อนเที่ยงคืน, โดยให้เที่ยงคืนเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายล้างมนุษยชาติ.  ในปี 1949, มันเหลือเพียง 3 นาทีก่อนเที่ยงคืน เพราะความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตเสื่อมโทรมมาก.  ในปี 1953, หลังจากการทดลองระเบิดไฮโดรเจนลูกแรก, นาฬิกาวันมหาวินาศ เขยิบไปเหลือ 2 นาที.
The Bulletin was at its most optimistic in 1991, when the Cold War thawed and the United States and Russia began cutting their arsenals. That year, the clock was set at 17 minutes to midnight.
Bulletin มองโลกในแง่ดีที่สุดในปี 1991, เมื่อสงครามเย็นหลอมละลายลง และ สหรัฐฯ และ รัสเซีย เริ่มลดทอนคลังสรรพาวุธของตน.  ในปีนั้น, นาฬิกาถูกตั้งให้อยู่ที่ 17 นาทีก่อนเที่ยงคืน.
From then until 2010, however, it was a gradual creep back toward destruction, as hopes of total nuclear disarmament vanished and threats of nuclear terrorism and climate change reared their heads. In 2010, the Bulletin found some hope in arms reduction treaties and international climate talks and bumped the minute hand of the Doomsday Clock back to six minutes from midnight from its previous post at five to midnight. But by 2012, the clock was pushed forward another minute.
แต่ จากตอนนั้น ถึง ปี 2010, เข็มนาฬิกาก็ค่อยๆ เขยิบกลับไปสู่ตำแหน่งทำลายล้าง, เมื่อความหวังที่จะถอด/วางอาวุธนิวเคลียร์หายวับไป และ ภัยคุกคามของลัทธิก่อการร้ายนิวเคลียร์ และ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ได้โงหัวขึ้นมา.  ในปี 2010, Bulletin พบความหวังรำไรในข้อตกลงลดอาวุธ และ การเจรจาเรื่องภูมิอากาศในระดับนานาชาติ และได้ผลักเข็มยาวให้ไปอยู่ที่ 6 นาทีก่อนเที่ยงคืน จากตำแหน่งเดิมคือ 5 นาที.  แต่ในปี 2012, เข็มนาฬิกาเขยิบเข้าใกล้เที่ยงคืนอีก 1 นาที.
Follow LiveScience on Twitter @livescience. We're also on Facebook & Google+.
·         Top 10 Ways to Destroy Earth
Copyright 2013 LiveScience, a TechMediaNetwork company. All rights reserved. This material may not be published, broadcast, rewritten or redistributed.
(จาก yahoo, 1-16-13)

146. ศึกยกสอง กับ จีเอ็มโอ


Monsanto vs. The People
มอนซานโต  ปะทะ มนุษยชน
โดย  ชาร์ล็อต ซิลเวอร์
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

Last week Monsanto announced staggering profits from 2012 to celebratory shareholders while American farmers filed into Washington, DC to challenge the Biotech giant’s right to sue farmers whose fields have become contaminated with Monsanto’s seeds. On January 10 oral arguments began before the U.S. Court of Appeals to decide whether to reverse the cases' dismissal last February.
สัปดาห์ก่อน มอนซานโต ได้ประกาศตัวเลขกำไรมหาศาลจากปี 2012 แก่ผู้ถือหุ้นที่ดีใจเฉลิมฉลอง ในขณะที่ เกษตรกรอเมริกัน ได้ยื่นฟ้องร้องใน กรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อท้าทายสิทธิของยักษ์ใหญ่แห่งไบโอเทค (เทคโนโลยีทางชีวภาพ) ในการเอาผิดดำเนินคดีกับเกษตรกร ที่แปลงเพาะปลูกของพวกเขาได้กลายเป็นผืนดินที่ปนเปื้อนไปด้วยเมล็ดของมอนซานโต.  ในวันที่ 10 มกราคม  การโต้เถียงปากเปล่าได้เริ่มขึ้นต่อหน้าศาลอุทธรณ์ของสหรัฐฯ เพื่อตัดสินว่า จะพลิกกลับคดีที่ได้ยกเลิกไปเมื่อวันศุกร์ที่แล้วได้หรือไม่.

Monsanto has established a conveniently intimidating reputation as "a ruthless prosecutor of non-GMO farmers" whose fields have been "contaminated by their neighbours' genetically engineered crops". (Photo: Reuters)
มอนซานโตได้สร้างชื่อเสียงที่ข่มขู่ตามความสะดวกของตัวเองว่าเป็น “โจทก์อำมหิตของเกษตรกรที่ไม่เอา จีเอ็มโอ” ผู้ที่ผืนดินเพาะปลูกได้ถูก “ปนเปื้อนด้วยพืชที่ได้ถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมแล้วของเพื่อนบ้าน”
Monsanto's earnings nearly doubled analysts' projections and its total revenue reached $2.94bn at the end of 2012. The increased price of Roundup herbicide, continued market domination in the United States and, perhaps most significant, expanded markets in Latin America are all contributing factors to Monsanto's booming business. 
รายได้ของมอนซานโต เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวของตัวเลขที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ และ ยอดรวมรายได้ทั้งหมดได้บรรลุ $2.94 พันล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2012.  ราคาที่สูงขึ้นของยากำจัดวัชพืช ราวน์อัพ, การครองตลาดในสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง และ, คงจะเป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญสูงสุด, การขยายตลาดเข้าสู่ลาตินอเมริกา  เหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยทำให้ธุรกิจของมอนซานโตเจริญรุ่งเรือง.
Exploiting their patent on transgenic corn, soybean and cotton, Monsanto asserts an insidious control of those agricultural industries in the US, effectively squeezing out conventional farmers (those using non-transgenic seeds) and eliminating their capacity to viably participate and compete on the market. (Until the end of 2012, Monsanto was under investigation by the Department of Justice for violating anti-trust laws by practicing anticompetitive activities towards other biotech companies, but that investigation was quietly closed before the year's end.) 
การฉวยโอกาสขูดรีดด้วยการใช้กรรมสิทธิ์ของการตัดแต่งพันธุกรรมของข้าวโพด, ถั่วเหลือง และ ฝ้าย, มอนซานโตได้ยืนกรานถือสิทธิ์ในการควบคุมที่ซ่อนเงื่อนในอุตสาหกรรมการเกษตรเหล่านี้ในสหรัฐฯ, ทำการบีบขับเกษตรกรธรรมดา (ที่ยังคงใช้เมล็ดที่ไม่ได้รับการตัดแต่งทางพันธุกรรม) อย่างมีประสิทธิผล และกำจัดความสามารถของพวกเขาในการมีส่วนร่วมและแข่งขันได้เต็มที่ในระบบตลาด.  (จวบจนสิ้นปี 2012, มอนซานโตถูกกระทรวงยุติธรรมสอบสวนด้วยข้อหา ละเมิดกฎหมายด้วยการทำกิจกรรมที่สวนทางกับการแข่งขัน (ขัดขา) กับบริษัทไบโอเทคอื่นๆ, แต่การสอบสวนดังกล่าวกลับถูกปิดลงหีบเงียบๆก่อนสิ้นปี.)
The seemingly modest objective of the current lawsuit, OSGATA et al v Monsanto, originally filed in March 2011, is to acquire legal protection for organic and conventional farmers from Monsanto's aggressive prosecution of inadvertent patent infringements. But the implications of the suit are momentous. If the DC Court of Appeal reverses the dismissal, a process of discovery will be instigated that could unveil a reservoir of information, access to which Monsanto has withheld from public knowledge - both by not disclosing it and preventing independent research. 
วัตถุประสงค์ที่ดูเหมือนพื้นๆ ของคดีปัจจุบัน, OSGATA et al v Monsanto, ซึ่งยื่นฟ้องเมื่อเดือนมีนาคม 2011, คือ ขอให้มีกฎหมายพิทักษ์เกษตรกรอินทรีย์ และเกษตรกรธรรมดาทั่วไป จากการรุกคืบฟ้องร้องอย่างดุเดือดของมอนซานโตในข้อหาฝ่าฝืนสิทธิบัตรโดยไม่ตั้งใจ.  แต่นัยของคดีนี้เป็นจุดผกผัน.  หากศาลอุทธรณ์ในดีซี พลิกคำตัดสินที่ว่าให้ยกเลิกคำฟ้องร้อง, กระบวนการเปิดเผยตีแผ่จะถูกกระตุ้น ที่จะเผยคลังข้อมูล, การเข้าถึงที่มอนซายโตได้เก็บกักไม่ให้เป็นความรู้สาธารณะ—ทั้งด้วยการไม่ยอมเปิดเผย และ กีดกันการศึกษาวิจัยอิสระ.

Monsanto's abuse of patents 
มอนซานโตใช้สิทธิบัตรในทางที่ผิด

Between 1997 and 2010, Monsanto filed 144 lawsuits against family farmers and settled 700 cases out of court. Furthermore, food groups estimate that Monsanto investigates hundreds of farmers each year as potential culprits of patent infringement. 
ในระหว่างปี 1997 และ 2010, มอนซานโตได้ยื่นฟ้อง 144 คดีกับครอบครัวเกษตรกร และ ยอมความนอกศาล 700 คดี.  ยิ่งกว่านั้น, กลุ่มรณรงค์เรื่องอาหารประเมินว่า มอนซานโตทำการสอบสวนเกษตรกรหลายร้อยรายในแต่ละปีในโทษฐานฝ่าฝืนสิทธิบัตร.
Victims of Monsanto's predatory lawsuits include farmers who used Monsanto seed but violated the licensing agreement, as well as those farmers who never had any intention of growing GE plants. OSGATA et al v Monsanto deals with the latter group and represents 31 farms and farmers, 13 seed-selling businesses, and 31 agricultural organisations that represent more than 300,000 individuals and 4,500 farms or farmers. 
เหยื่อของคดีความแบบจี้ปล้นของมอนซานโต รวมถึงเกษตรกรที่ใช้เมล็ดของมอนซานโต แต่ละเมิดข้อตกลงในใบอนุญาต, รวมทั้งเกษตรกรอื่นๆ ที่ไม่เคยต้องการปลูกพืช จีอี.  OSGATA et al v Monsanto เจาะจงกับกลุ่มหลัง และเป็นตัวแทนของฟาร์มและเกษตรกร 31 ราย, ธุรกิจขายเมล็ดพันธุ์ 13 แห่ง, และ องค์กรเกษตรกรรมอีก 31 กลุ่ม ที่เป็นตัวแทนของคนกว่า 300,000 และฟาร์มและเกษตรกรกว่า 4,500.
Plaintiffs requested a declaratory judgment that would ensure Monsanto was not entitled to sue the plaintiffs for patent infringement.  Jim Gerritson, president of OSGATA (Organic Seed Growers and Trade Association) and lead plaintiff in the case, explained to me that organic and non-GMO farmers are a "Classic example of why Congress passed the Declaratory Judgment Act: if you have a group that fears being bullied by a large company, they can petition for protection from claims of patent infringement." 
ฝ่ายเจ้าทุกข์ได้ขอให้มีการแถลงคำพิพากษาที่จะทำให้มั่นใจว่า มอนซานโตไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้องเอาผิดกับเจ้าทุกข์ในข้อหาฝ่าฝืนสิทธิบัตร.   จิม เกอริตสัน, ประธานของ OSGATA (Organic Seed Growers and Trade Association, สมาคมผู้เพาะและค้าเมล็ดอินทรีย์) และเป็นเจ้าทุกข์นำในคดีดังกล่าว, อธิบายว่า เกษตรกรอินทรีย์ และ ที่ไม่ใช้ จีเอ็มโอ เป็น “ตัวอย่างดั้งเดิมที่ว่า ทำไมคองเกรสต้องผ่านคำพิพากษาแบบแถลงการณ์: หากคุณมีคนกลุ่มหนึ่งที่กลัวว่าจะถูกระรานกลั่นแกล้งโดยบริษัทใหญ่แล้ว, พวกเขาก็สามารถร้องเรียนขอให้ช่วยพิทักษ์จากข้อกล่าวหาว่าได้ฝ่าฝืนสิทธิบัตร.”
But the federal courts have always protected Monsanto's rights to profit via a patenting system that increasingly impinges on individual and market freedom, allowing Monsanto to abuse its patent rights. In a natural alliance, OSGATA is represented by attorney Dan Ravicher and Public Patent Foundation, an organisation dedicated to creating a just patent system that balances individual freedom and the ethical issuing of patents. 
แต่ศาลของรัฐบาลกลางมีแต่ปกป้องสิทธิ์ของมอนซานโตให้เอากำไรผ่านระบบสิทธิบัตร ที่เริ่มรุกรานเสรีภาพของปัจเจกชนและตลาดมากขึ้นทุกทีๆ, อนุญาตให้มอนซานโตใช้สิทธิบัตรของตนในทางที่ผิด.  ในพันธมิตรตามธรรมชาติ, OSGATA มีทนายว่าต่างโดย อัยการ แดน ราวิเชอร์ และ มูลนิธิสิทธิบัตรสาธารณะ, องค์กรที่อุทิศตัวให้กับการสรรค์สร้างระบบสิทธิบัตรที่เป็นธรรม ที่รักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพปัจเจกและประเด็นเชิงจริยธรรมของสิทธิบัตร.
Monsanto has established a conveniently intimidating reputation as a ruthless prosecutor of non-GMO farmers whose fields have been contaminated by their neighbours' genetically engineered corn - either through cross-pollination or accidental seed mixing during harvest. 
มอนซานโตได้สร้างชื่อเสียงอันธพาลตามอำเภอใจตัวเองในฐานะ โจทก์โหดเหี้ยมของบรรดาเกษตรกรที่ไม่ใช้ จีเอ็มโอ ผู้ที่ผืนดินเพาะปลูกได้ถูก “ปนเปื้อนด้วยพืชที่ได้ถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมแล้วของเพื่อนบ้าน—ด้วยการผสมเกสร หรือ เมล็ดกระเด็นมาปนโดยอุบัติเหตุในระหว่างเก็บเกี่ยว.
With these terrifying exemplars in mind, farmers have taken on the burden of preventing contamination by setting up buffer zones, conducting genetic testing and in some cases, giving up on planting the crop altogether. 
ด้วยตัวอย่างที่น่าสะพรึงกลัวเหล่านี้ในใจ, เกษตรกรได้เป็นธุระเองในการกีดกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนด้วยการกั้นเขตกันชน, ทำการตรวจพันธุกรรม และในบางกรณี, เลิกอาชีพเพาะปลูกไปทั้งหมด.

Monopolising effect 
ผลกระทบในการผูกขาดสิทธิ์

By detailing how many conventional farmers have given up trying to grow certain crops, OSGATA's motion to appeal emphasises the monopolisation that has resulted from Monsanto's aggressive pursuit of patent infringement cases. It is estimated that 88 percent of corn and 93 percent of soybeans are genetically modified, most of them by Monsanto. Bryce Stephens, an organic farmer in the northwest of Kansas, is one of those farmers who have decided to forego growing corn and soybeans due to the inevitable contamination that will result. 
ด้วยการให้รายละเอียดจำนวนเกษตรกรธรรมดาๆ ที่ได้เลิกปลูกพืชบางชนิด, OSGATA ยื่นอุทธรณ์ขอให้เน้นที่การผูกขาด อันเป็นผลจากการที่มอนซานโตรุกคืบอย่างดุเดือดแจ้งคดีละเมิดสิทธิบัตร.  มีการประเมินว่า 88% ของข้าวโพด และ 93% ของถั่วเหลือง เป็นพืชที่ได้รับการตัดแต่งทางพันธุกรรม, ส่วนมากทำโดยมอนซานโต.  ไบรซ์ สตีเฟน, เกษตรกรอินทรีย์ผู้หนึ่ง ในแคนซัสตะวันตกเฉียงเหนือ, เป็นหนึ่งในผู้ที่เลิกล้มปลูกข้าวโพดและถั่วเหลือง เพราะหลีกเลี่ยงการถูกปนเปื้อนไม่ไหว.
"My fear of contamination by transgenic corn and soybeans and the resulting risk of being accused of patent infringement prevent me from growing corn and soybeans on my farm. There is no other reason why I do not grow those crops, and I would very much like to do so." 
“ความกลัวของผมว่าจะถูกปนเปื้อนโดยข้าวโพดและถั่วเหลืองข้ามสายพันธุ์ และความเสี่ยงอันเป็นผลจากการถูกกล่าวหาว่า ฝ่าฝืนสิทธิบัตร เป็นตัวกีดกันไม่ให้ผมปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองในไร่ของผม.  ไม่มีเหตุผลอื่นใดเลยที่อธิบายได้ว่าทำไมผมจึงไม่ปลูกพืชเหล่านี้, และตัวผมเองก็อยากปลูกมากๆ.”
As Gerritson described to me, "Farmers have suffered economic loss because they've abandoned growing corn and soybeans because they are certain they will be contaminated. They cannot put their farms and families at risk of being sued for patent infringement." 
ดังที่ เกอริตสัน บรรยาย, “เกษตรกรได้รับความทุกข์ร้อนจากการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เพราะพวกเขาได้ละทิ้งการปลูกข้าวโพดและถั่วเหลือง เพราะพวกเขาแน่ใจว่า มันจะต้องถูกปนเปื้อน.  พวกเขาไม่สามารถเอาไร่และคนครอบครัวเข้าเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องหาว่าฝ่าฝืนสิทธิบัตร.”
Monsanto knows that consumers won't voluntarily buy their products - a lesson they learned in Europe when GE foods there were required to be labelled as such. In America, the company and its allies have spent millions to defeat local labelling initiatives, most recently in California. But if the company successfully crowds out conventional farmers, Americans won't have a choice - with or without a label. 
มอนซานโตรูว่า ผู้บริโภคจะไม่ยอมซื้อผลิตภัณฑ์ของพวกเขาอย่างสมัครใจ—บทเรียนที่พวกเขาได้รับในยุโรป เมื่ออาหาร จีอี ที่นั่น ถูกบังคับให้ติดฉลากแจ้ง.  ในอเมริกา, ตัวบริษัทและพันธมิตรของมัน ได้ทุ่มเงินหลายล้าน เพื่อต้านการริเริ่มของประชาชนท้องถิ่นที่เรียกร้องให้ติดฉลาก, เมื่อไม่นานมานี้ในแคลิฟอร์เนีย.   แต่หากตัวบริษัทกีดกันเกษตรกรธรรมดาได้สำเร็จ, ชาวอเมริกันจะไม่มีทางเลือก—ไม่ว่าจะมีฉลากหรือไม่มีฉลากก็ตาม.


In spite of the creation of this dangerous monopoly, in February 2012, Judge Naomi Reice Buchwald granted Monsanto's request and dismissed the initial suit, casting the farmers' concerns as "overstated"; urging the plaintiffs to trust Monsanto's (non-legally binding) promises to not exercise their patent rights over inadvertent acquisition of traces of GE plants; and insisting that farmers have created "a controversy where none exists". 
ทั้งๆ ที่ได้สร้างการผูกขาดที่อันตรายเช่นนี้, ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012, ผู้พิพากษา นาโอมิ ไรซ์ บุชวาลด์ ได้ขานรับคำขอของมอนซานโต และ โยนทิ้งคดีร้องทุกข์ครั้งแรก, บอกว่า ความห่วงใยของเกษตรกรเป็นเรื่อง “คิดมากเกินไปเอง”; แนะนำให้เจ้าทุกข์เชื่อถือคำสัญญาของมอนซานโต (ที่ไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย) ว่าจะไม่ใช้อภิสิทธิ์จากสิทธิบัตรในการจัดการกับกรณีที่ เศษ จีอี เกิดเป็นต้นอย่างไม่ได้ตั้งใจ; และแถมยัดเยียดว่า เกษตรกรได้สร้างเรื่อง “ขัดแย้งกันเองในตัวที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น”.
If the farmers' case is allowed to go forward, the very least that will happen is of supreme importance: that is, through the process of discovery the public will gain access to a trove of information that Monsanto has successfully stashed away. Ravicher believes that it can then be established that the products Monsanto peddles are not healthy and, hence, are not for the good of society. Quoting a 150-year-old case, Ravicher reminds us that "an invention to poison the people is not patentable".  
หากคดีของเกษตรกร ถูกปล่อยให้เดินหน้าได้, อย่างน้อยที่สุดที่จะเกิดขึ้น มีความสำคัญยิ่ง
ยวด: นั่นคือ, ด้วยกระบวนการค้นพบตีแผ่  สาธารณชนจะเข้าถึงกรุข้อมูลที่มอนซานโตได้เก็บซ่อนไว้สำเร็จมาตลอด.  ราวิเชอร์ เชื่อว่า มันจะช่วยสถาปนาความจริงที่ว่า ผลิตผลของมอนซานโตเที่ยวเร่ขาย ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายคน และ, ด้วยเหตุนี้, ไม่ดีสำหรับสังคม.  ด้วยการกล่าวอ้างคดีที่มีอายุ 150 ปี, ราวิเชอร์ เตือนพวกเราว่า “ประดิษฐกรรมที่เป็นยาพิษต่อประชาชน ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้”.
It's clear that the movement to defeat Monsanto is growing. Win or lose this round, the people are not giving up on taking down this monster.
เห็นชัดอยู่แล้วว่า การขับเคลื่อนเพื่อเอาชนะมอนซานโตกำลังขยายตัว.  ในรอบนี้ ชนะ หรือ แพ้, ประชาชนจะไม่ยกเลิกในการล้มสัตว์ประหลาดมหึมาตัวนี้.

© 2012 Al-Jazeera
Charlotte Silver is a journalist based in San Francisco and the West Bank, Palestine. She is a graduate of Stanford University.
ชาร์ล็อต ซิลเวอร์ เป็นนักวารสารศาสตร์ ใน ซานฟรานซิสโก และ เวสต์แบงค์, ปาเลสไตน์.  เธอสำเร็จปริญญาจากแสตนฟอร์ด.

Published on Tuesday, January 15, 2013 by Al-Jazeera


145. เกษตรอินทรีย์ในโลก

Achieving a Sustainable Food System with Organic Farming
Supriya Kumar, skumar@worldwatch.org
สู่เป้าหมายของระบบอาหารที่ยั่งยืนด้วยเกษตรอินทรีย์
สุปรียา กุมาร
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

New Worldwatch Institute report examines the growth of global organic agricultural practices and their impact on food security and the environment
รายงานฉบับใหม่ของสถาบัน เวิล์ดวอต์ช (เฝ้าระวังโลก) ศึกษาการขยายตัวของเกษตรกรรมอินทรีย์ทั่วโลก และ ผลกระทบด้านความมั่นคงทางอาหาร และ สิ่งแวดล้อม

WASHINGTON - January 15 - Despite a slight decline between 2009 and 2010, since 1999 the global land area farmed organically has expanded more than threefold to 37 million hectares, according to new research conducted by the Worldwatch Institute for its Vital Signs Online service (www.worldwatch.org). Regions with the largest certified organic agricultural land in 2010 were Oceania, including Australia, New Zealand, and Pacific Island nations (12.1 million hectares); Europe (10 million hectares); and Latin America (8.4 million hectares), write report authors Catherine Ward and Laura Reynolds.
วอชิงตัน-15 มค—แม้จะมีการลดหย่อนลงในระหว่างปี 2009 และ 2010, ตั้งแต่ปี 1999 ที่ดินทำเกษตรกรรมอินทรีย์ทั่วโลก ได้ขยายตัวกว่าสามเท่า เป็น 37 ล้านเฮตเตอร์, ตามงานวิจัยใหม่ที่จัดทำโดย สถาบัน เวิล์ดวอต์ช ให้แก่การบริการออนไลน์ Vital Signs Online (www.worldwatch.org).  ภูมิภาคที่มีอาณาบริเวณที่ได้รับการรับรองว่าเป็นแปลงอินทรีย์กว้างขวางที่สุดในปี 2010 คือ โอเวียเนีย, ซึ่งรวม ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, และ ชนชาติในหมู่เกาะแปซิฟิค (12.1 ล้านเฮตเตอร์), ในยุโรป (10 ล้านเฮตเตอร์), และในลาตินอเมริกา (8.4 ล้านเฮตเตอร์), ดังที่ แคเธอลีน วอร์ด และ ลอรา เรโนลด์ เขียน.
Organic farming is now established in international standards, and 84 countries had implemented organic regulations by 2010, up from 74 countries in 2009. Definitions vary, but according to the International Federation of Organic Agriculture Movements, organic agriculture is a production system that relies on ecological processes, such as waste recycling, rather than the use of synthetic inputs, such as chemical fertilizers and pesticides.
ตอนนี้ เกษตรอินทรีย์ มีมาตรฐานระดับนานาชาติแล้ว, และ 84 ประเทศได้ใช้กฎระเบียบอินทรีย์ในปี 2010, เพิ่มขึ้นจาก 74 ประเทศในปี 2009.  แม้คำจำกัดความจะต่างกันบ้าง, แต่ตาม IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements, สหพันธ์การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ), เกษตรกรรม คือ ระบบการผลิตที่พึ่งพากระบวนการทางนิเวศ, เช่น การหมุนเวียนปรับขยะกลับมาใช้เป็นประโยชน์/รีไซเคิล, แทนการใช้วัสดุสังเคราะห์, เช่นปุ๋ยและยากำจัดวัชพืชที่เป็นสารเคมี.
"Although organic agriculture often produces lower yields on land that has recently been farmed conventionally, it can outperform conventional practices---especially in times of drought---when the land has been farmed organically for a longer time," said Reynolds, a researcher with Worldwatch's Food and Agriculture Program. "Conventional agricultural practices often degrade the environment over both the long and short term through soil erosion, excessive water extraction, and biodiversity loss."
“แม้ว่า เกษตรอินทรีย์มักให้ผลผลิตต่ำกว่าในพื้นที่ๆ เพิ่งผ่านการเพาะปลูกตามกระแสหลัก, มันก็สามารถจะก้าวข้ามหน้าเกษตรกระแสหลักได้—โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าแล้ง—เมื่อที่ดินผืนนั้น ได้เพาะปลูกแบบอินทรีย์มาเป็นเวลานาน”, เรโนลด์, นักวิจัยในโครงการอาหารและเกษตรของเวิล์ดวอต์ช, กล่าว.   “เกษตรกรรมกระแสหลักมักจะทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะใกล้และไกล ด้วยการทำให้ดินสึกกร่อนและพังทลาย, ใช้น้ำมากเกินไป, และทำให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”.
Organic farming has the potential to contribute to sustainable food security by improving nutrition intake and sustaining livelihoods in rural areas, while simultaneously reducing vulnerability to climate change and enhancing biodiversity. Sustainable practices associated with organic farming are relatively labor intensive. Organic agriculture uses up to 50 percent less fossil fuel energy than conventional farming, and common organic practices---including rotating crops, applying mulch to empty fields, and maintaining perennial shrubs and trees on farms---also stabilize soils and improve water retention, thus reducing vulnerability to harsh weather patterns. On average, organic farms have 30 percent higher biodiversity, including birds, insects, and plants, than conventional farms do.
เกษตรอินทรีย์ มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ด้วยการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในอาหารที่กินเข้าไป และ ช่วยธำรงวิถีชีวิตในชนบท, ในขณะเดียวกันก็ลดความเปราะบางต่อภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และเพิ่มพูนความหลากหลายทางชีวภาพ.  การปฏิบัติที่ยั่งยืนเกี่ยวโยงกับเกษตรอินทรีย์ ค่อนข้างใช้แรงงานมาก. เกษตรอินทรีย์ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์น้อยกว่าเกษตรกระแสหลักและเกษตรสามัญถึง 50%--รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน, การใช้ใบไม้เน่าเปื่อยคลุมที่นาว่างเปล่า, และการธำรงพุ่มไม้และต้นไม้ในฟาร์ม—มันยังช่วยทำให้ดินเสถียร และ การอุ้มน้ำดีขึ้น, จึงช่วยลดความเปราะบางต่ออากาศที่โหดร้าย.  โดยเฉลี่ย, ฟาร์มอินทรีย์จะมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงกว่าถึง 30%, รวมทั้งนก, แมลง, และพืช, เมื่อเทียบกับในฟาร์มกระแสหลัก.



Certifications for organic agriculture are increasingly concentrated in wealthier countries. From 2009 to 2010, Europe increased its organic farmland by 9 percent to 10 million hectares, the largest growth in any region. The United States has lagged behind other countries in adopting sustainable farming methods. When national sales rather than production are considered, however, the U.S. organic industry is one of the fastest-growing industries in the nation, expanding by 9.5 percent in 2011 to reach $31.5 billion in sales.
การรับรองเกษตรอินทรีย์กระจุกตัวสูงขึ้นในแถบประเทศร่ำรวย.  จากปี 2009 ถึง 2010, ยุโรปได้เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอินทรีย์ขึ้น 9% เป็น 10 ล้านเฮตเตอร์, เป็นการขยายตัวที่มากที่สุดในภูมิภาคใดๆ.  สหรัฐฯ รั้งท้ายประเทศอื่นๆในการยอมรับกรรมวิธีเกษตรยั่งยืน.  แต่พอหันไปดูที่การขาย แทนการผลิต, อุตสาหกรรมอินทรีย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศ, ขยายตัวในอัตรา 9.5% ในปี 2011 บรรลุยอดขาย $31.5 พันล้าน.
Sustainable food production will become increasingly important in developing countries, as the majority of population growth is concentrated in the world's poorest countries. Agriculture in developing countries is often far more labor intensive than in industrial countries, so it is not surprising that approximately 80 percent of the 1.6 million global certified organic farmers live in the developing world. The countries with the most certified organic producers in 2010 were India (400,551 farmers), Uganda (188,625), and Mexico (128,826). Non-certified organic agriculture in developing countries is practiced by millions of indigenous people, peasants, and small family farms involved in subsistence and local market-oriented production.
การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศกำลังพัฒนา, เพราะอัตราเกิดของประชากรส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก.  เกษตรกรรมในประเทศกำลังพัฒนามักจะใช้แรงงานมากกว่ามากๆ ในประเทศอุตสาหกรรม, ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ประมาณ 80% ของเกษตรกรอินทรีย์โลกที่ผ่านการรับรองแล้ว 1.6 ล้านคน อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา.  ประเทศที่มีผู้ผลิตอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองแล้วมากที่สุดในปี 2010 คือ อินเดีย (400,551 คน), อูกานดา (188,625), และเม็กซิโก (128,826).  เกษตรอินทรีย์ที่ไม่ได้ถูกรับรองในประเทศกำลังพัฒนา เป็นวิถีปฏิบัติของชนพื้นเมือง, ชาวนา, และครอบครัวชาวนาพื้นบ้าน หลายล้านคน ที่มีส่วนในการผลิตเพื่อการยังชีพและขายในตลาดท้องถิ่น.

Further highlights from the report:
ประเด็นสำคัญอื่นๆ ในรายงาน

·         In 2010, the most recent year for which data are available, certified organic farming accounted for approximately 0.9 percent of the world's agricultural land.
o    ในปี 2010, อันเป็นปีใกล้ที่สุดที่มีข้อมูล, เกษตรอินทรีย์แบบรับรอง มีอยู่ประมาณ 0.9% ของที่ดินเกษตรในโลก.
·         Africa is home to 3 percent of the world's certified organic agricultural land, with just over 1 million hectares certified. Asia has 7 percent, with a total of 2.8 million hectares.
o    อาฟริกามี 3% ของผืนดินเกษตรอินทรีย์แบบรับรองในโลก, มีกว่าหนึ่งล้านเฮตเตอร์ที่ได้รับการรับรอง.  เอเชียมี 7%, คิดเป็น 2.8 ล้านเฮตเตอร์.
·         Despite a decline in organically farmed land in China and India between 2009 and 2010, India's export volume of organic produce increased by 20 percent.
o    แม้จะมีการลดลงของที่ดินเพาะปลูกเชิงอินทรีย์ลดลงในจีนและอินเดียในระหว่างปี 2009 และ 2010, ปริมาณผลผลิตอินทรีย์ส่งออกของอินเดียกลับเพิ่มขึ้น 20%.
###
The Worldwatch Institute is an independent research organization recognized by opinion leaders around the world for its accessible, fact-based analysis of critical global issues. Its mission is to generate and promote insights and ideas that empower decision makers to build an ecologically sustainable society that meets human needs.
สถาบันเวิล์ดวอต์ช (เฝ้าระวังโลก) เป็นองค์กรวิจัยอิสระ ที่ได้รับการยอมรับจากผู้นำด้านความคิดเห็นทั่วโลก ในแง่ที่ว่า มันเข้าถึงได้ง่าย, การวิเคราะห์บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นสำคัญๆ ของโลก.  พันธกิจของสถาบัน คือ สร้างและส่งเสริมปัญญาและความคิดเห็นที่เสริมอำนาจแก่ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจในการสร้างสังคมที่มีความยั่งยืนเชิงนิเวศ ที่ตอบรับความจำเป็น/ต้องการของมนุษย์.


144. โภชนบำบัดรักษาโรคแบบองค์รวมในไทย


อาหารสุขภาพบำบัดโรค
โดย ไพโรจน์  รุ้งรุจิเมฆ
      ผู้จัดการโครงการ “น้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”

           เป็นที่ทราบกันดีว่า  การดูแลสุขภาพปัจจุบัน  มีหลากหลายทฤษฎี และวิธีการ  จนทำให้ลูกค้าสับสน ไม่รู้จะเชื่อใครดี  โครงการ “ น้ำท่วมกินผักจุดเปลี่ยนประเทศไทย” ใช้หลักโภชนบำบัดของแม็คโครไบโอติค (แบบไทยๆ) และหลักพลังหยินและพลังหยาง (หยิน คือ พลังกระจายตัวออกและ หยาง คือ พลังหดตัวควบแน่น) ในอาหาร โดยประกอบอาหารให้มีสัดส่วนหยินหยางที่สมดุล สอดคล้องกับธรรมชาติ (ประมาณ 7 ต่อ 1)  (ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ www.fcthai.com)
           ปกติเมื่อร่างกายเสียสมดุล (ป่วย) เลือดจะเป็นกรด (Ph น้อยกว่า 7 ) ความเป็นกรดมากน้อย  ขึ้นอยู่กับระดับการเสียสมดุล/ป่วย เช่น  เมื่อป่วยเป็นมะเร็ง  เลือดจะมีความเป็นกรดค่อนข้างมาก เช่น 6  กว่าหรือน้อยกว่า  ส่วนเลือดของคนปกติจะมี Ph  ประมาณ 7.2 – 7.4 เป็นด่างเล็กน้อย
ตามหลักของโภชนบำบัด  ร่างกายล้มป่วยลง เพราะอาหารไม่สมดุล ไม่เป็นธรรมชาติ (ไม่เป็นอินทรีย์และผ่านการแปรรูป) จึงต้องแก้ด้วยอาหารที่สมดุลและเป็นธรรมชาติ  อาการเจ็บป่วยก็จะหายขาด   การแก้ด้วยยาหรืออาหารเสริม อาจช่วยให้อาการดีขึ้นแต่ไม่หายขาดและไม่ยั่งยืน   เพราะต้นเหตุ คืออาหาร   ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริม  (เอกสารเพิ่มเติม หนังสือ “ปฏิวัติชีวิตปฏิวัติสุขภาพ” โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ และวิดีโอคลิปการบรรยายของ ดร.ดีน ออร์นิช ควบบทแปล 143)
           โภชนบำบัดของโครงการ "น้ำท่วมกินผัก" เหมาะสำหรับโรคอันเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น  เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน รวมทั้งมะเร็ง     ระยะเวลาที่สามารถเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน  คือ  14  วัน   ส่วนมะเร็ง จะเริ่มเห็นผลหลังจาก 30  วันขึ้นไป   การหายขาด ใช้เวลามากน้อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและวินัยของผู้ป่วยในการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ    การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ในคุณภาพของเลือด  ผู้ป่วยสามารถตรวจเลือด ควบคู่ไปกับการสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของตนเอง ซึ่งมีอยู่ 19 ประการ (โปรดดูภาคผนวกข้างท้าย)
จุดประสงค์ของโครงการ “น้ำท่วมกินผัก” คือ ต้องการให้ลูกค้า/ผู้บริโภครู้หลักการรับประทานอาหารให้เป็นยาบำบัด ฟื้นฟูสุขภาพไปในตัว  มีสติปัญญาเอาตัวรอดท่ามกลางมลภาวะทั้งอาหารและสิ่งแวดล้อมรอบตัว   ท่านสามารถปรุงอาหารรับประทานเอง โดยเลือกซื้อวัตถุดิบอินทรีย์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือซื้อจากโครงการฯ ของเรา ซึ่งรับรองว่าดีกว่าผักอินทรีย์ในท้องตลาดที่ติดฉลากรับรองมาตรฐาน เพราะท่านสามารถสื่อสารกับเกษตรกรอินทรีย์ผู้ผลิตได้โดยตรง และให้เขาแสดงให้ท่านดูได้ว่าในแปลงมีไส้เดือน (เพราะดินปลอดสารพิษ) และผักมาจากแปลงดังกล่าวจริง      ผู้สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิก เพื่อร่วมกิจกรรมดังกล่าวผ่าน “เกมปลูกผัก” ของเรา   นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีเกมทำกับข้าวและเกมดูแลสุขภาพอีกด้วย   อนึ่ง  ราคาวัตถุดิบของโครงการฯ ยังถูกกว่าตามซูเปอร์มาร์เก็ตถึง 20-30%  เพราะโครงการฯ ตัดพ่อค้าคนกลาง
           โครงการ “น้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”  ขอเสนอบริการอาหารสุขภาพ 2 โปรแกม
1.  โปรแกรมอาหารสุขภาพ (7 วัน)
2.  โปรแกรมสำหรับบำบัดโรคต่าง ๆ

ผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่
      โทร. 086-367-4362, 085-975-4086  
      E-mail : phair_ru@hotmail.com, Website :  www.fcthai.com



ภาคผนวก
พัฒนาการทางกายภาพที่ยืนยันได้ด้วยการตรวจเลือด
ผู้บริโภคโปรแกมอาหารสุขภาพของโครงการ “น้ำท่วมกินผัก”  จะสามารถสังเกตพัฒนาการของตนเอง อันเป็นผลจากการปรับคุณภาพของเลือดให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถตรวจเช็คได้ด้วยอุปกรณ์การแพทย์ (แต่ต้องสิ้นเปลืองเงินและเสียเวลา)    อาการทั่วไปที่ดีขึ้น เช่น
1.             รู้สึกตัวเบาขึ้น  มีกำลังมากขึ้น
2.             สมองแจ่มใสกว่าเดิม  คิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ คล่องขึ้น มีความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
3.             นอนหลับสนิทและลึก  ตื่นเช้าไม่งัวเงีย ขี้เซา
4.             มีความอดทนมากขึ้น  เช่น ขับรถทางไกลได้นานกว่าแต่ก่อน
5.             มองโลกในแง่ดีมากขึ้น
6.             มีสติอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น รู้ทันความคิด ความรู้สึกของตนเองมากขึ้น
7.             ขึ้นที่สูงไม่แน่นหน้าอกหรือเหนื่อยหอบ (อาจเหนื่อยบ้าง แต่หายใจปกติ)
8.             สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
9.             ความตื่นตัวสูงกว่าแต่ก่อน เกือบตลอดวัน
10.      ตกบ่ายยังตื่นตัวได้โดยไม่ต้องใช้สารกระตุ้น เช่น กาแฟ  ชา  หรือ บุหรี่
11.      ระบบขับถ่ายดีขึ้น (เพิ่มจากเดิมเพียงตอนเช้าเป็น  เช้า เย็น และสม่ำเสมอขึ้น)
12.      สิว  ฝ้า  กระ ดีขึ้น
13.      เส้นผม เป็นเงา ดำมากขึ้น
14.      ผิวหนังดูสดใสกว่าเก่า
15.      ถ้าอ้วนเกิน น้ำหนักจะลด  ถ้าผอมไป ก็จะอ้วนขึ้น (ค่า BMI. สมดุลขึ้น)
16.      ไม่อ่อนเพลีย  ไม่เหนื่อยง่าย  กระฉับกระเฉง
17.      ประจำเดือนมาปกติยิ่งขึ้น
18.      ไม่เป็นหวัดง่าย  แม้อากาศจะเปลี่ยนกลับไปกลับมากะทันหัน  (เช่น เดินเข้าห้องแอร์ที่หนาวเย็น ซึ่งมักจะมีเชื้อหวัด  ทำให้คนอื่นๆ ติดหวัดง่าย  แต่เราจะไม่ติด  เป็นต้น)
19.      ขี้ตา  น้ำมูก  เสลด ลดลงมากอย่างเห็นได้ชัด
20.      ถ้าเป็นโรคอันเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย  ค่าการตรวจเลือดของอวัยวะต่าง ๆ ก็จะดีขึ้นด้วย  เช่น ความดันโลหิตสูง  ไขมันในหลอดเลือดสูง   เบาหวาน  โรคหัวใจ   มะเร็ง ฯลฯ
หมายเหตุ  
1.  ถ้าการดูแลสุขภาพไม่ถูกต้องหรือสม่ำเสมอตามหลักการดังที่บรรยายข้างต้น   พัฒนาการทางกายภาพจะไม่ดีขึ้น หรืออาจแย่ลง
2.  ถ้าพัฒนาการทางกายภาพส่วนใหญ่ดีขึ้น แต่ไม่ครบทั้ง 20 รายการ หมายความว่า ภาพรวมดีขึ้น และสามารถอธิบายสาเหตุของรายการที่ตกค้างได้เป็นรายบุคคล