วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

39. เศรษฐกิจพอเพียง... ในสหรัฐฯ


The Rise of the New Economy Movement
Activists, theorists, organizations and ordinary citizens are rebuilding the American political-economic system from the ground up
by Gar Alperovitz

เศรษฐกิจใหม่ได้เริ่มเคลื่อนตัวแล้ว
นักกิจกรรม นักทฤษฏี องค์กร และพลเมืองสามัญ กำลังสร้างระบบการเมือง-เศรษฐกิจอเมริกันจากล่างสู่บน
โดย การ์ อัลเปอโรวิตซ์

Just beneath the surface of traditional media attention, something vital has been gathering force and is about to explode into public consciousness. The “New Economy Movement” is a far-ranging coming together of organizations, projects, activists, theorists and ordinary citizens committed to rebuilding the American political-economic system from the ground up.
ใต้พื้นผิวความสนใจของสื่อดั้งเดิม บางสิ่งบางอย่างที่มีชีวิตกำลังรวบรวมพลังและกำลังจะระเบิดเข้าสู่จิตสำนึกของสาธารณะ  “ขบวนการเศรษฐกิจใหม่” เป็นการรวมตัวขององค์กร โครงการ นักกิจกรรม นักทฤษฎี และสามัญพลเมือง ที่ผูกพันกับการสร้างระบบการเมือง-เศรษฐกิจอเมริกันขึ้นใหม่ จากล่างสู่บน

The broad goal is democratized ownership of the economy for the “99 percent” in an ecologically sustainable and participatory community-building fashion. The name of the game is practical work in the here and now—and a hands-on process that is also informed by big picture theory and in-depth knowledge.
เป้าหมายกว้างๆ คือ ทำให้ความเป็นเจ้าของในระบบเศรษฐกิจมีความเป็นประชาธิปไตย สำหรับ (ประชาชน) “99%” ในการสร้างชุมชนที่มีความยั่งยืนทางนิเวศน์และมีส่วนร่วม   ชื่อของเกมนี้ คือ ทำงานเชิงปฏิบัติที่เป็นจริงได้ และเดี๋ยวนี้--และกระบวนการลงมือทำจริงที่รู้เท่าทันกับภาพใหญ่เชิงทฤษฎีและความลึกซึ้งในเชิงองค์ความรู้

Thousands of real world projects -- from solar-powered businesses to worker-owned cooperatives and state-owned banks -- are underway across the country. Many are self-consciously understood as attempts to develop working prototypes in state and local “laboratories of democracy” that may be applied at regional and national scale when the right political moment occurs.
มีโครงการในโลกแห่งความจริงนับพัน—ตั้งแต่ธุรกิจที่ใช้พลังแสงอาทิตย์จนถึงสหกรณ์ที่คนงานเป็นเจ้าของ และธนาคารที่รัฐเป็นเจ้าของ—กำลังเกิดขึ้นทั่วประเทศ   ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เกิดจากความเข้าใจในจิตสำนึกของตนเอง เป็นความพยายามที่จะพัฒนาต้นแบบที่ใช้การได้ เพื่อให้เป็น “ห้องแล็บสำหรับฝึกประชาธิปไตย” ในภาครัฐและในท้องถิ่น ที่อาจจะนำมาปรับใช้ได้ในระดับภูมิภาคและชาติ เมื่อถึงเวลาที่การเมืองที่ถูกต้องเกิดขึ้น

The movement includes young and old, “Occupy” people, student activists, and what one older participant describes as thousands of “people in their 60s from the '60s” rolling up their sleeves to apply some of the lessons of an earlier movement.
ขบวนการนี้ มีทั้งคนหนุ่มสาว และคนสูงอายุ คน “ยึดพื้นที่”  นักศึกษาที่ทำกิจกรรม และดังที่ผู้เข้าร่วมสูงวัยคนหนึ่งบรรยายว่าเป็น “คนวัย 60 จากทศวรรษ 1960s” นับพันที่พับแขนเสื้อขึ้น ลงมือประยุกต์บทเรียนที่พวกเขาได้มาจากการขับเคลื่อนก่อนหน้านั้น

Explosion of Energy
การระเบิดของพลังงาน

A powerful trend of hands-on activity includes a range of economic models that change both ownership and ecological outcomes. Co-ops, for instance, are very much on target—especially those which emphasize participation and green concerns. The Evergreen Cooperatives in a desperately poor, predominantly black neighborhood of Cleveland, Ohio are a leading example. They include a worker-owned solar installation and weatherization co-op; a state-of-the-art, industrial-scale commercial laundry in a LEED-Gold certified building that uses—and therefore has to heat—only around a third of the water of other laundries; and a soon-to-open large scale hydroponic greenhouse capable of producing three million head of lettuce and 300,000 pounds of herbs a year. Hospitals and universities in the area have agreed to use the co-ops’ services, and several cities—including Pittsburgh, Atlanta, Washington, DC and Amarillo, Texas are now exploring similar efforts.
แนวโน้มที่ทรงพลังของการลงมือทำ ครอบคลุมหลายๆ โมเดลทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนผลพวงทั้งด้านความเป็นเจ้าของและด้านนิเวศน์  เช่น สหกรณ์ เป็นเป้าหมายเด่น—โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับพวกที่เน้นการมีส่วนร่วมและความห่วงใยสีเขียว   สหกรณ์เขียวตลอดศก (Evergreen Cooperatives) ในกลุ่มคนยากจนข้นแค้น ส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำในละแวกเพื่อนบ้านคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เป็นตัวอย่างแนวหน้าหนึ่ง   ในนี้มีสหกรณ์ที่คนทำงานเป็นเจ้าของเอง ในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์และการบุฉนวน    โรงซักผ้าขนาดอุตสาหกรรมในอาคาร LEED-ทองคำมาตรฐาน ที่ใช้—จึงต้องใช้ความร้อน—น้ำเพียง 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำที่ร้านซักผ้าอื่นๆ ต้องใช้  และเรือนกระจกปลูกผักด้วยน้ำที่กำลังจะเปิดเร็วๆ นี้ ที่จะสามารถผลิตผักกาดหอมได้ถึง 3 ล้านหัว และสมุนไพรถึง 300,000 ปอนด์ต่อปี   โรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย ในพื้นที่ได้ร่วมใจที่จะใช้บริการของสหกรณ์นี้ และอีกหลายๆ เมือง—รวมทั้ง พิตสเบอร์ก แอตแลนตา  วอชิงตัน ดีซี และ อมาริลโล เท็กซัส ล้วนกำลังแสวงหาโครงการในทำนองเดียวกัน

Other models fit into what author Marjorie Kelly calls the “generative economy”--efforts that inherently nurture the community and respect the natural environment. Organic Valley is a cooperative dairy producer in based in Wisconsin with more than $700 million in revenue and nearly 1,700 farmer-owners. Upstream 21 Corporation is a “socially responsible” holding company that purchases and expands sustainable small businesses. Greyston Bakery is a Yonkers, New York “B-Corporation” (a new type of corporation designed to benefit the public) that was initially founded to provide jobs for neighborhood residents. Today, Greystone generates around $6.5 million in annual sales.
โมเดลอื่นที่เข้าได้กับสิ่งที่นักเขียน มาร์จอรี เคลลีย์ เรียกว่า “เศรษฐกิจทวีคูณ”—ความพยายามที่มีธรรมชาติหล่อเลี้ยงชุมชนและมีความเคารพต่อธรรมชาติแวดล้อม   หมู่บ้านอินทรีย์ (Organic Valley) เป็นสหกรณ์ผลิตนมวัวที่มีฐานในรัฐวิสคอนซิน ที่มีทรัพย์สินกว่า $700 ล้าน และมีชาวนาเป็นเจ้าของเกือบ 1,700 ราย    สหกรณ์ต้นน้ำ 21 (Upstream 21 Corporation) เป็นบริษัทที่ “มีความรับผิดชอบทางสังคม” ที่ซื้อและขยายธุรกิจเล็กๆ ที่มีความยั่งยืน   เกรย์สโตนเบเกอรี เป็น “สหกรณ์ B” ในยองเกอร์ รัฐนิวยอร์ก (บริษัทประเภทใหม่ ที่ออกแบบให้สาธารณะชนได้รับประโยชน์) ตอนก่อตั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานให้ชาวบ้านในละแวกนั้น   ทุกวันนี้ เกรย์สโตนมียอดขาย ประมาณ $6.5 ต่อปีทีเดียว

Recently, the United Steelworkers union broke modern labor movement tradition and entered into a historic agreement with the Mondragón Cooperative Corporation and the Ohio Employee Ownership Center to help build worker-owned cooperatives in the United States along the lines of a new “union-co-op” model.
เมื่อเร็วๆ นี้ คนงานของ สหภาพเหล็กกล้ายูไนเต็ด (United Steelworkers union) ได้แหวกประเพณีของขบวนการแรงงานสมัยใหม่ และจับมือครั้งประวัติศาสตร์กับ สหกรณ์มอนดรากอน (Mondragón Cooperative Corporation)  และศูนย์คนงานเป็นเจ้าของกิจการ-โอไฮโอ (Ohio Employee Ownership Center) เพื่อช่วยกันสร้างสหกรณ์ที่คนงานเป็นเจ้าของขึ้นในสหรัฐฯ ในแนวใหม่ของโมเดล “สหภาพ-สหกรณ์”

The movement is also serious about building on earlier models. More than 130 million Americans, in fact, already belong to one or another form of cooperative—and especially the most widely known form: the credit union. Similarly, there are some 2,000 municipally owned utilities, a number of which are ecological leaders. (Twenty-five percent of American electricity is provided by co-ops and public utilities.) Upwards of 10 million Americans now also work at some 11,000 employee-owned firms (ESOP companies).
การขับเคลื่อนนี้ ยังเอาจริงเอาจังกับการต่อยอดจากโมเดลก่อนๆ  ที่จริง ชาวอเมริกันกว่า 130 ล้านคน ได้เป็นสมาชิกของสหกรณ์ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง—และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรูปแบบที่รู้จักกันดี นั่นคือ เครดิตยูเนียน    ในทำนองเดียวกัน มีระบบสาธารณูปโภคประมาณ 2,000 แห่งที่เทศบาลเป็นเจ้าของ ซึ่งหลายๆ แห่ง เป็นผู้นำเชิงนิเวศน์อยู่แล้ว   (ไฟฟ้าในอเมริกา 25% มีสำนักงานสหกรณ์และการบริการสาธารณูปโภคของรัฐเป็นผู้จัดจำหน่าย)    ชาวอเมริกันที่มีรายได้สูงถึง 10 ล้านคนทุกวันนี้ ทำงานในบริษัทประมาณ 11,000 แห่งที่มีลูกจ้างเป็นเจ้าของ (เครือข่ายบริษัท ESOP)

More than 200 communities also operate or are establishing community land trusts that take land and housing out of the market and preserve it for the community. And hundreds of “social enterprises” use profits for social or community serving goals. Beyond these efforts, roughly 4,500 Community Development Corporations and 1.5 million non-profit organizations currently operate in every state in the nation.
กว่า 200 ชุมชน บริหาร หรือกำลังก่อตั้ง ทรัสต์ (ธนาคาร) ที่ดินชุมชน ที่ดึงที่ดินและบ้านเรือนออกจากระบบตลาด และพิทักษ์สำหรับชุมชนด้วยกันเอง    “วิสาหะกิจทางสังคม” นับร้อย ใช้เงินกำไรเพื่อเป้าหมายการบริการสังคมและชุมชน   นอกเหนือจากความพยายามเหล่านี้  บริษัทพัฒนาชุมชน ประมาณ 4,500 ราย และองค์กรไม่ค้ากำไร 1.5 ล้าน ราย กำลังดำเนินการในทุกๆ รัฐในสหรัฐฯ

The movement is also represented by the “Move Your Money” and “bank transfer day” campaigns, widespread efforts to shift millions of dollars from corporate giants like Bank of America to one or another form of democratic or community-benefiting institution. Related to this are other “new banking” strategies. Since 2010, 17 states, for instance, have considered legislation to set up public banks along the lines of the long-standing Bank of North Dakota.
การเคลื่อนไหวนี้ ได้ถูกใช้เป็นคำอธิบายในการรณรงค์ “เคลื่อนเงินของคุณ” และ “วันโอนเงินธนาคาร” อันเป็นความพยายามอย่างแพร่หลายที่ต้องการโยกเงินนับล้านจากบรรษัทยักษ์ใหญ่ เช่น ธนาคารแห่งอเมริกา สู่สถาบันการเงินในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเป็นประชาธิปไตย หรือเป็นประโยชน์ต่อชุมชน   เรื่องที่โยงกัน คือ ยุทธศาสตร์ “การฝากธนาคารแบบใหม่”   เช่น ตั้งแต่ปี 2010 มี 17 รัฐ ที่ออกกฎหมายให้ตั้งธนาคารสาธารณะได้ตามแนว ธนาคารแห่งรัฐดาโกตาเหนือ ที่มีมานานแล้ว

Several cities—including Los Angeles and Kansas City— have passed “responsible banking” ordinances that require banks to reveal their impact on the community and/or require city officials to only do business with banks that are responsive to community needs. Other cities, like San Jose and Portland, are developing efforts to move their money out of Wall Street banks and into other commercial banks, community banks or credit unions. Politicians and activists in San Francisco have taken this a step further and proposed the creation of a publicly owned municipal bank.
หลายๆ เมือง—รวมทั้ง ลอสแองเจิลลิส และเมืองแคนซัส—ได้ออกกฎหมาย “การธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ที่บังคับให้ธนาคารเปิดเผยผลกระทบต่อชุมชน และ/หรือ บังคับให้เจ้าหน้าที่เมือง ให้ทำธุรกรรมกับธนาคารที่ตอบสนองต่อความจำเป็น/ต้องการของชุมชนเท่านั้น   เมืองอื่นๆ เช่น ซานโฮเซ่ และปอร์ตแลนด์ กำลังพัฒนาโครงการเพื่อโยกเงินของพวกเขาออกจากธนาคารในวอลล์สตรีท และฝากในธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ธนาคารชุมชน หรือ เครดิตยูเนี่ยน  นักการเมืองและนักกิจกรรมในซานฟรานซิสโก ได้ก้าวไปไกลกว่านั้น และเสนอให้สร้าง ธนาคารเทศบาลที่สาธารณชนเป็นเจ้าของ

There are also a number of innovative non-public, non-co-op banks—including the New Resource Bank in San Francisco, founded in 2006 “with a vision of bringing new resources to sustainable businesses and ultimately creating more sustainable communities.” Similarly, One Pacific Coast Bank, an Oakland-based certified community development financial institution, grew out of the desire to “create a sustainable, meaningful community development bank and a supporting nonprofit organization.” And One United Bank—the largest black-owned bank in the country with offices in Los Angeles, Boston and Miami—has financed more than $1 billion in loans, most in low-income neighborhoods.
ยังมีนวัตกรรมในการธนาคารมากมาย ที่ไม่ใช่เป็นสาธารณะ และไม่ใช่เป็นสหกรณ์—รวมทั้ง ธนาคารทรัพยากรใหม่ ในซานฟรานซิสโก ที่ก่อตั้งในปี 2006 “ด้วยวิสัยทัศน์ของการนำทรัพยากรใหม่มาธำรงธุรกิจให้ยั่งยืน และในที่สุดก็เป็นการสร้างชุมชนที่มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น”   ในทำนองเดียวกัน ธนาคาร One Pacific Coast ซึ่งเป็นสถาบันการเงินด้านพัฒนาชุมชนที่ได้รับการรับรองและตั้งอยู่ในโอ๊คแลนด์ เจริญงอกงามจากแรงปรารถนาที่จะ “สร้างธนาคารพัฒนาชุมชนที่มีความหมาย และยั่งยืน และที่ให้การสนับสนุนแก่องค์กรไม่ค้ากำไร”    และ ธนาคาร One United—ธนาคารที่คนผิวดำเป็นเจ้าของ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีสำนักงานใน ลอสแองเจิลลิส บอสตัน และไมอามี—ได้ปล่อยกู้กว่า $1 พันล้าน ส่วนมากในละแวกเพื่อนบ้านที่มีรายได้ต่ำ

Ex-JP Morgan managing director John Fullerton has added legitimacy and force to the debate about new directions in finance at the ecologically oriented Capital Institute. And in several parts of the country, alternative currencies have long been used to help local community building—notably “BerkShares” in Great Barrington, Massachusetts, and “Ithaca Hours” in Ithaca, New York.
อดีตผู้อำนวยการการจัดการของ เจพี มอร์แกน  จอห์น ฟูลเลอตัน ได้เพิ่มความชอบธรรม และได้ผลักดันให้มีการอภิปรายถึงทิศทางใหม่ในการเงิน ณ ที่สถาบันแคปิตอล ที่มีแนวทางห่วงใยนิเวศน์   และในอีกหลายภาคส่วนของประเทศ มีการใช้กระแสเงินตราทางเลือกมานานแล้วเพื่อช่วยสร้างชุมชนท้องถิ่น—ที่โดดเด่น เช่น “BerkShares” ในมหานคร บาร์ริงตัน แมสซาชูเสตส์ และ “Ithaca Hours” ในเมืองอิธาคา นิวยอร์ก

Active protest efforts are also underway. The Occupy movement, along with many others, has increasingly used direct action in support of new banking directions—and in clear opposition to old. On April 24, 2012 over 1,000 people protested bank practices at the Wells Fargo shareholder meeting in San Francisco. Similar actions, some involving physical “occupations” of bank branches, have been occurring in many parts of the country since the Occupy movement started in 2011. Large-scale demonstrations occurred at the Bank of America’s annual shareholder meeting in May 2012.
การประท้วงอย่างขมีขมันกำลังเกิดขึ้นด้วย  ขบวนการยึดพื้นที่ รวมทั้งขบวนการอื่นๆ มากมาย ได้เริ่มใช้วิธีสนับสนุนโดยตรงต่อทิศทางการธนาคารใหม่—ในทางตรงข้ามกับแบบเก่าอย่างชัดเจน   ในวันที่ 24 เมษายน 2012 ประชาชนกว่า 1,000 คน ประท้วงวิธีปฏิบัติของธนาคารในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของเวลส์ฟาร์โก ในซานฟรานซิสโก   ปฏิบัติการทำนองเดียวกัน ซึ่งบางแห่งได้เข้า “ยึด” สาขาของธนาคาร ได้เกิดขึ้นแล้วในส่วนต่างๆ ของประเทศตั้งแต่ขบวนการยึดพื้นที่เกิดขึ้น เริ่มต้นในปี 2011   การประท้วงขนานใหญ่ได้เกิดขึ้นที่การประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของ ธนาคารแห่งอเมริกา เมื่อพฤษภาคม 2012

What to do about large-scale enterprise in a “new economy” is also on the agenda. A number of advocates, like Boston College professor Charles Derber, contemplate putting worker, consumer, environmental, or community representatives of “stakeholder” groups on corporate boards. Others point to the Alaska Permanent Fund which invests a significant portion of the state’s mineral revenues and returns dividends to citizens as a matter of right. Still others, like David Schweickart and Richard Wolff, propose system-wide change that emphasizes one or another form of worker ownership and management. (In the Schweickart version, smaller firms would be essentially directly managed by workers; large-scale national firms would be nationalized but also managed by workers.) A broad and fast-growing group seeks to end “corporate personhood,” and still others urge a reinvigoration of anti-trust efforts to reduce corporate power. (Breaking up banks deemed too big to fail is one element of this.)
แล้วจะทำอย่างไรกับกิจการขนาดใหญ่ใน “เศรษฐกิจใหม่” นี่ก็เป็นวาระหนึ่งเช่นกัน  นักรณรงค์หลายคน เช่น อาจารย์ชาร์ลส์ เดอร์เบอร์ แห่งวิทยาลัยบอสตัน มีความคิดที่จะให้คนงาน ผู้บริโภค ได้เป็นผู้แทนด้านสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน ของกลุ่ม “ผู้ถือหุ้น” ที่นั่งอยู่ในบอร์ดของบริษัท  คนอื่นชี้ไปที่กองทุนถาวรอลาสก้า ที่เอาทรัพย์สินแร่ธาตุของรัฐก้อนใหญ่ไปลงทุน และคืนปันผลให้แก่พลเมืองตามสิทธิ์อันพึงได้   ยังมีแห่งอื่น เช่น เดวิด ชไวช์คาร์ท และริชาร์ด วูลฟ์ เสนอให้มีการยกเครื่องทั้งระบบ ที่เน้นให้มีคนงานเป็นเจ้าของและจัดการกันเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง (เช่น บริษัทเล็กลงจะทำให้คนงานจัดการเองได้โดยตรง ส่วนบริษัทใหญ่ก็ควรจะกลายเป็นของชาติ แต่ก็ยังจัดการโดยคนงาน)    มีกลุ่มที่กว้างขวางและเติบโตรวดเร็ว ที่แสวงหาทางยุติ “ความเป็นบุคคลของบรรษัท” และยังมีคนอื่นๆ ที่พยายามจะรื้อฟื้นกิจกรรมต่อต้านทรัสต์ เพื่อลดอำนาจของบริษัท 

In March 2012, the Left Forum held in New York also heard many calls for a return to nationalization. And even among “Small is Beautiful” followers of the late E. F. Schumacher, a number recall this historic build-from-the-bottom-up advocate’s argument that “[w]hen we come to large-scale enterprises, the idea of private ownership becomes an absurdity.” (Schumacher continuously searched for national models that were as supportive of community values as local forms.)
ในเดือนมีนาคม 2012 เวทีฝ่ายซ้ายที่จัดขึ้นในนิวยอร์ก มีเสียงเรียกร้องให้กลับไปใช้วิธีรวบกิจการให้เป็นของชาติ  รวมทั้งในหมู่สาวกของ “จิ๋วแจ๋ว” ของ อี.เอฟ. ชูมาคเกอร์ที่ล่วงลับไปแล้ว หลายคนได้หวนระลึกถึงวาทะกรรมการรณรงค์ประวัติศาสตร์ที่ว่า สร้างจากล่างสู่บน ที่ว่า “เมื่อพูดถึงกิจการขนาดใหญ่ ความคิดของการเป็นเจ้าของเอกชนกลายเป็นเรื่องเหลวไหล”  (ชูมาคเกอร์ ได้แสวงหาอย่างต่อเนื่อง ถึงโมเดลแห่งชาติที่สนับสนุนคุณค่าของชุมชนในรูปแบบของท้องถิ่น)

Theory and Action
          ทฤษฏีและปฏิบัติการ

A range of new theorists have also increasingly given intellectual muscle to the movement. Some, like Richard Heinberg, stress the radical implications of ending economic growth. Former presidential adviser James Gustav Speth calls for restructuring the entire system as the only way to deal with ecological problems in general and growth in particular. David Korten has offered an agenda for a new economy which stresses small Main Street business and building from the bottom up. (Korten also co-chairs a “New Economy Working Group” with John Cavanagh at the Institute of Policy Studies.) Juliet Schor has proposed a vision of “Plentitude” oriented in significant part around medium-scale high tech industry. My own work on a Pluralist Commonwealth emphasizes a community-building system characterized by a mix of democratized forms of ownership ranging from small co-ops all the way up to public/worker-owned firms where large scale cannot be avoided.
นักทฤษฎีใหม่ที่หลากหลาย ได้เริ่มให้ความรู้แก่ขบวนการ  เช่น ริชาร์ด ไฮน์เบิร์ก เน้นที่นัยสุดโต่งของการยุติการเติบโตทางเศรษฐกิจ    เจมส์ กุสตาฟ สเปธ ที่ปรึกษาของอดีตประธานาธิบดี ได้เรียกร้องให้รื้อโครงสร้างทั้งระบบว่าเป็นทางเดียวที่จะจัดการกับปัญหาเชิงนิเวศน์โดยทั่วไป และกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ   เดวิด คอร์เต็น ได้เสนอวาระสำหรับเศรษฐกิจใหม่ ที่เน้นธุรกิจบนถนนสายเอก และสร้างจากล่างสู่บน   จูเลียต ชอร์ ได้เสนอวิสัยทัศน์ “ความอุดมสมบูรณ์” ที่ส่วนใหญ่มุ่งไปยังอุตสาหกรรมไฮเทคขนาดกลาง   งานของผมเอง คือ พหุความมั่งคั่งร่วม เน้นที่ระบบการสร้างชุมชน อันมีคุณลักษณะผสมผสานของการเป็นเจ้าของร่วมแบบประชาธิปไตย ที่ครอบคลุมตั้งแต่ สหกรณ์ขนาดเล็ก จนถึง บริษัทที่สาธารณะ/คนงานเป็นเจ้าของ ซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงขนาดที่ใหญ่ได้

Writers like Herman Daly and David Bollier have also helped establish theoretical foundations for fundamental challenges to endless economic growth, on the one hand, and the need to transcend privatized economics in favor of a “commons” understanding, on the other. The awarding in 2009 of the Nobel Prize to Elinor Ostrom for work on commons-based development underlined recognition at still another level of some of the critical themes of the movement.
นักเขียนเช่น เฮอร์แมน ดาลีย์ และ เดวิด บอลลิเออร์ ในด้านหนึ่ง ได้ช่วยก่อตั้งรากฐานเชิงทฤษฎีที่ท้าทายการเติบโตที่ไม่มีวันสิ้นสุดของเศรษฐกิจ และ ในอีกด้านหนึ่ง  ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องก้าวผ่านเศรษฐศาสตร์เอกชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจประเด็น “ทรัพย์สินร่วม”   รางวัลโนเบล 2009 ที่มอบให้แก่ อีลินอร์ ออสตรอม สำหรับผลงานของเธอเกี่ยวกับการพัฒนาบนพื้นฐานของทรัพย์สินร่วม เป็นการตอกย้ำการยอมรับหัวข้อสำคัญของขบวนการเศรษฐกิจใหม่ในระดับสูง

Around the country, thinkers are clamoring to meet and discuss new ideas. The New Economy Institute, led primarily by ecologists and ecological economists, hoped to attract a few hundred participants to a gathering to be held at Bard College in June 2012. The event sold out almost two months in advance! An apologetic email went out turning away hundreds who could not be accommodated with the promise of much bigger venue the next year.
ทั่วไปในประเทศ นักคิดกำลังชุลมุนเข้าร่วมประชุมและอภิปรายถึงความคิดใหม่ๆ  สถาบันเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งนำโดยนักนิเวศน์วิทยา และนักเศรษฐศาสตร์เชิงนิเวศน์ ได้ตั้งความหวังที่จะดึงดูดผู้เข้าร่วมหลายร้อยคน ในการประชุมที่วิทยาลัยบาร์ด ในเดือนมิถุนายน 2012  บัตรเข้าร่วมได้ขายหมดเกือบสองเดือนก่อนการประชุม  จนต้องส่งอีเมล์ขอโทษผู้สมัครทีหลัง พร้อมกับสัญญาว่า ปีหน้าจะจัดในสถานที่ๆ ใหญ่กว่านี้มาก

And that’s just one example. From April to May 2012, the Social Venture Network held its annual gathering in Stevenson, Washington. The Public Banking Institute gathered in Philadelphia. The National Center for Employee Ownership met in Minneapolis—also to record-breaking attendance. And the Business Alliance for Local Living Economies (BALLE) held a major conference in Grand Rapids, Michigan. Other events planned for 2012 include the Consumer Cooperative Management Association’s meeting in Philadelphia; the U.S. Federation of Worker Cooperatives’ gathering in Boston; a Farmer Cooperatives conference organized by the University of Wisconsin Center for Cooperatives; and meetings of the National Community Land Trust Network and the Bioneers. The American Sustainable Business Council, a network of 100,000 businesses and 300,000 individuals, has been holding ongoing events and activities throughout 2012.
นั่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง  จากเมษายน ถึง พฤษภาคม 2012 เครือข่ายกิจการทางสังคม (Social Venture Network) ได้จัดการประชุมประจำปีที่สตีเวนสัน รัฐวอชิงตัน  สถาบันการธนาคารรัฐ/สาธารณะ ได้รวมตัวประชุมกันที่ฟิลาเดลเฟีย   ศูนย์ลูกจ้างที่เป็นเจ้าของแห่งชาติ พบกันที่มินนีอาโปริส—ก็มีผู้เข้าร่วมมากเป็นประวัติการ  และพันธมิตรธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีชีวิต ได้จัดการประชุมครั้งสำคัญที่ แกรนด์แรปิดส์ มิชิแกน   กิจกรรมอื่นๆ ที่วางแผนไว้แล้วสำหรับปี 2012 รวมถึง การประชุมของสมาคมการจัดการสหกรณ์ผู้บริโภคที่ฟิลาเดลเฟีย  สหกรณ์สหพันธ์คนงานแห่งสหรัฐฯ ที่บอสตัน  การประชุมเชิงวิชาการของสหกรณ์ชาวนาที่จัดขึ้นโดยศูนย์สหกรณ์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และการประชุมของเครือข่ายทรัสต์ที่ดินชุมชนแห่งชาติ และ กลุ่มไบโอเนียร์ส   สภาธุรกิจยั่งยืนของอเมริกัน ซึ่งเป็นเครือข่ายของสมาชิกธุรกิจ 100,000 แห่ง และสมาชิกบุคคล 300,000 ราย มีแผนจัดกิจกรรมตลอดปีนี้

Daunting Challenges
          ความท้าทายที่น่าสะพรึงกลัว

The New Economy Movement is already energetically involved in an extraordinary range of activities, but it faces large-scale, daunting challenges. The first of these derives from the task it has set for itself—nothing less than changing and democratizing the very essence of the American economic system’s institutional structure.
ขบวนการเศรษฐกิจใหม่ได้ขับเคลื่อนไปอย่างมีพลังผ่านกิจกรรมหลากหลายอย่างยิ่ง แต่ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคขนาดใหญ่และน่าสะพรึงกลัวไม่น้อย   ประการแรกมาจากพันธกิจที่มันตั้งขึ้นสำหรับตัวเอง—ไม่มีอะไรน้อยไปกว่าการเปลี่ยนแปลงและการทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยถึงแก่นของระบบเศรษฐกิจอเมริกันในโครงสร้างของสถาบัน

Even viewed as a long-range goal, the movement obviously confronts the enormous entrenched power of an American political economic system dominated by very large banking and corporate interests—and bolstered by a politics heavily dependent on the financial muscle of elites at the top. (One recent calculation is that  400 individuals at the top now own more wealth than the bottom 160 million.)
แม้จะมองให้เป็นเป้าหมายระยะยาว  ขบวนการก็ประจันหน้าอย่างจังกับอำนาจใหญ่หลวงที่ฝังตัวอยู่ในระบบเศรษฐกิจการเมืองอเมริกัน ที่ถูกครอบงำโดยผลประโยชน์ของบรรษัทและการธนาคาร—และสนับสนุนโดยการเมืองที่ต้องพึ่งอำนาจเงินของอภิสิทธิ์ชนชั้นสูงสุด (การคำนวณล่าสุดระบุว่า คน 400 คนที่ชั้นสูงสุด ครอบครองความมั่งคั่งมากกว่าคน 160 ล้านในชั้นล่างๆ)

A second fundamental challenge derives from the increasingly widespread new economy judgment that economic growth must ultimately be reduced, indeed, even possibly ended if the dangers presented by climate change are to be avoided—and if resource and other environmental limits are to be responsibly dealt with.
ข้อท้าทายรากฐานที่สองมาจากคำพิพากษาของเศรษฐกิจใหม่ที่แพร่หลายมากขึ้นว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจะต้องลดลงในที่สุด  อันที่จริง อาจต้องยุติลงด้วยซ้ำหากต้องการหลีกเลี่ยงอันตรายประชิดตัวจากภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

Complicating all this is the fact that most labor unions—the core institution of the traditional progressive alliance—are committed to growth as absolutely essential (as the economy is now organized) to maintaining jobs.
สิ่งที่ทำให้เรื่องซับซ้อนยิ่งขึ้น คือความจริงที่ว่า สหภาพแรงงานส่วนใหญ่—อันเป็นแกนสถาบันหลักในพันธมิตรก้าวหน้าดั้งเดิม—ยึดมั่นอยู่กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสูงสุด (เพราะเศรษฐกิจได้ถูกจัดเป็นระบบแล้ว) เพื่อธำรงงานว่าจ้าง

History dramatizes the implacable power of the existing institutions—until, somehow, that power gives way to the force of social movements. Most of those in the New Economy movement understand the challenge as both immediate and long-term: how to put an end to the most egregious social and economically destructive practices in the near term; how to lay foundations for a possible transformation in the longer term.
ประวัติศาสตร์เขียนเกินจริงถึงอำนาจที่ไร้เทียมทานของสถาบันที่ดำรงอยู่—จนกระทั่ง อำนาจนั้นๆ หลีกทางให้พลังของขบวนการทางสังคม   คนส่วนใหญ่ในขบวนการเศรษฐกิจใหม่ต่างเข้าใจถึงความท้าทายว่ามีทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว: ทำอย่างไรจึงจะยุติการกระทำที่ชั่วร้ายที่สุดที่ทำลายสังคมและเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น   และทำอย่างไรจึงจะวางรากฐานให้เกิดการแปรเปลี่ยนในระยะยาว

And driving the movement’s steady build up, day by day, year by year, is the growing economic and social pain millions of Americans now experience in their own lives—and a sense that something fundamental is wrong. The New Economy Movement speaks to this reality, and just possibly, despite all the obstacles—as with the civil rights, feminist, environmental and so many other earlier historic movements—it, too, will overcome. If so, the integrity of its goals and the practicality of its developmental work may allow it to help establish foundations for the next great progressive era of American history. It is already adding positive vision and practical change to everyday life.
และสิ่งที่ขับเคลื่อนขบวนการให้แรงขึ้นเรื่อยๆ ปีต่อปี คือ ความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มสูงขึ้นของชาวอเมริกันนับล้าน ที่กำลังประสบในชีวิตของพวกเขา—และลางสังหรณ์ที่ว่า บางอย่างกำลังไม่ชอบมาพากลได้เกิดขึ้นในระดับรากฐาน    ขบวนการเศรษฐกิจใหม่พูดใส่ความเป็นจริงนี้ และก็เป็นไปได้ แม้จะมีอุปสรรคมากมายขวางหน้า—ดังเช่นที่เกิดกับการเรียกร้องสิทธิพลเมือง สตรีนิยม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเคลื่อนไหวประวัติศาสตร์มากมายก่อนหน้า—ตัวมันเองก็จะได้รับชัยชนะด้วย   หากเป็นเช่นนั้น ศักดิ์ศรีของเป้าหมาย และความปฏิบัติได้จริงของงานพัฒนาของ เศรษฐกิจใหม่ อาจได้รับการยอมรับให้ช่วยสถาปนารากฐานสำหรับยุคแห่งความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์อเมริกันที่รออยู่ข้างหน้า   มันได้เติมวิสัยทัศน์เชิงบวก และการเปลี่ยนแปลงที่ปฏิบัติการได้ในชีวิตประจำวันแล้ว

*  *  *

This essay is the first installment of 'New Economic Visions', a special five-part AlterNet series edited by Economics Editor Lynn Parramore in partnership with political economist Gar Alperovitz of the Democracy Collaborative, where creative thinkers come together to explore the exciting ideas and projects that are shaping the philosophical and political vision of the movement that could take our economy back.
© 2012 Alternet
บทความนี้ เป็นภาคแรกของ “วิสัยทัศน์เศรษฐกิจใหม่” ที่มี ๕ ภาค ใน AlterNet series ... ซึ่งนักคิดสร้างสรรค์ชุมนุมกัน เพื่อสำรวจ คิดค้นความคิดที่น่าตื่นเต้น และโครงการที่กำลังปรุงปั้นวิสัยทัศน์เชิงปรัชญาและเชิงการเมืองในขบวนการที่อาจกู้เศรษฐกิจของเราคืนมาได้

Gar Alperovitz is the Lionel R. Bauman Professor of Political Economy at the University of Maryland and co-founder of the Democracy Collaborative. Among his most recent books are America Beyond Capitalism and (with Lew Daly) Unjust Deserts: How the Rich Are Taking Our Common Inheritance and Why We Should Take It Back.
การ์ อัลเปอโรวิตซ์ เป็นศาสตราจารย์พิเศษ (ไลออนเนล อาร์ เบาว์แมน ศาสตราจารย์แห่งเศรษฐกิจการเมือง) ที่มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ความร่วมมือประชาธิปไตย   ในบรรดาหนังสือที่ออกล่าสุด คือ “อเมริกาหลังระบบทุนนิยม” และ “ทะเลทรายที่ไม่เป็นธรรม: คนรวยฉวยมรดกร่วมของเราไปได้อย่างไร และ ทำไมเราจึงควรจะเอามันคืนมา”

Published on Tuesday, May 22, 2012 by Alternet / Commondream
ดรุณีแปล / 5-26-12

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น