วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

36 หยุดก่อนลงเหว เสียงผู้หญิง สู่ ริโอ+20


5-14-12

http://dawnnet.org/advocacy-cso.php?id=202
Development Alternatives with Women for a New Era (DAWN)

RIO + 20 - THE FUTURE WE DEMAND - PACIFIC CIVIL SOCIETY - GENDER
ริโอ +20 – อนาคตที่เราเรียกร้อง – ประชาสังคมแปซิฟิก – เจนเดอร์

Pacific Civil Society Organisations (CSOs) and allies appeal to member states of the Rio+20 United Nations Conference on Sustainable Development in June 2012 for strong political leadership to avert the imminent disaster to our planet by urgently changing dominant development and political mindsets, and moving quickly to real and transformative solutions.
องค์กรประชาสังคมแปซิฟิค (CSOs) และพันธมิตรได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐสมาชิกของการประชุมสหประชาชาติ เรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืน ริโอ+20 ในเดือนมิถุนายน 2012 ให้มีภาวะผู้นำทางการเมืองที่เข้มแข็งมากพอที่จะพลิกผันภัยพิบัติที่ใกล้จะเกิดขึ้นต่อผืนพิภพของเรา โดยการรีบเร่งเปลี่ยนความเชื่อฝังหัวเรื่องการพัฒนาและการเมืองที่ครอบงำอยู่ และด้วยการรีบเร่งขยับเคลื่อนออกสู่ทางออกที่เป็นจริงและแปรเปลี่ยนสถานการณ์ได้

Call to reaffirm Rio principles
ขอเรียกร้องให้ยืนยันหลักการของริโออีกครั้ง

The ‘business as usual’ mindset has failed. We must accept that there is nothing ‘sustainable’ about current economic and social systems. We see this in the recurring global financial, energy, food, water and ecological crises leading to deeper inequality, displacement and dislocation of peoples, violent conflict, and marginalization of vulnerable communities and groups.
ความเชื่อแบบฝังหัวที่ว่า “ทุกอย่างยังเดินหน้าเหมือนเดิม” ได้ล้มเหลวแล้ว   เราจะต้องยอมรับว่า ไม่มีอะไรที่ “ยั่งยืน” เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน   เราเห็นเช่นนี้ในวิกฤตที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าของภาวะการเงิน พลังงาน อาหาร น้ำและนิเวศของโลก ที่นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมที่ลึกล้ำยิ่งขึ้น  การไล่ที่ และการขับย้ายผู้คน  ความขัดแย้งรุนแรง และการเบียดบีบชุมชนและกลุ่มเปราะบางให้อยู่ชายขอบ

We have surpassed critical tipping points in our ecological carrying capacity with already around 200 species becoming extinct around the world every day. We must do all it takes to ensure that the last remaining key biodiversity areas are safeguarded from encroachment by unsustainable production and consumption. 
เราได้ผ่านพ้นจุดวิกฤตของภาวะสมดุลที่เข็มชี้ไปที่สมรรถนะที่ถดถอยของระบบนิเวศในการรองรับชีวิต  ในแต่ละวัน สิ่งมีชีวิตประมาณ 200 สายพันธุ์ ได้สูญหายไปทั่วโลก   เราจะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจว่า พื้นที่สุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ อันเป็นกุญแจสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ จะต้องได้รับการปกป้องจากการคุกคามของการผลิตและการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน

Agendas and decisions based on these failed economic, social and ecological conditions nevertheless persist, reinventing and perpetuating the problem under new guises. The Green Economy, seen as the RIO+ vehicle to usher in genuine sustainable development, must be founded on people’s welfare and community empowerment as the key stewards of biodiversity. Government policies toward private sector involvement especially by transnational corporations in so-called Green Economy industries must be framed within the larger goal of national development, poverty eradication, participation by citizens, and transparency and accountability. We must move away from modalities where regulatory frameworks are written up at the regional level with the involvement of powerful countries whose economic interests are tied with overseas investments. The green economy must be embedded in a holistic concept of sustainability.[1]
วาระและการตัดสินใจบนฐานของเงื่อนไขเศรษฐกิจ สังคม และนิเวศที่ล้มเหลวเหล่านี้ ก็ยังยืนยงคงอยู่  ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และตอกย้ำปัญหาดังกล่าวในคราบใหม่   เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่ถูกมองว่าเป็นพาหนะของริโอ+ ในการนำทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่แท้จริง จะต้องตั้งอยู่บนสวัสดิการของประชาชน และมีการเสริมอำนาจและความมั่นใจของชุมชน ในฐานะที่เป็นผู้ขับเคลื่อนความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญ   นโยบายรัฐบาลต่อการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรษัทข้ามชาติใน สิ่งที่เรียกว่า อุตสาหกรรมเศรษฐกิจสีเขียว จะต้องตั้งอยู่ในกรอบที่มีเป้าหมายที่ใหญ่กว่า นั่นคือ การพัฒนาประเทศ  การขจัดความยากจน  การมีส่วนร่วมของพลเมือง  และความโปร่งใส และความเชื่อถือได้   เราจะต้องขยับเคลื่อนตัวให้ออกห่างจากพิธีกรรมที่กรอบการควบคุมต่างๆ ถูกเขียนขึ้นในระดับภูมิภาค ที่มีประเทศทรงอำนาจร่วมในฐานะที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจยึดโยงอยู่กับการลงทุนโพ้นทะเล    เศรษฐกิจสีเขียวจะต้องฝังตัวอยู่ในกรอบคิดที่มีองค์รวมของความยั่งยืน

In 1992 the unique environmental and economic vulnerabilities of Small Island Developing States (SIDS) were also recognized and articulated in the Barbados and Mauritius documents in Agenda 21, and subsequently reiterated by the Association of Small islands states (AOSIS) and G77 Groups[2]. There were also over 121 references to gender in Rio’s Agenda 21, and a core approach of social justice and human rights included equality for women and girls.
ในปี 1992 ได้มีการยอมรับภาวะเปราะบางเชิงสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะเล็กๆ (SIDS) และได้มีการสาธยายไว้ในเอกสารที่ บาร์บาโดส และมอริตัส ในวาระ 21 และต่อมา ได้ถูกกล่าวย้ำโดย สมาคมรัฐเกาะเล็ก (AOSIS) และกลุ่ม G77    ในวาระ 21 ของริโอ ก็ยังมีการอ้างอิงถึงกว่า 121 แห่งถึงประเด็นเจนเดอร์/เพศสภาวะ และในแนวทางแกนหลักเพื่อนำไปสู่สังคมยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ก็มีหัวข้อ ความเท่าเทียมสำหรับสตรีและเด็กหญิงด้วย

Twenty years on, these pledges made in Rio remain unfulfilled, unresourced, and under threat.
ยี่สิบปีผ่านไป คำสัญญาที่ให้ไว้ในริโอ ก็ยังไม่บรรลุ ไม่มีการให้ทุนสนับสนุน และกำลังถูกข่มขู่คุกคาม

Revisiting the Pacific context
พบกันอีกครั้งในบริบทของแปซิฟิก

Pacific Small Island Developing States (PSIDS) are acutely aware of our multifaceted risks to global economic crisis and environmental shocks. However, PSIDS also recognize our importance resilience that remains under-emphasized by civil society, development partners and Pacific governments themselves, perhaps because it directly counters the commonly pushed ideologies of free trade and financialised economies.
รัฐเกาะเล็กกำลังพัฒนาในแปซิฟิก (PSIDS) ต่างตระหนักอย่างยิ่งถึงภาวะเสี่ยงอันซับซ้อนของพวกเราต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกและอาการช็อคเชิงนิเวศ   ถึงอย่างไรก็ตาม PSIDS ก็มองเห็นความสำคัญของยืดหยุ่นที่ยังถูกมองข้ามโดยภาคประชาสังคม หุ้นส่วนในการพัฒนา และตัวรัฐบาลแปซิฟิกเอง  บางที อาจเป็นเพราะ ความยืดหยุ่นนี้ สวนทางอย่างจังกับอุดมการณ์ของตลาดค้าเสรีและเศรษฐกิจเงินตรา ที่ถูกผลักดันอยู่แล้วทั่วไป

Our locally appropriate subsistence models of economic production that exist outside of the global market economy ensure some level of resilience to shocks. We know this from research, and in our daily lives. Our close spiritual connection with the lands and sea is also at the heart
of this resilience. So as Pacific peoples we continue to defend our right to re-create and sustain our own systems of social, environmental and economic organization in the midst of regional and global pressure to conform to dysfunctional trade and financial systems that would further harm our people.
รูปแบบการผลิตเชิงเศรษฐกิจเพื่อการยังชีพที่เหมาะสมในท้องถิ่นของเรา ที่คงอยู่ได้ภายนอกระบบเศรษฐกิจตลาดโลก ได้ทำให้เราแน่ใจว่าเรามีความยืดหยุ่นต่อภาวะช็อคในบางระดับ  เรารู้ได้จากงานวิจัยและในชีวิตประจำวัน    ความใกล้ชิดเชิงจิตวิญญาณของเรากับแผ่นดินและผืนทะเล ก็เป็นหัวใจส่วนหนึ่งของความยืดหยุ่นนี้   ดังนั้น ในฐานะที่เป็นชาวแปซิฟิก พวกเราจะปกป้องสิทธิของพวกเรา ในการสร้างขึ้นใหม่และธำรงระบบของพวกเราเองในการจัดรูปองค์กรด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ท่ามกลางแรงกดดันระดับภูมิภาคและระดับโลก ให้เราสยบต่อการค้าและระบบการเงินที่พิกลพิการ ที่มีแต่จะทำร้ายประชาชนของเรามากยิ่งขึ้น

In contrast the Rio Principles, if fully and meaningfully respected, would assist to safeguard Pacific peoples’ food sovereignty, rights to trade in fairness with others, while also maintaining the good health of our environment. However, this resilience is being challenged at Rio+20 by the dominant economic and political agendas.
ในทางตรงข้าม หากหลักการริโอ ได้รับการเคารพ (และปฏิบัติตาม) อย่างมีความหมาย จะช่วยปกป้องประชาชนชาวแปซิฟิกในด้านอธิปไตยทางอาหาร สิทธิในการค้าขายอย่างเป็นธรรมกับผู้อื่น ในขณะเดียวกัน ก็รักษาสุขภาพที่ดีของสิ่งแวดล้อมของเรา   ถึงอย่างไรก็ตาม ความยืดหยุ่นนี้กำลังถูกท้าทายที่ ริโอ+20 โดยวาระเศรษฐกิจและการเมืองที่มีอำนาจเหนือกว่า

Therefore, mindful of the sovereign right of each state to exercise its political and economic self-determination on issues of national interest, PSIDS Government are called upon to rethink ‘popular’ development paths to achieving sustainable development.
ดังนั้น ด้วยความตระหนักถึงสิทธิอธิปไตยของแต่ละรัฐในการบริหารความเป็นไททางการเมืองและเศรษฐกิจ ต่อประเด็นที่กระทบผลประโยชน์ของประเทศ  ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลของ PSIDS ให้ทบทวนวิถีทางการพัฒนา “ยอดนิยม” (หรือ ทำตามแฟชั่น) เพื่อให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน

All mineral extractive industries, including experimental seabed mining, are examples of old school mal-development. What is needed is a strategic refusal by small island states and allies to participate in this false development course. In allowing essential ecosystems to be mined, we are part of a global industrialisation process that views the environment as a means to profit, with environment degradation, social exploitation, biodiversity loss, climate injustice and violence as its consequence.
อุตสาหกรรมการสกัดแร่ทั้งหมด รวมทั้งการทดลองทำเหมืองในแผ่นดินใต้ทะเล เป็นตัวอย่างของสำนักคิดเรื่องการพัฒนาแบบเก่าและผิดๆ   สิ่งที่ต้องการ คือ การปฏิเสธเชิงยุทธศาสตร์โดยรัฐและพันธมิตรเกาะเล็กที่จะมีส่วนร่วมในหนทางการพัฒนาที่ผิดและหลอกลวงนี้     ในการยอมให้ระบบนิเวศถูกขุดสกัดทำเหมือง พวกเรากลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอุตสาหกรรมโลก ที่มองว่า สิ่งแวดล้อม เป็นเพียงหนทางเพื่อทำกำไร ซึ่งนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเอารัดเอาเปรียบทางสังคม การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความไม่ยุติธรรมในภูมิอากาศ และความรุนแรงในที่สุด

As Pacific peoples, we know better. The creation of platforms to enable effective national transition toward sustainable development alternatives is imperative.
ในฐานะประชาชนของแปซิฟิก พวกเราย่อมรู้ดีกว่า   การสร้างเวทีเพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างมีประสิทธิภาพระดับประเทศสู่ทางเลือกในการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นสิ่งจำเป็น

The impacts of climate change are getting worse. Recent floods in Fiji, Tonga, Papua New Guinea and drought in Tuvalu and Niue attest to the worsening impacts. In the coming decades, climate change will motivate or force at least 200 million people to permanently leave their homelands in search of viable livelihoods and safety. Climate-induced resettlement and migration is already occurring in our region. PSIDS are thus redirecting limited resources towards acquisition of lands, conflict resolution, human rights and welfare needs of its peoples. Some PSIDS already face the ultimate threat of statelessness.
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศกำลังย่ำแย่ลงเรื่อยๆ  น้ำท่วมเมื่อเร็วๆ นี้ในฟิจิ ทองกา ปาปัวนิวกินี และน้ำแล้งใน ตูวาลู และนิว ได้พิสูจน์ความจริงของผลกระทบที่เลวร้ายยิ่งขึ้น   ในทศวรรษหน้า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจะกระตุ้นหรือบังคับให้ประชาชนอย่างน้อย 200 ล้านคน ให้ถอนตัวออกจากแผ่นดินถิ่นเกิดของตนอย่างถาวรเพื่อแสวงหาวิถีชีวิตที่อยู่รอดได้และปลอดภัย   การตั้งรกรากใหม่และการย้ายถิ่นที่เกิดจากภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นแล้วในภูมิภาคของเรา   PSIDS จึงผันทรัพยากรอันจำกัด ไปใช้เพื่อหาที่ดิน การแก้ไขความขัดแย้ง สิทธิมนุษยชน และสนองความต้องการด้านสวัสดิการของประชาชนของตน   บางรัฐของ PSIDS กำลังเผชิญกับภัยคุกคามของภาวะไร้รัฐ

Member states must give this existential threat due consideration. Clearly, the urgent and ambitious reduction of greenhouse gas emissions to levels established by the IPCC is the ONLY just solution to avert runaway climate change.
รัฐสมาชิกจะต้องพิจารณาภัยคุกคามที่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้   เห็นได้ชัดว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วนและทะเยอทะยานให้ถึงระดับที่ IPCC ได้กำหนดไว้ เป็นทางออกที่เป็นธรรม “ทางเดียว” ที่จะพลิกผันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่กู่ไม่กลับ

Our current ecological crisis will also require urgent state policy and resources for agricultural and fisheries practices based on universal human rights and social justice -  not just because this is the right thing to do, but because it is the inattention to core human rights and needs that has brought us to this very point.
วิกฤตนิเวศของเราที่กำลังเกิดขึ้น จะต้องมีนโยบายรัฐเร่งด่วนและทรัพยากร/ทุนสนับสนุนเกษตรกรรมและการประมงที่ตั้งอยู่บนฐานของสิทธิมนุษยธรรมสากลและความเป็นธรรมในสังคม—ไม่ใช่เพียงเพราะ นี่เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องทำ แต่เพราะว่า การปล่อยปละละเลยถึงแก่นของสิทธิมนุษยชนและความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ได้นำพาพวกเราให้มาถึงจุดที่เลวร้ายเช่นทุกวันนี้

The future that the peoples of the Pacific demand in solidarity with others around the world, is one of social justice and human rights for all, and a recognition of the need to balance the three pillars of sustainable development –environmental, social and economic sustainability.[3]
อนาคตที่ประชาชนแห่งแปซิฟิกขอเรียกร้อง โดยร่วมเป็นเสียงเดียวกับผู้อื่นรอบโลก คือ ความยุติธรรมในสังคมและสิทธิมนุษยชนสำหรับคนทั้งหมด และการยอมรับถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างสามเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน—สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

Therefore in appealing to the UNCSD to regain full ownership of the Rio process, Pacific Civil society organizations urgently call upon member states to:
ดังนั้น ในการอุทธรณ์ต่อ UNCSD เพื่อทวงคืนความเป็นเจ้าของในกระบวนการริโอ องค์กรประชาสังคมแปซิฟิก ขอร้องเรียนอย่างเร่งด่วนต่อรัฐสมาชิกให้

Ø  reclaim and reaffirm their commitment to the principles of sustainable development laid out in Agenda 21. These include the principle of: ‘common but differentiated responsibility’, ‘precautionary principle’, the principle of ‘historical responsibility’ (historical debt) and more recently the principle of ‘free prior and informed consent’;
-          ทวงคืนและยืนยันอีกครั้งถึงพันธกิจต่อหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ถูกกำหนดในวาระ 21  ซึ่งรวมถึงหลักการ “ร่วมแต่รับผิดชอบแตกต่าง”  “หลักการระวังตัวแต่เนิ่นๆ”  หลักการ “ความรับผิดชอบเชิงประวัติศาสตร์” (หนี้ประวัติศาสตร์) และหลักการที่บัญญัติเร็วๆ นี้ “ต้องมีการตกลงยอมรับก่อนโดยผู้ตกลงมีอิสรภาพและได้รับรู้ข้อมูล”

Ø  re-establish state responsibility as an indispensable actor in this process of reversing the imbalances created by the dominant economic system, beginning with setting legal and enforceable frameworks and standards of gender equality and universal human rights as well as social, economic and ecological justice as the means to, as well as the goals of, the creation and maintenance of sustainable and holistic communities;
-          กำหนดความรับผิดชอบของรัฐขึ้นใหม่ ในฐานะที่เป็นตัวละครที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการพลิกผันความไม่สมดุล ที่ระบบเศรษฐกิจที่มีอำนาจครอบงำอยู่ได้สร้างขึ้น โดยเริ่มด้วยการบัญญัติกฎหมาย และบังคับใช้กรอบคิด และมาตรฐานของความเท่าเทียมเชิงเพศสภาวะ และสิทธิมนุษยชนสากล ตลอดจน ความยุติธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และนิเวศ ในฐานะที่เป็นมรรควิถี ตลอดจนเป็นเป้าหมาย ของการสรรค์สร้างและธำรงชุมชนที่ยั่งยืนและเป็นองค์รวม


Ø  accept that there are limits to the ‘growth’ paradigm and that the Green Economy, put forward as an strategy to realise genuine sustainable development, must be safeguarded from corporatised growth-based frames and initiatives that serve to perpetuate these failures;
-          ยอมรับว่า ทฤษฎี “การขยายตัว” มีขอบเขตจำกัด และว่า เศรษฐกิจสีเขียว ที่ถูกยกให้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงนั้น จะต้องได้รับการปกป้องจากกรอบคิดที่ตั้งอยู่บนฐานของการขยายตัวของบริษัท และการริเริ่มที่รังแต่จะส่งเสริมให้เกิดความล้มเหลวเหล่านั้น

Ø  reaffirm that poverty and economic injustice cannot be alleviated by more ‘growth’ but rather through more economic-social inclusion and in reemphasizing human quality in equilibrium with the environment as the key focus of development. A just, sustainable society is possible and more desirable than a society in constant material expansion. This approach is the only alternative to catastrophe.
-          ยืนยันอีกครั้งว่า ความยากจนและความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วย การ “ขยายตัว” มากขึ้น แต่จะต้องด้วยการโอบรวมให้คนมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ-สังคมมากขึ้น และด้วยการเน้นย้ำถึงคุณภาพมนุษย์ที่สมดุลกับสิ่งแวดล้อม ให้เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา   สังคมที่เป็นธรรม ยั่งยืน เป็นไปได้ และพึงประสงค์กว่า สังคมที่ขยายตัวทางวัตถุอย่างต่อเนื่อง   แนวทางนี้ เป็นหนทางเดียวที่เป็นทางเลือกแทนความหายนะที่จะนำไปสู่จุดจบ

Ø  In recognition of the special challenges of mining in the Pacific region, PSIDS are further called upon to:
-          ในการยอมรับถึงความท้าทายพิเศษของการทำเหมืองในภูมิภาคแปซิฟิก PSIDS ขอเรียกร้องให้

·        reject mineral extractive industries, and in particular experimental sea bed mining in the Pacific and to support the transition toward  sustainable alternatives;
o   ปฏิเสธอุตสาหกรรมการสกัดแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทดลองทำเหมืองบนแผ่นดินใต้ทะเลในแปซิฟิก และเพื่อสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทางเลือกที่ยั่งยืน

·        reassert state responsibility to always uphold, through policy regulation and enforcement, the interests of the public and of the environment over that of corporate industry;
o   ให้ยืนยันอีกครั้งถึงความรับผิดชอบของรัฐที่จะเคารพ โดยผ่านการควบคุมเชิงนโยบายและบังคับใช้ ผลประโยชน์ของสาธารณะและของสิ่งแวดล้อม เหนือกว่าของบริษัทอุตสาหกรรม

·        strengthen the accountability mechanisms, resources and capacity of UNCLOS, as the only international UN governance mechanism on oceans;
o   ทำให้กลไกสร้างความน่าเชื่อถือ ทรัพยากร และสมรรถนะของ UNCLOS  เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นกลไกเดียวของสหประชาชาติในการปกครองผืนมหาสมุทรระหว่างชาติ

Ø  dually recognize that SIDS are in need of urgent financing for adaptation and mitigation actions under the principle of historical responsibility; AND also encourage and nurture the development of local economic and social models of development that increase the resilience of PSIDS communities to face the adverse impacts of the ongoing global  interlinked crises;
-          ให้ยอมรับควบคู่กันว่า SIDS กำลังต้องการความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วนเพื่อการปรับตัว และการผ่อนผัน ภายใต้หลักการ ความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์  และชักชวนและหล่อเลี้ยงการพัฒนาต้นแบบเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมท้องถิ่น ที่เพิ่มความยืดหยุ่นของชุมชน PSIDS ในการเผชิญหน้ากับผลกระทบร้ายแรงของวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นระดับโลกที่โยงใยกัน

Ø  take decisive action by engaging in collaboration between States and global civil society partners to develop new paradigms of ‘oikos’ and whole-earth justice. Such a framing would include integrated, synergistic work on the financial crisis, the food crisis, climate change, universal human rights including gender equality, indigenous rights, and social justice;
-          ให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดด้วยการเข้ามีส่วนร่วมในความร่วมมือระหว่างรัฐและหุ้นส่วนภาคประชาสังคมโลก ในการพัฒนากรอบคิดใหม่ ‘oikos’ และความยุติธรรมในผืนพิภพทั้งมวล   กรอบคิดเช่นนี้ จะผนวกรวมความผสมผสาน การทำงานที่สอดคล้องกัน เกี่ยวกับวิกฤตการเงิน วิกฤตน้ำท่วม ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง สิทธิมนุษยชนสากล รวมทั้งความเสมอภาคเชิงเพศสภาวะ สิทธิดั้งเดิม และความยุติธรรมในสังคม

Ø  Finally, we call for legally binding commitments to reduce global greenhouse gases by 45% by 2020 and 80% by 2050 from pre-industrial levels to guarantee that global mean temperatures stay below 1.5° Celsius, in accordance with the principle of common but differentiated responsibilities and respective capabilities, and as the real minimum level to ensure continued survival of Pacific peoples.
-          สุดท้าย เราขอเรียกร้องให้มีความผูกมัดทางกฎหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกในโลกถึง 45% ในปี 2020 และ 80% ในปี 2050  โดยเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างหลักประกันว่า อุณหภูมิกลางของโลกจะต่ำกว่า 1.5° เซลเซียส ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ “ร่วมแต่รับผิดชอบแตกต่าง” และตามสมรรถนะของแต่ละแห่ง และในฐานะที่เป็นจุดต่ำสุดตามความเป็นจริง เพื่อให้มั่นใจว่า ประชาชนชาวแปซิฟิกจะอยู่รอดได้ต่อไป

16 April 2012

This statement is endorsed by the following local, national, regional, economic south and global organizations:
แถลงการณ์นี้ ได้รับการสนับสนุนรับรองโดยองค์กรท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับกลุ่มเศรษฐกิจใต้ และระดับโลก ดังนี้

-Development Alternatives with Women for a New Era, DAWN -Fiji Women’s Rights Movement, FWRM -Pacific Network on Globalisation, PANG

-Pacific Conference of Churches, PCC -Act Now! , PNG -Bagabag Community Development– (PNG) Association, PNG -Bismark Ramu Group, PNG

-Christians for Environmental Stewardship, PNG -Chuuk Women's Island Network, CWIN, CHUUK -FemLINKPACIFIC, GPPAC Pacific Secretariat, Regional Women's Media and Policy Network on UNSCR1325 -Fiji Media Watch, FIJI -Forest Management and Products Certification Services Ltd,FORCERT Ltd, PNG -Foundation for Rural Integrated Enterprises and Development, FRIEND, Fiji -International Women’s Development Agency, IWDA, Australia -Jiwaka Friends, PNG -Jomako , PNG -LGBTI and Allies Working Group, Samoa -Live & Learn Environmental Education, Fiji

-Madang Indigenous People's Forum, PNG -Moruroa et Tatou, Maohi Nui/ French Polynesia -Ole Siosiomaga Inc. – OLSSI, Samoa -Pacific Youth Council – PYC, Regional -Project Survival Pacific, Regional -RAMU River Conservation and Management Authority, PNG -Ramu Valley Landowners Association, PNG -REMPI Youth, PNG -Sauba, PNG -Social Economic Empowerment Programme, SEEP, Fiji -South Whagi Peacebuilder Association, PNG -Tuvalu Association of NGOs , TANGO, Tuvalu -Voice for Change, PNG -Women’s Action for Change, WAC, Fiji -World Wide Nature Fund – WWF-SPPO , Regional

Individuals
ปัจเจกบุคคล

-Catherine Sparks (individual), Vanuatu -Dr. Claire Slatter, USP, Fiji -Jack Byrne, Auckland, Aotearoa / New Zealand -Krishneil Narayan, Fiji -Lisa Williams-Lahari, Cook Islands -Ngedikes 'Olai' Uludong, Palau -Rt. Hon. Bikenibeu Paeniu, Former Prime Minister of Tuvalu, Signatory for Tuvalu of the Convention on Sustainable Development, in Rio de Janeiro, Brazil, in 1994.

If you would like to endorse this statement, please send your details to: noelenen@gmail.com
BY MAY 31, 2012.
หากคุณต้องการสนับสนุนแถลงการณ์นี้ โปรดส่งรายละเอียดของคุณไปที่ noelenen@gmail.com  
ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2012.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น