วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

38. การปฏิวัติที่ไม่เงียบ...ในซีกโลกเหนือ


Colonized by Corporations
by Chris Hedges
ตกเป็นอาณานิคมของบรรษัท
โดย คริส เฮดจ์ส

In Robert E. Gamer’s book “The Developing Nations” is a chapter called “Why Men Do Not Revolt.” In it Gamer notes that although the oppressed often do revolt, the object of their hostility is misplaced. They vent their fury on a political puppet, someone who masks colonial power, a despised racial or ethnic group or an apostate within their own political class. The useless battles serve as an effective mask for what Gamer calls the “patron-client” networks that are responsible for the continuity of colonial oppression. The squabbles among the oppressed, the political campaigns between candidates who each are servants of colonial power, Gamer writes, absolve the actual centers of power from addressing the conditions that cause the frustrations of the people. Inequities, political disenfranchisement and injustices are never seriously addressed. “The government merely does the minimum necessary to prevent those few who are prone toward political action from organizing into politically effective
groups,” he writes.
ในหนังสือของ โรเบิร์ต แกมเมอร์ “ชาติที่กำลังพัฒนา” มีบทหนึ่งชื่อ “ทำไมคนถึงไม่ปฏิวัติ”   แกมเมอร์ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ผู้ถูกกดขี่จะปฏิวัติ แต่มักพุ่งความโกรธแค้นไปผิดเป้า ด้วยการระบายความเกรี้ยวกราดไปที่หุ่นนักการเมือง ที่สวมหน้ากากอำนาจของเจ้าอาณานิคม ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ที่ถูกเหยียดหยามในหมู่ชนชั้นนักการเมืองด้วยกันเอง   สงครามที่ไร้ประโยชน์เช่นนี้ เป็นเพียงหน้ากากชั้นดีสำหรับสิ่งที่แกมเมอร์เรียกว่า เครือข่าย “อุปถัมภ์” ที่มีส่วนรับผิดชอบให้ระบบกดขี่แบบเจ้าอาณานิคมดำเนินอยู่ได้ต่อไป   การทะเลาะเบาะแว้งระหว่างเหล่าผู้ถูกกดขี่ การรณรงค์ทางการเมืองระหว่างผู้ลงสมัครชิงตำแหน่ง ซึ่งแต่ละคนก็เป็นผู้รับใช้ของอำนาจเจ้าอาณานิคม เป็นการทำให้ศูนย์กลางอำนาจที่แท้จริงพ้นผิดจากโทษฐานที่ไม่ดูแลต้นเหตุที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน    ความไม่เท่าเทียมกัน การไม่มีสิทธิเลือกตั้งทางการเมือง และความอยุติธรรม ไม่เคยถูกยกขึ้นมาแก้ไขอย่างจริงจัง   “รัฐบาลเพียงแต่ทำสิ่งจำเป็นขั้นต่ำ เพื่อกีดกันไม่ให้คนไม่กี่คนที่มีแนวโน้มในการจัดกระบวนประชาชนให้เป็นกลุ่มการเมืองที่มีประสิทธิภาพ

Gamer and many others who study the nature of colonial rule offer the best insights into the functioning of our corporate state. We have been, like nations on the periphery of empire, colonized. We are controlled by tiny corporate entities that have no loyalty to the nation and indeed in the language of traditional patriotism are traitors. They strip us of our resources, keep us politically passive and enrich themselves at our expense. The mechanisms of control are familiar to those whom the Martinique-born French psychiatrist and writer Frantz Fanon called “the wretched of the earth,” including African-Americans. The colonized are denied job security. Incomes are reduced to subsistence level. The poor are plunged into desperation. Mass movements, such as labor unions, are dismantled. The school system is degraded so only the elites have access to a superior education.  Laws are written to legalize corporate plunder and abuse, as well as criminalize dissent. And the ensuing fear and instability—keenly felt this past weekend by the more than 200,000 Americans who lost their unemployment benefits—ensure political passivity by diverting all personal energy toward survival. It is an old, old game.
          แกมเมอร์และอีกหลายๆ คนที่ศึกษาถึงธรรมชาติของการปกครองแบบอาณานิคม ได้ให้มุมมองลึกซึ้งถึงการทำงานของรัฐบรรษัทของเรา   พวกเราก็เป็นเหมือนรัฐชาติที่อยู่ชายขอบของจักรวรรดิ ที่ตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคม  พวกเราถูกควบคุมโดยกลุ่มเล็กๆ ที่ประกอบด้วยเหล่าบรรษัทนิติบุคคล ที่ไม่มีความภักดีต่อรัฐชาติ อันที่จริง ในภาษาของความรักชาติแบบเดิมๆ พวกเขาเป็นผู้ทรยศ   พวกเขาขูดลอกทรัพยากรของพวกเรา กดทับให้พวกเราเป็นง่อยทางการเมือง และบำรุงเลี้ยงตัวเองโดยพวกเราเป็นคนจ่าย   กลไกการควบคุมนั้น คล้ายคลึงกับพวกที่จิตแพทย์ฝรั่งเศส และนักเขียน Frantz Fanon เรียกว่า “คนเคราะห์ร้ายของโลก” รวมทั้งชาวอัฟริกัน-อเมริกัน   ผู้ตกเป็นอาณานิคมก็ถูกกีดกันไม่ให้มีงานทำที่มั่นคง   รายได้ถูกลดเหลือเพียงระดับยังชีพ   คนยากจนถูกโยนลงสู่ห้วงเหวแห่งความสิ้นหวัง   การเคลื่อนไหวของมวลชน เช่น สหภาพแรงงาน ถูกแทรกซึมจนล่มสลาย   ระบบโรงเรียนถูกกัดกร่อนจนมีแต่คนร่ำรวยและมีอภิสิทธิ์ที่เข้าถึงการศึกษาที่ดีกว่า   กฎหมายถูกเขียนขึ้นเพื่อทำให้การโกงและข่มเหงของบรรษัทเป็นเรื่องถูกกฎหมาย รวมทั้งลงทัณฑ์ผู้คัดค้าน   ความกลัวและความระส่ำระสายที่ตามมาติดๆ—ที่รู้สึกได้อย่างแรงเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อชาวอเมริกันกว่า 200,000 คน ต้องสูญเสียสวัสดิการสำหรับคนว่างงาน—ทำให้แน่ใจว่า การเมืองจะเชื่องลงด้วยการหันเหพลังส่วนตัวของทุกคนไปที่แสวงหาทางอยู่รอด   นี่เป็นเกมหนึ่งที่เก่าแก่มาก 
 
A change of power does not require the election of a Mitt Romney or a Barack Obama or a Democratic majority in Congress, or an attempt to reform the system or electing progressive candidates, but rather a destruction of corporate domination of the political process—Gamer’s “patron-client” networks. It requires the establishment of new mechanisms of governance to distribute wealth and protect resources, to curtail corporate power, to cope with the destruction of the ecosystem and to foster the common good. But we must first recognize ourselves as colonial subjects. We must accept that we have no effective voice in the way we are governed. We must accept the hollowness of electoral politics, the futility of our political theater, and we must destroy the corporate structure itself.
          การเปลี่ยนอำนาจไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง Mitt Romney หรือ Barack Obama หรือ ให้ได้เสียงส่วนใหญ่ที่เป็นแดโมเครตในสภาคองเกรส หรือ ความพยายามที่จะปฏิรูประบบ หรือ เลือกผู้สมัครที่มีหัวก้าวหน้า  แต่ควรเป็นการทำลายอำนาจครอบงำของบรรษัทเหนือกระบวนการเมือง—เครือข่าย “อุปถัมภ์” ของแกมเมอร์     จะต้องมีการสถาปนากลไกใหม่ในการปกครองที่กระจายความมั่งคั่งและปกป้องทรัพยากร  ที่ลดอำนาจของบรรษัท  ที่รับมือกับการทำลายล้างระบบนิเวศน์ และที่หล่อเลี้ยงสาธารณะประโยชน์   แต่ขั้นแรก พวกเราจะต้องตระหนักถึงสถานะของพวกเราเองว่าเป็นผู้อยู่ภายใต้ระบอบอาณานิคม   พวกเราจะต้องยอมรับว่า พวกเราไม่มีเสียงที่มีประสิทธิภาพในระบอบที่เราถูกปกครอง   พวกเราจะต้องยอมรับถึงความโพรงกลวงของการเมืองเลือกตั้ง ความไร้ประโยชน์ของเวทีละครการเมืองของเรา และพวกเราจะต้องทำลายโครงสร้างบรรษัท

The danger the corporate state faces does not come from the poor. The poor, those Karl Marx dismissed as the Lumpenproletariat, do not mount revolutions, although they join them and often become cannon fodder. The real danger to the elite comes from déclassé intellectuals, those educated middle-class men and women who are barred by a calcified system from advancement. Artists without studios or theaters, teachers without classrooms, lawyers without clients, doctors without patients and journalists without newspapers descend economically. They become, as they mingle with the underclass, a bridge between the worlds of the elite and the oppressed. And they are the dynamite that triggers revolt.
อันตรายที่รัฐบรรษัทเผชิญอยู่ไม่ได้มาจากคนยากจน  คนยากจน หรือพวกที่คาร์ล มาร์กซ์ ปัดว่าเป็นชนชั้นต่ำที่โง่เซ่อ ไม่ใช่ผู้ก่อการปฏิวัติ แม้ว่าพวกเขาจะเข้าร่วมและมักกลายเป็นเหยื่อปืนใหญ่   อันตรายที่แท้จริงสำหรับอภิสิทธิ์ชน มาจากพวกปัญญาชนที่ถูกลดชั้น ชายและหญิงชนชั้นกลางที่มีการศึกษา ที่ถูกขวางกั้นโดยระบบการแบ่งชั้นวรรณะที่แข็งตัวพร้อมกับความเจริญก้าวหน้า   ศิลปินที่ไม่มีสตูดิโอหรือโรงละคร  ครูที่ไม่มีห้องเรียน ทนายความที่ไม่มีลูกความ  หมอที่ไม่มีคนไข้ และนักข่าวที่ไม่มีหนังสือพิมพ์ ต่างถอยลงขั้นบันไดเศรษฐกิจ  เมื่อพวกเขาคลุกคลีกับคนใต้ชนชั้น พวกเขากลายเป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกของอภิสิทธิ์ชนกับโลกของคนถูกกดขี่  และพวกเขาก็เป็นระเบิดที่ลั่นไกปฏิวัติ

This is why the Occupy movement frightens the corporate elite. What fosters revolution is not misery, but the gap between what people expect from their lives and what is offered. This is especially acute among the educated and the talented. They feel, with much justification, that they have been denied what they deserve. They set out to rectify this injustice. And the longer the injustice festers, the more radical they become.
          นี่เป็นสาเหตุที่ทำไม การยึดพื้นที่วอลล์สตรีทจึงทำให้บรรษัทอภิสิทธิ์ชนตระหนกกลัว  สิ่งที่หล่อเลี้ยงการปฏิวัติไม่ใช่ความทุกข์ยาก แต่เป็นช่องว่างระหว่างสิ่งที่ผู้คนคาดหวังจากชีวิต และสิ่งที่ได้รับในชีวิตจริง    นี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด โดยเฉพาะในหมู่ผู้ได้รับการศึกษาและมีพรสวรรค์   พวกเขารู้สึกว่า มันเป็นความชอบธรรม เมื่อพวกเขาถูกปฏิเสธสิ่งที่พวกเขาพึงได้รับ พวกเขาจึงมุ่งหน้าไปสู่ทางที่จะแก้ไขความอยุติธรรมนี้   ยิ่งปล่อยให้ความอยุติธรรมเป็นหนองอยู่นานเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งหัวรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

The response of a dying regime—and our corporate regime is dying—is to employ increasing levels of force, and to foolishly refuse to ameliorate the chronic joblessness, foreclosures, mounting student debt, lack of medical insurance and exclusion from the centers of power. Revolutions are fueled by an inept and distant ruling class that perpetuates political paralysis. This ensures its eventual death.
การขานรับของระบอบที่กำลังจะตาย—และระบอบบรรษัทของเรากำลังจะตาย—คือ การใช้กำลังมากขึ้น และปฏิเสธอย่างงี่เง่าที่จะเยียวยาสภาวะไร้งานที่เรื้อรัง การยึดทรัพย์ที่จำนองไว้  การทวีหนี้ของนักศึกษา  การไร้หลักประกันสุขภาพ และการเบียดขับให้ออกจากศูนย์กลางของอำนาจ   การปฏิวัติถูกกระพือด้วยชนชั้นปกครองที่ไร้ความสามารถและเหินห่างเฉยเมย ที่มีแต่ทำให้การเมืองเป็นอัมพาต  นี่เป็นการนำไปสู่ความตายของมันเองในที่สุดอย่างแน่นอน

In every revolutionary movement I covered in Latin America, Africa and the Middle East, the leadership emerged from déclassé intellectuals. The leaders were usually young or middle-aged, educated and always unable to meet their professional and personal aspirations. They were never part of the power elite, although often their parents had been. They were conversant in the language of power as well as the language of oppression. It is the presence of large numbers of déclassé intellectuals that makes the uprisings in Spain, Egypt, Greece and finally the United States threatening to the overlords at Goldman Sachs, ExxonMobil and JPMorgan Chase. They must face down opponents who understand, in a way the uneducated often do not, the lies disseminated on behalf of corporations by the public relations industry. These déclassé intellectuals, because they are conversant in economics and political theory, grasp that those who hold power, real power, are not the elected mandarins in Washington but the criminal class on Wall Street.
ในขบวนการปฏิวัติทุกครั้งที่ผมได้ทำไปข่าวในลาตินอเมริกา อัฟริกา และตะวันออกกลาง ผู้นำผุดขึ้นมาจากหมู่ปัญญาชนที่ถูกลดชั้น  ผู้นำมักจะเป็นคนหนุ่มสาว หรือกลางคน มีการศึกษาดี และทั้งหมดไม่สามารถบรรลุความใฝ่ฝันในวิชาชีพและชีวิตส่วนตัว  พวกเขาไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจเช่นเดียวกับเหล่าอภิสิทธิ์ชน แม้ว่าพ่อแม่ของพวกเขามักจะเคยเป็นเช่นนั้นมาก่อน   พวกเขามีประสบการณ์ในการใช้ภาษาของผู้มีอำนาจ รวมทั้งภาษาของการกดขี่   การมีปัญญาชนที่ถูกลดชั้นเป็นจำนวนมาก เป็นปัจจัยให้เกิดการลุกฮือขึ้นในสเปน อียิปต์ กรีซ และในที่สุด สหรัฐฯ ที่ข่มขู่ผู้มีอำนาจสูงใน Goldman Sachs, ExxonMobil และ JPMorgan Chase   พวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่เข้าใจในสิ่งที่คนไม่มีการศึกษามักจะไม่รู้เรื่อง คือ ความโป้ปดมดเท็จที่ถูกเผยแพร่ในนามของบรรษัท โดยอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์   ด้วยความคุ้นเคยกับทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ปัญญาชนลดชั้นเหล่านี้ คว้าคอตัวจริงที่กุมอำนาจ ไม่ใช่เหล่าขุนนางเลือกตั้งในกรุงวอชิงตัน แต่เป็นพวกชนชั้นอาชญากรที่วอลล์สตรีท

This is what made Malcolm X so threatening to the white power structure. He refused to countenance Martin Luther King’s fiction that white power and white liberals would ever lift black people out of economic squalor. King belatedly came to share Malcolm’s view. Malcolm X named the enemy. He exposed the lies. And until we see the corporate state, and the games it is playing with us, with the same kind of clarity, we will be nothing more than useful idiots.
          นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ Malcolm X ดูน่ากลัวมากสำหรับโครงสร้างอำนาจของคนผิวขาว  เขาปฏิเสธที่จะยอมรับเทพนิยายของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ที่ว่า ชาวผิวขาวที่มีอำนาจและหัวก้าวหน้า จะยกชาวผิวดำให้หลุดพ้นจากตมเศรษฐกิจ  กว่าคิงจะเริ่มได้คิดแบบมัลคอล์ม ก็สายมากแล้ว   มัลคอล์ม เอ็กซ์ ระบุชื่อศัตรู ตีแผ่คำหลอกลวง    จนกว่าเราจะเห็นรัฐบรรษัทและเกมที่พวกเขาเล่นกับเราอย่างชัดแจ้งแบบเดียวกับมัลคอล์ม พวกเราก็จะไม่เป็นอะไรมากกว่าเป็นคนงี่เง่าที่มีประโยชน์

“This is an era of hypocrisy,” Malcolm X said. “When white folks pretend that they want Negroes to be free, and Negroes pretend to white folks that they really believe that white folks want ’em to be free, it’s an era of hypocrisy, brother. You fool me and I fool you. You pretend that you’re my brother and I pretend that I really believe you believe you’re my brother.”
          “นี่เป็นยุคของการปากว่าตาขยิบ” มัลคอล์มกล่าว  “เมื่อคนผิวขาวแสร้งทำเป็นว่า พวกเขาต้องการให้นิโกรมีอิสรภาพ และนิโกรก็เสแสร้งตอบต่อคนผิวขาวว่า พวกเขาเชื่อจริงๆ ว่าคนผิวขาวต้องการให้พวกเขาเป็นอิสระ พี่น้องทั้งหลาย มันเป็นยุคของการปากว่าตาขยิบ  คุณหลอกผม และผมก็หลอกคุณ  คุณแสร้งทำตัวเป็นพี่ชายของผม และผมก็แสร้งทำเป็นว่าเชื่อคุณจริงๆ เชื่อว่าคุณเป็นพี่ชายของผม”

Those within a demoralized ruling elite, like characters in a Chekhov play, increasingly understand that the system that enriches and empowers them is corrupt and decayed. They become cynical. They do not govern effectively. They retreat into hedonism. They no longer believe their own rhetoric. They devote their energies to stealing and exploiting as much, as fast, as possible. They pillage their own institutions, as we have seen with the newly disclosed loss of $2 billion within JPMorgan Chase, the meltdown of Chesapeake Energy Corp. or the collapse of Enron and Lehman Brothers. The elites become cannibals. They consume each other. This is what happens in the latter stages of all dying regimes. Louis XIV pillaged his own nobility by revoking patents of nobility and reselling them. It is what most corporations do to their shareholders. A dying ruling class, in short, no longer acts to preserve its own longevity. It becomes fashionable, even in the rarefied circles of the elite, to ridicule and laugh at the political puppets that are the public face of the corporate state.
พวกที่อยู่ภายในแวดวงอภิสิทธิ์ชนที่ไร้ศีลธรรม เช่นเดียวกับตัวละครใน วรรณกรรมของ Chekhov เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า ระบบที่ทำให้พวกเขาร่ำรวยและเรืองอำนาจ มีแต่ความทุจริตที่เน่าเปื่อย  พวกเขาเริ่มอยู่อย่างประชดชีวิต  ไม่ทำหน้าที่ปกครองอย่างมีประสิทธิภาพ  กลับถอยหลังเสพสุขไปวันๆ   พวกเขาไม่เชื่อในถ้อยคำจูงใจที่พวกเขาพูดซ้ำๆ ซากๆ อีกต่อไป  กลับอุทิศพลังงานตนเองไปที่การลักขโมยและกดขี่ขูดรีดให้มากที่สุด เร็วที่สุด   พวกเขาปล้นสะดมสถาบันของตนเอง ดังที่เราได้เห็นจากข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เงิน 2 พันล้านดอลลาร์ ได้หายไปจาก JPMorgan Chase  การหลอมละลายของ Chesapeake Energy Corp. หรือ การล้มครืนของ Enron และ Lehman Brothers  เหล่าอภิสิทธิ์ชนได้กลายเป็นคนกินเนื้อคน  พวกเขากินกันเอง  นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในขั้นท้ายๆ ของระบอบทั้งปวงที่กำลังจะตาย  พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ปล้นสะดมสถานภาพอันสูงส่งของตนเอง ด้วยการเพิกถอนสิทธิของการเป็นชนชั้นสูง และเอามาขายใหม่  นี่เป็นสิ่งที่บรรษัทส่วนใหญ่กระทำต่อผู้ถือหุ้นของตน   พูดสั้นๆ ชนชั้นปกครองที่กำลังจะตาย ไม่สามารถปฏิบัติการต่อไปเพียงเพื่อรักษาอายุอันยืนยาวของตัวเอง  มันกลายเป็นแฟชั่น แม้แต่ในวงการชนชั้นอภิสิทธิ์ชน ที่ถากถางและหัวเราะเยาะใส่หุ่นนักการเมือง ที่เป็นหน้ากากสาธารณะของรัฐบรรษัท

“Ideas that have outlived their day may hobble about the world for years,” Alexander Herzen wrote, “but it is hard for them ever to lead and dominate life. Such ideas never gain complete possession of a man, or they gain possession only of incomplete people."
          “ความคิดที่มีชีวิตอยู่นานเกินวันเวลาของตัวเอง อาจเวียนว่ายอย่างกระโผกกระเผลกต่อไปในโลกอีกหลายปี”  Alexander Herzen เขียน “แต่มันยากที่ความคิดเหล่านี้จะนำและครอบงำชีวิต  มันไม่เคยเข้าสิงในตัวมนุษย์ได้เต็มที่ หรือสิงได้ก็ในคนที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น”

This loss of faith means that when it comes time to use force, the elites employ it haphazardly and inefficiently, in large part because they are unsure of the loyalty of the foot soldiers on the streets charged with carrying out repression.
          การสูญไปของความศรัทธา หมายความว่า เมื่อถึงเวลาใช้กำลังกัน อภิสิทธิ์ชนจะใช้กำลังอย่าซุ่มซ่าม และไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่เพราะพวกเขาไม่แน่ใจว่า พลทหารที่ถูกสั่งให้ประจำการอยู่บนท้องถนน จะยังภักดีพอที่จะทำตามคำสั่งให้ปราบปรามหรือไม่

Revolutions take time. The American Revolution began with protests against the Stamp Act of 1765 but did not erupt until a decade later. The 1917 revolution in Russia started with a dress rehearsal in 1905. The most effective revolutions, including the Russian Revolution, have been largely nonviolent. There are always violent radicals who carry out bombings and assassinations, but they hinder, especially in the early stages, more than help revolutions. The anarchist Peter Kropotkin during the Russian Revolution condemned the radical terrorists, asserting that they only demoralized and frightened away the movement’s followers and discredited authentic anarchism.
          การปฏิวัติใช้เวลา  ปฏิวัติอเมริกันเริ่มต้นด้วยการประท้วงต่อต้าน พรบ แสตมป์ 1765 แต่ก็ไม่ได้ปะทุขึ้นจนหนึ่งทศวรรษได้ผ่านไป   การปฏิวัติ 1917 ในรัสเซีย เริ่มขึ้นพร้อมกับการฝึกซ้อมในปี 1905  การปฏิวัติที่มีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้งการปฏิวัติของรัสเซีย ส่วนใหญ่ไม่ใช้ความรุนแรง   มีพวกหัวรุนแรงที่ฝักใฝ่การใช้อาวุธร่วมอยู่ด้วยเสมอที่เป็นมือระเบิดและมือสังหาร  แต่พวกเขามักขัดขวาง โดยเฉพาะในขั้นต้น มากกว่าช่วยส่งเสริมการปฏิวัติ   ในระหว่างการปฏิวัติรัสเซีย นักอนาธิปไตย Peter Kropotkin ประณามพวกก่อการร้ายหัวรุนแรงว่า มีแต่จะทำให้ผู้คล้อยตามการเคลื่อนไหวหมดศรัทธาและตระหนกกลัวหลีกลี้หนีไป จึงเป็นการทำให้อนาธิปไตยที่แท้จริงเสียความน่าเชื่อถือ

Radical violent groups cling like parasites to popular protests. The Black Panthers, the American Indian Movement, the Weather Underground, the Red Brigades and the Symbionese Liberation Army arose in the ferment of the 1960s. Violent radicals are used by the state to justify harsh repression. They scare the mainstream from the movement. They thwart the goal of all revolutions, which is to turn the majority against an isolated and discredited ruling class. These violent fringe groups are seductive to those who yearn for personal empowerment through hyper-masculinity and violence, but they do little to advance the cause. The primary role of radical extremists, such as Maximilien Robespierre and Vladimir Lenin, is to hijack successful revolutions. They unleash a reign of terror, primarily against fellow revolutionaries, which often outdoes the repression of the old regime. They often do not play much of a role in building a revolution.
กลุ่มสุดโต่งที่ฝักใฝ่ความรุนแรง เป็นเหมือนพยาธิ์ที่เกาะติดกับกระบวนการประท้วงของประชาชน   กลุ่ม Black Panthers กลุ่ม American Indian Movement กลุ่ม Weather Underground กลุ่ม Red Brigades และกลุ่ม Symbionese Liberation Army ผุดขึ้นมาท่ามกลางความปั่นป่วนในยุคทศวรรษ 1960  พวกสุดโต่งฝักใฝ่ความรุนแรงเหล่านี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการสร้างความชอบธรรมลงมือใช้กำลังปราบปรามอย่างหนัก  พวกนี้ทำให้คนกลัวที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหว  พวกเขาจึงทำลายเป้าหมายของการปฏิวัติที่ต้องการหันแถวคนส่วนใหญ่ให้ต่อต้านชนชั้นปกครองที่แยกตัวและไม่น่าเชื่อถือ   กลุ่มนิยมความรุนแรงชายที่อยู่ขอบเหล่านี้ ดึงดูดคนหิวอำนาจด้วยวิธีการคลั่งไคล้เชิงเพศชายและรุนแรง  แต่จะทำน้อยมากเพื่อสาเหตุของการปฏิวัติ  บทบาทขั้นต้นของพวกสุดโต่งใฝ่ความรุนแรง เช่น Maximilien Robespierre และ Vladimir Lenin เป็นการจี้ปล้นขบวนการปฏิวัติที่ประสบความสำเร็จ   พวกเขาปลดปล่อยกระแสความหวาดกลัว ในขั้นต้น เพื่อต่อต้านสหายร่วมการปฏิวัติ กระแสนี้ออกปราบปรามอย่างน่ากลัวยิ่งกว่าระบอบเก่าเสียอีก  พวกเขามักจะไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการก่อสร้างการปฏิวัติ

The power of the Occupy movement is that it expresses the widespread disgust with the elites, and the deep desire for justice and fairness that is essential to all successful revolutionary movements. The Occupy movement will change and mutate, but it will not go away. It may appear to make little headway, but this is less because of the movement’s ineffectiveness and more because decayed systems of power have an amazing ability to perpetuate themselves through habit, routine and inertia. The press and organs of communication, along with the anointed experts and academics, tied by money and ideology to the elites, are useless in dissecting what is happening within these movements. They view reality through the lens of their corporate sponsors. They have no idea what is happening.
          พลังของขบวนการยึดพื้นที่อยู่ที่การแสดงออกถึงความรังเกียจพวกอภิสิทธิ์ชนอย่างแพร่หลาย และแรงปรารถนาลึกๆ ที่เรียกหาความยุติธรรมและความเป็นธรรมซึ่งสำคัญมากในขบวนการปฏิวัติที่สำเร็จทั้งหลาย   ขบวนการยึดพื้นที่จะเปลี่ยนและแปรพันธุ์ แต่จะไม่หายไปไหน   ความก้าวหน้าอาจดูเหมือนน้อยมาก นั่นไม่ใช่เพียงเพราะความไร้ประสิทธิภาพของการขับเคลื่อน แต่สาเหตุสำคัญกว่าคือ ระบบอำนาจที่กำลังเน่าเปื่อย จะมีความสามารถอันน่าทึ่งในการธำรงรักษาตัวเองโดยอาศัยนิสัยเคยชิน กิจวัตร และแรงเฉื่อย   สื่อมวลชนและกลไกในการสื่อสาร รวมทั้งเหล่าผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ ที่ถูกยึดโยงด้วยสายเงินท่อน้ำเลี้ยงและอุดมการณ์ ต่างผูกติดอยู่กับเหล่าอภิสิทธิ์ชน ล้วนไร้ประโยชน์ในการแยกแยะว่าเกิดอะไรขึ้นภายในขบวนการเหล่านี้  พวกเขามองดูความจริงผ่านเลนซ์แว่นตาของบรรษัทที่เป็นสปอนเซอร์ของพวกเขา  จึงนึกไม่ออกว่าเกิดอะไรขึ้น

Dying regimes are chipped away slowly and imperceptibly. The assumptions and daily formalities of the old system are difficult for citizens to abandon, even when the old system is increasingly hostile to their dignity, well-being and survival. Supplanting an old faith with a new one is the silent, unseen battle of all revolutionary movements. And during the slow transition it is almost impossible to measure progress.
          ระบอบที่กำลังจะตายกำลังผุกร่อนไปช้าๆ แต่มองออกยาก   พลเมืองทั่วไป จะละทิ้งสมมติฐานและกิจวัตรประจำวันทางการของระบบเก่าได้ยาก แม้ว่าระบบเก่าจะระรานศักดิ์ศรี ความเป็นอยู่และความอยู่รอดของพวกเขามากขึ้น   การแทนที่ความศรัทธาเก่า ด้วยความศรัทธาใหม่ เป็นสงครามเงียบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในขบวนการปฏิวัติทั้งหลาย  และในระหว่างการเปลี่ยนผ่านช้าๆ นี้ มันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะวัดความก้าวหน้า

“Sometimes people hold a core belief that is very strong,” Fanon wrote in “Black Skin, White Masks.” “When they are presented with evidence that works against that belief, the new evidence cannot be accepted. It would create a feeling that is extremely uncomfortable, called cognitive dissonance. And because it is so important to protect the core belief, they will rationalize, ignore and even deny anything that doesn’t fit in with the core belief.”
          “บางทีประชาชนยึดมั่นในความเชื่อหนึ่งๆ อย่างเหนียวแน่น”  แฟนนอนเขียนใน “ผิวดำ หน้ากากขาว”  “เมื่อพวกเขาได้เห็นหลักฐานที่แสดงว่ามีการต่อต้านความเชื่อนั้น พวกเขาจะรับไม่ได้  และเกิดความรู้สึกอึดอัดอย่างยิ่ง เรียกว่า อาการความรับรู้ไม่กลมกลืน  และเพราะพวกเขาต้องการปกป้องหลักความเชื่อของตน จะหาเหตุมาอธิบาย มองข้าม และแม้แต่ปฏิเสธอะไรก็ตามที่ไม่สอดคล้องกับหลักความเชื่อดังกล่าว”

The end of these regimes comes when old beliefs die and the organs of security, especially the police and military, abandon the elites and join the revolutionaries. This is true in every successful revolution. It does not matter how sophisticated the repressive apparatus. Once those who handle the tools of repression become demoralized, the security and surveillance state is impotent. Regimes, when they die, are like a great ocean liner sinking in minutes on the horizon. And no one, including the purported leaders of the opposition, can predict the moment of death. Revolutions have an innate, mysterious life force that defies comprehension. They are living entities.
ระบอบเหล่านี้จะถึงจุดจบเมื่อความเชื่อเก่าๆ ตายไป และหน่วยงานความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำรวจและทหาร จะละทิ้งพวกอภิสิทธิ์ชนและเข้าร่วมการปฏิวัติ  นี่เป็นความจริงในการปฏิวัติที่สำเร็จทั้งหลาย  มันไม่ใช่เรื่องของความจัดเจนของอุปกรณ์การปราบปราม   เมื่อไรที่ผู้ใช้เครื่องมือในการปราบปรามเริ่มหมดศรัทธา ระบบความมั่นคงและการสอดแนมของรัฐก็หมดน้ำยา  เมื่อระบอบล้มตาย มันก็เหมือนขอบมหาสมุทรอันยิ่งใหญ่ที่จมหายไปในขอบฟ้าชั่วพริบตา  และจะไม่มีใคร รวมทั้งผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้นำของฝ่ายค้าน ที่สามารถพยากรณ์เวลาแห่งความตายนี้ได้  การปฏิวัติมีพลังชีวิต กำลังภายในที่ลึกลับ ที่ท้าทายความเข้าใจ  พวกเขาเป็นสิ่งมีชีวิต

The defection of the security apparatus is often done with little or no violence, as I witnessed in Eastern Europe in 1989 and as was also true in 1979 in Iran and in 1917 in Russia. At other times, when it has enough residual force to fight back, the dying regime triggers a violent clash as it did in the American Revolution when soldiers and officers in the British army, including George Washington, rebelled to raise the Continental Army. Violence also characterized the 1949 Chinese revolution led by Mao Zedong. But even revolutions that turn violent succeed, as Mao conceded, because they enjoy popular support and can mount widespread protests, strikes, agitation, revolutionary propaganda and acts of civil disobedience. The object is to try to get there without violence. Armed revolutions, despite what the history books often tell us, are tragic, ugly, frightening and sordid affairs. Those who storm Bastilles, as the Polish dissident Adam Michnik wrote, “unwittingly build new ones.” And once revolutions turn violent it becomes hard to speak of victors and losers.
การนอกใจต่อหน้าที่รักษาความมั่นคง มักกระทำด้วยความรุนแรงเล็กน้อยหรือไม่มีความรุนแรงเลย ดังที่ผมได้เห็นในยุโรปตะวันออกในปี 1989 และก็เป็นจริงด้วยในปี 1979 ในอิหร่าน และในปี 1917 ในรัสเซีย  ในเวลาอื่น เมื่อมีพลังเหลืออยู่พอที่จะสู้กลับ ระบอบที่กำลังจะตาย จะเหนี่ยวไกให้เกิดการปะทะรุนแรง ดังที่เกิดขึ้นในการปฏิวัติอเมริกัน เมื่อทหารและเจ้าหน้าที่ในกองทัพอังกฤษ รวมทั้ง ยอร์ช วอชิงตัน ก่อขบถ   ความรุนแรงก็เป็นลักษณะของการปฏิวัติจีนในปี 1949 ซึ่งนำโดย เหมาเจ๋อตง  แต่แม้ว่าการปฏิวัติที่กลายเป็นรุนแรงจะประสบความสำเร็จ ดังที่เหมายอมรับ ก็เป็นเพราะพวกเขาได้รับแรงสนับสนุนอย่างล้นหลาม และสามารถปลุกเร้าให้เกิดการประท้วง การนัดหยุดงาน การปลุกปั่น การโฆษณาชวนเชื่อและกระทำอารยะขัดขืนอย่างแพร่หลาย   จุดประสงค์คือ พยายามไปให้ถึงเป้าโดยปราศจากความรุนแรง   การปฏิวัติที่ติดอาวุธ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่หนังสือประวัติศาสตร์มักจะบอกเล่าเช่นนั้น เป็นโศกนาฏกรรม เป็นเรื่องน่าเกลียดน่ากลัว สกปรก เลวทราม   พวกที่บุกลุยบาสทิลส์ ดังที่อดัม มิชนิค ผู้คัดค้านชาวโปแลนด์เขียน “ได้สร้างระบอบใหม่โดยไม่รู้ตัว”  และเมื่อไรที่การปฏิวัติกลายเป็นความรุนแรง มันยากที่จะบอกว่า ใครคือผู้ชนะ และ ใครคือผู้แพ้

A revolution has been unleashed across the globe. This revolution, a popular repudiation of the old order, is where we should direct all our energy and commitment.  If we do not topple the corporate elites the ecosystem will be destroyed and massive numbers of human beings along with it. The struggle will be long. There will be times when it will seem we are going nowhere. Victory is not inevitable. But this is our best and only hope. The response of the corporate state will ultimately determine the parameters and composition of rebellion. I pray we replicate the 1989 nonviolent revolutions that overthrew the communist regimes in Eastern Europe. But this is not in my hands or yours. Go ahead and vote this November. But don’t waste any more time or energy on the presidential election than it takes to get to your polling station and pull a lever for a third-party candidate—just enough to register your obstruction and defiance—and then get back out onto the street. That is where the question of real power is being decided.
กระแสการปฏิวัติถูกปลดปล่อยและโหมพัดไปทั่วโลกแล้ว  การปฏิวัตินี้ เป็นการเคลื่อนไหวของประชาชนที่ปฏิเสธระเบียบเก่า เป็นเป้าหมายที่เราควรมุ่งพลังงานและพันธกิจของเราทั้งหมด  หากเราไม่ล้มอภิสิทธิ์บรรษัท ระบบนิเวศน์จะต้องถูกทำลาย พร้อมไปกับมวลมนุษย์มหาศาล   การดิ้นรนต่อสู้จะยาวนาน   จะมีห้วงเวลาที่ดูเหมือนว่าเราไปไม่ถึงที่ไหน   ชัยชนะไม่ใช่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มันสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นเพียงความหวังเดียว   การขานรับของรัฐบรรษัท ในที่สุด จะเป็นผู้ตัดสินตัวแปรและองค์ประกอบของการขบถ  ผมภาวนาว่า เราจะสามารถซ้ำรอยการปฏิวัติที่ไม่ใช้ความรุนแรงในปี 1989 ที่ล้มล้างระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก   แต่ผลลัพธ์ไม่ได้อยู่ในมือของคุณ   จงเดินหน้าและไปลงคะแนนในเดือนพฤศจิกายน   แต่อย่าเสียเวลาหรือพลังไปกับการเลือกประธานาธิบดี มากเกินกว่าที่ท่านต้องใช้เพื่อไปที่สถานีเลือกตั้ง และดึงชะแลงสำหรับผู้ชิงตำแหน่งจากพรรคที่สาม—เพียงเพื่อลงทะเบียนว่าคุณขัดขวางและท้าทาย—และกลับไปที่ท้องถนน   ที่นั่นแหละเป็นที่ๆ จะตัดสินอำนาจที่แท้จริง
© 2012 TruthDig.com
Published on Monday, May 14, 2012 by TruthDig.com

Chris Hedges writes a regular column for Truthdig.com. Hedges graduated from Harvard Divinity School and was for nearly two decades a foreign correspondent for The New York Times. He is the author of many books, including: War Is A Force That Gives Us Meaning, What Every Person Should
Know About War, and American Fascists: The Christian Right and the War on America.  His most recent book is Empire of Illusion: The End of Literacy and the Triumph of Spectacle.
คริส เฮดจ์ส เขียนลงคอลัมน์ Truthdig.com อย่างสม่ำเสมอ  เขาจบจาก วิทยาลัยเทววิทยาฮาร์วาร์ด และเขียนข่าวต่างประเทศให้ นิวยอร์กไทมส์ มาสองทศวรรษ  เขาได้เขียนหนังสือหลายเล่ม รวมทั้ง “สงครามเป็นกระแสกำลังที่ให้ความหมายแก่เรา” “สิ่งที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับสงคราม” และ “ฟาสซิสต์อเมริกัน: คริสเตียนเอียงขวา และสงครามต่ออเมริกา”   หนังสือเล่มล่าสุดของเขา คือ “จักรวรรดิแห่งมายาคติ: จุดจบของการอ่านเขียน และชัยชนะของภาพน่าตื่นเต้น”
ดรุณีแปล/ 5-27-12

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น