วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

32. ข้อคิดเห็นเรื่องความยั่งยืน / Ideas for Sustainability


 
by Joern | January 2, 2012 · 7:45 pm

The seven deadly sins and sustainability

By Joern Fischer
บาปอุกฉกรรจ์เจ็ดประการและความยั่งยืน

I just found this interesting post at The Last Word on Nothing. I am pasting it here, but full credit, of course, goes to the original authors! So here comes the pasted bit — if you like it, go visit the original source!
ผมเพิ่งพบโพสต์ที่ “คำสุดท้ายเรื่องไม่มีอะไร”   ผมนำมาปะที่นี่ แต่ต้องให้เครดิตกับผู้เขียนเริ่มต้น!  นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่นำมาปะ—หากคุณอ่านแล้วถูกใจ ก็ไปเยี่ยมได้ที่แหล่ง!
———–
By Michelle Nijhuis

Biologist Michael Soule on the Seven Deadly Sins

นักชีววิทยา ไมเคิล โซล พูดถึง บาปอุกฉกรรจ์เจ็ดประการ

 

Dearest readers, we hope you had a gluttonous, slothful, greedy and lustful holiday, with only the tiniest touches of wrath. Here at the Last Word on Nothing, we’re celebrating the season with a series of posts on the Seven Deadly Sins. Beginning tomorrow, each of our crack writers will tackle his or her favorite (or perhaps least favorite) sin, inspiring — we hope — pride on our part and envy on yours.
ถึงท่านผู้อ่านที่รัก  เราหวังว่าท่านจะมีวันหยุดที่เต็มไปด้วยความตะกละ ความเกียจคร้าน ความอยากได้ และราคะ ที่มีความโกรธแค้นเพียงเสี้ยวกระจิดลิด   ณ ที่นี้ “คำสุดท้ายเรื่องไม่มีอะไร” เรากำลังเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ด้วยการโพสต์เรื่อง บาปอุกฉกรรจ์เจ็ดประการ   เริ่มจากพรุ่งนี้ นักเขียนแต่ละคนจะพูดถึงบาปที่เขาชอบ (หรืออาจจะชอบน้อยที่สุด)  เราหวังว่า จะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความภาคภูมิ/อหังการ์ในส่วนของเรา และความอิจฉาในส่วนของท่าน

Today, though, we’ll consider all of the seven deadlies with conservation biologist Michael Soule, the founder of the Society for Conservation Biology and The Wildlands Network and a professor emeritus of environmental studies at the University of California at Santa Cruz.
วันนี้ เราจะพูดถึงบาปอุกฉกรรจ์ทั้งเจ็ดประการกับนักชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ ไมเคิล โซล ผู้ก่อตั้ง “สมาคมเพื่อการอนุรักษ์ชีววิทยา” และ “เครือข่ายที่แดนรกชัฏ” และเป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาครูซ
In recent years, in pursuit of an ultimate explanation for human reluctance to protect biodiversity, Soule has turned his attention to the seven deadly sins, examining their history and evolution as both a scientist and a longtime Buddhist practitioner. I spoke with Soule at his home in western Colorado.
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เพื่อค้นหาคำอธิบายสูงสุดว่า ทำไมมนุษย์จึงลังเลที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ โซลได้หันไปสนใจบาปอุกฉกรรจ์เจ็ดประการ ด้วยการตรวจสอบถึงประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ ในฐานะที่เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ และชาวพุทธนักปฏิบัติมานาน  ผมได้พูดกับโซลที่บ้านของเขาในคาโลราโดตะวันตก

LWON: From a biologist’s perspective, what is sin?
ถาม : จากมุมมองของนักชีววิทยา บาปคืออะไร?
Soule: Sin is about the most primitive emotional elements of survival and reproduction. If you look at the seven deadly sins, you see that each of them concerns a major component of fitness — how we survive, and how we succeed in courtship and reproduction.
So in that sense, there’s nothing biologically bad about any of the sins. All of them are necessary for survival and reproduction.
ตอบ : บาปเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยทางอารมณ์ที่ดึกดำบรรพ์พื้นฐานที่สุดเพื่อความอยู่รอดและสืบพันธุ์   หากคุณมองดูที่บาปอุกฉกรรจ์เจ็ดประการ คุณจะเห็นว่า แต่ละตัวเกี่ยวพันกับปัจจัยหลักหนึ่งๆ ของสมรรถภาพทางกายในการปรับตัวให้เหมาะสม—เราจะอยู่รอดได้อย่างไร และเราจะประสบความสำเร็จในการเกี้ยวพาราสีและสืบพันธุ์อย่างไร   ในแง่นี้ บาปแต่ละตัวก็ไม่มีอะไรเลวร้ายในเชิงชีววิทยา   ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดและสืบพันธุ์

LWON: So the reproductive purpose of lust is obvious. What about the other sins?
ถาม :  เช่นนั้น จุดประสงค์ของราคะก็ชัดเจนในตัว  แล้วบาปตัวอื่นๆ หล่ะครับ?
Soule: Well, let’s start with greed, which evolutionarily is by far the oldest sin — as old as life itself. All organisms have to seek resources, and in our species this desire for energy leads to the sin of greed, because our awareness of selfishness lets us choose to be greedy or not. Competition for resources is also ancient, and with competition comes aversion, or anger, toward one’s competitors. So the second-oldest vice is anger.
ตอบ : เอาหล่ะ  มาเริ่มกันที่ความโลภ ที่ในเชิงวิวัฒนาการเป็นบาปที่เก่าแก่ที่สุด—เก่าแก่พอๆ กับเจ้าตัวชีวิตเองที่เดียว   สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องแสวงหาทรัพยากร และในสายพันธุ์ของเรา ความอยากได้พลังงาน นำเราไปสู่บาปแห่งความโลภ เพราะความตื่นรู้ด้านความเห็นแก่ตัว เป็นตัวบอกให้เราเลือกว่าจะตะกละหรือไม่   การแข่งขันแย่งชิงทรัพยากรก็เป็นเรื่องโบราณด้วย และที่มาพร้อมกับการแย่งชิง คือ ความเกลียดชัง หรือความโกรธ ที่มีต่อคู่แข่ง   ดังนั้น ความชั่วร้ายที่เก่าแก่ที่สุดตัวที่สอง คือ ความโกรธ
Then you have the ancient visceral impulses, those that arise from the animal needs to sleep, eat, and mate: in humans these become sloth, gluttony, and lust. Gluttony is just the inherited desire to eat when food is available, because it’s never certain when the next meal is going to show up. Sloth is simply the need to rest. Lust is clearly essential for sexual reproduction. These five sins are all in the limbic system — they’re primitive.
แล้วคุณก็มีแรงกระตุ้นจากภายใน ที่เกิดจากความต้องการของสัตว์ในการนอน กิน จับคู่ผสมพันธุ์: ในมนุษย์ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นความเกียจคร้าน ความตะกละ และราคะ   ความตะกละเป็นเพียงความอยากที่สืบทอดกันมาที่จะกิน เมื่อมีอาหาร เพราะความไม่แน่นอนเสมอไปว่า อาหารมื้อหน้าจะโผล่ขึ้นมาให้กินอีก   ความเกียจคร้านเป็นเพียงความต้องการที่จะพักผ่อน   ราคะเป็นสิ่งจำเป็นอย่างเห็นได้ชัดเพื่อการสืบพันธุ์ทางเพศสัมพันธ์    บาปทั้งห้าประการนี้ล้วนอยู่ในระบบกายภาพของเรา--เป็นลักษณะดึกดำบรรพ์พื้นฐาน
The two remaining sins are envy and pride, the only so-called sins that are nearly uniquely human. They’re by far the most recent ones, located in the young neocortex, according to functional MRI scans. They require theory of mind — the capacity to understand that other people have minds — and they can only exist in highly social animals. Envy motivates a person to get more stuff, status, or sex. Pride is based on ego, which can be attractive to potential mates and friends.
บาปที่เหลือสองประการ คือ ความอิจฉา และความอหังการ์  อันเป็นบาปที่เกือบมีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น   มันเป็นบาปที่เกิดหลังสุด เมื่อไม่นานมานี้ มีที่ตั้งอยู่ที่ส่วนของสมองใหม่ คือ นีโอคอร์เทกซ์ จากการแสกนด้วยเครื่อง MRI   มันต้องอาศัยทฤษฎีทางจิต—ความสามารถที่จะเข้าใจได้ว่า คนอื่นๆ ก็มีจิตใจ—และมันจะมีได้เฉพาะในหมู่สัตว์ที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มเท่านั้น   ความอิจฉากระตุ้นให้คนหนึ่งๆ ไขว่คว้าข้าวของ สถานภาพ หรือการร่วมเพศมากๆ ขึ้น   ความอหังการ์/ภาคภูมิใจ ตั้งอยู่บนอัตตา ที่สามารถจะดึงดูดเนื้อคู่หรือเพื่อนได้
  
LWON: Does every culture have a concept of sin?
ถาม :  ทุกๆ วัฒนธรรมมีกรอบคิดเรื่องบาปไหม?
Soule: Every major spiritual tradition does. The Torah, the five books of Moses, doesn’t talk about sins, but it talks about behaviors and impulses that are bad for the group. It’s a different typology, but it overlaps a lot with sin. As far as I know, sin — the concept of the seven deadly sins — was invented by Horace. The seven sins were adopted by the early Christians as a typology for explaining the obstacles to becoming one with Jesus.
ตอบ : ทุกๆ จารีตหลักเชิงจิตวิญญาณ ล้วนมีความคิดและอธิบายเรื่องบาป   ใน โตราห์ ห้าคัมภีร์ของโมเสส ไม่ได้กล่าวถึงบาป แต่พูดถึงพฤติกรรมและแรงกระตุ้นที่ไม่ดีงามสำหรับกลุ่ม   มันเป็นการใช้รูปแบบและสัญลักษณ์ที่ต่างออกไป แต่ก็มีหลายอย่างที่ซ้อนกับความหมายของบาป   เท่าที่ผมทราบ บาป—อันเป็นกรอบคิดของบาปอุกฉกรรจ์เจ็ดประการ—เป็นผลประดิษฐ์โดย ฮอร์เรส    ชาวคริสต์ยุคแรกๆ ได้รับบาปเจ็ดประการมาใช้อธิบายอุปสรรคที่ขวางกั้นไม่ให้คนกลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซู
In Buddhism, you have the three poisons: greed, anger, and ignorance. So different spiritual traditions have different typologies of sin, but they all end up being about self: too much self, too much me and my cognition.
ในศาสนาพุทธ คุณมีพิษสามประการ: โลภะ โทสะ และโมหะ   ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างจารีตทางจิตวิญญาณ อยู่ที่รูปแบบและสัญลักษณ์เกี่ยวกับบาป แต่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับตัวตน: ยึดมั่นในตัวตนมากเกินไป  ของฉันและการรับรู้ของฉันมากเกินไป

LWON: Have these concepts changed over millennia?
ถาม :  ที่ผ่านมา กรอบคิดเหล่านี้ มีการเปลี่ยนแปลงไหม?
Soule: The emphasis has changed. For example, the major sin in early Christianity was greed. Then Pope Gregory — St. Gregory, the fifth Pope in the Roman tradition — decided that pride was the mother of all sins. He decided that self-centeredness, self-bias, was the root of all of our sins, just as the Buddha had believed. It’s a wonderful convergence.
ตอบ : มีการเปลี่ยนแปลงที่จุดเน้น   ยกตัวอย่าง ในคริสตจักรยุคแรก บาปสำคัญ คือ ความโลภ   ในยุคนั้น โป๊บเกรเกอรี่—นักบุญเกรเกอรี่ สันตะปาปาองค์ที่ห้าในจารีตโรมัน—ตัดสินพระทัยให้ความอหังการ์เป็นมารดา/บ่อเกิดของบาปทั้งปวง   พระองค์ได้ยกให้ความตนเองเป็นศูนย์กลาง อคติที่เข้าข้างตัวเอง เป็นรากเหง้าของบาปทั้งหมดของเรา เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเชื่อเช่นนั้น   มันเป็นการมาบรรจบพบกันที่ยอดเยี่ยม

LWON: Do you see us shifting that emphasis once again, or even developing new sins or a new set of sins?
ถาม : คุณเห็นว่าพวกเรากำลังขยับจุดเน้นนั้นอีกไหม หรือแม้แต่พัฒนาบาปชนิดใหม่ หรือชุดใหม่หรือเปล่า?
Soule: In the modern world, I think the ranking of the sins is shifting again. Greed is such an overt factor in the destruction of the world. I mean, greed is killing nature, and causing global warming. It’s bringing us down, that’s essentially what Occupy Wall Street is about. So I think that over time, we will shift the ranking of greed and pride again. On the other hand, greed has of course come to be perceived as a virtue. We certainly reward people who are conspicuous consumers in this society.
ตอบ : ในโลกสมัยใหม่ ผมคิดว่า มีการขยับจัดลำดับของบาปใหม่อีก   ความโลภเป็นปัจจัยโดดเด่นในการทำลายล้างโลก  ผมหมายถึง ความโลภกำลังฆ่าธรรมชาติ และทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  มันกำลังโค่นพวกเราให้ล้ม นั่นคือสิ่งที่ทำให้เกิดการยึดพื้นที่วอลล์สตรีท   ดังนั้น ผมคิดว่าต่อไป เราจะขยับลำดับของความโลภและความอหังการ์อีก   ในทางตรงข้าม ความโลภได้ถูกมองว่าเป็นคุณสมบัติที่น่าชื่นชมอย่างหนึ่ง    แน่นอน เราให้รางวัลแก่คนที่เป็นนักบริโภคในสังคมของเรา

LWON: We’re all really good at justifying our sins, right?
ถาม : พวกเราล้วนเก่งจริงๆ ในการสร้างความชอบธรรมให้กับบาปของเรา ใช่ไหมครับ?
Soule: Yes. And that gets back to your other question about modern sins, whether there are any sins that are left out of the old typology. I think there are a lot of them, but my favorite is denial, which in a way is a form of mental sloth.
ตอบ : ถูกต้อง  และนั่นก็นำกลับไปสู่คำถามอื่นๆ ของคุณเกี่ยวกับบาปยุคใหม่ว่า มีบาปตัวใดที่อยู่นอกกรอบคิดนี้   ผมคิดว่ามีหลายตัวเลย แต่ตัวที่ผมชอบที่สุดคือ การปฏิเสธ ไม่ยอมรับ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของจิตใจเกียจคร้าน
Denial is really an example of an immature mind. We’re the youngest species of mammal I know about, and we’re just so capable of deluding ourselves, so good at not thinking about things that make us a bit uncomfortable.
การปฏิเสธ ที่แท้เป็นตัวอย่างของจิตใจที่ด้อยวุฒิภาวะ (ยังไม่สมบูรณ์)   พวกเราเป็นสายพันธุ์หนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่ผมทราบ  และพวกเราก็ช่างเก่งเสียจริงในการหลอกตัวเอง ช่างเก่งเหลือเกินในการไม่คิดถึงสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายแม้แต่นิดเดียว
When I go to a restaurant with people, I often say, “There’s not much I can eat here,” because it’s all factory-farmed meat, or kinds of seafood that are ecologically problematic. So my companions say, “Well, why don’t you get the shrimp?” I say, “Do you want to know why?” and I go into this elaborate story about all the ecological harm caused by shrimp collecting. I’m a professor, so of course I go on and on. And I get about halfway through my lecture, and people say, “Okay, that’s enough.”
เมื่อผมไปร้านอาหารกับคนอื่นๆ ผมมักจะพูดว่า “ไม่มีอะไรมากที่ผมจะกินได้ที่นี่” เพราะมีแต่เนื้อที่เพาะปลูกแบบอุตสาหกรรม หรืออาหารทะเลที่สร้างปัญหาแก่ระบบนิเวศ   เพื่อนร่วมโต๊ะก็จะบอกว่า “แล้วทำไมคุณไม่สั่งกุ้งหล่ะ?”  ผมบอกว่า “คุณต้องการรู้ไหมว่าทำไม?” แล้วผมก็สาธยายเรื่องเกี่ยวกับอันตรายต่อนิเวศทั้งหลายแหล่ที่เกิดจากการจับกุ้ง  ผมเป็นศาสตราจารย์ ดังนั้น ผมก็พูดได้ไม่หยุด  และพอผมพูดไปได้ครึ่งทางของการบรรยาย คนอื่นๆ ก็จะบอกว่า “โอเค พอแล้ว”
And then they tell the server, “I’ll have the shrimp.”
จากนั้นพวกเขาก็สั่งกับบริกร “เอากุ้ง”

LWON: Is that denial, or rebellion?
ถาม : นั่นเป็นการปฏิเสธ หรือปฏิวัติ/ขัดขืน?
Soule: I don’t know. But rebellion is also denial, I think. We’re capable of infinite levels and degrees of denial.
ตอบ :  ผมไม่ทราบ  แต่ผมคิดว่า การปฏิวัติก็เป็นการปฏิเสธด้วย   พวกเราสามารถจะปฏิเสธในระดับและรูปแบบนับไม่ถ้วน

LWON: You said earlier that from a biologist’s perspective there’s nothing wrong with sin, but of course we’ve evolved all these ways to help people resist sin — systems of confessing, systems of making people feel ashamed. Why do cultures try to control our sinful behavior if there’s nothing particularly wrong with it biologically?
ถาม :  คุณบอกในตอนเริ่มต้นว่า จากมุมมองของนักชีววิทยา บาปไม่มีอะไรผิด  แต่แน่นอน พวกเราได้พัฒนาวิธีการต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้คนต่อสู้กับบาป—ระบบการสารภาพบาป ระบบที่ทำให้ผู้คนรู้สึกละอายใจ    ทำไมวัฒนธรรมจึงพยายามควบคุมพฤติกรรมบาปของพวกเรา หากไม่มีอะไรผิดหรือไม่ดีในเชิงชีววิทยา?
Soule: Everything changed with civilization. Instincts and impulses that were adaptive for an individual or a family have, when expressed on a large scale, become highly nonadaptive for the world, the climate, and even civilization as a whole. Anger, for instance, comes out of the need to compete and reproduce. But anger, when it’s magnified by civilization and war and the kinds of weapons we have now, destroys the planet.
ตอบ :  ทุกๆ อย่างเปลี่ยนไปตามอารยธรรม   สัญชาตญาณและแรงกระตุ้นที่คนหนึ่งหรือครอบครัวหนึ่งได้ปรับตัวจนสืบทอดกันได้ เมื่อแสดงออกสำหรับกลุ่มใหญ่ กลายเป็นสิ่งที่โลกไม่สามารถปรับตัวเข้าได้ ภูมิอากาศ และแม้แต่อารยธรรมในองค์รวม   เช่น โทสะ ออกมาจากความจำเป็นต้องแย่งชิง และผลิตซ้ำ   แต่โทสะ เมื่อถูกขยายโดยอารยธรรมและสงคราม และด้วยยุทโธปกรณ์ที่เรารู้จัก กลายเป็นการทำลายล้างพิภพ
Also, excessive self-bias is harmful to the group, and we’re a social species. The efficient functioning of a social group, whether it’s a war party, a Girl Scout troop, or a town, requires a certain amount of self-control. It’s often believed, and quite often true, that religion is a way of limiting the harm people do to the group.
การเข้าข้างตัวเองมากจนเกินไป ก็เป็นอันตรายต่อกลุ่ม และพวกเราเป็นสัตว์สังคม   การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของกลุ่มสังคม ไม่ว่าจะเป็นสงครามหรืองานปาร์ตี้  กองลูกเสือหญิง หรือเมืองหนึ่งๆ ล้วนต้องมีการควบคุมตัวเองในระดับหนึ่ง   มักเชื่อกัน และก็มักเป็นความจริงด้วยว่า ศาสนาเป็นหนทางหนึ่งในการจำกัดอันตรายที่ผู้คนจะกระทำต่อกลุ่มได้

LWON: You’ve said that neuroscience is changing the way we understand sin. Can you tell me about that?
ถาม :  คุณได้บอกว่า วิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยากำลังเปลี่ยนความเข้าใจของเราเรื่องบาป  ช่วยอธิบายให้ผมฟังหน่อยได้ไหมครับ?
Soule: Sin was kind of a mystery behaviorally and biologically until about the last 20 years, when people started looking at human behavior under the lens of functional magnetic resonance and electroencephalography and other forms of visualizing what the brain is doing when it is feeling or thinking about certain things, or when the person is behaving in certain ways.
ตอบ : บาปเป็นเรื่องลึกลับในเชิงพฤติกรรมและเชิงชีววิทยาจนกระทั่ง 20 ปีที่แล้ว เมื่อผู้คนเริ่มมองพฤติกรรมของมนุษย์ผ่านเล็นซ์ของเครื่องวัดคลื่นแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้าในสมอง และรูปแบบอื่นๆ เพื่อหารูปธรรมอธิบายว่า สมองทำงานอย่างไรเมื่อมันกำลังรู้สึก หรือกำลังคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง หรือเมื่อคนนั้นๆ กำลังประพฤติตัวแบบหนึ่ง
Almost all of the sins have been looked at and been located in the brain. It’s pretty crude at the moment. But still, we know the sins are in the brain, which means that the biological basis is clear. We’re hard-wired to behave in self-biased ways.
บาปเกือบทั้งหมดที่อยู่ในข่ายศึกษา และพบว่าอยู่ในสมอง   สิ่งที่เรารู้ได้ขณะนี้ ยังหยาบอยู่  แต่กระนั้น เราก็รู้แล้วว่า บาปทำงานอยู่ในสมอง ซึ่งหมายความว่า มันมีพื้นฐานในเชิงชีววิทยา   พวกเรามีวงจรต่อถึงกันเพื่อประพฤติเข้าข้างตัวเอง
Over the last several hundred thousand years, we’ve also become hard-wired to behave in a social way. Which means that the self has to submit to the group in some way, to subordinate its greed and envy and gluttony and so forth to what the group needs to survive. Because we depend on our groups to survive and prosper.
ในอดีตหลายหมื่นปีก่อน พวกเรามีวงจรในหัวที่ทำให้ประพฤติในวิถีสังคม  ซึ่งหมายความว่า ตัวกู จะต้องอยู่ภายใต้กลุ่ม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อควบคุมความโลภ ความอิจฉา ความตะกละ ฯลฯ เพื่อให้กลุ่มอยู่รอดได้  เพราะเรายังต้องอาศัยกลุ่มของเราเพื่อความอยู่รอดและมั่งคั่ง

LWON: I want to ask you about E.O. Wilson’s recent comment about virtue and sin in The Atlantic. He says that group selection brings about virtue, and individual selection creates sin, and that in a nutshell is an explanation of the human condition. How do you respond to that?
ถาม :  ผมขอถามเกี่ยวกับความเห็นของ วิลสัน “ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณธรรมและบาป” ใน เดอะแอตแลนติก   เขาบอกว่า การเลือกโดยกลุ่มนำมาซึ่งคุณธรรม และการเลือกโดยปัจเจกสร้างบาป และนั่นเป็นการฟันธงคำอธิบายถึงเงื่อนไขของมนุษย์   คุณจะตอบโต้ข้อคิดดังกล่าวอย่างไร?


Soule: I think he’s more or less correct about sin, that sins are self-biased behaviors. But the virtues are also probably sexually selected. That is, they’re about looking good in the context of a highly social group, or actually elevating your status in the group. Patience, tolerance, and compassion are things that make you attractive as a mate. So the virtues are not just good for the group, they’re good for the individual, too, indirectly.
The virtues, to me, are no different than the sins. They’re just another way of benefitting the individual.
ตอบ :  ผมคิดว่า เขาพูดถูกไม่มากก็น้อยเกี่ยวกับบาป ที่ว่า บาปเป็นพฤติกรรมที่ลำเอียงเข้าข้างตัวเอง  แต่คุณธรรมดูเหมือนจะเป็นการถูกเลือกเชิงเพศสัมพันธ์ด้วย  นั่นคือ มันเกี่ยงกับการดูดีในบริบทของกลุ่มสังคมขั้นสูง หรือแท้จริง ยกระดับสถานภาพของคุณในกลุ่ม  ขันติ ความอดกลั้น และความเมตตากรุณา ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้คุณมีเสน่ห์ดึงดูดในฐานะเป็นเนื้อคู่   ดังนั้น คุณธรรมไม่ใช่แค่ความดีสำหรับกลุ่ม มันดีสำหรับปัจเจกด้วยในทางอ้อม
สำหรับผม คุณธรรมก็ไม่ต่างจากบาปเท่าไหร่  มันเป็นเพียงทางอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ปัจเจก

LWON: Okay, so where does that leave us? If we’re so hard-wired for self-bias, but yet self-bias is causing other people and other things so much suffering, is there a solution?
ถาม : โอเค แล้วเราจะไปทางไหนต่อ?  หากเราถูกตั้งผังวงจรในหัวแล้วให้เข้าข้างตัวเอง แต่ การเข้าข้างตัวเองกำลังเบียดเบียนคนอื่น และสิ่งอื่นๆ ให้ได้รับทุกข์หนัก แล้วมีทางออกไหมครับ?
Soule: We’re in deep doo-doo. That’s why we’re destroying the world. That’s why we’re wiping out life on this planet, and why we can’t deal with big problems like climate change. Our self-interest gets in the way. That’s why I’m so pessimistic.
But like all human beings, I’m an optimist at the same time. I just started this new initiative through the Wildlands Network, a National Corridors Campaign, to protect corridors between wildlife habitats and create potential for movement of flora and fauna as the climate changes from Mexico to Canada.
ตอบ : พวกเราตกอยู่ในหลุมลึกให้ทำ-ทำ  นั่นคือสาเหตุว่าทำไมเรากำลังทำลายล้างโลก  นั่นคือสาเหตุว่าทำไมเรากำลังกวาดล้างชีวิตทั้งหลายบนผืนพิภพ และทำไมเราไม่สามารถจัดการกับปัญหาใหญ่ๆ เช่น ภูมิอากาศผันผวน   ผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาขวางทาง  นั่นคือสาเหตุว่าทำไมผมถึงมองโลกในแง่ร้าย
แต่เช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลาย ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีในเวลาเดียวกัน  ผมเพิ่งเริ่มโครงการใหม่ผ่าน เครือข่ายแดนรกชัฏ ซึ่งเป็นการรณรงค์ทางเดินยาวระดับชาติ เพื่อป้องกันทางเดินระหว่างที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และสร้างพื้นที่สำหรับพืชและสัตว์ให้ขยับขยายปรับตัวให้เข้ากับภาวะผันผวนของภูมิอากาศจากเม็กซิโกถึงแคนาดา

LWON: So where did your motivation for that initiative come from?
ถาม : แล้วกิจกรรมที่คุณริเริ่มนี้ ได้รับแรงดลใจจากที่ไหนครับ?
Soule: (Laughs) From being an alpha male. Being an alpha-type person, I want recognition, I want to be known as somebody with vision and big ideas, so there’s greed and all that stuff wrapped up in my work. But religious and spiritual practice helps me dampen those motivations a little bit, helps me identify them so you can buffer and moderate them. People on spiritual paths generally know when they’re fucking up.
ตอบ :   (หัวเราะ) จากการที่เป็นเพศชายประเภทอัลฟา   ความที่เป็นบุคคลประเภทอัลฟา ผมต้องการได้รับการเชิดชู ผมต้องการให้คนรู้จักในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่มีวิสัยทัศน์และคิดการใหญ่ ดังนั้น มีความโลภและสิ่งเหล่านั้นห่ออยู่ในงานของผมด้วย  แต่การปฏิบัติทางศาสนาและจิตวิญญาณช่วยให้ผมข่มแรงกระตุ้นเหล่านั้นลงสักหน่อย ช่วยให้ผมมองเห็นมัน เพื่อว่าคุณจะได้จัดการไม่ให้มันฮึกเหิม   คนที่อยู่ในครรลองของจิตวิญญาณโดยทั่วไป จะรู้ตัวเมื่อพวกเขาหลงระเริงเกินไป

LWON: How else has thinking about sin helped you, on a personal level, contend with your own sins?
ถาม :  ความคิดเกี่ยวกับบาปได้ช่วยคุณอย่างอื่นอย่างไรบ้าง ในระดับบุคคล ให้พอใจกับบาปของตัวคุณเอง?
Soule: A lot. It’s subtle, but understanding yourself is the key to growth. The spiritual path, to me, has been really important in tempering and moderating my sinfulness, and reminding me to focus on what is needed for the world, for society, not just for me. Unless you are truly a saint, you really can’t overcome your greed and anger and ignorance. But you can file off the sharp edges, and focus your ambition on projects that are good for society and the world. You can change ambition into aspiration — sometimes.
ตอบ : มากทีเดียว  มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง แต่การเข้าใจตัวคุณเองเป็นกุญแจสู่การเติบโต   สำหรับผม วิถีจิตวิญญาณ มีความสำคัญจริงๆ ในการขัดเกลาและบรรเทาการเบี่ยงเบนไปทางบาปของผม และเตือนให้ผมมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งที่จำเป็นสำหรับโลก สำหรับสังคม ไม่ใช่แค่สำหรับผม   นอกเสียจากว่าคุณเป็นนักบุญตัวจริง คุณไม่สามารถเอาชนะความโลภ โกรธ หลงของคุณเองได้อย่างจริงจัง  แต่คุณสามารถจะฝานด้านที่แหลมคมของมันออก และหันเหความทะเยอทะยานของคุณไปที่โครงการที่ดีสำหรับสังคมและโลก  คุณสามารถเปลี่ยนความทะเยอทะยานให้เป็นแรงบันดาลใจ—บางครั้ง

ดรุณีแปล / 4-2-12

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น