วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

22. จีเอ็ม—พืช “ลด” หรือ “เพิ่ม” ความหิวโหย ยากจน?


GM Crops Promote Superweeds, Food Insecurity and Pesticides, say NGOs
Report finds genetically modified crops fail to increase yields let alone solve hunger, soil erosion and chemical-use issues
by John Vidal, October 19, 2011 by The Guardian/UK
พืชจีเอ็มส่งเสริมซุปเปอร์วัชพืช ความไม่มั่นคงทางอาหาร และยาฆ่าแมลง เอ็นจีโอกล่าว
รายงานได้พบพืชตัดแต่งทางพันธุกรรม ล้มเหลวที่จะเพิ่มผลผลิต อย่าว่าแต่แก้ปัญหาประเด็นความหิวโหย การชะพังหน้าดิน และการใช้สารเคมี
โดย จอห์น ไวดัล, 19 ตุลาคม 2554 ใน The Guardian/UK

Genetic engineering has failed to increase the yield of any food crop but has vastly increased the use of chemicals and the growth of "superweeds", according to a report by 20 Indian, south-east Asian, African and Latin American food and conservation groups representing millions of people.
วิศวกรรมพันธุกรรมได้ล้มเหลวที่จะเพิ่มผลผลิตพืชอาหารใดๆ แต่ได้เพิ่มการใช้สารเคมีและการเติบโตของ “ซุปเปอร์วัชพืช” อย่างมหาศาล ตามรายงานโดยกลุ่มอาหารและอนุรักษ์อินเดีย เอเชียอุษาคเนย์ อัฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นตัวแทนประชากรนับล้าน

The so-called miracle crops, which were first sold in the US about 20 years ago and which are now grown in 29 countries on about 1.5bn hectares (3.7bn acres) of land, have been billed as potential solutions to food crises, climate change and soil erosion, but the assessment finds that they have not lived up to their promises.
พืชที่เรียกว่า พืชมหัศจรรย์นี้ ซึ่งครั้งแรกถูกขายในสหรัฐฯ ประมาณ 20 ปีที่แล้ว และซึ่งตอนนี้ปลูกใน 29 ประเทศ ในเนื้อที่ 1.5 พันล้านเฮตเตอร์ (3.7 พันล้านเอเคอร์) ได้ถูกยกย่องว่ามีศักยภาพในการแก้ปัญหาวิกฤตอาหาร  ภูมิอากาศผันผวน และหน้าดินกร่อนทะลาย แต่การประเมินพบว่า พวกมันไม่ได้ให้ผลตามคำสัญญา

The report claims that hunger has reached "epic proportions" since the technology was developed. Besides this, only two GM "traits" have been developed on any significant scale, despite investments of tens of billions of dollars, and benefits such as drought resistance and salt tolerance have yet to materialise on any scale.
รายงานได้อ้างว่า ความหิวโหยได้ถึงขั้น “ปริมาณมหากาพย์” ตั้งแต่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้น   นอกจากนี้ มีเพียงจีเอ็ม 2 “สายพันธุ์” ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นในอัตราที่มีนัยสำคัญ ทั้งๆ ที่มีการลงทุนนับหมื่นล้านเหรียญ และผลประโยชน์ เช่น ความทนสภาพแห้งแล้ง และทนต่อดินเค็ม ก็ยังไม่ไปถึงไหน

Most worrisome, say the authors of the Global Citizens' Report on the State of GMOs, is the greatly increased use of synthetic chemicals, used to control pests despite biotech companies' justification that GM-engineered crops would reduce insecticide use.
สิ่งที่น่ากังวลที่สุด, ผู้เขียนรายงานของพลเรือนโลกเรื่องสภาวะของ จีเอ็มโอ กล่าว, คือ การใช้สารเคมีสังเคราะห์ ที่เคยใช้เพื่อควบคุมแมลงเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งๆ ที่บริษัทไบโอเทค (เทคโนโลยีชีวภาพ) ได้อ้างว่า พืชที่ได้รับการตัดแต่งทางพันธุกรรม จะช่วยลดการใช้ยาฆ่าแมลง

In China, where insect-resistant Bt cotton is widely planted, populations of pests that previously posed only minor problems have increased 12-fold since 1997. A 2008 study in the International Journal of Biotechnology found that any benefits of planting Bt cotton have been eroded by the increasing use of pesticides needed to combat them.
ในประเทศจีน, ที่ซึ่งฝ้าย บีที ที่ต่อต้านแมลง ได้ถูกเพาะปลูกอย่างแพร่หลาย, พบว่า ประชากรแมลงที่แต่ก่อนเพียงสร้างปัญหาเล็กน้อย ได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นถึง 12 เท่า ตั้งแต่ปี 1997 (พ.ศ. 2540)   การศึกษาในปี 2008 พิมพ์ใน International Journal of Biotechnology พบว่า ผลประโยชน์ของการปลูกฝ้ายบีที ได้ถูกกัดกร่อนด้วยการใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มมากขึ้นเพื่อกำจัดพวกมัน

Additionally, soya growers in Argentina and Brazil have been found to use twice as much herbicide on their GM as they do on conventional crops, and a survey by Navdanya International, in India, showed that pesticide use increased 13-fold since Bt cotton was introduced.
นอกจากนั้น เกษตรกรถั่วเหลืองในอาร์เจนตินา และบราซิล ได้ถูกพบว่า ต้องใช้ยาฆ่าวัชพืชกับถั่วเหลืองจีเอ็มมากกว่าถั่วเหลืองทั่วไปถึง 2 เท่าตัว  และการสำรวจโดย นวธัญญะนานาชาติ ในอินเดีย ได้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นถึง 13 เท่า ตั้งแต่ฝ้ายบีที ได้ถูกนำเข้ามาปลูก

The report, which draws on empirical research and companies' own statements, also says weeds are now developing resistance to the GM firms' herbicides and pesticides that are designed to be used with their crops, and that this has led to growing infestations of "superweeds", especially in the US.
รายงานฉบับนี้ ซึ่งใช้ข้อมูลจากงานวิจัยเชิงประจักษ์และแถลงการณ์ของบริษัทเอง ก็ได้กล่าวว่า ตอนนี้วัชพืชกำลังพัฒนาตัวเองให้ต่อต้านยาปราบวัชพืชและแมลงที่บริษัทจีเอ็มได้ออกแบบ เพื่อใช้กับพืชของพวกเขา และว่า นี่จะนำไปสู่การขยายการรังควานของ “ซุปเปอร์วัชพืช” มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ

Ten common weeds have now developed resistance in at least 22 US states, with about 6m hectares (15m acres) of soya, cotton and corn now affected.
ปัจจุบัน วัชพืชร่วม 10 ชนิด ได้พัฒนาภูมิต้านทานในอย่างน้อย 22 รัฐในสหรัฐฯ ซึ่งกระทบถั่วเหลือง ฝ้าย และข้าวโพดบนพื้นที่ 6 ล้านเฮคเตอร์ (15 ล้านเอเคอร์)

Consequently, farmers are being forced to use more herbicides to combat the resistant weeds, says the report. GM companies are paying farmers to use other, stronger, chemicals, they say. "The genetic engineering miracle is quite clearly faltering in farmers' fields," add the authors.
ผลคือ เกษตรกรจะถูกบังคับให้ใช้ยาฆ่าวัชพืชมากยิ่งขึ้น เพื่อปราบปรามวัชพืช  ผู้เขียนรายงานกล่าว บริษัทจีเอ็ม กำลังจ่ายเงินให้เกษตรกรใช้สารเคมีอื่นที่แรงกว่า “มหัศจรรย์การตัดแต่งพันธุกรรม กำลังสะดุดอย่างชัดเจนในไร่นาของเกษตรกร”

The companies have succeeded in marketing their crops to more than 15 million farmers, largely by heavy lobbying of governments, buying up local seed companies, and withdrawing conventional seeds from the market, the report claims. Monsanto, Dupont and Syngenta, the world's three largest GM companies, now control nearly 70% of global seed sales. This allows them to "own" and sell GM seeds through patents and intellectual property rights and to charge farmers extra, claims the report.
บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการขายพืชแก่เกษตรกรกว่า 15 ล้านคน ส่วนใหญ่ด้วยการวิ่งเต้นอย่างหนักหน่วงของรัฐบาล กว้านซื้อบริษัทเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น และถอนเมล็ดพันธุ์ธรรมดาออกจากตลาด   มอนซานโต ดูปองต์ และซินเจนตา เป็นสามบริษัทจีเอ็มยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลก ปัจจุบัน ควบคุมตลาดค้าเมล็ดในโลกเกือบ 70%  นี่เป็นการอนุญาตให้บริษัทเหล่านี้ “เป็นเจ้าของ” และขายเมล็ดจีเอ็ม ด้วยการจดลิขสิทธิ์กลายเป็นสิทธิ์สมบัติทางปัญญา ทำให้สามารถเพิ่มราคาขายกับเกษตรกร

The study accuses Monsanto of gaining control of over 95% of the Indian cotton seed market and of massively pushing up prices. High levels of indebtedness among farmers is thought to be behind many of the 250,000 deaths by suicide of Indian farmers over the past 15 years.
รายงานได้กล่าวหา มอนซานโต ว่าได้ควบคุมตลาดเมล็ดฝ้ายของอินเดียกว่า 95%  และได้ผลักดันให้ราคาสูงขึ้นอย่างมหาศาล  การที่เกษตรกรติดหนี้สินในอัตราสูง ถูกคาดว่าเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายของเกษตรกร 250,000 คน ในกว่า 15 ปีก่อน

The report, which is backed by Friends of the Earth International, the Center for Food Safety in the US, Confédération Paysanne, and the Gaia foundation among others, also questions the safety of GM crops, citing studies and reports which indicate that people and animals have experienced apparent allergic reactions.
รายงานนี้ ซึ่งสนับสนุนโดย Friends of the Earth International, the Center for Food Safety ในสหรัฐฯ Confédération Paysanne และ Gaia foundation ในบรรดาองค์กรอื่นๆ ได้ตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของพืชจีเอ็ม โดยอ้างงานศึกษาและรายงานต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่า คนและสัตว์ ได้เกิดมีอาการปฏิกิริยาภูมิแพ้

But it suggests scientists are loath to question the safety aspects for fear of being attacked by establishment bodies, which often receive large grants from the companies who control the technology.
แต่รายงานแนะว่า นักวิทยาศาสตร์ไม่เต็มใจที่จะตั้งคำถามความปลอดภัยนี้ เพราะกลัวว่าจะถูกคุกคามโดยองค์กร/สถาบัน ที่มักได้รับเงินทุนมหาศาลจากบริษัทที่ควบคุมเทคโนโลยีเหล่านี้

Monsanto disputes the report's findings: "In our view the safety and benefits of GM are well established. Hundreds of millions of meals containing food from GM crops have been consumed and there has not been a single substantiated instance of illness or harm associated with GM crops."
มอนซานโต แย้งสิ่งที่รายงานเขียน “ในความเห็นของเรา ความปลอดภัยและผลประโยชน์ของจีเอ็ม ได้เป็นที่ประจักษ์แน่ชัดอยู่แล้ว  อาหารนับร้อยล้านมื้อประกอบจากพืชจีเอ็ม ได้ถูกบริโภค และไม่มีความเจ็บป่วยแม้แต่รายเดียวที่พิสูจน์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับพืชจีเอ็ม”

It added: "Last year the National Research Council, of the US National Academy of Sciences, issued a report, The Impact of Genetically Engineered Crops on Farm Sustainability in the United States, which concludes that US farmers growing biotech crops 'are realising substantial economic and environmental benefits – such as lower production costs, fewer pest problems, reduced use of pesticides, and better yields – compared with conventional crops'."
และเสริมว่า “ปีที่แล้ว สภาวิจัยแห่งชาติ ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงาน “ผลกระทบของพืชที่ตัดแต่งทางพันธุกรรมต่อความยั่งยืนของไร่นาในสหรัฐฯ” ซึ่งสรุปว่า เกษตรกรสหรัฐฯ ที่ปลูกพืชชีวเทค กำลังได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นกอบเป็นกำ—เช่น ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาแมลง ลดการใช้ยาฆ่าแมลง และได้ผลผลิตดีขึ้น—เมื่อเทียบกับพืชธรรมดา’”

David King, the former UK chief scientist who is now director of the Smith School of Enterprise and the Environment at Oxford University, has blamed food shortages in Africa partly on anti-GM campaigns in rich countries.
เดวิด คิง อดีตหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของ สมิธวิทยาลัยแห่งวิสาหกิจและสิ่งแวดล้อม (Smith School of Enterprise and the Environment) ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ได้ตำหนิการขาดแคลนอาหารในอัฟริกาว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการต่อต้านจีเอ็มในประเทศที่ร่ำรวย

But, the report's authors claim, GM crops are adding to food insecurity because most are now being grown for biofuels, which take away land from local food production.
แต่ผู้เขียนรายงานอ้างว่า พืชจีเอ็ม กำลังเติมความไม่มั่นคงทางอาหาร เพราะปัจจุบัน ส่วนใหญ่ถูกปลูกเพื่อทำเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งจะแย่งที่ดินจากการปลูกพืชท้องถิ่น

Vandana Shiva, director of the Indian organisation Navdanya International, which co-ordinated the report, said: "The GM model of farming undermines farmers trying to farm ecologically. Co-existence between GM and conventional crops is not possible because genetic pollution and contamination of conventional crops is impossible to control.
วันทนา ศิวะ ผู้อำนวยการขององค์กรชาวอินเดีย นวธัญญะนานาชาติ ซึ่งเป็นผู้ประสานการรายงานนี้ กล่าวว่า “โมเดลจีเอ็มเพื่อการเพาะปลูก ได้กัดกร่อนความพยายามของเกษตรกรในการเพาะปลูกเชิงนิเวศ   การอยู่ร่วมกันระหว่างพืชจีเอ็มและพืชธรรมดาย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะ มลภาวะทางพันธุกรรมและการปนเปื้อนพืชธรรมดา จะทำให้ไม่มีทางควบคุมได้เลย

"Choice is being undermined as food systems are increasingly controlled by giant corporations and as chemical and genetic pollution spread. GM companies have put a noose round the neck of farmers. They are destroying alternatives in the pursuit of profit."
“ทางเลือกถูกกัดเซาะ เมื่อระบบอาหารกำลังถูกควบคุมมากขึ้นโดยบรรษัทยักษ์ใหญ่ และเมื่อมลภาวะจากสารเคมีและพันธุกรรมแผ่ขยายกว้าง   บริษัทจีเอ็ม ได้ทำบ่วงเชือกเตรียมแขวนคอเกษตรกร   พวกเขากำลังทำลายทางเลือกเพียงเพื่อไล่ล่ากำไร”

© 2011 Guardian Media
ดรุณี/10-22-11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น