ประวัติ ผลงาน
และ วิสัยทัศน์
“น้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”
โครงการบูรณาการครบวงจร
เพื่อเปลี่ยนประเทศไทย
จาก เศรษฐกิจทุนนิยม สู่ เศรษฐกิจพอเพียง
สารบัญ
๑.
วัตถุประสงค์
๒.
ความเป็นมา
๓.
ผลิตผล
คุณภาพ และ “อาหารเป็นยา”
๔.
วิสัยทัศน์
: จาก ชมรมสุขภาพ สู่ สังคม
๕.
ประสบการณ์และความชำนาญ
๖.
ข้อมูลสนับสนุนโครงการ
|
โครงการน้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย
54 ซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก 2 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก
เขตบางกะปิ กทม. 10240
โทร.
086-367-4362, 085-975-4086 E-mail: phair_ru@hotmail.com, Website: www.fcthai.com
๑.
วัตถุประสงค์
โครงการฯ มีนโยบายกระจายความรู้ ลงไปถึงระดับหมู่บ้าน
เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ทั้งในเชิง ป้องกันและรักษา. หลักๆมีดังนี้
1.
ให้ประชาชนมีสุขภาพดี
ประหยัดค่ารักษาพยาบาลทั้งของตัวเองและประเทศชาติ (ประมาณ 275,000 ล้านบาท/ปี )
2.
ลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ ระหว่างเมืองกับชนบท. ชุมชนจะมีรายได้จากการเป็นครัวอาหาร
โลก (รักษาโรคได้) และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ – นิเวศน์ เช่นโฮมสเตย์
แทนนักธุรกิจในระบบทุนนิยมปัจจุบัน ซึ่งจะล่มสลาย
และเปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงในที่สุด
3.
ระบบเศรษฐกิจของเราจะมั่นคง, ยั่งยืน,
เพราะมีรายได้จากครัวอาหารโลก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ–นิเวศน์
ซึ่งเป็นผลผลิตจากแผ่นดินของเราเกือบ 100%
แทนการส่งออกซึ่งได้กำไรเพียงน้อยนิดจากค่าแรง, และวัตถุดิบในประเทศเล็กน้อย
นอกจากนี้ ตลาดต่างประเทศ เราก็ควบคุมความต้องการได้ยาก รวมทั้งค่าของเงิน (อัตราแลกเปลี่ยน)
ซึ่งปัจจุบัน มีสงครามเศรษฐกิจการเงินทั่วโลกดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
๒. ความเป็นมา
“น้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”
เป็นการตกผลึกทางความคิด จากการปฏิบัติเชิงวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างไม่เป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ ในระยะแรก
เป็นความสนใจส่วนตัวที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อรักษาโรคตับอักเสบ (ไวรัสบี) ของตนเอง
(นายไพโรจน์ รุ้งรุจิเมฆ) ตามทฤษฎีแมคโครไบโอติค ซึ่งใช้หลักปรับสมดุลพลังหยิน-หยางในร่างกายด้วยอาหารที่ปรุงด้วยผลิตภัณฑ์อินทรีย์อันหลากหลายให้มีสัดส่วนหยิน-หยางสมดุล
จนหายจากโรคโดยไม่ต้องใช้ยาสมัยใหม่ ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ได้ก่อตั้ง บ้านไร่ไพโรจน์ เพื่อทำเกษตรกรรมอินทรีย์พอเพียงเอง บนพื้นที่
๔๐ ไร่ ที่บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา ได้เข้าฝึกอบรมเกษตรกรรมพื้นฐาน แล้วค้นคว้าทดลองเองต่อไป
จนพบวิธีฟื้นชีวิตดินให้สามารถผลิตพืชผลเกษตรอินทรีย์คุณภาพสูงได้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ก่อตั้ง Health Club
(ชมรมสุขภาพ) 6009
เพื่อรักษาญาติมิตรที่ป่วยด้วยโรคอันเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย
โดยอาศัยความรู้จากประสบการณ์การรักษาตนเอง
การที่บ้านไร่ไพโรจน์ผลิตวัตถุดิบได้เอง
นอกจากมั่นใจในคุณภาพวัตถุดิบ ยังลดต้นทุนเมื่อเทียบกับซื้อจากห้างสรรพสินค้า
มหาอุทุกภัยปลายปี ๒๕๕๔ ทำให้เล็งเห็นว่า
แนวทาง “อาหารเป็นยา” นี้ หากสามารถขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย จะช่วยป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของภัยพิบัติอันเนื่องมาจากน้ำท่วมได้ เพราะการขุดบ่อเพื่อทำเกษตรผสมผสานในเชิงเศรษฐกิจพอเพียง
ย่อมทำหน้าที่เป็นแก้มลิงย่อยๆ ไปในตัว ส่วนการปลูกป่ารักษาดิน
ย่อมช่วยลดความรุนแรงของน้ำหลากหรือน้ำแล้งด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การรักษาสุขภาพที่ต้นเหตุ คือ ปรับอาหาร และพฤติกรรมการกิน
แทนการแก้ไขที่ปลายเหตุหรืออาการป่วยด้วยยา จะช่วยประหยัดงบประมาณแห่งชาติได้มหาศาล
เพื่อให้แนวคิดนี้สัมฤทธิ์ผลได้ จะต้องถูกยกระดับแนวทาง
“อาหารเป็นยา” ให้เป็นวาระแห่งชาติ
โครงการ
“น้ำท่วมกินผัก” จึงเป็นดั่งการวิจัยและพัฒนา
ต่อยอดจากประสบการณ์ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ที่มีวิวัฒนาการจากการแสวงหาวิถีทางเลือกเพื่อรักษาโรคส่วนตัว
สู่การขยายผลเพื่อช่วยรักษาโรคให้เพื่อน
สู่ปณิธานที่จะขยายแนวทางนี้ให้เป็นพื้นฐานในการดูแลสุขภาพองค์รวมของสังคมส่วนรวม
สู่การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ของชาติ
วิกฤตน้ำท่วม ได้กลายเป็นแรงดลใจ
และที่มาของชื่อโครงการ “น้ำท่วมกินผัก” พลังบวกที่หลั่งไหลอย่างล้นหลามจากชาวไทยทั่วประเทศเพื่อช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติ
ที่ตกทุกข์เพราะน้ำท่วมผิดธรรมชาตินั้น ได้ท่วมล้างพลังลบเรื้อรังก่อนหน้า
ที่สร้างความแปลกแยกร้าวฉานแบ่งสีเป็นแรมปี
โครงการ “น้ำท่วมกินผัก” ไม่มีสี
ต้องการเป็นตัวสมานให้ประชาชนไทยคืนสติ หันมาใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาปากท้อง
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบองค์รวม กู้สุขภาพตัวเองและสุขภาพของนิเวศ
ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนและเป็นผู้นำในการก้าวย่างสู่ประชาคมอาเซียน
๓. ผลิตผล คุณภาพ และ “อาหารเป็นยา”
หลังจากบุกเบิก
ทดลองวิจัยอยู่เกือบ ๒ ปี โดยเลียนแบบวงจรธรรมชาติของป่า ๑๐๐ ปีใกล้เคียง ที่นาเสื่อมโทรม
๔๐ ไร่ ของบ้านไร่ไพโรจน์ ที่บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา ก็ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ ให้ผลผลิตที่มีธาตุอาหารสูง (ตารางที่ 1) และได้ใบรับรองมาตรฐานจาก IFOAM (มกท) ในปี ๒๕๕๑
ตารางที่
1
เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในกระเจี๊ยบที่ปลูกในไร่ไพโรจน์ กับที่อื่น ๆ
โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ธาตุอาหาร
|
บ้านไร่ไพโรจน์
|
Organic supplier อื่น
|
มหิดล
|
หนังสือผัก
333 ชนิด
|
โปแตสเซียม (มก)
|
2,648
|
204.6
|
198
|
-
|
แคลเซียม (มก)
|
422
|
76.5
|
11
|
11
|
สังกะสี (มก)
|
5.43
|
0.6
|
0.4
|
-
|
วิตามินเอ
(ในรูปเบตาแคโรทีน) (RE)
|
51
|
87.6
|
66
|
5.6
|
ก. “อาหารเป็นยา”
การก่อตั้ง Health Club
6009 หรือ ชมรมสุขภาพ ในปี ๒๕๕๒ ไม่ได้ทำเป็นธุรกิจ
แต่เป็นการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย (ห้องครัว การบริหาร และการจัดส่งถึงบ้าน)
แบ่งทุกข์แบ่งสุขกัน ในลักษณะ วิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise)
เนื่องจากการประกอบการนี้อยู่ในกรุงเทพฯ
สมาชิกสามารถตรวจเช็คร่างกายและส่งข้อมูลทางแพทย์ให้ติดตามผลได้อย่างต่อเนื่อง[1] ตารางที่ ๒ เป็นสรุปผลจากตัวอย่างสมาชิกที่หายจากโรค
ตาราง 2 ตัวอย่างสมาชิกเฮลท์คลับ 6009 ที่หายจากโรคด้วยการรับประทานอาหารปิ่นโตของบ้านไร่ไพโรจน์
ชื่อ
|
อาการป่วย
|
|
1
|
ดร.เทียม เจนงามกุล
|
คอเรสเตอรอลสูง
|
2
|
นางอรัญญา
ทวีลาภาภรณ์
|
อ้วน
|
3
|
นายนรินทร์
|
อ้วน
|
4
|
นายเธียร
ชูพิศาลยโรจน์
|
ไขมันสูง
|
5
|
นายสรศักดิ์ แสนสมบัติ
|
ไขมันสูง
|
6
|
นายสุรชัย
อาภรณ์สุสัมฤทธิ์
|
ความดัน,
ไขมันสูง
|
7
|
นายพิเชษฐ์ ลิมปิพิพัฒนากร
|
อ้วน,
ความดัน, ไขมันสูง
|
8
|
นายสมเกียรติ
|
อ้วน, คอเรสเตอรอลสูง, เบาหวาน,
ความดัน
|
9
|
อาจารย์ปรีชา
|
ไขมันสูง, เสียดแน่นหน้าท้องบริเวณชายโครง
|
10
|
นายปฏิภาณ
อริยเดช
|
ไขมันสูง,
CEA
|
11
|
นางปราณี
วาริการ
|
CEA, ระบบขับถ่ายไม่ปกติ
|
12
|
นายวิทวัส
พรกุล
|
อ้วนนอนกรน, กรดไหลย้อน, ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
|
13
|
นายพิพัฒน์ รัตนไตรภพ
|
โรคหัวใจ,
เส้นเลือดขั้วหัวใจตีบ
|
14
|
นายเมธา
มณีรัตนพร
|
โรคเก๊า,
ความดัน 90/140
|
15
|
นายชนะ
โตวัน
|
เบาหวาน,
น้ำตาล 300
|
16
|
นางบุ้ง
แซ่เจี่ย
|
เบาหวาน,
ความดัน, หัวใจ, ไอเรื้อรัง
|
17
|
ดร.บูรพา ชดเชย
|
เบาหวาน,
โรคไต, ฟอกไต
3 ครั้ง/สัปดาห์
|
18
|
นายไพโรจน์ รุ้งรุจิเมฆ
|
โรคตับอักเสบ-ไวรัสบี, ภูมิแพ้
|
19
|
นางสาวกนกวรรณ
|
เนื้องอกที่กระดูกสันหลัง, ผอม
|
20
|
นางวัชรี
คุณกิตติ
|
เนื้องอกที่เต้านม
|
21
|
นางกัลยา
|
มะเร็งเต้านม
|
22
|
นางชนิศา
|
มะเร็งเต้านม, กระดูกสะโพก
|
23
|
นางอำไพ
อุสบณาจิตต์
|
มะเร็งเต้านม, ผ่านการฉายรังสีรอบ 2
|
24
|
แม่นางอำไพ อุสบณาจิตต์
|
มะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด,
มะเร็งลำไส้, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
|
25
|
นายวันชัย
คิดหาทอง
|
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, ได้ผ่านการฉายรังสี
|
26
|
นายพีรพงษ์ นิคมขำ
|
มะเร็งต่อมลูกหมาก, PSA
> 100
|
ปัจจุบัน บ้านไร่ไพโรจน์ยังคงดูแลรักษาผู้ป่วยอื่นๆ
ต่อไป (ส่วนมากจากการแนะนำปากต่อปาก) ตารางที่ ๓ เป็นผลเลือดของผู้ป่วยปัจจุบันท่านหนึ่ง
อายุ ๗๐ ปี ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ระยะ ๔
หลังจากเริ่มรับประทานอาหารปิ่นโตในวันที่
๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ หลังจาก ๓๐ วัน ค่า Marker
มะเร็ง CA15-3 หยุด เพิ่มขึ้นอยู่
๒ เดือน (ธค. และ มค.) และลดลง 6% เมื่อย่างเข้าเดือนที่ ๓
(กพ.) ในขณะเดียวกัน ค่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
38% แม้เม็ดเลือดแดงจะลดลง 7% (แต่ลดลงในอัตราที่ถดถอย)
เมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 4 (มี.ค.) ค่าเม็ดเลือดแดงกลับเพิ่มขึ้น 1.22% ค่ามะเร็งลดลง 23% แม้เม็ดเลือดขาวลดลง (แต่ยังอยู่ในพิกัด) ภาพรวมถือว่าดีขึ้นมาก และผู้ป่วยเองก็รายงานว่ารู้สึกดีขึ้นเรื่อย
ๆ
ตารางที่ 3
ผลการตรวจเลือดของผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ระยะที่ ๔ ตั้งแต่ ส.ค. ๒๕๕๕ ถึง
๒๓ มี.ค. ๒๕๕๖
วันเดือนปี
|
Hemoglobin
(g/dl)
|
เปลี่ยนแปลง
เดือน/เดือน(%)
|
Hematocrit
(%)
|
WBC
(Cell/cu
mm)
|
Platelet
Count
(Cell/Cu
mm)
|
Tumor
Marker CA15-3
|
ส.ค.55
|
10.2
|
-
|
30.4
|
4,900
|
383,000
|
38.91
|
ก.ย.55
|
10.1
|
-0.98
|
30.8
|
5,000
|
360,000
|
44.35
|
ต.ค.55
|
10.1
|
0
|
30.6
|
4,900
|
319,000
|
46.95
|
ธ.ค.55
(เริ่ม)
|
8.8
|
-12.87
|
26.1
|
4,500
|
350,000
|
64.51
|
26 ม.ค.56
|
8.5
|
-3.41
|
25.4
|
4,600
|
301,000
|
65.84
|
17 ก.พ. 56
|
8.3
|
-2.35
|
25.8
|
5,300
|
361,000
|
-
|
23 ก.พ.56
|
8.2
|
-1.20
|
25.9
|
6,200
|
350,000
|
60.76
|
23 มี.ค.56
|
8.3
|
+1.22
|
25.7
|
4,900
|
378,000
|
46.86
|
เพื่อขยายผลจากกิจกรรมในหมู่ญาติมิตรสู่สาธารณะระดับชุมชนท้องถิ่น
ภายใต้โครงการ “น้ำท่วมกินผัก” บ้านไร่ไพโรจน์ได้ทำการนำร่องอบรมและบริการรักษาผู้ป่วยด้วย
“อาหารเป็นยา” หรือ “โภชนบำบัด” ซึ่งอาจเรียกง่ายๆ ว่า เป็นคอร์สอาหารปิ่นโต (๓
มื้อ) ๑๔ วัน ที่ชุมชนพุเตย ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ระหว่างวันที่ ๕-๑๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจดังแสดงใน ตารางที่ ๔
ตาราง
4 ผลสุขภาพของสมาชิกชุมชนพุเตย ๙
ท่านหลังจากรับประทานอาหารปิ่นโต ๑๔ วัน (๕-๑๘ กพ ๒๕๕๖)
ชื่อ -
นามสกุล
|
อายุ/ปี
|
โรค
|
ผลจากการรับประทานชุดอาหาร
|
นายวศิน
แก้วจิตคงทอง
|
55
|
เบาหวาน
ไขมันในเส้นเลือด
|
หลังจากร่วมโครงการ 13 วัน ได้ไปตรวจพบว่าเบาหวานลด
ไขมันลด น้ำหนักตัวลด อาการกรนลด
หลับสบายขึ้น
และร่างกายแข็งแรงขึ้น
|
หมอไสว
อินทพงศ์
|
55
|
เบาหวาน
ความดันสูง อ่อนเพลียง่าย
|
หลังจากร่วมโครงการ 12 วัน ได้ไปตรวจ พบว่าเบาหวานลด
ความดันลด ร่างกายแข็งแรงขึ้น ไม่ค่อยอ่อนเพลีย
จิตใจดีขึ้น นอนหลับสบายขึ้น
|
นายเชียง
บุญตัน
|
54
|
เบาหวาน
ความดันสูง
|
หลังจากเมื่อร่วมโครงการ 14 วัน ความดันลดลง เบาหวานลดลง ร่างกายแข็งแรงขึ้น นอนหลับดีขึ้น
|
นายประเสริฐ
อินทร์อยู่
|
61
|
เบาหวาน
ความดันสูง
|
หลังจากร่วมโครงการ ได้ 7 วัน และ 10 วัน ได้ไปตรวจ
ผลคือ เบาหวานลด ความดันลด ปัสสาวะตอนกลางคืนลดจาก 4 เหลือ 2
ครั้งต่อคืน
อาการปวดแสบร้อนขาและเท้าลดลง
|
นางเฉลียว
พลราชม
|
50
|
ความดันสูง
|
หลังจากร่วมโครงการ 12 วัน ได้ไปตรวจ พบความดันสูงคืนสู่ปกติ
|
นางลออ
พลายงาม
|
68
|
ความดันสูง
|
หลังจากร่วมโครงการ 12 วัน ความดันลดลง นอนหลับดีขึ้น
ไม่ค่อยปวดขา ร่างกายแข็งแรงขึ้น
|
นายเก็บ
พลายงาม
|
76
|
ข้อมือสั่น
|
หลังจากร่วมโครงการ 12 วัน อาการมือสั่นลดลง นอนหลับสบายขึ้น และร่างกายแข็งแรงขึ้น
|
นายสมชาย
นาเอก
|
51
|
ปวดท้ายทอย
ปวดหัว
|
หลังจากร่วมโครงการ 14 วัน อาการปวดท้ายทอยลด
ร่างกายสดชื่น หน้าตาแจ่มใสขึ้น นอนหลับดีขึ้น
|
นายวิกิจ
แก้วจิตคงทอง
|
61
|
มึนศีรษะช่วงตื่นนอน
|
หลังจากร่วมโครงการ 10 วัน
อาการมึนศีรษะหายไป รู้สึกแข็งแรงขึ้น
|
ข. หลักการ
“อาหารเป็นยา”
ตามหลักแมคโครไบโอติก
ความเจ็บป่วยเป็นอาการของความไม่สมดุลของพลังหยิน-หยางในร่างกาย การรักษาโรคจึงต้องเริ่มต้นที่การปรับความสมดุลนี้
ด้วยการรับประทานอาหารที่สมดุลและหลากหลาย เช่น พืชผัก ข้าว ธัญพืช ผลไม้ คุณภาพสูงจากเกษตรอินทรีย์
(และโปรตีนจากไก่ ปลาที่เลี้ยงตามธรรมชาติ) รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกิจวัตรและภาวะจิต (“องค์รวม”,
ดู www.fcthai.com)
๔. วิสัยทัศน์ จาก ชมรม สู่ สังคม
หลังจากดำเนินกิจกรรมเชิงวิจัยและพัฒนาอยู่
๔-๕ ปี ผ่านชมรมสุขภาพ (Health Club 6009) บ้านไร่ไพโรจน์มีความมั่นใจในองค์ความรู้และคุณประโยชน์จากแนวทางผลิตเกษตรอินทรีย์และวิธีฟื้นฟูสุขภาพด้วย
อาหารเป็นยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค เมื่อพิจารณาในระดับมหภาค จะเห็นได้ว่า
แนวทางนี้จะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณประเทศได้ด้วย
ก. ผู้ผลิตขายได้ราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคซื้อได้ในราคาถูกลง (เพราะตัดคนกลาง)
ราคาเดิม
(บาท/กก)
|
ราคาใหม่
(บาท/กก)
|
ส่วนต่าง
(%)
|
|
ผู้ผลิต/ขาย
|
20-30
|
40-60
|
+50 ถึง 100
|
ผู้ซื้อ
|
70-120
|
40-60
|
-40
ถึง 50
|
ข. ประหยัดงบประมาณแผ่นดิน
จากการประมวลข้อมูลการรักษาสมาชิก Health Club 6009 ที่ฟื้นสุขภาพและหายจากโรคต่างๆ ด้วย แนวทาง
“อาหารเป็นยา” นี้ อาจประเมินมูลค่าของแนวทางนี้ได้
ดังนี้ สมมติว่า “อาหารเป็นยา” นี้ ช่วยประหยัดค่ายา/ค่าใช้จ่ายรักษาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยหนึ่งคนได้
๓,๐๐๐-๔,๐๐๐บาท/เดือน หากเผยแพร่ให้ผู้ป่วยทั่วประเทศเข้าถึงได้ปีละ ๓ ล้านคน
ก็จะประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการซื้อยาได้ถึง ๙,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ล้านบาท/เดือน หรือประมาณ ๑๒๐,๐๐๐
ล้านบาท/ปี (275,000 ล้านบาท/ปี ข้อมูลสาธารณสุข) งบประมาณนี้ นำมาใช้พัฒนาแนวป้องกันให้เกิดสุขภาวะแบบองค์รวม
และทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ จะดีกว่าใช้แก้ไขรักษาที่ปลายเหตุ
ค. ภาพรวมของโครงการน้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย
|
๕. ประสบการณ์ & ความชำนาญ
•
บ้านไร่ไพโรจน์ à เฮลท์คลับ6009 à
“น้ำท่วมกินผัก...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”
•
ประสบการณ์กว่า 6 ปี
•
ประสบการณ์ส่วนตัว
•
บำบัดโรคตับอักเสบ-ไวรัสบี กว่า 25 ปี (พ.ศ.
๒๕๓๑)
•
พัฒนาความรู้ความชำนาญอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นในช่วง
๖ ปีที่ผ่านมา
•
ความชำนาญ
รักษา :
•
โรคอันเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย (ยกเว้นมะเร็ง) เช่น เบาหวาน ความดันสูง
ไขมันสูง เป็นต้น
•
เห็นผลภายใน 14 วัน
•
มะเร็ง
•
อย่างน้อย 30 วัน เห็นผลการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นชัดเจน
•
การปรุงอาหารให้เป็นยาฟื้นฟูภูมิต้านทาน
และเยียวยาร่างกาย
•
การปลูกพืชผักอินทรีย์
และฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน
•
ผลิตผลมีธาตุอาหารสูง สมบูรณ์
ถูกสัดส่วน เป็นธรรมชาติ
๖. ข้อมูลสนับสนุนโครงการ
•
หนังสือ “ปฏิวัติชีวิต ปฏิวัติสุขภาพ” ของ น.พ. บุญชัย
อิศราพิสิษฐ์ เป็นการ “พิชิตโรคร้าย โดยไม่ใช้ยา”
•
การบรรยายทางวิชาการของ Dr. Dean
Ornish, MD (แพทย์ศัลยกรรมหัวใจ), 2012
•
http://www.youtube.com/watch?v=QYmInK5xo6g (ภาษาอังกฤษ)
•
ชมวีดีโอ การบรรยายของ ดร.ออร์นิช (พากษ์ไทย) ได้ที่ www.fcthai.com หรือ http://www.youtube.com/watch?v=IFRmg_skn9k
•
การรักษาโดยอาหาร+ปรับพฤติกรรม, ได้ผลดีกว่าการแพทย์กระแสหลัก ยืนยันได้ด้วยการตรวจวัดด้วยอุปกรณ์การแพทย์ทันสมัยที่สุด
•
บริษัทประกันสุขภาพในสหรัฐฯ
ลดค่าใช้จ่ายได้มากเมื่อผู้ทำประกันปรับอาหารและพฤติกรรม
•
Medicare ของสหรัฐฯ ยอมให้เบิกค่าใช้จ่ายจากการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติแล้ว (ตั้งแต่พฤศจิกายน 2555) แพทย์จะเปลี่ยนวิธีการรักษา
และหลักสูตรแพทย์จะเปลี่ยนไป
|
7 พย/4 เมษายน 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น