How Science Is Telling Us All To Revolt
by Naomi Klein
วิทยาศาสตร์กำลังบอกให้พวกเราทั้งหมดขบถ
- นาโอมิ ไคล์น
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Waste land: large-scale
irrigation strips nutrients from the soil, scars the landscape and could alter
climactic conditions beyond repair. Image: Edward Burtynsky, courtesy Nicholas
Metivier Gallery, Toronto/ Flowers, London, Pivot Irrigation #11 High Plains,
Texas Panhandle, USA (2011)
ที่ดินเสื่อมโทรม: ระบบชลประทานขนาดใหญ่ขจัดสารอาหารจากดิน, สร้างแผลเป็นกับภูมิทัศน์ และ
อาจเปลี่ยนเงื่อนไขของภูมิอากาศเกินที่จะซ่อมแซมได้
In December 2012, a pink-haired
complex systems researcher named Brad Werner made his way through the throng of
24,000 earth and space scientists at the Fall Meeting of the American Geophysical
Union, held annually in San Francisco. This year’s conference had some big-name
participants, from Ed Stone of Nasa’s Voyager project, explaining a new
milestone on the path to interstellar space, to the film-maker James Cameron,
discussing his adventures in deep-sea submersibles.
ในเดือนธันวาคม
๒๕๕๕, นักวิจัยระบบเชิงซ้อนที่มีผมสีชมพู ชื่อ แบรด เวอร์เนอร์
ได้ฝ่าฝูงนักวิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยาและอวกาศ ๒๔,๐๐๐ คน ณ ที่ประชุมฤดูใบไม้ร่วง
ของสหภาพธรณีฟิสิกส์อเมริกัน, ที่จัดขึ้นทุกปีที่ซานฟรานซิสโก. การประชุมปีนี้ มีคนดังบางคนเข้าร่วมด้วย, จาก เอ็ด
สโตน แห่ง โครงการโวเยเจอร์ ของนาซา,
อธิบายถึงหลักไมล์ใหม่ของหนทางสู่อวกาศระหว่างดาว, ถึงนักถ่ายทำภาพยนตร์ เจมส์
แคเมอรอน, อภิปรายการผจญภัยของเขาในเรือดำน้ำในทะเลลึก.
But it was Werner’s own session that
was attracting much of the buzz. It was titled “Is Earth F**ked?” (full title:
“Is Earth F**ked? Dynamical Futility of Global Environmental Management and
Possibilities for Sustainability via Direct Action Activism”).
แต่
มันเป็นช่วงการประชุมของเวอร์เนอร์นี่แหละ ที่ดึงดูดให้เกิดเสียงฮือฮา. หัวข้อ (ใช้คำแสลง) “โลกถูกกระทำชำเราหรือไม่?” (ชื่อเต็มของหัวข้อ:
“โลกถูกกระทำชำเราหรือไม่? ความไร้ประโยชน์ที่เต็มไปด้วยพลวัตของการจัดการสิ่งแวดล้อมโลก
และ ความเป็นไปได้สำหรับความยั่งยืนด้วยปฏิบัติการรณรงค์ตรง”).
What scientists and experts are
saying, says Klein, is "that there is still time to avoid catastrophic
warming, but not within the rules of capitalism as they are currently
constructed. Which may be the best argument we have ever had for changing those
rules."
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญกำลังบอก,
ไคลน์ กล่าว, คือ “ยังมีเวลาที่จะหลีกเลี่ยงโลกร้อนหายนะ,
แต่ไม่ใช่ภายในกฎกติกาของทุนนิยม ดังที่มันถูกสร้างเช่นปัจจุบัน. ซึ่งอาจเป็นคำโต้แย้งที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาก่อน
เพื่อเปลี่ยนกฎกติกาเหล่านั้น”.
Standing at the front of the
conference room, the geophysicist from the University of California, San Diego
walked the crowd through the advanced computer model he was using to answer
that question. He talked about system boundaries, perturbations, dissipation,
attractors, bifurcations and a whole bunch of other stuff largely
incomprehensible to those of us uninitiated in complex systems theory. But the
bottom line was clear enough: global capitalism has made the depletion of
resources so rapid, convenient and barrier-free that “earth-human systems” are
becoming dangerously unstable in response. When pressed by a journalist for a
clear answer on the “are we f**ked” question, Werner set the jargon aside and
replied, “More or less."
ในขณะยืนอยู่หน้าห้องประชุม,
นักธรณีฟิสิกส์ผู้นี้ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ซานดิเอโก ใช้โมเดลคอมพิวเตอร์ล้ำยุค
พูดนำพาหมู่ผู้ฟังและใช้ตอบคำถามนั้น.
เขาพูดถึงขอบเขตของระบบ, ความอลวน, การเหือดหายไป, ตัวดึงดูด, จุดแยกสองราก
และสิ่งต่างๆ ทั้งกะบิที่ส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่องสำหรับพวกเราที่ไม่ได้ขึ้นครูกับทฤษฎีระบบเชิงซ้อน. แต่สาระสำคัญชัดเจนพอ: ลัทธิทุนนิยมโลก
ได้ล้างผลาญทรัพยากรอย่างรวดเร็ว, สะดวก และ ไร้สิ่งกีดขวางมากขนาดที่
“ระบบโลก-มนุษย์” กำลังเข้าสู่ภาวะไม่เสถียรที่อันตรายยิ่ง. พอนักข่าวซักให้ตอบ คำถามที่ว่า “are we
f**ked” (พวกเราถูกกระทำชำเราหรือไม่) ให้ชัดๆ
หน่อย, เวอร์เนอร์ เลี่ยงคำแสลงนั้น และ ตอบว่า “ประมาณนั้น ไม่มากก็น้อย”.
There was one dynamic in the model,
however, that offered some hope. Werner termed it “resistance” – movements of
“people or groups of people” who “adopt a certain set of dynamics that does not
fit within the capitalist culture”. According to the abstract for his
presentation, this includes “environmental direct action, resistance taken from
outside the dominant culture, as in protests, blockades and sabotage by
indigenous peoples, workers, anarchists and other activist groups”.
มีพลวัตหนึ่งในโมเดลนั้น
ที่ให้ความหวังบ้าง.
เวอร์เนอร์เรียกมันว่า “ต่อต้าน/แรงต้านทาน”—การเคลื่อนไหวของ “ประชาชน
หรือ กลุ่มของประชาชน” ผู้ยอมรับชุดพลวัตบางอย่างที่ไม่ฟิตเหมาะเจาะภายในวัฒนธรรมทุนนิยม”. ตามบทคัดย่อสำหรับการนำเสนอของเขา, เช่น
“ปฏิบัติการตรงด้านสิ่งแวดล้อม, แรงต้านทานที่เอามาจากภายนอกของวัฒนธรรมครอบงำ,
ดังเช่นในการประท้วง, การขวางทาง และ การก่อวินาศกรรมโดยชนพื้นเมืองดั้งเดิม,
คนงาน, นักล้มล้างกฎหมายและการปกครอง และกลุ่มนักรณรงค์อื่นๆ”.
Serious scientific gatherings don’t
usually feature calls for mass political resistance, much less direct action
and sabotage. But then again, Werner wasn’t exactly calling for those things.
He was merely observing that mass uprisings of people – along the lines of the
abolition movement, the civil rights movement or Occupy Wall Street – represent
the likeliest source of “friction” to slow down an economic machine that is
careening out of control. We know that past social movements have “had
tremendous influence on . . . how the dominant culture evolved”, he pointed
out. So it stands to reason that, “if we’re thinking about the future of the
earth, and the future of our coupling to the environment, we have to include
resistance as part of that dynamics”. And that, Werner argued, is not a matter
of opinion, but “really a geophysics problem”.
การประชุมทางวิทยาศาสตร์ที่เอาจริงเอาจัง
ปกติไม่มีการเรียกร้องให้มวลชนทำการต่อต้านทางการเมือง, อย่าว่าแต่จะร้องเรียกให้ปฏิบัติการตรงและก่อวินาสกรรม. แต่ก็อีกนั่นแหละ,
เวอร์เนอร์ไม่ได้เรียกร้องให้ทำสิ่งเหล่านั้นเสียทีเดียว. เขาเพียงแต่สังเกตเห็นว่า
การลุกฮือขึ้นของมวลชน—ในแนวเดียวกับการเคลื่อนไหวของการเลิกทาส,
การเคลื่อนไหวสิทธิพลเมือง (ให้เลิกกีดกันผิวสี) หรือ การยึดพื้นที่วอลล์สตรีท—เป็นตัวแทนของบ่อเกิดที่เป็นไปได้มากที่สุดของ
“แรงเสียดทาน” เพื่อชะลอความเร็วของเครื่องจักรเศรษฐกิจ ที่กำลังวิ่งเอียงกะเล่เท่
คุมไม่อยู่. เรารู้ว่า
การเคลื่อนไหวทางสังคมในอดีตได้
“มีอิทธิพลมหาศาลต่อ...วิวัฒนาการของวัฒนธรรมที่ครอบงำอยู่”, เขาชี้ให้เห็น. ดังนั้น มันจึงเป็นเหตุผลที่ว่า,
“หากเราคิดถึงอนาคตของโลก, และอนาคตของการร่วมสังวาสของเรากับสิ่งแวดล้อม,
เราต้องรวมแรงต้านทานให้เป็นส่วนหนึ่งของพลวัตด้วย”. และนั่น, เวอร์เนอร์แย้งว่า,
ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความเห็น, แต่ “ปัญหาธรณีฟิสิกส์จริงๆ”.
Plenty of scientists have been moved
by their research findings to take action in the streets. Physicists,
astronomers, medical doctors and biologists have been at the forefront of
movements against nuclear weapons, nuclear power, war, chemical contamination
and creationism. And in November 2012, Nature
published a commentary by the financier and environmental
philanthropist Jeremy Grantham urging scientists to join this tradition and “be
arrested if necessary”, because climate change “is not only the crisis of your
lives – it is also the crisis of our species’ existence”.
นักวิทยาศาสตร์มากมาย
ได้แรงบันดาลใจจากผลงานวิจัยของตนเอง จนออกมาปฏิบัติการบนท้องถนน. นักฟิสิกส์, นักดาราศาสตร์, แพทย์ และ
นักชีววิทยา ได้อยู่ในแนวหน้าของการเคลื่อนไหวต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์,
พลังงานนิวเคลียร์, สงคราม, การปนเปื้อนของสารเคมี และ ลัทธิพระเจ้าสร้างโลก. และในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕, Nature ได้ตีพิมพ์ความเห็นของนักการเงินและผู้ให้ทุนสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม เจอเรมี
แกรนธัม ที่เร่งเร้าให้นักวิทยาศาสตร์เข้าร่วมขนบประเพณีนี้ และ
“ยอมถูกจับถ้าจำเป็น”, เพราะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
“ไม่ใช่เป็นเพียงวิกฤตชีวิตของพวกเรา—มันเป็นวิกฤตของการอยู่รอดของสายพันธุ์ของเราด้วย”.
Some scientists need no convincing.
The godfather of modern climate science, James Hansen, is a formidable
activist, having been arrested some half-dozen times for resisting mountain-top
removal coal mining and tar sands pipelines (he even left his job at Nasa this
year in part to have more time for campaigning). Two years ago, when I was
arrested outside the White House at a mass action against the Keystone XL tar
sands pipeline, one of the 166 people in cuffs that day was a glaciologist
named Jason Box, a world-renowned expert on Greenland’s melting ice sheet.
นักวิทยาศาสตร์บางคน
ไม่จำเป็นต้องให้ชักชวน.
เจ้าพ่อแห่งภูมิอากาศศาสตร์ยุคใหม่, เจมส์ แฮนสัน, เป็นนักรณรงค์ที่น่าเกรงขาม,
เคยถูกจับกุมเกือบสิบครั้งโทษฐานขัดขวางการขุดถ่านหินบนยอดภูเขา และ การสร้างท่อส่งทรายน้ำมันดิน
(เขาได้ละทิ้งงานของเขาที่ นาซา ปีนี้
ส่วนหนึ่งเพื่อจะได้มีเวลามากขึ้นในการรณรงค์).
สองปีก่อน, เมื่อฉันถูกจับที่นอกทำเนียบขาว ในปฏิบัติการมวลชน ต่อต้านท่อส่งน้ำมันดินคีย์สโตน
XL, หนึ่งใน ๑๖๖ คนที่ถูกใส่กุญแจมือในวันนั้น เป็นนักธารน้ำแข็งศาสตร์ ชื่อ
เจสัน บ็อกซ์, ผู้เชี่ยวชาญที่โลกรู้จักเรื่อง
การหลอมละลายของแผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์.
“I couldn’t maintain my self-respect
if I didn’t go,” Box said at the time, adding that “just voting doesn’t seem to
be enough in this case. I need to be a citizen also.”
“ผมไม่สามารถรักษาความรู้สึกเคารพตัวเองได้
หากผมไม่ได้ไป”, บ็อกซ์กล่าวตอนนั้น, เสริมว่า
“เพียงแค่ลงคะแนนเสียงดูเหมือนจะไม่เพียงพอเสียแล้วในกรณีนี้. ผมจำเป็นต้องเป็นพลเมืองคนหนึ่งด้วย”.
This is laudable, but what Werner is
doing with his modelling is different. He isn’t saying that his research drove
him to take action to stop a particular policy; he is saying that his research
shows that our entire economic paradigm is a threat to ecological stability.
And indeed that challenging this economic paradigm – through mass-movement
counter-pressure – is humanity’s best shot at avoiding catastrophe.
นี่เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ,
แต่สิ่งที่เวอร์เนอร์กำลังทำกับโมเดลของเขา มันต่างกัน. เขาไม่ได้บอกว่า
งานวิจัยของเขากระตุ้นให้เขาออกมาปฏิบัติการเพื่อหยุดยั้งนโยบายเฉพาะหนึ่งๆ; เขากำลังบอกว่า
งานวิจัยของเขาแสดงให้เห็นว่า กระบวนทัศน์เศรษฐกิจทั้งหมดของเรา
เป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของระบบนิเวศ. และจริงๆ
แล้ว มันเป็นการท้าทายกระบวนทัศน์เศรษฐกิจนี้—ด้วยการสร้างแรงกดดันสวนทางจากขบวนการมวลชน—เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษยชาติที่จะหลีกเลี่ยงหายนะ.
That’s heavy stuff. But he’s not
alone. Werner is part of a small but increasingly influential group of
scientists whose research into the destabilisation of natural systems –
particularly the climate system – is leading them to similarly transformative,
even revolutionary, conclusions. And for any closet revolutionary who has ever
dreamed of overthrowing the present economic order in favour of one a little
less likely to cause Italian pensioners to hang themselves in their homes, this
work should be of particular interest. Because it makes the ditching of that
cruel system in favour of something new (and perhaps, with lots of work,
better) no longer a matter of mere ideological preference but rather one of
species-wide existential necessity.
นั่นเป็นเรื่องหนักทีเดียว. แต่เขาไม่ได้อยู่ตามลำพัง. เวอร์เนอร์เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเล็กๆ
ที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำการวิจัยในเรื่องการทำให้ระบบธรรมชาติเสียเสถียรภาพ—โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ระบบภูมิอากาศ—ที่นำพาพวกเขาสู่ผลการสรุปที่พลิกโฉม, แม้กระทั่ง ปฏิวัติ. และสำหรับนักปฏิวัติที่แอบอยู่ในตู้เสื้อผ้าคนใดที่เคยฝันว่าจะล้มล้างระเบียบเศรษฐกิจปัจจุบัน
เพื่อเข้าข้างเศรษฐกิจอื่นที่เป็นไปได้น้อยกว่า ที่จะทำให้ชาวอิตาลีที่กินบำนาญอยู่ต้องแขวนคอตายในบ้านตัวเอง,
งานนี้ควรจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ.
เพราะมันช่วยในการขุดถอนระบบอันโหดร้ายนั้น แล้วแทนที่ด้วยบางอย่างที่ใหม่
(และบางทีดีกว่า, ด้วยการทำงานมากมาย) ไม่ใช่เป็นเพียงการเลือกข้างทางอุดมการณ์
แต่เป็นความจำเป็นเพื่อความคงอยู่ของสายพันธุ์ชีวิตทั้งหลาย.
Leading the pack of these new
scientific revolutionaries is one of Britain’s top climate experts, Kevin
Anderson, the deputy director of the Tyndall Centre for Climate Change
Research, which has quickly established itself as one of the UK’s premier
climate research institutions. Addressing everyone from the Department for
International Development to Manchester City Council, Anderson has spent more
than a decade patiently translating the implications of the latest climate
science to politicians, economists and campaigners. In clear and understandable
language, he lays out a rigorous road map for emissions reduction, one that
provides a decent shot at keeping global temperature rise below 2° Celsius, a target
that most governments have determined would stave off catastrophe.
คนที่นำหมู่นักวิทยาศาสตร์หัวปฏิวัติใหม่เหล่านี้
เป็นผู้เชี่ยวชาญหัวกะทิด้านภูมิอากาศของสหราชอาณาจักร, เควิน แอนเดอร์สัน, รอง ผอ
ศูนย์ทินดอลล์เพื่อการวิจัยภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, ซึ่งได้สถาปนาตัวเองอย่างรวดเร็วจนเป็นสถาบันวิจัยทางภูมิอากาศชั้นนำแห่ง
หนึ่งของสหราชอาณาจักร. ในการกล่าวต่อทุกๆ
คน ตั้งแต่กระทรวงเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ จนถึง สภาเมืองแมนเชสเตอร์,
แอนเดอร์สัน ได้ใช้ความอดทนเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ แปลนัยของภูมิอากาศศาสตร์ล่าสุด
ต่อ นักการเมือง, นักเศรษฐศาสตร์ และ นักรณรงค์.
ด้วยการใช้ภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย, เขากางแผนที่รายละเอียดเส้นทางสำหรับลดการปล่อยก๊าซ,
อันวิธีหนึ่งที่จะรักษาอุณหภูมิโลกให้เพิ่มน้อยกว่า ๒ องศาเซลเซียส,
เป้าหมายที่รัฐบาลส่วนใหญ่ได้ตัดสินแล้วว่า จะช่วยชะลอหายนะได้.
"The
fact that the business-as-usual pursuit of profits and growth is destabilising
life on earth is no longer something we need to read about in scientific
journals. The early signs are unfolding before our eyes."
But in recent years Anderson’s papers
and slide shows have become more alarming. Under titles such as “Climate
Change: Going Beyond Dangerous . . . Brutal Numbers and Tenuous Hope”, he
points out that the chances of staying within anything like safe temperature
levels are diminishing fast.
“ความจริงที่ว่า
การไล่ล่ากำไรทำธุรกิจตามปกติ และ การเติบโต
เป็นการทำให้ชีวิตสูญเสียเสถียรภาพบนโลก
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราต้องอ่านจากวารสารวิทยาศาสตร์อีกต่อไป. สัญญาณแรกเริ่ม ได้เผยโฉมต่อหน้าต่อตาของพวกเราแล้ว”. แต่ในไม่กี่ปีมานี้ บทความ และ การแสดงสไลด์ ของแอนเดอร์สัน
ได้เพิ่มความน่าตกใจมากยิ่งขึ้น.
ภายใต้หัวข้อ เช่น “การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ: ไปไกลกว่าอันตราย...ตัวเลขหฤโหดและความหวังอันแผ่วบาง”,
เขาชี้ว่า โอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยในระดับอุณหภูมิที่ปลอดภัย
กำลังเหือดหายไปอย่างรวดเร็ว.
With his colleague Alice Bows, a
climate mitigation expert at the Tyndall Centre, Anderson points out that we
have lost so much time to political stalling and weak climate policies – all
while global consumption (and emissions) ballooned – that we are now facing
cuts so drastic that they challenge the fundamental logic of prioritising GDP
growth above all else.
กับเพื่อนร่วมงาน
อลิส โบวส์, ผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเทาภูมิอากาศที่ศูนย์ทินดอลล์, แอนเดอร์สันชี้ให้เห็นว่า
เราได้เสียเวลาไปมากเหลือเกิน กับการติดหล่มการเมือง และ นโยบายภูมิอากาศที่อ่อนแอ—ในขณะที่การบริโภคโลก
(และการปล่อยก๊าซ) เป็นลูกโป่งบวมเป่ง—ที่ทำให้ตอนนี้เราต้องเผชิญกับการลด (ก๊าซ) อย่างรุนแรง
ที่ท้าทายตรรกะพื้นฐานของการให้ความสำคัญแก่ จีดีพี เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง.
Anderson and Bows inform us that the
often-cited long-term mitigation target – an 80 per cent emissions cut below
1990 levels by 2050 – has been selected purely for reasons of political
expediency and has “no scientific basis”. That’s because climate impacts come
not just from what we emit today and tomorrow, but from the cumulative
emissions that build up in the atmosphere over time. And they warn that by
focusing on targets three and a half decades into the future – rather than on
what we can do to cut carbon sharply and immediately – there is a serious risk
that we will allow our emissions to continue to soar for years to come, thereby
blowing through far too much of our 2° “carbon budget” and putting ourselves in
an impossible position later in the century.
แอนเดอร์สันและโบวส์
บอกเราว่า เป้าหมายการบรรเทาระยะยาวที่มักถูกกล่าวถึงนั้น—ลดการปล่อยก๊าซให้ต่ำลง 80% ของระดับในปี
๒๕๓๓ ภายในปี ๒๕๙๓—ได้ถูกเลือกด้วยเหตุผลมักง่ายทางการเมือง และ “ไม่มีฐานเชิงวิทยาศาสตร์”
เลย. เพราะว่า ผลกระทบทางภูมิอากาศ
ไม่ได้เพียงแต่มาจากสิ่งที่เราปล่อยออกไปวันนี้หรือพรุ่งนี้, แต่มาจากการปล่อยก๊าซสะสม
ที่ก่อตัวขึ้นในชั้นบรรยากาศเมื่อเวลาผ่านไป.
และพวกเขาได้เตือนว่า การเน้นเล็งไปที่เป้าของสามทศวรรษครึ่งในอนาคต—แทนที่จะดูว่า
เราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อตัดลดคาร์บอนอย่างแรงและกระทันหัน—มีความเสี่ยงร้ายแรงที่ว่า
เราจะอนุญาตให้การปล่อยก๊าซของเราเพิ่มสูงขึ้นต่อไปทุกปี, แล้วก็ลอยผ่าน
“งบคาร์บอน” 2 องศาของเรา ไปไกลเกินไป จนทำให้พวกเราเองตกที่นั่งลำบากที่ทำอะไรไม่ได้แล้วในปลายศตวรรษนี้.
Which is why Anderson and Bows argue
that, if the governments of developed countries are serious about hitting the
agreed upon international target of keeping warming below
2° Celsius, and if reductions are to respect any kind of equity principle
(basically that the countries that have been spewing carbon for the better part
of two centuries need to cut before the countries where more than a billion
people still don’t have electricity), then the reductions need to be a lot
deeper, and they need to come a lot sooner.
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำไม
แอนเดอร์สันและโบวส์ แย้งว่า, หากรัฐบาลในประเทศพัฒนาแล้ว
เอาจริงเอาจังที่จะบรรลุเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้แล้วระหว่างประเทศ
ในการรักษาความร้อนขึ้นให้อยู่ต่ำกว่า ๒ องศาเซลเซียส, และหากการลดทอนได้รับการเคารพในหลักการเสมอภาค
(โดยพื้นฐาน คือ ประเทศที่ได้พ่นคาร์บอนออกมากว่าสองศตวรรษ
จำเป็นต้องลดก่อนประเทศที่ประชาชนกว่าพันล้านคน ยังไม่มีไฟฟ้าใช้),
แล้วการลดก็จำเป็นต้องลงไปลึกกว่ามาก, และพวกเขาก็จำเป็นต้องเริ่มทำเร็วขึ้นกว่านั้นด้วย.
To have even a 50/50 chance of
hitting the 2° target (which, they and many others warn, already involves
facing an array of hugely damaging climate impacts), the industrialised
countries need to start cutting their greenhouse-gas emissions by something like
10 per cent a year – and they need to start right now. But Anderson and Bows go
further, pointing out that this target cannot be met with the array of modest
carbon pricing or green-tech solutions usually advocated
by big green groups. These measures will certainly help, to be sure, but they
are simply not enough: a 10 per cent drop in emissions, year after year, is
virtually unprecedented since we started powering our economies with coal. In
fact, cuts above 1 per cent per year “have historically been associated only
with economic recession or upheaval”, as the economist Nicholas Stern put it in
his 2006 report for the British government.
เพื่อให้มีโอกาสแม้แต่
50/50 ในการบรรลุเป้าของ 2° (ซึ่ง,
พวกเขาและคนอื่นหลายคนได้เตือนไว้, ก็ต้องเผชิญกับผลกระทบทำลายล้างมหาศาลเชิงภูมิอากาศต่างๆ
อยู่แล้ว), ประเทศอุตสาหกรรม จำเป็นต้องเริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น 10% ทุกปี—และจำเป็นต้องเริ่มทำเดี๋ยวนี้. แต่แอนเดอร์สันและโบวส์ไปไกลกว่านั้น, ชี้ว่า
เป้าหมายนี้ ไม่สามารถบรรลุได้ด้วยการตั้งราคาพอประมาณกับคาร์บอน หรือ เทคโนโลยีสีเขียว
ที่กลุ่มสีเขียวขนาดใหญ่มักออกมาสนับสนุน.
มาตรการเหล่านี้จะช่วยได้แน่, แต่ไม่พอ:
การลดปล่อยก๊าซลง 10% ปีต่อปี ไม่เคยมีมาก่อน
ตั้งแต่เราเริ่มเดินเครื่องเศรษฐกิจของเราด้วยถ่านหิน. อันที่จริง, การลดเหนือ 1% ต่อปี “ในทางประวัติศาสตร์ ได้เกิดขึ้นแค่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย หรือ
มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่”, ดังที่นักเศรษฐศาสตร์ นิโคลัส สเติร์น
ได้เขียนไว้ในรายงาน ปี ๒๕๔๙ ต่อรัฐบาลสหราชอาณาจักร.
Even after the Soviet Union
collapsed, reductions of this duration and depth did not happen (the former
Soviet countries experienced average annual reductions of roughly 5 per cent
over a period of ten years). They did not happen after Wall Street crashed in
2008 (wealthy countries experienced about a 7 per cent drop between 2008 and
2009, but their CO2 emissions rebounded with gusto in 2010 and emissions in
China and India had continued to rise). Only in the immediate aftermath of the
great market crash of 1929 did the United States, for instance, see emissions
drop for several consecutive years by more than 10 per cent annually, according
to historical data from the Carbon Dioxide Information Analysis Centre. But
that was the worst economic crisis of modern times.
แม้แต่หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต,
การลดลง และ ความลึกก็ไม่เกิดขึ้นในช่วงนั้น (ประเทศในอดีตโซเวียตได้ลดประมาณ 5% ทุกปีในช่วงเวลา
๑๐ ปี).
มันไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากการล้มครืนของวอลล์สตรีทในปี ๒๕๕๑ (ประเทศมั่งคั่ง
ได้มีการลดลง 7% ในระหว่างปี ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๒, แต่การปล่อย CO2 กลับเด้งขึ้นอย่างแรงในปี ๒๕๕๓ และการปล่อยก๊าซในจีนและอินเดีย ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง). มีแต่ช่วงหลังจากการพังทลายของตลาดครั้งใหญ่ในปี
๒๔๗๒ ที่สหรัฐฯ เห็นการลดลงต่อเนื่องหลายปีในอัตรา 10% ทุกปี,
ตามข้อมูลประวัติศาสตร์จากศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลคาร์บอนไดออกไซด์.
แต่นั่นเป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่แย่ที่สุดของยุคใหม่.
If we are to avoid that kind of
carnage while meeting our science-based emissions targets, carbon reduction
must be managed carefully through what Anderson and Bows describe as “radical
and immediate de-growth strategies in the US, EU and other wealthy nations”. Which
is fine, except that we happen to have an economic system that fetishises GDP
growth above all else, regardless of the human or ecological consequences, and
in which the neoliberal political class has utterly abdicated its
responsibility to manage anything (since the market is the invisible genius to
which everything must be entrusted).
หากเราจะเลี่ยงการล้างผลาญชีวิตแบบนั้น
ในขณะที่บรรลุเป้าการปล่อยก๊าซที่มีวิทยาศาสตร์รองรับได้,
การลดคาร์บอนจะต้องได้รับการจัดการอย่างรอบคอบด้วยวิธีที่แอนเดอร์สัน และ โบวส์บรรยายว่า
เป็น “ยุทธศาสตร์ของการลดการเติบโตอย่างสุดเหวี่ยงและทันทีในสหรัฐฯ, อียู และ
ประเทศร่ำรวยอื่นๆ”. อันนั้นก็ได้,
ยกเว้นว่า เรามีระบบเศรษฐกิจที่ยกย่อง การเติบโตของจีดีพี เหนือสิ่งอื่นใด,
ไม่ไยไพกับผลพวงต่อมนุษย์หรือนิเวศ, และเมื่อชนชั้นการเมืองเสรีนิยมใหม่ ต่างพากันละทิ้งความรับผิดชอบต่อการจัดการสิ่งใดๆ
(เพราะ เชื่อว่าตลาดเป็นอัจฉริยะล่องหนที่ฝากฝังทุกสิ่งทุกอย่างกับมันได้).
In a 2012 essay that appeared in the
influential scientific journal Nature
Climate Change, Anderson and Bows laid down something of a
gauntlet, accusing many of their fellow scientists of failing to come clean
about the kind of changes that climate change demands of humanity. On this it
is worth quoting the pair at length:
ในบทความหนึ่ง
ในปี ๒๕๕๕ ที่ปรากฏอยู่ในวารสารวิทยาศาสตร์ “ธรรมชาติภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง”
แอนเดอร์สันและโบวส์ ได้ท้าทาย,
กล่าวโทษเพื่อนนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่ล้มเหลวในการออกมาสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเรียกร้องจากมนุษยชาติ. ขอยกข้อความมา ณ ที่นี้.
. . . in developing emission
scenarios scientists repeatedly and severely underplay the implications of
their analyses. When it comes to avoiding a 2°C rise, “impossible” is
translated into “difficult but doable”, whereas “urgent and radical” emerge as
“challenging” – all to appease the god of economics (or, more precisely,
finance). For example, to avoid exceeding the maximum rate of emission
reduction dictated by economists, “impossibly” early peaks in emissions are
assumed, together with naive notions about “big” engineering and the deployment
rates of low-carbon infrastructure. More disturbingly, as emissions budgets
dwindle, so geoengineering is increasingly proposed to ensure that the diktat
of economists remains unquestioned.
...ในการพัฒนาทัศนียภาพของการปล่อยก๊าซ นักวิทยาศาสตร์ไม่กล้าแสดงออกถึงนัยของการวิเคราะห์ของพวกตนซ้ำแล้วซ้ำเล่าและเสียหายร้ายแรง. เมื่อพูดถึงการหลีกเลี่ยง, “เป็นไปไม่ได้”
ถูกแปลเป็น “ยากแต่ทำได้”, ในขณะที่ “เร่งด่วนอย่างถอนรากถอนโคน” กลายเป็น
“ท้าทาย”—ทั้งหมดก็เพื่อปรนเปรอ ประจบเทพเจ้าแห่งเศรษฐกิจ (หรือ พูดให้ถูกต้อง,
การเงิน). ยกตัวอย่าง,
เพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเกินอัตราสูงสุดของการลดปล่อยก๊าซ ดังคำสั่งเผด็จการของนักเศรษฐศาสตร์,
ก็ได้สมมติตั้ง จุดสุดยอดเริ่มต้นของการปล่อยก๊าซชนิดที่ “เป็นไปไม่ได้”,
พร้อมกับความคิดไร้เดียงสาเกี่ยวกับ วิศวกรรม “ขนาดใหญ่” และ
อัตราการใช้โครงสร้างพื้นฐานคาร์บอนต่ำ.
ยิ่งน่าโมโหกว่านั้น, ในขณะที่งบการปล่อยก๊าซหดลดลง,
พวกวิศวกรรมธรณีกลับนำเสนอเพิ่ม เพื่อให้แน่ใจว่า คำสั่งเผด็จการของนักเศรษฐศาสตร์
ยังคงอยู่เหนือคำถามใดๆ.
In other words, in order to appear
reasonable within neoliberal economic circles, scientists have been
dramatically soft-peddling the implications of their research. By August 2013,
Anderson was willing to be even more blunt, writing that the boat had sailed on
gradual change. “Perhaps at the time of the 1992 Earth Summit, or even at the
turn of the millennium, 2°C levels of mitigation could have been achieved
through significant
evolutionary changes within the political and economic
hegemony. But climate change is a cumulative issue! Now, in 2013, we
in high-emitting (post-)industrial nations face a very different prospect. Our
ongoing and collective carbon profligacy has squandered any opportunity for the
‘evolutionary change’ afforded by our earlier (and larger) 2°C carbon budget.
Today, after two decades of bluff and lies, the remaining 2°C budget demands revolutionary change to the political and economic
hegemony” (his emphasis).
พูดใหม่,
เพื่อทำให้ดูมีเหตุผลภายในแวดวงเศรษฐศษสตร์เสรีนิยมใหม่, นักวิทยาศาสตร์ได้ทำให้นัยจากผลการวิจัยของพวกเขาฟังนิ่มหูลงอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ. ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖, แอนเดอร์สัน ตั้งใจขวานผ่าซากยิ่งขึ้น,
ด้วยการเขียนว่า เรือได้เริ่มออกแล่นตามการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป. “บางที ณ เวลาของการประชุมสุดยอดโลก ปี ๒๕๓๕,
หรือ แม้แต่ตอนย่างเข้าศตวรรษใหม่นี้, ระดับการลดอุณหภูมิที่ 2°C อาจบรรลุได้ด้วย การเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการ อย่างมีนัยสำคัญ ภายใน
กรอบการครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจ.
แต่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
เป็นประเด็นการสะสมทบยอด! บัดนี้,
ในปี ๒๕๕๖, พวกเราในประชาชาติยุคหลังอุตสาหกรรม ที่ปล่อยก๊าซปริมาณสูง
เผชิญหน้ากับความเป็นไปได้ที่ต่างไปแล้ว. ความสุรุ่ยสุร่ายคาร์บอนร่วมและกำลังเป็นอยู่ของพวกเรา
ได้ล้างผลาญโอกาสใดๆ ที่มีอยู่เพื่อ ‘การเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการ’ ที่เป็นไปได้ในงบคาร์บอน 2°C ก่อนหน้านี้. ทุกวันนี้, หลังจากสองทศวรรษของการตบตาและโกหก,
งบ 2°C ที่เหลืออยู่ เรียกร้องให้มี
การเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการ กับ ระบบครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจ”.
We probably shouldn’t be surprised
that some climate scientists are a little spooked by the radical implications
of even their own research. Most of them were just quietly doing their work
measuring ice cores, running global climate models and studying ocean
acidification, only to discover, as the Australian climate expert and author
Clive Hamilton puts it, that they “were unwittingly destabilising the political
and social order”.
เราคงไม่ควรประหลาดใจที่
นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศบางคน หวาดผวาเล็กน้อย กับนัยสุดโต่งแม้แต่ในงานวิจัยของพวกเขาเอง. พวกเขาส่วนมาก เพียงแต่ทำงานของตนเองเงียบๆ
ในการวัดแก่นน้ำแข็ง, ทำโมเดลภูมิอากาศโลก และ ศึกษาการกลายเป็นกรดในมหาสมุทร,
เพียงเพื่อให้ค้นพบ, ดังที่ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศชาวออสเตรเลีย และ ผู้เขียน
คลิฟ แฮมิลตัน ได้เขียนว่า, พวกเขา
“ได้ทำให้ระเบียบการเมืองและสังคมเสียเสถียรภาพอย่างไม่มีเจตนา”.
But there are many people who are
well aware of the revolutionary nature of climate science. It’s why some of the
governments that decided to chuck their climate commitments in favour of
digging up more carbon have had to find ever more thuggish ways to silence and
intimidate their nations’ scientists. In Britain, this strategy is becoming
more overt, with Ian Boyd, the chief scientific adviser at the Department for
Environment, Food and Rural Affairs, writing recently that scientists should
avoid “suggesting that policies are either right or wrong” and should express
their views “by working with embedded advisers (such as myself), and by being
the voice of reason, rather than dissent, in the public arena”.
แต่มีอีกหลายคนที่ตื่นรู้ถึงธรรมชาติวิวัฒนาการของภูมิอากาศศาสตร์. นั่นเป็นเหตุผลว่า
ทำไมบางรัฐบาลจึงได้ตัดสินใจโยนทิ้งพันธสัญญาภูมิอากาศของตน
เข้าข้างการขุดคาร์บอนให้ขึ้นมาเพิ่ม จึงหันไปใช้วิธีอันธพาลหนักยิ่งขึ้น ในการปิดปากและรังควาญข่มขู่เหล่านักวิทยาศาสตร์แห่งชาติของตน. ในสหราชอาณาจักร,
ยุทธศาสตร์นี้ได้เปิดเผยมากยิ่งขึ้น, กับ เอียน บอยด์,
หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ที่กระทรวงสิ่งแวดล้อม, อาหาร และ กิจกรรมชนบท,
ที่เขียนเมื่อเร็วๆ นี้ว่า นักวิทยาศาสตร์ควรหลีกเลี่ยง “การแนะนำว่า นโยบายอาจ
ถูก หรือ ผิด” และ ควรแสดงมุมมองของตน
“ด้วยการทำงานกับที่ปรึกษาที่ฝังตัวอยู่ที่นั่น (เช่นตัวผม),
และด้วยการเป็นกระบอกเสียงของเหตุผล, แทนการแตกร้าว คัดค้าน, ในเวทีสาธารณะ”.
If you want to know where this leads,
check out what’s happening in Canada, where I live. The Conservative government
of Stephen Harper has done such an effective job of gagging scientists and
shutting down critical research projects that, in July 2012, a couple thousand
scientists and supporters held a mock-funeral on Parliament Hill in Ottawa,
mourning “the death of evidence”. Their placards said, “No Science, No
Evidence, No Truth”.
หากคุณต้องการรู้ว่า
เรื่องนี้นำไปสู่ทิศทางไหน, ไปดูได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในแคนาดา, ที่ๆ
ฉันอาศัยอยู่. รัฐบาลอนุรักษ์นิยม ของ
สตีเฟน ฮาร์เปอร์ ช่างทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากในการปิดปากนักวิทยาศาสตร์และปิดโครงการวิจัยที่วิพากษ์วิจารณ์
ชนิดที่ว่า, ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕, นักวิทยาศาสตร์และผู้สนับสนุนหลายพันคน ได้พากันทำพิธีศพจำลองที่บริเวณรัฐสภาในกรุงอ็อตตาวา,
เพื่อไว้อาลัย “การตายของหลักฐาน”.
ป้ายประกาศบอกว่า, “ไม่มีวิทยาศาสตร์, ไม่มีหลักฐาน, ไม่มีความจริง”.
But the truth is getting out anyway.
The fact that the business-as-usual pursuit of profits and growth is
destabilising life on earth is no longer something we need to read about in
scientific journals. The early signs are unfolding before our eyes. And
increasing numbers of us are responding accordingly: blockading fracking
activity in Balcombe; interfering with Arctic drilling preparations in Russian
waters (at tremendous personal cost); taking tar sands operators to court for
violating indigenous sovereignty; and countless other acts of resistance large
and small. In Brad Werner’s computer model, this is the “friction” needed to
slow down the forces of destabilisation; the great climate campaigner Bill
McKibben calls it the “antibodies” rising up to fight the planet’s “spiking
fever”.
It’s not a revolution, but it’s a
start. And it might just buy us enough time to figure out a way to live on this
planet that is distinctly less f**ked.
แต่ความจริงก็หลุดออกมาได้.
ความจริงที่ว่า
การไล่ล่ากำไรทำธุรกิจตามปกติ และ การเติบโต
เป็นการทำให้ชีวิตสูญเสียเสถียรภาพบนโลก
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราต้องอ่านจากวารสารวิทยาศาสตร์อีกต่อไป. สัญญาณแรกเริ่ม ได้เผยโฉมต่อหน้าต่อตาของพวกเราแล้ว. และพวกเราจำนวนมากขึ้น
ก็กำลังตอบสนองตามนั้น: สกัดกั้นกิจกรรมขุดเจาะก๊าซใน บาลโคมบ์; แทรกแซงการเตรียมการเพื่อขุดเจาะในขั้วโลกเหนือในน่านน้ำรัสเซีย
(ด้วยต้นทุนส่วนตัวมหาศาล); ฟ้องผู้ประกอบการทรายน้ำมันดินต่อศาลในข้อหาละเมิดอธิปไตยของชนพื้นเมือง; และ ปฏิบัติการต่อต้านอื่นๆ นับไม่ถ้วนทั้งใหญ่และเล็ก. ในโมเดลคอมพิวเตอร์ของ แบรด เวอร์เนอร์, นี่คือ
“แรงเสียดทาน” ที่จำเป็นต้องมีเพื่อชะลอกระแสพลังของการทำให้เสียเสถียรภาพ,
นักรณรงค์ภูมิอากาศที่ยิ่งใหญ่ บิล แมคกิบเบ็น เรียกมันว่า เป็น
“ภูมิต้านเชื้อโรค” ที่ลุกฮือขึ้นเพื่อต่อสู้กับ “พิษไข้ขึ้นสูง” ของโลก. มันไม่ใช่การปฏิวัติ, แต่มันเป็นการเริ่มต้น.
และมันอาจเพียงถ่วงเวลาให้เราได้มากพอที่จะหาทางมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ที่เละเทะน้อยกว่านี้.
©
2013 The New Statesman
Naomi Klein is an award-winning
journalist and syndicated columnist and the author of the international and New
York Times bestseller The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism, now
out in paperback. Her earlier books include the international best-seller, No Logo: Taking Aim at the Brand Bullies (which has
just been re-published in a special 10th Anniversary Edition); and the collection Fences and Windows: Dispatches from the Front Lines of the
Globalization Debate (2002). To read all her latest writing visit www.naomiklein.org. You
can follow her on Twitter: @NaomiAKlein.
นาโอมิ ไคล์น เป็นนักข่าวที่ได้รับรางวัล และ นักเขียนคอลัมน์ และ ผู้เขียน หนังสือขายดี นิวยอร์กไทมส์ “ลัทธิช็อค: การโงหัวขึ้นของลัทธิทุนนิยมหายนะ”. หนังสือก่อนหน้าของเธอ เช่น หนังสือขายดีระหว่างประเทศ, “ไม่มีโลโก้/ยี่ห้อ: เล็งที่แบรนด์อันธพาล” (ซึ่งเพิ่งพิมพ์ใหม่รอบพิเศษ ฉบับครบรอบปีที่ ๑๐), และ รวมบทความ “รั้วและหน้าต่าง: รายงานตรงจากแนวหน้าของวิวาทะโลกาภิวัตน์” (๒๕๕๕). อ่านงานเขียนล่าสุดของเธอได้ที่ www.naomiklein.org
Published on Tuesday, October 29, 2013 by New Statesman
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น