What
If All the World’s Debt Just Went Away
by Joe Brewer
จะเป็นอย่างไรหากหนี้ทั้งปวงในโลกหายวับไป
-โจ
บรูเวอร์
Just for fun, imagine if all debt
were wiped away when the Mayan Calendar ends this Friday…
ลองคิดดูเล่นๆ,
หากหนี้ทั้งหลายถูกกวาดล้างเกลี้ยงเมื่อปฏิทินมายันสิ้นสุดลงในวันศุกร์นี้...
How would the world be
different? What would become possible for you personally in your
life? How would nations and corporations invest our newfound wealth
differently if we all started from a clean slate? Problems like global
warming and extreme poverty would instantly become financial drops in the
bucket—easily tackled with fair contracts and forward-looking
investments. The structural debts of entrenched subsidies, invested
capital, tax havens, and trade agreements that keep them from being addressed
would simply no longer exist.
โลกจะแตกต่างจากนี้แค่ไหน?
อะไรจะพลันเป็นไปได้ในชีวิตส่วนตัวของคุณ?
ประเทศชาติและบรรษัททั้งหลาย จะใช้ความมั่งคั่งที่เกิดใหม่นี้ลงทุนแตกต่างออกไปอย่างไร
หากพวกเราทั้งหมดได้มาเริ่มต้นใหม่? ปัญหาเช่น
โลกร้อน และความยากจนสุดโต่ง จะกลายเป็นหยดน้ำเม็ดเงินในถัง—ที่สามารถแก้ไขด้วยสัญญาที่เป็นธรรม
และ การลงทุนที่มองไปข้างหน้า.
หนี้โครงสร้างของการสนับสนุนทางการเงิน, ต้นทุนที่ได้ลงทุนไปแล้ว, ภาษี,
และ ข้อตกลงทางการค้า ที่คอยขัดขวางไม่ให้ประเด็นหนี้ถูกแก้ไข ก็จะไม่มีเหลืออยู่อีกต่อไป.
Sounds too good to be true, doesn’t
it? Well just such a fantasy used to be standard practice in the Hebrew
Tradition throughout the early days of their civilization. They held a
great Jubilee
every seven years to erase all debt and end economic slavery. Accounts
kept on stone tablets were broken. Those stored on papyrus were burned to
ash. Slaves were returned to their families. Everyone was given a
fresh start. (This tradition is being revived today through the
Occupy-inspired project, Rolling Jubilee,
that has already abolished more than $9,000,000 in US debt for everyday
citizens.)
ฟังดูเหลือเชื่อ,
ใช่ไหม? ฝันเฟื่องเรื่องนี้
เคยเป็นวัตรปฏิบัติมาตรฐานเป็นประเพณีนิยมของชาวฮิบรู ในตอนต้นของอารยะธรรมของพวกเขา. พวกเขาจะมีการฉลองใหญ่ทุกๆ เจ็ดปี
เพื่อลบล้างหนี้ทั้งหมด และ ปลดทาสเศรษฐกิจ.
บัญชีที่จารึกบนแผ่นศิลา ถูกทุบแตก.
ร้านค้าบน ปาปีรัส ถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน.
ทาสคืนสู่ครอบครัวของตน. ทุกๆ
คนได้รับอนุญาตให้เริ่มต้นใหม่.
(ประเพณีนี้ ถูกฟื้นฟูทุกวันนี้ด้วยโครงการที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก
การยึดพื้นที่, Rolling
Jubilee, ที่ได้ยกเลิกหนี้ในสหรัฐฯ ไปกว่า $9,000,000 สำหรับพลเมืองทุกๆ คน.)
The
Invention of Debt
ประดิษฐกรรมหนี้
What you may not know is that debt
arose recently on the human stage. Throughout more than 99% of our
history we have not even had a concept for debt. (The interested
reader can pick up David Graeber’s excellent book Debt: The
First 5000 Years for full story.)
สิ่งที่คุณอาจไม่รู้
คือ หนี้โผล่ขึ้นมาได้ในขั้นตอนวิวัฒนาการของมนุษย์เพียงเร็วๆ นี้. ตลอดกว่า 99% ของประวัติศาสตร์ของเรา พวกเราไม่รู้จักแม้แต่กรอบคิดของหนี้. (ผู้สนใจอาจหาอ่านได้จาก “หนี้: 5000 ปีแรก” ของ เดวิด เกรเบอร์.)
Anthropological studies of
hunter-gatherer societies reveal that there were no barter systems, no
currencies to use for money, and — in the absence of these cultural artifacts —
there was no debt. With all the great variation cross cultures one might
expect from ethnographic research, the anthropologists found that some tribal
communities engaged in “gift economies” where status arises from how generous a
person is who has acquired wealth, while others have remained egalitarian and
non-hierarchical for thousands of years by sharing their food and materials
based on the principles of “from each as they are able, to each as they need.”
งานศึกษามานุษวิทยาแง่สังคมนักล่ากิน-นักเก็บกิน
เผยให้เห็นว่า ไม่มีระบบการแลกเปลี่ยนของ, ไม่มีเงินตรา, และ – เมื่อไม่มีวัตถุเชิงวัฒนธรรมเหล่านี้
– ก็ไม่มีหนี้.
จากงานศึกษาเชิงชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม,
นักมานุษวิทยาพบว่า ชุมชนบางชนเผ่า มีเศรษฐกิจในเชิงให้ของขวัญ/ของฝากแก่กัน
นั่นคือ สถานภาพของแต่ละคน เกิดจากความโอบอ้อมอารีของคนที่มั่งคั่งกว่า,
ในขณะที่คนอื่นๆ มีความเท่าเทียม และไม่มีความเหลื่อมล้ำ เป็นเวลานานหลายพันปี
ด้วยการแบ่งปันอาหารและวัตถุดิบต่างๆ บนหลักการของ “จากแต่ละคน ตามความสามารถ,
สู่แต่ละคน ตามความต้องการ/จำเป็น”.
This belies the great
misunderstanding about communism that treats it as a state-centric governing
system, when in truth it is the foundational sentiment of any community that
builds upon the trust and good will of social relations between people who know
and depend upon one another — a condition that has held for all hunter-gatherer
societies throughout our long 200,000 year history as a species.
นี่ทำให้เข้าใจผิดอย่างมหาศาลเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์
ที่เป็นระบบปกครองที่รัฐเป็นศูนย์กลาง, เมื่อในความเป็นจริง มันเป็นสภาพอารมณ์ความรู้สึกขั้นพื้นฐานของชุมชนหนึ่งๆ
ที่สร้างด้วยความเชื่อใจ และ น้ำใจ ที่มีในความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนที่รู้จักกัน
และพึ่งพาอาศัยกัน—เงื่อนไขที่ครอบคลุมสังคมนักล่ากิน-นักเก็บกิน
ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานถึง 200,000 ปีของสายพันธุ์ของพวกเรา.
Pick up an economics textbook at
random and you will find a classic (and false) “just so” story about
the need for barter systems to have money. They all go something like
this: Steve has potatoes and needs some shoes. Bob has shoes but
does not need any potatoes. They are unable to directly exchange goods
due to this mismatch of need, and so must introduce a money system to preserve
the value of currency across multiple exchanges that enable Steve to sell his
potatoes to Sue and acquire money that he can then use to pay Bob for a pair of
shoes. What this simple narrative conceals is the broad evidence from
ancient cultures studied by anthropologists that no such problem arises in this
way.
ลองสุ่มหยิบตำราเศรษฐศาสตร์สักเล่ม
แล้วคุณจะพบเรื่องคลาสสิค (และไม่จริง) นิทาน “ทำนองนั้น” เกี่ยวกับความจำเป็นที่ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าจะต้องมีเงินตรา. นิทานเหล่านี้จะเล่าเหมือนๆ กัน: สตีฟมีมันเทศ และจำเป็นต้องมีรองเท้า.
บ๊อบมีรองเท้า แต่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มันเทศ. ทั้งสองไม่สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรง
เพราะความต้องการไม่ตรงกัน, จึงจำเป็นต้องมีระบบเงิน
เพื่อพิทักษ์คุณค่าของสกุลเงินที่อยู่เหนือการแลกเปลี่ยนอันหลากหลาย ที่ทำให้สตีฟสามารถขายมันเทศให้ซู
และได้เงินมา ที่เขาสามารถนำไปจ่ายให้บ๊อบ สำหรับรองเท้าคู่หนึ่ง. สิ่งที่บทบรรยายง่ายๆ นี้ปกปิด คือ หลักฐานอันกว้างขวางจากวัฒนธรรมโบราณ
ที่นักมานุษวิทยาได้ศึกษารวบรวมไว้ว่า ไม่มีปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้น.
What really happens is that a
warring society has arisen somewhere (to get a sense of how this happens, read
my article about psychopaths
and agrarian city states) and is in a mode of conquest. When this
burgeoning empire conquers new land, the ruler imposes a system of taxation on
the local populace to pay for the costs of war. This imposition of
scarcity, by extracting resources from the local population to be hoarded by
the warrior chieftain, is what leads to the emergence of barter systems and —
in some instances — the introduction of a money system by the ruler.
สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ
คือ รัฐที่ฝักใฝ่สงครามได้ผุดขึ้นมาที่ใดที่หนึ่ง
(หากต้องการรู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร, อ่านบทความของผมเรื่อง “โรคจิตและรัฐเมืองเกษตรกรรม”)
และคึกต้องการเอาชนะ. เมื่อจักรวรรดิผุดใหม่กระหายดินแดนใหม่,
ผู้ครองอำนาจก็จะยัดเยียดระบบภาษีแก่ชาวบ้านท้องถิ่นให้จ่ายเป็นค่าทำสงคราม. การยัดเยียดความขาดแคลน ไม่พอเพียง, ด้วยการรีดไถทรัพยากรจากชาวบ้าน
โดยมีหัวหน้านักรบเป็นผู้กักตุน, เป็นปัจจัยทำให้เกิดระบบแลกเปลี่ยนสินค้า—ในบางกรณี—ผู้ครองอำนาจเริ่มนำระบบเงินตรามาใช้.
In the absence of war and conquest,
hunter-gatherer societies do not spontaneously create barter systems.
Instead they share more or less equally within their tribe and only trade with
other tribes through highly ritualized and often conflict-ridden exchanges that
take place when two tribes come together for a brief interaction. The
pathway that does lead to the emergence of barter systems takes place in
agrarian societies where some kind of accounting system has been created to
track debts. And from these accounting systems we do find that debt is
present.
เมื่อปราศจากสงครามและการแผ่อำนาจ,
สังคมนักล่ากิน-นักเก็บกิน ไม่ได้สร้างระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าเอง. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พวกเขาแบ่งปันเท่าๆ กัน
ไม่มากก็น้อย ในเผ่าของตนเอง และจะแลกเปลี่ยนกับเผ่าอื่นโดยช่องทางที่มีพิธีการมาก
และ มักจะเกี่ยวันกับการแลกเปลี่ยนความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เมื่อชนสองเผ่าเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันสั้นๆ. หนทางที่นำไปสู่การอุบัติของระบบแลกเปลี่ยนสินค้า
เกิดขึ้นในสังคมเกษตรกรรม เมื่อมีการสร้างระบบบัญชีเพื่อติดตามหนี้. และจากระบบบัญชีเหล่านี้ เราก็พบหนี้ด้วย.
So where does debt come from if it
isn’t naturally a part of human societies? Again it is the imposition of
scarcity by the ruling class — designed to extract and hoard wealth in the
hands of a powerful elite — that creates the notion of debt. Does this
sound familiar in today’s context? Many countries were “modernized”
throughout the 20th Century by introducing market systems that structure debt
into the economies of newly founded nations. These nations now must pay
tributes — in the form of interest payments — to external banks that extract
wealth from the poor countries and hoard it in the coffers of wealthy
countries.
ดังนั้น
หนี้มาจากไหน หากไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ตามธรรมชาติ? มันเป็นการยัดเยียดความขาดแคลน/ไม่พอเพียง
โดยชนชั้นปกครอง—ออกแบบเพื่อรีดไถและกักตุนความมั่งคั่งให้อยู่ในมือของอภิสิทธิ์ชนที่เรืองอำนาจ—นั่น
ทำให้เกิดหนี้.
ฟังแล้วคุ้นหูกับบริบททุกวันนี้ไหม?
หลายๆ ประเทศได้ “ก้าวสู่ความทันสมัย” ตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 ด้วยการนำระบบตลาดไปใช้ อันเป็นการปลูกถ่ายโครงสร้างหนึ้ลงในเศรษฐกิจของประเทศชาติใหม่ๆ. ประเทศเหล่านี้ต้องจ่ายบรรณาธิการ—ในรูปของดอกเบี้ย—แก่ธนาคารนอกประเทศ
ที่รีดไถความมั่งคั่งจากประเทศที่ยากจน และกักตุนไว้ในคลังของประเทศที่ร่ำรวย.
Stated plainly, debt is created
when a powerful group of people impose scarcity upon another group of people
who have been conquered. This is the root cause of poverty. It
is the destabilizing force of unequal societies that breeds civil unrest and
revolution. Thus the need for Hebrew kings to introduce Jubilee.
They knew that a revolution might cause the people to rise up and clear their
own debts, while also uprooting the monarchy from power. In order to
preserve their power base, they would routinely erase the debt and start again.
พูดง่ายๆ,
หนี้ถูกสรรค์สร้างเมื่อกลุ่มคนที่มีอำนาจยัดเยียดความขาดแคลนให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสยบ. นี่คือรากเหง้าของความยากจน.
มันเป็นกระแสที่สร้างความไม่เสถียรในสังคมที่ไม่เท่าเทียม
ที่เป็นบ่อเกิดของการลุกฮือของภาคพลเมืองและการปฏิวัติ. ดังนั้น กษัตริย์ฮิบรูจึงจำเป็นต้องใช้วิธีฉลองปลดหนี้ทุกๆ
เจ็ดปี. พวกเขารู้ว่า การปฏิวัติ
อาจเป็นสาเหตุให้ประชาชนลุกฮือ และลบล้างหนึ้ของพวกเขาเอง,
พร้อมทั้งถอนกษัตริย์จากอำนาจ.
เพื่อธำรงฐานอำนาจ, พวกเขาจึงทำการลบหนี้อยู่เนืองๆ
และเริ่มต้นใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า.
A
Note About Debt and Moral Accounting
หมายเหตุเกี่ยวกับหนี้ และ บัญชีศีลธรรม
The astute reader may already be
asking, “What does this story about the creation of debt say about the
religious use of moral accounting?” You may have noticed that all the
world religions have at their core a transactional relationship between God and
humans — where each person owes a debt to their creator and must pay it either
by relinquishing sin from their lives or by returning to their maker upon
death.
ผู้อ่านที่ฉลาด
อาจถามว่า, “นิทานเรื่องการสร้างหนี้นี้
ได้บอกอะไรเกี่ยวกับการใช้บัญชีศีลธรรมทางศาสนา?”
คุณอาจสังเกตเห็นแล้วว่า ศาสนาโลกทั้งหมด ที่แก่นของคำสอน
มีความสัมพันธ์เชิงธุรกรรมระหว่างพระเจ้าและมนุษย์—แต่ละคน เป็นหนี้ต่อพระผู้สร้าง
และจะต้องจ่ายคืนด้วยการละบาปจากชีวิต หรือ ด้วยการกลับคืนสู่ผู้สร้างเมื่อตายลง.
This economic transaction frame
for moral accounting is not present in all human societies. Those
hunter-gatherer tribes practicing the ethic of distribution based on need have
no concept for trading an eye-for-an-eye. Nor do they see a gift as
something to be repaid, expressing disgust at the insult of treating their
generosity in such a transactional manner.
กรอบธุรกรรมเชิงเศรษฐกิจนี้ สำหรับบัญชีศีลธรรม ไม่ได้มีอยู่ในสังคมมนุษย์ทั้งหมด. พวกชนเผ่านักล่ากิน-นักเก็บกิน
มีวิถีปฏิบัติของการกระจายตามหลักจริยธรรม ที่อยู่บนฐานของความจำเป็น
ไม่มีความคิดเรื่องการค้า แบบตาต่อตา.
พวกเขาก็ไม่เห็นว่า การให้ของขวัญ เป็นเรื่องที่จะต้องได้รับคืน, และจะแสดงความรังเกียจ
ถือว่าเป็นการลบหลู่เมื่อความเอื้ออารีของพวกเขา ถูกกระทำเหมือนดั่งธุรกรรม.
Instead what anthropologists have
found is that debt-based morality is only present in societies that already
have accounting systems and also engage routinely in barter and monetary
exchange. In other words, this moral accounting system is a product of war
and conquest and not a natural part of human society. So the next time
you feel a debt to one of your friends, society, or your maker it may help to
keep this in mind.
สิ่งที่นักมานุษวิทยาพบ
คือ ศีลธรรมที่ตั้งอยู่บนหนี้ มีอยู่ในสังคมที่มีระบบบัญชี และ
ทำการแลกเปลี่ยนสินค้าและเงินตราเป็นนิจสิน.
พูดใหม่ คือ ระบบบัญชีศีลธรรมนี้ เป็นผลผลิตของสงคราม และ การเอาชนะ
และไม่ใช่เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งสังคมมนุษย์.
ดังนั้น ครั้งต่อไป หากคุณรู้สึกเป็นหนี้ต่อเพื่อน, สังคม หรือ ผู้สร้างคุณ
ก็ขอให้ระลึกถึงข้อนี้ไว้ อาจช่วยให้คุณมองเห็นอะไรๆ ชัดขึ้น.
What
Would It Mean to Erase All Debt?
การลบล้างหนี้ทั้งหมดหมายถึงอะไร?
We are living in a time when too
many of our financial resources are allocated to non-productive activities —
principally the accumulation of wealth by “making money with money” and a
myopic focus on economic activities that service our massive debts. This
is why people work at jobs they hate. It is why investments are not being
made in renewable energy, public education, the arts, health care, or the
eradication of poverty. We have built a massive financial house of cards
on debt — with money itself coming into being when loans are taken out, a pool
that grows exponentially due to the interest that accompanies it — and so we
are not able to bring consumer culture to an end or focus our creative talents
on planetary sustainability.
เรามีชีวิตอยู่ในยุคที่
ทรัพยากรการเงินของเรามากเกินไป ถูกจัดสรรให้กับกิจกรรมที่ไม่มีผลิตภาพ—หลักๆ คือ
การสะสมความมั่งคั่งด้วยการ “ทำเงินจากเงิน” และ
เพ่งเล็งอย่างคนสายตาสั้นในกิจกรรมเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดหนี้มหาศาล.
นี่คือเหตุผลที่คนต้องทำงานที่พวกเขาเกลียด. มันเป็นสาเหตุว่า
ทำไมจึงไม่มีการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน, การศึกษาสาธารณะ, ศิลปะ, สาธารณสุข,
หรือขจัดความยากจน. เราได้สร้างเรือนการ์ดการเงินขนาดมหึมาเกี่ยวกับหนี้—ที่ตัวเงินมีชีวิตขึ้น
เมื่อมีการกู้เกิดขึ้น, มันจะเติบโตอย่างรวดเร็วเพราะดอกเบี้ยที่พอกพูนตัวมัน—และด้วยเหตุนี้
เราจึงไม่สามารถยุติวัฒนธรรมบริโภค หรือ เพ่งเล็งที่พรสวรรค์แห่งการสร้างสรรค์ของเราเพื่อความยั่งยืนของโลกของเรา.
By the way, this is exactly what my
friends at /The Rules are trying to
address in their global mobilization effort.
เกือบลืมไป,
นี่เป็นสิ่งที่เพื่อนของผมที่ “กฎ”
กำลังพยายามแก้ไขในการขับเคลื่อนความพยายามระดับโลก.
So if we were to erase all debt, the
7 billion people alive today could focus on their passions. We could all
come together to address global threats — be they resource-based like the
scarcity of fresh water or peaking of global oil production; or cultural like
the loss of spiritual meaning in the secularization of society or the
soullessness of employment drudgery that comes from working long hours at a
mind-numbing job.
ดังนั้น
หากเราลบล้างหนี้ทั้งหมดได้, ประชาชนเจ็ดพันล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้
จะสามารถทำงานที่ตนรักได้.
พวกเราทั้งหมดจะสามารถรวมตัวกัน แก้ปัญหาภัยคุกคามโลกได้—จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากร
เช่น การขาดแคลนน้ำจืด หรือ การผลิตน้ำมันของโลกที่ไม่ยั่งยืน; หรือ วัฒนธรรม เช่น
การสูญเสียความหมายทางจิตวิญญาณในการแยกสังคมออกจากศาสนา หรือ สภาวะไร้วิญญาณของงานจ้างที่เหน็ดเหนื่อย
ทำงานมากชั่วโมงในงานที่ทำให้จิตใจเฉยชา.
What comes to my mind is the way
cities try to implement broad solutions to address economic development,
transportation, resource management, social justice, and environmental
concerns. They must operate within constrained budgets that keep draining
further without a clear end in sight. I imagine what would be possible if
everyone was able to set out on their own intellectual and experiential
journeys without the fear of a debt-collector coming to their door. How
then would the peoples of this world choose to live out their lives?
สิ่งที่แวบเข้ามาในใจของผม
คือ วิธีที่เมืองพยายามปลูกฝังทางแก้ไขอย่างกว้างขวาง เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ,
การขนส่ง, การจัดการทรัพยากร, ความเป็นธรรมในสังคม,
และประเด็นน่าห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ.
พวกเขาจะต้องดำเนินการภายใต้งบประมาณที่จำกัด ที่มีแต่รั่วไหลต่อไป
โดยไม่เห็นจุดจบที่ชัดเจน. ผมจินตนาการว่า
จะเป็นไปได้ไหม หากทุกคนสามารถจะเริ่มต้นเดินทางด้วยปัญญาและเป็นการทดลอง
โดยไม่ต้องกลัวว่าคนเก็บหนี้จะมาเคาะที่ประตู.
แล้วคนในโลกนี้จะเลือกใช้ชีวิตอย่างไร?
Perhaps you have your own dreams of
a better world for you and your loved ones. What comes to mind for
you? This is not merely an academic question, by the way, because we each
participate in the social realities that are lent our beliefs, our actions, and
our obligations. If we were to collectively decide that our debts are no
more, they would cease to exist.
บางที
คุณอาจมีความฝันของคุณเอง เกี่ยวกับโลกที่ดีกว่าสำหรับคุณและคนที่คุณรัก. อะไรแวบเข้ามาในใจของคุณ? นี่ไม่ใช่เป็นแค่คำถามเชิงวิชาการ, เพราะพวกเราแต่ละคนมีส่วนร่วมในความเป็นจริงของสังคม
ที่ให้เรายืมความเชื่อ, การกระทำ, และพันธะผูกมัด. หากพวกเราร่วมกันตัดสินใจว่า
หนี้ของเราไม่มีอีกต่อไป, พวกมันก็จะอยู่ต่อไปไม่ได้.
This is because what we take to
be real in many respects becomes so as a self-fulfilling prophesy. We
each have the power
to be accountants — defining “the real” by choosing what to measure and
imbuing it with significance. In this way, the Gross Domestic Product was
claimed as an economic alter for measuring the progress of civilization in the
20th Century. Perhaps in the 21st we will replace it with Gross National Happiness or
some other novel metric for capturing the essence of our values and purpose as
a civilization on this Earth.
นี่เป็นเพราะ
สิ่งที่เราถือว่าเป็นจริงในหลายๆ แง่ กลายเป็นเช่นนั้น เพราะเราคิดให้มันเป็นเช่นนั้นเอง. พวกเราแต่ละคน มีอำนาจที่จะเป็นนักบัญชี—ด้วยการนิยามคำว่า
“ความจริง” ด้วยการเลือกว่าจะวัดอะไร และใส่ความหมาย ให้มันมีนัยสำคัญ. ด้วยวิธีนี้ ผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
ถูกยกให้เป็นแท่นบูชาเศรษฐกิจ เพื่อวัดความก้าวหน้าของอารยะธรรมในศตวรรษที่
๒๐. บางที ในศตวรรษที่ ๒๑
เราจะแทนที่มันด้วย ความสุขประชาติมวลรวม (จีเอ็นเอช) หรือ มาตรใหม่ๆ อื่น
เพื่อวัดคุณค่าและจุดประสงค์ที่แท้จริงของพวกเราในฐานะที่เป็นอารยะธรรมบนโลกใบนี้.
So I’ll ask you again… imagine if
all debt were wiped away when the Mayan Calendar comes to an end this
Friday? Let your thoughts drift and see where they go!
ดังนั้น
ผมจะถามคุณอีกครั้ง... ลองจินตนาการว่า
หากหนี้ทั้งหมดถูกลบล้างออกไปเมื่อปฏิทินมายันมาถึงจุดจบในวันศุกร์นี้? ขอให้คุณปล่อยให้ความคิดท่องเที่ยวไป
และดูซิว่ามันจะไปถึงไหน!
Joe Brewer is founder and director
of Cognitive
Policy Works, an educational and research center devoted to the application
of cognitive and behavioral sciences to politics. He is a former fellow
of the Rockridge
Institute, a think tank founded by George Lakoff to analyze political
discourse for the progressive movement.
โจ
บรูเวอร์ เป็นผู้ก่อตั้งและ ผอ. ของ Cognitive Policy
Works, ศูนย์การศึกษาและวิจัยที่อุทิศตนให้กับการประยุกต์ใช้
วิทยาศาสตร์ของกระบวนคิด/การรับรู้และพฤติกรรมในการเมือง. เขาเคยเป็นเฟลโลของ Rockridge Institute, สถาบันนักคิดที่ก่อตั้งโดย George Lakoff
เพื่อวิเคราะห์วาทะกรรมทางการเมืองสำหรับการขับเคลื่อนฝ่ายหัวก้าวหน้า.
Published on Thursday, December 20,
2012 by Common Dreams
ดรุณี
แปล