Five Dangerous Thoughts
about Capitalism
ห้าความคิดอันตราย
เกี่ยวกับทุนนิยม (ดรุณีแปล ๒๙ พค ๕๙)
Our system of modern capitalism is just one story; it is not the
only one there is. It’s not inherent within us. It isn’t some inevitable
expression of predefined Human Nature. It was invented by human beings and so
human beings can change it. But in order to get there, we first have to engage
in some ‘dangerous thinking’.
ระบบทุนนิยมสมัยใหม่ของเรา
เป็นเพียงนิทานเรื่องหนึ่ง
ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเดียวที่มีอยู่.
มันไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในตัวพวกเรา. มันไม่ใช่เป็นการแสดงออกชนิดเลี่ยงไม่ได้เพราะว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกลิขิตไว้แล้ว.
มันถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์สามารถเปลี่ยนมันได้. แต่เพื่อให้ไปถึงจุดนั้น ขั้นแรก เราต้องมาถกกันถึง
“การคิดที่อันตราย”.
That is, there are no dangerous thoughts for the simple reason that thinking itself is such a dangerous enterprise . . . nonthinking is even more dangerous. – Hannah Arendt
ที่ว่า ไม่มีความคิดที่อันตราย ก็มีเหตุผลง่ายๆ ว่า
โดยตัวของการคิดเอง ก็เป็นกิจการที่มีอันตรายอยู่แล้ว...การไม่คิดนั้น เป็นสิ่งที่มีอันตรายยิ่งกว่ามาก - ฮันนาห์ อาเร็นดท์
Wherever
we turn, it seems that there is a great narrowing. Ideas that have engaged
great leaders, philosophers, poets and visionaries through the ages are being
boxed away as if they are obvious, and settled. What is human progress? What do
we mean by ‘growth’? What is freedom? How do we balance our wants and
needs against those of future generations? These are the foundations of human
life and society and yet there is ever-less interest in them in the corridors
of global power.
ไม่ว่าเราจะหันไปทางไหน,
ดูเหมือนจะมีแต่การหนีบแคบลงอย่างยิ่งใหญ่.
ความคิดเห็นที่ถกกันในหมู่ผู้ยิ่งใหญ่—ผู้นำ, นักปรัชญา, กวี และ
ผู้มีวิสัยทัศน์ต่างๆ—ที่ตกทอดผ่านยุคต่างๆ มา กำลังถูกจับเข้ากล่องประหนึ่งว่า
มันเป็นของที่เห็นๆ รู้ๆ กันอยู่แล้ว, และทุกคนล้วนเห็นด้วย ยอมรับ. อะไรคือความก้าวหน้าของมนุษย์? “การขยายตัว/เติบโต” หมายถึงอะไร? อะไรคือ อิสร/เสรีภาพ? เราจะถ่วงดุล ความอยาก และ ความจำเป็น ให้สมดุลกันได้อย่างไร
เมื่อเทียบกับของอนุชนในอนาคต?
คำถามเหล่านี้ เป็นรากฐานของชีวิตมนุษย์และสังคม แต่วงการผู้มีอำนาจระดับโลก
ก็ยังให้ความสนใจน้อยมาก.
The
front edge of this wave is that mesh of political and corporate actors who
wield material global power; this includes the leaders of G20 nations and
Fortune 500 companies and the vast majority of parliamentarians and executives
that surround them. Each of them will give you the same basic answers. They
will say that progress is, first and foremost, economic growth. Everything – by
which they mean everything – else is secondary because it’s
necessarily an offshoot of that growth; it’s the economy, stupid! Growth, in
turn, is the increase of profit or the national equivalent, Gross Domestic
Product (GDP). Ergo, GDP is progress. Freedom is the capacity of me and mine to
have and to own, to progress and to grow according to the above. Our wants and
needs are paramount; sacrificing an inch of that freedom is unconscionable.
แนวหน้าของคลื่นลูกนี้
คือ กลุ่มตัวเล่นทางการเมืองและบรรษัท ที่กุมอำนาจวัตถุระดับโลก ในกลุ่มนี้ รวมถึงผู้นำของชาติ G20
และของบริษัทใน Fortune 500
และผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่และนักบริหาร/รัฐบาล ที่อยู่ล้อมรอบพวกเขา. พวกเขาแต่ละคน จะตอบแบบพื้นๆ เหมือนๆ
กัน. พวกเขาจะบอกว่า ความก้าวหน้าหรือ,
อันดับแรกที่สุด คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ.
ทุกอย่าง—ซึ่งพวกเขาหมายถึง ทุกๆ อย่าง—นอกเหนือออกไป ล้วนสำคัญรองลงมา
เพราะพวกมันจำเป็นที่จะต้องแตกหน่อจากการขยายตัว, นั่นคือระบบเศรษฐกิจ, เจ้าโง่! ในทางกลับกัน, การขยายตัว คือ
การเพิ่มพูนของกำไร หรือ เทียบเท่าเป็นของชาติ คือ จีดีพี หรือ
ผลผลิตมวลรวมในประเทศ. Ergo,
GDP
คือ ความก้าวหน้า. อิสรภาพ/เสรีภาพ
เป็นสมรรถนะของฉัน และ สิทธิ์ของฉัน ที่จะมี และที่จะได้เป็นเจ้าของ,
ที่จะก้าวหน้าและที่จะขยายตัว ดังกล่าวข้างต้น.
ความอยากและความต้องการ(จำเป็นต้องมี)ของพวกเราเป็นเรื่องสูงสุด,
จะให้เสียสละอิสระภาพเหล่านั้นๆ สักหนึ่งนิ้ว เป็นเรื่องไม่สมควร.
And
that’s if they’re moderates. It matters little, now, whether they are nominally
on the left or right of any aisle; everyone with direct access to global power
believes the above to be so obvious as to preclude alternatives. How else, they
say, could it possibly be?
แล้วถ้าพวกเขาเป็นพวกปานกลาง
ไม่สุดโต่งหล่ะ. ตอนนี้
ก็ไม่สำคัญเท่าไรแล้ว ไม่ว่าจะพวกเขาจะเอียงซ้าย หรือ เอียงขวา,
ทุกคนที่เข้าถึงอำนาจโลกได้โดยตรง ล้วนเชื่อว่า นี่เป็นเรื่องที่ชัดแจ้งถึงขนาดลบล้างทางเลือกอื่นใดอย่างไม่ต้องสงสัย. พวกเขาบอกว่า จะเป็นอื่นได้อย่างไร?
The
answer to which should be, how long have you got?
คำตอบ ควรกลับเป็นคำถามใหม่
แล้วคุณเป็นอย่างนั้นมานานเท่าไร?
This
narrowing is happening at a time when what is required is a great expansion. Is
this truly the best/worst system human beings can create? Does economic growth
really capture who we are? Does vast inequality represent the best
humanity can do? Is destruction of our planetary habitat inevitable? To answer
these sorts of questions we need more options, not more uniformity; more deep
thinking, not more rote acceptance; more opposition, not more repetition of the
cold, dry lie that there is no alternative.
การตีบแคบลงเช่นนี้
กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ควรจะมีการแผ่ขยายครั้งยิ่งใหญ่. เป็นความจริงหรือ ที่ว่านี่คือ
ระบบที่ดีที่สุด/แย่ที่สุด ที่มนุษย์สร้างขึ้น?
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ได้กักขังความเป็นตัวตนของพวกเราไว้หรือ? ความเหลื่อมล้ำอันมหาศาล เป็นตัวแทนสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษยชาติทำได้หรือ? การทำลายล้างโลกของเรา
เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หรือ?
เพื่อตอบคำถามเหล่านี้ เราจำเป็นต้องมีทางเลือกอื่น,
ไม่ใช่มีแต่ความเหมือนๆ กัน, แต่ต้องคิดให้ลึกซึ้งกว่านี้,
ไม่ใช่แค่การยอมรับแบบท่องจำ, ต้องมีการต่อต้าน ไม่ใช่แค่พูดซ้ำคำโกหกที่เย็นยะเยือกและเหือดแห้ง
ว่า ไม่มีทางเลือก.
We
would like to suggest that our only absolute limitation is our collective
imagination, expressed through our will to change the mythologies that hold
this house of cards together. We believe there is an emergent consciousness,
stretching out against this narrowing, gradually becoming aware of itself and
its awesome power.
เราใคร่ขอเสนอแนะว่า
ข้อจำกัดเบ็ดเสร็จเดียวของเรา คือ จินตนาการร่วมของพวกเรา,
ที่แสดงออกด้วยปณิธานของเรา ที่จะเปลี่ยนเทพนิยายที่ได้รวมหอคอยสร้างจากไพ่นี้ให้คงตั้งอยู่ได้. เราเชื่อว่า มีสำนึกจิตหนึ่งกำลังอุบัติขึ้น,
แผ่ขยายออกไป—สวนทางกับความคิดตีบแคบนี้—ค่อยๆ ตื่น รู้สึกตัวของมันเองและตระหนักถึงพลังอันมหึมาของมัน.
We
can hear its insurgent voice in social movements as diverse as the Arab Spring,
the Chilean Winter, the Idle No More Indigenous movement, the anti-corruption
movements in Brazil and India, the gentle but insistent dissent of Occupy
Central in Hong Kong, the furious disbelief of protestors in Ferguson and New
York City, and the dozens of African Awakenings happening across the Continent.
They are each different and specific, but at the heart of all of them is a
voice saying that we have a system that is failing 99% of us. As whole
populations are learning to communicate and think together in order to cope
with whole-world problems, it says, we can do much, much better.
เราสามารถได้ยินเสียงขบถของมันในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอันหลากหลาย
เช่น ฤดูใบไม้ผลิอาหรับ (Arab Spring), ฤดูหนาวชิลี (Chilean Winter),
ขบวนการชนเผ่าดั้งเดิม--ไม่เฉยเมยอีกแล้ว (Idle No More
Indigenous movement), ขบวนการต่อต้านคอรัปชั่นในบราซิล และ อินเดีย
(anti-corruption
movements in Brazil and India), กบฏที่สุภาพแต่กัดไม่ปล่อยของกลุ่ม
ยึดพื้นที่เซ็นทรัลในฮ่องกง (gentle but insistent dissent of Occupy
Central in Hong Kong), กลุ่มผู้ประท้วงที่ไม่ยอมเชื่ออย่างหัวฟัดหัวเหวี่ยง
ในเมืองเฟอร์กูสันและนิวยอร์ก (furious disbelief of protestors in
Ferguson and New York City), และ กลุ่มตื่นรู้อาฟริกัน (African
Awakenings) อีกหลายสิบกลุ่ม ที่เกิดขึ้นทั่วทวีป.
Our
system of modern capitalism is just one story; it is not the only one there is.
It’s not inherent within us. It isn’t some inevitable expression of
predefined Human Nature. It was invented by human beings and so human beings
can change it. But in order to get there, we first have to engage in some
‘dangerous thinking’.
ระบบทุนนิยมสมัยใหม่ของเรา เป็นเพียงนิทานเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเดียวที่มีอยู่. มันไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในตัวพวกเรา. มันไม่ใช่การแสดงออกอย่างเลี่ยงไม่ได้เพราะว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกลิขิตไว้แล้ว.
มันถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์สามารถเปลี่ยนมันได้. แต่เพื่อให้ไปถึงจุดนั้น ขั้นแรก เราต้องมาถกกันถึง
“การคิดที่อันตราย”.
Dangerous
Thought One: Ideology rules
ความคิดอันตราย ๑: กฎอุดมการณ์
Those
in power have always told us to beware of ideology. There is a strong inference
that it represents a warping of our pragmatic ability to get things done by
whatever means necessary. But that’s just plain wrong. And a necessary
distraction, of course. Ideology is the set of ideas and ideals we all must
hold to operate in the world. It is not a weakness of those who don’t agree
with us.
พวกที่ครองอำนาจได้พร่ำบอกพวกเรามาตลอดว่า
ให้ระวังอุดมการณ์. มีการฟันธงแล้วว่า
อุดมการณ์เป็นตัวป่วน ขัดขวางความสามารถเชิงปฏิบัติของเราในการหาทางทำให้บรรลุเป้าหมายโดยใช้วิธีการอะไรก็ได้ที่จำเป็น. แต่นั่นผิด.
และก็เป็นการบิดเบือนที่จำเป็น.
อุดมการณ์เป็นชุดความคิดและอุดมคติที่เราทั้งหลายจะต้องยึดถือเพื่อปฏิบัติการในโลกนี้. มันไม่ใช่ความอ่อนแอของผู้ที่ไม่เห็นพ้องกับเรา.
The
deep irony is that by demonising ideology they are clearing space for their
ideology in particular. If only bad or stupid people are ideological, the logic
goes, those we vote for and buy from, who fill our TV screens and make our laptops,
somehow can’t be ideologues themselves. The ideas that bind them must be
above ideology. That is their story.
ที่น่าหัวเราะคือ
พวกเขาได้กรุยทางสร้างพื้นที่ให้อุดมการณ์ของตัวเอง
ด้วยการใส่ร้ายป้ายสีอุดมการณ์. หากมีแต่คนเลวและโง่เขลาที่ฝักใฝ่อุดมการณ์,
ตามตรรกะของพวกเขา, พวกที่เราลงคะแนนเลือกตั้งให้ หรือ ซื้อของจากพวกเขา,
ผู้โลดแล่นอยู่บนจอทีวีของเรา และ ทำแล็ปท๊อปของเรา,
ไฉนจึงไม่ใช่นักอุดมการณ์.
ความคิดที่ยึดโยงพวกเขา คงอยู่เหนืออุดมการณ์. นั่นคือ นิทานของพวกเขา.
But
is there any way in which the US spending of $400 billion annually on the
military is not a statement of ideology? Or the subsidization of very
large, very rich corporations like Exxon Mobil or GE with taxpayer’s money? Or
the failure to regulate the casino banks of Wall Street? These are all active
strategies for success by some measure, grounded in ideas and ideals, and so
are, by definition, deeply ideological. Simply saying your ideals float above
ideology doesn’t make it so. It simply turns our fear of ‘being ideological’
into a means of reinforcing the potency of the status quo. As the philosopher
Slavoj Zizek says, “ideology is always a background condition”.
แต่จะอธิบายเรื่องที่
สหรัฐฯ ใช้เงิน ๔๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ทุกปีในกองทัพ ว่านั่นไม่ใช่แถลงการณ์แห่งอุดมการณ์
ได้อย่างไร ? หรือ นโยบายสนับสนุนบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ร่ำรวยมหาศาล เช่น Exxon
Mobil หรือ GE ด้วยเงินภาษีเงินได้จากประชาชน? หรือ
ความล้มเหลวในการควบคุมธนาคารคาสิโนแห่งวอลล์สตรีท? สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นยุทธวิธีเชิงรุกสู่ความสำเร็จด้วยมาตรการบางอย่าง,
ที่ตั้งอยู่บนฐานของความคิดและอุดมคติ, ดังนั้น ตามคำนิยาม
จึงเป็นอุดมการณ์อย่างลึกล้ำ. แค่บอกว่า
อุดมคติของท่าน ลอยอยู่เหนืออุดมการณ์ ไม่ได้ทำให้มันเป็นตามนั้นเอง. มันแค่เปลี่ยนให้ความกลัวของพวกเราต่อ
“การฝักใฝ่อุดมการณ์” กลายเป็นหนทางของการตอกย้ำสภาพของโครงสร้างอำนาจที่มีอยู่แต่เดิม. ดังที่นักปรัชญา Slavoj Zizek กล่าว, “อุดมการณ์ เป็นฉากเงื่อนไขเสมอ”.
The
dominant ideology in the world today is called neoliberal capitalism. Some call
it the Washington Consensus or Market Fundamentalism, but for the sake of this
conversation, we’ll call it Neoliberalism.
Quite
simply, it is a practical expression of three philosophical premises. First,
that our relationship to others is best filtered through a competitive lens (am
I better, richer, etc.), which inevitably leads to rigid hierarchies, zero-sum
logic and a lot of unthinking dogma.
อุดมการณ์ที่ครอบงำอยู่ในโลกทุกวันนี้
เรียกว่า ทุนเสรีนิยมใหม่. บางคนเรียกว่า
เอกฉันท์วอชิงตัน หรือ ลัทธิคลั่งตลาด, แต่เพื่อใช้ในการสนทนานี้,
เราจะเรียกมันว่า ลัทธิเสรีนิยมใหม่.
ง่ายๆ, มันเป็นการแสดงออกเชิงปฏิบัติของ ๓ หลักปรัชญา. ประการแรก, ความสัมพันธ์ของพวกเรา ต้องรักษาให้ดีที่สุด
พึงกรองผ่านด้วยแว่นของการแข่งขัน (ฉันดีกว่า, รวยกว่า ฯลฯ ไหม), ซึ่งนำเราดิ่งเข้าสู่ความเหลื่อมล้ำที่แข็งกระด้าง,
ตรรกะของรวมสุทธิเป็นศูนย์ และหลักเกณฑ์กำปั้นทุบดินมากมายที่คิดไม่ถึง อย่างไม่ยอมให้มีทางหลีกเลี่ยง.
Second,
it equates wealth with life success, which is then equated to virtue (e.g. rich
people are good, poor people are bad, therefore poverty is a moral failing).
Finally, the individual is the primary unit of power (e.g. Thatcher’s famous
line “There is no such thing as society, just individuals and families”).
People are responsible to themselves first, peers second, and possibly their
God, in that order. Classic Ayn Rand.
ประการที่สอง,
มันเทียบความมั่งคั่งเป็นความสำเร็จในชีวิต ซึ่งก็เทียบได้กับคุณธรรม (เช่น
คนรวยเป็นคนดี, คนจน ไม่ดี, ดังนั้น ความยากจนเป็นความล้มเหลวทางศีลธรรม). ในที่สุด, ปัจเจกเป็นเพียงหน่วยอำนาจปฐมภูมิ
(เช่น คำคมของแท๊ตเชอร์ “ไม่มีเจ้าสิ่งที่เรียกว่า สังคม,
มีแต่ปัจเจกและครอบครัว”).
ประชาชนต้องรับผิดชอบต่อตัวเองก่อน, เพื่อนฝูงที่สอง, และ อาจจะรวมถึงพระเจ้าของตนก็ได้,
ตามลำดับนั้น.
The
implications for this ‘moral philosophy’ are diabolical. It leads directly to
the economics of the self-obsessed individual, which leads to the atomization
of our society and the focus on personal consumption as salvation. It justifies
the bankrupt notion of trickle down economics, smuggling in notions such as:
‘self-interest benefits everyone’, ‘there’s an all-knowing invisible hand’,
‘there is supreme efficiency in the market’, ‘the more rich people the better’,
etc. And it prioritizes private property rather than the collective ownership,
which in turn leads to what the late Harvard economist J.K. Galbraith called
“private affluence and public squalor”.
นัยของ “ปรัชญาศีลธรรม”
เหมือนปีศาจ.
มันนำไปสู่เศรษฐศาตร์แห่งปัจเจกชนที่หลงใหลอยู่กับตนเอง, ซึ่งนำไปสู่การแยกสังคมให้แยกกระจายเป็นอะตอม
และเจาะจงไปที่การบริโภคส่วนบุคคลเสมือนเป็นหนทางสู่การหลุดพ้น. มันสร้างความชอบธรรมให้กับความล้มเหลวของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แนว
ส่งจากบนสู่ล่าง, ด้วยการลักลอบบรรจุความคิดที่ว่า “ผลประโยชน์ส่วนตัว
จะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์ด้วย”, “มีมือล่องหนที่ทุกคนรู้จักดี”, “ประสิทธิภาพสูงสุดมีอยู่ในระบบตลาด”,
“มีคนรวยมากขึ้น ยิ่งดี”, ฯลฯ. และมันก็จัดให้ทรัพย์สินเอกชน
มีความสำคัญสูงกว่า กรรมสิทธิ์ร่วม, ซึ่งในทางกลับกัน
ก็นำไปสู่สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ J.K. Galbraith
เรียกว่า “เอกชนร่ำรวย สาธารณะซอมซ่อ รกรุงรัง”
Neoliberalism
can be summarized by this equation: selfishness
is rational and rationality is everything; therefore selfishness is everything.
ลัทธิเสรีนิยมใหม่
สามารถสรุปเป็นสมการ ดังนี้ ความเห็นแก่ตัว เป็นหลักการที่มีเหตุผล
และหลักแห่งเหตุผล เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง, ดังนั้น ความเห็นแก่ตัว เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง.
Dangerous
Thought Two: Climate change and inequality are created by our current economic
system.
ความคิดอันตราย ๒:
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศและความไม่เสมอภาค
ถูกสร้างขึ้นโดยระบบเศรษฐกิจปัจจุบันของเรา
How
many of us truly believe the old economist’s trope that the world’s major
issues such as climate change and inequality are ‘externalities’ of our current
system; things that have come to be entirely alongside or even in spite of what humans have been doing? It is
self-evident that they are the logical outcome of a system that requires ever
more consumption to drive perpetual material growth, and that is fueled by the
extraction of a finite supply of natural resources.
มีพวกเราสักกี่คนที่เชื่อวาทกรรมของนักเศรษฐศาสตร์เก่า
ที่ว่า ประเด็นสำคัญๆ ของโลก เช่น ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และ ความไม่เสมอภาค เป็น “ของนอกเรื่อง”
สำหรับระบบของเราในปัจจุบัน, มันเป็นสิ่งที่ยังไงๆ ก็ต้องเกิดอยู่แล้ว
ไม่ว่ามนุษย์จะทำอะไรก็ตาม. เห็นได้ชัดว่า
นี่เป็นผลพวงเชิงตรรกะของระบบที่ต้องการให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตเชิงวัตถุ, และนั่นก็ได้รับการโหมกระพือด้วยเชื้อเพลิงจากการขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติที่มีปริมาณจำกัด.
Bloomberg
recently reported that for every dollar of income created in the US since
2008, 93 cents of the income growth has gone to top 1%. So it doesn’t matter
where that money is made, 93 cents is going to the top 1%. Therefore, every
dollar of wealth created by definition creates more inequality. As coders would
say, this is not a bug in the system, but a feature of the system.
บลูมเบอร์กได้รายงานเมื่อเร็วๆ
นี้ว่า สำหรับรายได้ทุกๆ ๑ ดอลลาร์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑,
รายได้ที่เพิ่มขึ้น ๙๓ เซ็นต์ จะไหลเข้าสู่กระเป๋าของชนชั้นยอด 1%. ดังนั้น
ไม่ว่าเงินจะงอกขึ้นจากที่ไหน, ๙๓ เซ็นต์ ก็จะไหลเข้าสู่กระเป๋าของชนชั้นยอด 1%. ดังนั้น, ทุกๆ ๑
ดอลลาร์ของความมั่งคั่งที่เกิดขึ้น โดยคำนิยาม
ย่อมสร้างความเหลื่อมล้ำมากขึ้น.
ดังที่นักเขียนรหัสคงกล่าว, นี่ไม่ใช่เป็นเพียงตัวติดตาม/รบกวนตัวหนึ่งในระบบ,
แต่มันเป็นลักษณะของระบบเลยทีเดียว.
Relatedly,
the activist and scholar Firoze Manji has suggested that climate change is not
man made, but capital made. Every dollar of wealth created in the world heats
up our planet because we have an extractives and fossil fuel based economy.
ในทำนองเดียวกัน
นักกิจกรรมและผู้รอบรู้ Firoze Manji ได้แนะว่า ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ไม่ใช่คนทำให้มันเกิดขึ้น, แต่ทุนทำให้มันเกิด.
ความมั่งคั่งทุกๆ ๑ ดอลลาร์ที่เกิดขึ้นในโลก ทำให้โลกของเราร้อนขึ้น เพราะเรามีระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนฐานของการขุดสกัดเชื้อเพลิงจากฟอสซิล.
Capitalism
turns natural resources into commodities in order to attract more capital.
That’s its sole purpose. As the recent International Panel on Climate Change
(IPCC) report has shown, we are now on course for a 3-4 degree rise in
temperature by 2050, which is correlated to a 40% – 50% loss of biodiversity.
In other words, half of all plant and animal life on this planet will no longer
be with us in under 40 years because of the voracious human appetite for more
growth. Scientists tell us that we are already in 6th
great planetary extinction with 150 – 200 species dying
every day. This is 1000 times the baseline rate of extinction.
ลัทธิทุนนิยม
ผันเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติ ให้เป็นสินค้า เพื่อดึงดูดทุนให้เพิ่มมากขึ้น. นั่นเป็นจุดประสงค์เดี่ยว.
ดังรายงานล่าสุดจากคณะกรรมการว่าด้วยภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (IPCC), พวกเรากำลังวิ่งอยู่ในเส้นทางที่จะเพิ่มอุณหภูมิของโลก ๓-๔ องศา ภายในปี
๒๕๙๓, ซึ่งสัมพันธ์กับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 40% – 50%. หรือ ครึ่งหนึ่งของสรรพชีวิต—พืชและสัตว์—จะไม่อยู่ร่วมโลกกับพวกเราอีกต่อไปภายใน
๔๐ ปี เพราะมนุษย์หื่นกระหายที่จะสวาปามการขยายตัวมากขึ้น. นักวิทยาศาสตร์บอกแล้วว่า พวกเราอยู่ในขั้นที่
๖ ของการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ ที่สายพันธุ์ ๑๕๐-๒๐๐ ชนิดกำลังตายลงทุกๆ
วัน. คิดเป็น ๑,๐๐๐
เท่าของอัตราการสูญพันธุ์ระดับพื้นฐาน.
The
logic of neoliberalism and our current economic system locks us into this path
dependency, so it feels like we can never risk slowing growth. We even
subsidize our own destruction by giving more money to fossil fuel companies and
expanding their ability to destroy the planet through additional infrastructure
like new pipelines and oil exploration projects. Exxon made over $40 billion in
profit last year, the highest profit in the history of money, while the US
government gave them over $1 billion of tax payer money in subsidies in the
same year. And they are paying
less than 15% in tax, and paying zero federal tax.
ตรรกะของลัทธิเสรีนิยมใหม่
และ ระบบเศรษฐกิจของเราปัจจุบัน ได้ทำให้เราติดอยู่ในกับดักของเส้นทางแห่งการพึ่งอิง,
ทำให้เรารู้สึกว่า เราไม่อาจเสี่ยงที่จะลดอัตราการขยายตัวได้.
แล้วเรายังสนับสนุนการทำลายล้างของเราเองด้วยการให้เงินมากขึ้นแก่บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล และ
ขยายความสามารถของพวกเขาในการทำลายล้างโลกด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพิ่ม เช่น
โครงการท่อส่งน้ำมันใหม่. Exxon ทำกำไรกว่า ๔๐ พันล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา,
เป็นกำไรสูงสุดในประวัติศาสตร์ของเงินตรา, ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯให้เงินพวกเขากว่า
๑ พันล้านเหรียญ จากเงินภาษีเพื่อสนับสนุนในปีเดียวกัน. และพวกเขาก็จ่ายภาษีน้อยกว่า 15%, และไม่ได้จ่ายภาษีต่อรัฐบาลกลาง.
Most
of us understand these links and the logic, but with the great narrowing in the
corridors of power there is seemingly no way to turn that knowledge into
concerted action. At least, that is what the power elites would like us to
believe.
พวกเราส่วนมากเข้าใจความเชื่อมโยงของปมเหล่านี้และตรรกะของมัน,
แต่ด้วยระเบียงทางเดินแห่งอำนาจที่ตีบแคบลงอย่างใหญ่หลวง ดูเหมือนไม่มีทางใดที่จะแปลงความรู้นี้ให้เป็นปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม. อย่างน้อย, นั่นเป็นสิ่งที่อภิสิทธิ์ชนผู้ครองอำนาจต้องการให้เราเชื่อเช่นนั้น.
Dangerous
Thought Three: We all live in the Matrix
ความคิดอันตราย
๓: พวกเราล้วนอาศัยอยู่ในพิมพ์หล่อแมทริกซ์
There
are some of us who believe that we are exempt from the neoliberal operating
system. That this is an American or British, or even now, a Chinese phenomenon.
But we would argue that through globalization and the global rule of
corporations, we have now entered a late stage of capitalism in which we
effectively all live in a One
Party Planet –
the Neoliberal Party.
พวกเราบางคนเชื่อว่า
พวกเราได้รับการยกเว้นจากระบบการทำงานของเสรีนิยมใหม่. ว่า นี่เป็นปรากฏการณ์ของชาวอเมริกัน หรือ
อังกฤษ, หรือแม้แต่ตอนนี้, ชาวจีนด้วย.
แต่เราขอแย้งว่า ด้วยโลกาภิวัตน์ และ การที่บรรษัทครองโลก,
เราได้ย่างเข้าสู่ยุคปลายของลัทธิทุนนิยม ซึ่งหมายถึงพวกเราทั้งหมด กำลังถูกต้อนเข้าสู่
ระบบพรรคเดี่ยวในโลก—พรรคเสรีนิยมใหม่.
Under
this party, we are connected into a virtual Matrix by a web of beliefs, laws
and structures.
We
are programmed from birth to believe in the moral philosophy of competition,
individualism, the virtue of material consumption, and social status determined
by the wealth hierarchy.
ภายใต้พรรคเดี่ยวนี้,
พวกเราถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยระบบเสมือนจริงพิมพ์แมทริกซ์เดียวกันด้วยโครงข่าย/เส้นใยของความเชื่อ,
กฎหมาย และ โครงสร้าง.
เราถูกโปรแกมตั้งแต่เกิดให้เชื่อในปรัชญาศีลธรรมแห่งการแข่งขัน,
ปัจเจกนิยม, คุณธรรมของบริโภควัตถุ, และ
สถานภาพทางสังคมที่ตัดสินด้วยความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง.
We
are told that wealth is a sign of virtue. And it’s a short step from there to
believing that those with the most money are the most virtuous, that they
deserve to have power over the rest of us.
เราถูกกรอกหูว่า
ความมั่งคั่ง คือ สัญลักษณ์ของคุณธรรมความดีงาม.
และมันเป็นทางลัดจากตรงนั้น ให้เชื่อว่า พวกที่มีเงินมากที่สุด มีคนที่มีคุณงามความดีมากที่สุด,
ว่าพวกเขาสมควรมีอำนาจเหนือพวกเราที่เหลือทั้งปวง.
We
are convinced that paying off every debt to rich corporations and people is a
moral obligation – that if we can’t, there is something wrong with us and we
deserve to be punished.
เราถูกชักจูงให้เชื่อว่า
การจ่ายหนี้ให้บรรษัทที่ร่ำรวยและคนรวย เป็นพันธะทางศีลธรรม—ว่าหากเราทำไม่ได้,
เราเองที่ผิดปกติ และ เราสมควรถูกลงโทษ.
In
reality, we all know instinctively that we are defined by our connections to
each other. Our individuality is a truth within the intricate web of society. Our
individuation may help us operate in the world and navigate relationships, but
it is not an impermeable barrier that we should celebrate as the be all and end
all of life.
ในความเป็นจริง,
เราทั้งหลายรู้โดยสัญชาตญาณว่า เราได้ถูกกำหนดโดยกระบวนการเชื่อมต่อของเราเข้ากับคนอื่นๆ. ความเป็นปัจเจกของเรา เป็นความจริง ภายใน
โครงข่ายสังคมที่ซับซ้อนละเอียดอ่อน.
การเป็นปัจเจกของเรา อาจช่วยให้เราทำงานในโลก และสำรวจความสัมพันธ์ต่างๆ
ได้, แต่มันไม่ใช่สิ่งกีดกั้นที่อะไรจะซึมผ่าน/เล็ดลอดไม่ได้ แบบที่เราควรเฉลิมฉลองได้ว่า
เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง และ เป็นที่สุดของชีวิตทั้งหมด.
It
is self-evident that the richest are no less connected than anyone else, which
means that they, like everyone else, rely on the society of humans around them
for their wealth – on government subsidies and services, on public education
and tax-funded research, and on the hard labour of people poorer than
themselves.
มันฟ้องตัวเองอยู่แล้วว่า
คนที่รวยที่สุด ก็ไม่ได้เชื่อมต่อถึงกันน้อยกว่าคนอื่นๆ, ซึ่งหมายความว่า พวกเขา,
ก็เหมือนกับคนอื่นๆ, พึ่งอิงสังคมแห่งมนุษย์รอบๆ ตัวพวกเขาเพื่อธำรงความมั่งคั่งของพวกเขา—ต่อการสนับสนุนและบริการจากรัฐบาล,
ต่อการศึกษาของรัฐ และงานวิจัยที่ได้ทุนจากภาษี, และต่อแรงงานของคนที่ยากจนกว่าพวกเขา.
It is self-evident that the richest are no less connected than
anyone else, which means that they, like everyone else, rely on the society of
humans around them for their wealth.
Virtue
is not the preserve of those who have hoarded the most money. If anything, the
reverse is true. There is mounting scientific
evidence to
suggest that being so addicted to material wealth that you acquire it in the
millions or billions is an unhealthy addiction that stunts moral, emotional and
spiritual growth, and it can lead to highly sociopathic behaviour.
คุณธรรม
ไม่ใช่เป็นของสงวนของผู้ที่กอบโกยเงินได้มากที่สุด. ถ้าเป็นอะไรอื่นได้, ความจริงกลับตรงกันข้าม. มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นกองพะเนิน
ที่แนะว่า การเสพติดความมั่งคั่งทางวัตถุที่ท่านได้มานับล้าน หรือ พันล้าน
เป็นการเสพติดที่ไม่ถูกหลักสุขอนามัย ที่จะทำให้ศีลธรรม,
อารมณ์และความเจริญทางจิตวิญญาณแคระแกรน, และสามารถนำไปสู่พฤติกรรมพยาธิสังคมได้ (อาการป่วยเชิงสังคม).
The
line between sociopathic behaviour and a psychopathy is blurry at best. Just
look at how large corporations, very often supported by governments, are
forever coming up with even more ingenious ways to create debt, and
aggressively promote ways of life and moral codes that require it so they can
be confident that we will keep funneling money in their direction in the form
of interest. This is a means of ensuring we remain submissive and docile as we
focus all of our energy struggling to meet the obligations they have defined.
เส้นแบ่งระหว่าง
พฤติกรรมพยาธิสังคม และ พยาธิจิต/อาการป่วยทางจิต เลือนลางมาก. เพียงแค่ดูที่บรรษัทยักษ์ว่าทำอย่างไร,
บ่อยครั้ง รัฐบาลได้ช่วยอุ้ม, จึงมีวิธีการที่แนบเนียนยิ่งๆ ขึ้นตลอดเวลา
ในการก่อหนี้, และรุกคืบส่งเสริมวิถีชีวิตและกฎแห่งศีลธรรมที่ต้องมีชีวิตแบบนั้น
เพื่อที่พวกเขาจะมั่นใจได้ว่า พวกเราจะทุ่มเทเงินให้ไหลไปในทิศทางของพวกเขาในรูปของดอกเบี้ย. นี่คือหนทางที่จะทำให้พวกเรายอมสยบและเชื่อง
ในยามที่เราทุ่มเทพลังงานของเราทั้งหมด ดิ้นรนเพื่อทำให้บรรลุพันธะตามที่พวกเขาได้กำหนดไว้.
When
there is potential to overturn the operating system – for example, the 2008
financial crisis – it in fact punishes the poor first and hardest as we are
enmeshed in the global capital infrastructure from the food we buy to where our
pensions are invested. The old trope holds true that the rich become even
richer because power begets power, and money begets money – and the two are
interchangeable. And this is what is most valued by the machine.
เมื่อไรที่มีโอกาสจะพลิกคว่ำระบบการทำงาน—เช่น,
วิกฤตการเงิน ๒๕๕๑—ที่จริงมันลงโทษคนจนก่อนและหนักที่สุด
ในขณะที่พวกเราถูกต้อนให้เข้าไปพัวพันในโครงสร้างพื้นฐานของทุนโลก
จากอาหารที่เราซื้อ จนถึงที่ๆ เราได้ลงทุนเบี้ยบำนาญไว้. คำพังเพยเก่ายังเป็นจริง คนรวย รวยยิ่งขึ้น
เพราะอำนาจย่อมนำมาซึ่งอำนาจ, และ เงินนำมาซึ่งเงิน—และสองสิ่งนี้
แลกเปลี่ยนกันได้.
และนี่เป็นสิ่งที่เครื่องจักรให้ค่ามากที่สุด.
The
Matrix is so powerful and adaptable that even when we do dissent, it often gets
commodified and sold back to us. There were Occupy
Wall Street posters being sold at Wal Mart last Christmas for over $40 USD a
pop. Even techniques for spirituality are co-opted to make us better
capitalists. There has been an exponential rise of Buddhism, yoga, meditation,
Ayurvedic and other Eastern practices as crutches for mental burnout and
spiritual ennui in capitalist countries.
พิมพ์แมทริกซ์ นี้
ทรงพลังมาก และปรับตัวได้ แม้ว่าในขณะที่เรากำลังก่อการกบฏ, การกระทำนั้นก็มักถูกผลิตออกมาเป็นสินค้า
และ ขายคืนให้พวกเรา. มีโปสเตอร์
“ยึดพื้นที่วอลล์สตรีท” ที่ขายในร้านวอลมาร์ท เมื่อคริสต์มาสที่ผ่านมาในราคากว่า
๔๐ ดอลลาร์. แม้แต่เทคนิคทางจิตวิญญาณ
ก็ถูกหักแขนดึงเข้ามาเพื่อทำให้พวกเรารู้สึกดีต่อนายทุน. มีบริการเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณของ พุทธศาสนา,
โยคะ, การปฏิบัติสมาธิ, อายุรเวท(ของอินเดีย) และ วิถีปฏิบัติตะวันออกอื่นๆ
มากมายเกิดขึ้น เพื่อเป็นเหมือนไม้ค้ำพยุงสำหรับ คนที่จิตตก หมดกำลังใจ
เบื่อหน่ายชีวิตในประเทศทุนนิยม.
The
dark spider web of neoliberal belief is so powerful because it binds economic
logic to a moral logic, so to question the economic logic (e.g. growth) is to
question the morality of how we live and our very personhood. Since our jobs
and our identities are all intertwined with that of the system, we are
incapable of breaking free of the logic.
ใยแมงมุมมืดดำของความเชื่อเสรีนิยมใหม่
ทรงพลังมาก เพราะมันพ่วงพันเอาตรรกะเชิงเศรษฐศาสตร์ กับ ตรรกะเชิงศีลธรรม, ดังนั้น
การตั้งคำถามต่อตรรกะเชิงเศรษฐศาสตร์ (เช่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจ)
เป็นการตั้งคำถามต่อ หลักศีลธรรมว่าด้วยการดำรงชีวิต และ บุคคลภาพของเรา. เนื่องจากงานของเรา และ
อัตลักษณ์ของเราล้วนพัวพันกันอยู่ในระบบ, เราไม่สามารถแหกหนีออกจากคอกตรรกะนั้นได้.
As
the philosopher John Ralston Saul has said: “we assume that people of merit
rise to the top of the system. But in fact, the system finds the people that
are best constructed to further its own existence, and draws them to the top.”
In other words, if the system values selfishness above all else, selfish people
above all others will be rewarded with what the system has to offer.
ดังที่นักปรัชญา John
Ralston Saul ได้กล่าวไว้ว่า “เราสมมติไปเองว่า
คนที่มีบุญ/มีผลงานชอบ ย่อมเลื่อนขั้นขึ้นไปทำงานอยู่ที่ตำแหน่งสูงสุดของระบบ. แต่ในความเป็นจริง, ระบบเองเป็นผู้แสวงหาคนที่ถูกสร้างไว้ดีที่สุดที่จะเข้ามาทำให้ตัวมันเองอยู่ยืนยาวได้,
แล้วก็จะดูดดึงคนเหล่านั้น ให้ขึ้นไปถึงขั้นสูงสุด”. อีกนัยหนึ่ง, หากระบบให้ค่าต่อ ความเห็นแก่ตัว
เหนือสิ่งอื่นใด, คนเห็นแก่ตัว จะอยู่เหนือกว่าคนอื่นๆ ทั้งหมด ที่จะได้รับรางวัล
จากสิ่งที่ระบบสามารถให้ได้.
We
have all created our own stories in order to feel as comfortable as we can in
the Matrix. People at the World Bank or the Gates Foundation believe they’re
helping the poor, and in limited ways many of them are. People in advertising
agencies think they’re contributing by being creative and increasing consumer
choice, and at a micro-level this may be true. But by accepting and then
validating the logic at the heart of the system they are in fact ensuring the
murky waters of the status quo stay toxic. If we attempt to prune a tree in a
rotten orchard, are we really having any impact on the health of the orchard?
เราทั้งหมดได้สร้างนิทานของเราเอง
เพื่อให้รู้สึกสบายใจตามแต่จะทำได้ในพิมพ์แมทริกซ์. คนที่ธนาคารโลก หรือ มูลนิธิเกตส์ เชื่อว่า
พวกเขากำลังช่วยเหลือคนจน, และในขอบเขตจำกัดของวิธีการ หลายคนก็เป็นเช่นนั้น. คนในหน่วยงานโฆษณา คิดว่า พวกเขาได้มีคุณูปการ
ด้วยการสร้างสรรค์และเพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภค, และในระดับจิ๋ว
นี่อาจเป็นความจริง. แต่ด้วยการยอมรับ
แล้วก็ยืนยันตรรกะที่เป็นหัวใจของระบบ
แท้จริงแล้ว พวกเขากำลังทำให้แน่ใจว่า น้ำขุ่นๆ ของโครงสร้างอำนาจนั้น
จะคงความเป็นพิษอยู่ต่อไป.
หากเราพยายามตัดแต่งต้นไม้ในสวนเน่าๆ, คิดหรือว่า
เราจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของสวนได้จริง?
Dangerous
Thought Four: We live in false economy
ความคิดอันตราย
๔: เราอยู่ในระบบมิจฉาเศรษฐกิจ
So
what is the root driver of all this madness? How deep do we have to dig?
แล้วอะไรคือรากเหง้าที่ขับเคลื่อนความบ้าคลั่งทั้งหมดนี้? เราจะต้องขุดลงไปลึกสักเท่าไร?
The
answer to that is, until we find what binds all the destructive forces. And
within the current Matrix that we are all unmeshed, the root of growth is debt.
คำตอบ คือ,
จนกว่าเราจะพบว่า อะไรเป็นตัวเชื่อมพลังทำลายล้างทั้งหมด. และภายในพิมพ์แมทริกซ์ปัจจุบัน
ที่พวกเราพัวพันอินุงตุงนังอยู่, รากเหง้าของการขยายตัว คือ หนี้.
In
a debt-based monetary system, the very creation of money creates debt.
Therefore, growth has to exceed interest (which is the payback of debt) in
order for capital to increase.
ในระบบการเงินบนฐานของหนี้,
ตัวที่ทำให้เกิดเงิน ก็เป็นตัวสร้างหนี้นั่นเอง.
ดังนั้น, การขยายตัวทางเศรษฐกิจ จะต้องโตมากเกินดอกเบี้ย
(ซึ่งเป็นการชำระหนี้คืนได้) เพื่อว่าทุนจะได้เพิ่มขึ้น.
We
thus get locked into perpetual debt-based growth, which creates inequality and
destroys our planet. As David Attenborough has said, “If you believe in
infinite growth on a finite planet, you are either a madman or an economist.”
ดังนั้น
เราจึงติดอยู่ในกับดักของวงจรการขยายตัวด้วยการสร้างหนี้ตลอดเวลา,
ซึ่งสร้างความไม่เท่าเทียม และทำลายโลกของเรา.
ดังที่ David Attenborough กล่าวไว้ว่า
“หากคุณเชื่อในการขยายตัวอย่างไร้ขอบเขต บนโลกที่มีขอบเขตจำกัด, คุณไม่เป็นคนบ้า
ก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์”.
We
value the wrong thing – i.e. financial wealth – so we in turn measure the wrong
thing – i.e. growth. We therefore live in a false economy.
เราให้ค่าแก่สิ่งที่ผิด
(มิจฉาทิฏฐิ)—นั่นคือ ความมั่งคั่งทางการเงิน—ทำให้เราวัดค่าในสิ่งที่ผิด—นั่นคือ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ. ดังนั้น
เราอยู่ในโลกของมิจฉาเศรษฐกิจ.
Let’s
give a concrete example. The global economy roughly grew at 3% last year
(2014), which generated an additional $2.2 trillion in ‘new’ products and
services. In other words, commodified natural resources and human labour to the
tune of $2.2 trillion. This is equivalent of global GDP in 1970. It took us
from the dawn of humanity to 1970 to achieve an annual GDP of $2.2 trillion
dollars – we now require that amount just in the delta of a single year. Next
year we may need 1974’s GDP, then 1990’s, etc. Soon we’ll need to 2015’s
GDP in order for the global Ponzi scheme not to implode.
ลองดูตัวอย่างรูปธรรมหนึ่ง. เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราประมาณ 3% เมื่อปีกลาย (๒๕๕๗), ซึ่งสร้าง ผลิตภัณฑ์และบริการ “ใหม่” เพิ่มขึ้น ๒.๒
พันล้านเหรียญ. อีกนัยหนึ่ง, มีการแปลงทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานให้เป็นสินค้า
คิดเป็นมูลค่า ๒.๒ พันล้านเหรียญ.
นี่เทียบเท่ากับ จีดีพีโลก ในปี ๒๕๑๓.
เราใช้เวลาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของมนุษยชาติ จนถึงปี ๒๕๑๓ ถึงได้ จีดีพี/ปี
๒.๒ พันล้านเหรียญ—ตอนนี้ เราใช้เวลาเพียง ๑ ปี.
ปีหน้า เราอาจต้องการ จีดีพี ของปี ๒๕๑๗, แล้วก็ ของปี ๒๕๓๓, ฯลฯ. ในไม่ช้า เราจะต้องการ จีดีพี ของปี ๒๕๕๘
เพื่อไม่ให้เกิดอาการฟองสบู่โลกแตก.
We can’t have infinite growth on a finite planet
The
mathematical way to describe this is that we are now in a period of exponential
growth. When this happens in an organism we call it cancer: uncontrollable
growth of cells to the point of self-annihilation. And because we are all
locked into a Matrix that serves the neoliberal ideology, we are made complicit
in our own self-annihilation. Growth is couched in jobs and securing
investments, and indeed that’s true, so it becomes all of our business to
create further growth.
การใช้วิธีทางคณิตศาสตร์บรรยายปรากฏการณ์นี้
คือ ตอนนี้เรากำลังอยู่ในยุคของการขยายตัวแบบทวีคูณ. เมื่ออาการเช่นนี้
เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต เราเรียกมันว่า มะเร็ง: การขยายตัวของเซลล์ที่ควบคุมไม่อยู่
จนถึงจุดหนึ่ง มันฆ่าตัวของมันเองไปด้วย.
และเพราะเราทั้งหมดถูกกักขังอยู่ในพิมพ์/กรงแมทริกซ์
ที่รับใช้อุดมการณ์เสรีนิยมใหม่,
เราก็ถูกทำให้เชื่องต่อกระบวนการฆ่าตัวตายนี้ด้วย. การขยายตัวทางเศรษฐกิจถูกประดับประดาด้วยงานและการดึงดูดเงินลงทุน,
และจริงๆ แล้ว นั่นเป็นความจริง, ดังนั้น ทั้งหมดกลายเป็นธุรกิจของเรา
ในทำให้การขยายตัวยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ.
This
is not a dark room conspiracy –
from the survival of the most basic cell all the way up to the infinite
complexity of the Internet, this is how complex adaptive systems behave. They
create and emerge from matrices of energy and matter that support their
existence. The logic of capital is merely the logic of a particular complex,
adaptive system. As Thomas
Picketty recently has proven in
such detail, left to its own devices, the system will always reward capital with
more capital, pulled from the sources of production it has.
นี่ไม่ใช่กลอุบายจากการสุมหัวในห้องมืด—จากการอยู่รอดของเซลล์ขั้นพื้นฐานที่สุด ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง
อินเตอร์เน็ต ที่ซับซ้อนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด,
นี่คือพฤติกรรมของระบบการปรับตัวที่ซับซ้อน.
พวกเขาสร้างและอุบัติขึ้นจากแมทริกซ์ของพลังงานและสสารที่รองรับการคงอยู่ของพวกมัน. ตรรกะของทุน เป็นเพียงตรรกะของระบบเฉพาะหนึ่งที่ซับซ้อนและปรับตัวได้. ดังที่ Thomas Picketty ได้พิสูจน์แล้วเมื่อเร็วๆ นี้อย่างละเอียด, เมื่อปล่อยให้อยู่ตามลำพังเอง,
ระบบจะให้รางวัลแก่ทุน ด้วยทุนมากขึ้น, ด้วยการดึงดูดจากแหล่งการผลิตที่มันมีอยู่.
And
while the destruction amasses, we are sold a false idea of the economy as a
necessary savior to keep us complicit.
และในขณะที่การทำลายล้างมีมากขึ้น,
เราก็ถูกชักจูงให้ซื้อมิจฉาทิฏฐิของระบบเศรษฐกิจว่า เป็นพระผู้ช่วยให้รอดที่จำเป็น
เพื่อทำให้เราว่านอนสอนง่าย.
In
2011, 110
of the 175 largest global economic entities on earth were corporations,
with the corporate sector representing a clear majority (over 60 percent) over
countries. The revenues of Royal Dutch Shell, for instance, were on par with
the GDP of Norway and dwarfed the GDP of Thailand, Denmark or Venezuela.
ในปี
๒๕๕๔, ในบรรดานิติบุคคลเศรษฐกิจโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ๑๗๕ ราย, ๑๑๐ รายเป็นบรรษัท,
โดยภาคบรรษัทเป็นตัวแทนส่วนใหญ่ที่ชัดเจน (กว่า 60%)
กว่าประเทศ. เช่น รายได้ของเชลล์
(ราชวงศ์ดัทช์), เทียบเท่ากับ จีดีพี ของนอร์เวย์ และทำให้ จีดีพี ของไทย,
เดนมาร์ค หรือ เวเนซูเอลา ประหนึ่งคนแคระ.
In
other words, more economic power is in private hands than public. Most
corporations started the globalization process by exploiting human labor where
it was cheapest and the rules were the most slack. They then capitalized on the
lack of global governance around tax and essentially opted out of the social
contract with humanity – there’s now $32
trillion sitting in tax havens and
60% of world trade happens between MNCs own subsidiaries, largely through
what’s known as transfer mis-pricing. And then the kicker, they subverted our
democracy. Research from Harvard’s Saffra Center for Ethics shows that
corporations achieve up to a $220 ROI for lobbying
Congress. Why would you ‘invest’ your money in anything else.
อีกนัยหนึ่ง,
อำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ในมือของภาคเอกชนมากกว่าภาคสาธารณะ. บรรษัทส่วนใหญ่ติดเครื่องกระบวนการโลกาภิวัตน์
ด้วยการขูดรีดแรงงานมนุษย์ ในที่ๆ ให้ราคาถูกที่สุดและกฎระเบียบหย่อนยานที่สุด. แล้วพวกเขาก็จะสะสมทุนจากสภาวะที่ไร้ระบบการปกครองโลกว่าด้วยเรื่องภาษี
แล้วก็เลือกเล็ดลอดออกจากพันธะสัญญาที่ผุกมัดกับมนุษยชาติ— ตอนนี้ มีเงิน ๓๒
ล้านล้านเหรียญนั่งอยู่ในกรุภาษี และ 60%
ของการค้าโลกเกิดขึ้นระหว่าง สาขาของบรรษัทข้ามชาติเอง, ส่วนใหญ่ผ่านกระบวนการที่รู้จักกันว่า
เป็นการผ่องถ่ายราคาที่มิชอบ.
แล้วก็ถีบกลับ, พวกเขาล้มล้างประชิปไตยของเรา. งานวิจัยจาก ซาฟฟรา-ศูนย์คุณธรรม
แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แสดงให้เห็นว่า บรรษัทได้เงินคืน $220 ROI (?) ด้วยการล๊อบบี้กับสภาคองเกรส. ทำไมท่านยังต้องการ “ลงทุน”
เงินของท่านในอะไรก็ตามอีก?
We
are told that as the rich get richer the rest of us will get richer too.
But we know now that this is a lie. Average
wages are lower today than
they were in the 1960s, and household incomes are stagnating while the 1% are
growing richer than ever before. Today, the richest
85 people in the world have more wealth than the poorest 3.5 billion.
พวกเราได้รับการพร่ำสอนว่า
ในขณะที่คนรวย รวยยิ่งขึ้น, พวกเราส่วนที่เหลือ ก็จะรวยขึ้นด้วย. แต่พวกเรารู้แล้วตอนนี้ว่า
นี่เป็นเรื่องโกหก. ค่าแรงเฉลี่ยทุกวันนี้
ต่ำกว่าในทศวรรษ ๒๕๐๐, และรายได้ครัวเรือนก็แช่แข็ง ในขณะที่ 1% กลับรวยขึ้นมากกว่าที่เคยมา.
วันนี้, คนรวยที่สุดในโลก ๘๕ คน มีทรัพย์สินมั่งคั่งกว่าคนจน ๓.๕
พันล้านคน.
We
are told that we can solve global poverty if rich countries give more aid to
poor countries. But see beyond the rhetoric and it’s horribly obvious
that aid is flowing in the other direction. Rich countries are rich
because they grab land and natural resources, and exploit the human labor of
poor countries. We will only be able to eliminate poverty once we stop
this plunder.
พวกเราถูกกรอกหูว่า
เราสามารถแก้ปัญหาความยากจนโลกได้ หากประเทศร่ำรวยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจน. แต่พอมองโพ้นสำนวนหรู
จะต้องตื่นกลัวกับความจริงที่ว่า การช่วยเหลือเหล่านั้น
ไหลไปทิศทางอื่นอย่างชัดเจน. ประเทศร่ำรวย
ร่ำรวยเพราะพวกเขาฉกแย่งที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ,
และขูดรีดแรงงานมนุษย์ของประเทศยากจน.
เราจะขจัดความยากจนได้ต่อเมื่อเรายุติการปล้นนี้.
We
believe that governments run the world, and that those governments are
democratic. But the most powerful entities on earth are corporations, not
governments, run for private profit not public good. And these corporations
exercise undue influence over government policies. In a system where
money buys votes, democracy is nothing but an illusion, and the hopes and
desires of the majority are rarely considered.
We
believe that our media is free and impartial. But in reality
90% of the media is controlled by only six corporations,
which silence all criticism of their interests. And our Internet – which
we rely on to communicate and share ideas – is poisoned by a global network of
state surveillance.
เราเชื่อว่า
รัฐบาลต่างๆ คุมเครื่องการขับเคลื่อนโลก, และรัฐบาลเหล่านั้น
เป็นประชาธิปไตย.
แต่นิติบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก คือ บรรษัท, ไม่ใช่รัฐบาล,
ที่ทำงานเพื่อทำกำไรเข้ากระเป๋าเอกชน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะ. และบรรษัทเหล่านี้
ก็ใช้อิทธิพลที่ไม่ชอบข้ามหัวนโยบายรัฐบาล.
ในระบบที่เงินซื้อเสียงได้, ประชาธิปไตยไร้ความหมาย แต่เป็นเพียงมายาภาพ,
และความหวัง ความปรารถนาของประชาชนส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้รับการพิจารณาง เราเชื่อว่า สื่อของเรามีอิสระ/เสรีภาพ
ไม่ลำเอียง. แต่ในความเป็นจริง สื่อ 90%
ถูกควบคุมโดยเพียง ๖ บรรษัท, ซึ่งปิดปากคำวิจารณ์ทั้งปวง
ที่ทักท้วงผลประโยชน์ของพวกเขา.
และอินเตอร์เน็ตของเรา—ซึ่งเราพึ่งพาเพื่อการสื่อสารและแบ่งปันความคิด—ก็ถูกเครือข่ายรัฐสอดแนมระดับโลกวางยาพิษ.
We
are told to that our current way of living provides some kind of ‘order’
forgetting that the entire system has been built upon the history of
colonialism, imperialism and genocide. Not to mention the constant state of
war, and plunder from poorer nations, that is required to prop up the Western
way of life.
พวกเราถูกพร่ำสอนมาว่า
วิถีชีวิตของเราปัจจุบัน มีความเป็นระเบียบดีแล้ว แต่ลืมไปว่า ระบบทั้งหมดนี้
สร้างขึ้นบนประวัติศาสตร์ของการล่าอาณานิคม, จักรวรรดินิยม และ
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์. นี่ยังไม่รวมสภาวะสงครามต่อเนื่อง,
และ การปล้นจากชาติที่ยากจนกว่า, ทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องมีอยู่
เพื่อธำรงวิถีชีวิตแบบตะวันตก.
The
only way to change things is to change what the system itself values, and to
change the very rules that articulate and maintain those values.
ทางเดียวที่จะเปลี่ยนสิ่งนี้
คือ เปลี่ยนค่านิยมของระบบ, และเปลี่ยนกฎระเบียบที่เชิดชูและธำรงค่านิยมเหล่านี้.
Dangerous
Thought Five: Another story is possible
ความคิดอันตราย ๕: นิทานอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นไปได้
These
myths are falling apart around us, and the story that they uphold is beginning
to collapse. The system is constructed by a set of laws and rules and
beliefs constructed by human beings. As the comedian Russell
Brand says, “Capitalism is not real; it is an idea. America is not
real; it is an idea that someone had ages ago. Britain, Christianity, Islam,
karate, Wednesdays are all just ideas that we choose to believe in and very
nice ideas they are, too, when they serve a purpose. These concepts, though,
cannot be served to the detriment of actual reality.”
เทพนิยายทั้งหลายเหล่านี้
กำลังร่วงหล่นรายรอบตัวพวกเรา, และนิทานที่พวกเขาเชิดชูยึดถือ
ก็กำลังล่มสลาย.
ระบบถูกสร้างขึ้นโดยกฎหมาย-ระเบียบ-ความเชื่อ ชุดหนึ่ง
ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น. ดังที่ดาราตลก
Russell Brand กล่าวไว้ “ลัทธิทุนนิยม
ไม่เป็นของจริง, มันเป็นความคิด.
อเมริกาไม่ใช่ของจริง, มันเป็นความคิดเห็นที่มีอยู่ในบางคนนานมาแล้ว. อังกฤษ, ศาสนาคริสต์, อิสลาม, คาราเต้, วันพุธ
ล้วนเป็นความคิดเห็นที่เราเลือกที่จะเชื่อ และ
มันก็เป็นความคิดเห็นที่ดีมากทีเดียวด้วย เมื่อมันตอบสนองวัตถุประสงค์หนึ่งๆ. ถึงกระนั้น กรอบคิด/กระบวนทัศน์
เหล่านี้ไม่สามารถได้รับการปรนเปรอ/รับใช้
เพื่อทำให้ความเป็นจริงต้องทรุดโทรมเสียหาย”.
We
yearn for a different story, a better story, a story that is truer to the
values we know are right – a story that celebrates our connections to others
and to our broader world. We are eager to cast off debts, to stop being
complicit in the exploitation of our brothers and sisters around the world, to
cease the destructive pillage, to abandon the competition that turns friend
into foe, and to recover our relationships. We are ready for healing.
เราโหยหานิทานที่แตกต่างออกไป,
นิทานที่ดีกว่า, นิทานที่จริงจังกว่าต่อค่านิยมที่เรารู้ว่า ถูกต้อง—นิทานที่เฉลิมฉลองความเชื่อมโยงต่อกันของเรากับคนอื่นๆ
และ กับโลกที่กว้างใหญ่.
เรากระหายที่จะปลดหนี้,
หยุดการถูกดึงให้สมรู้ร่วมคิดในการขูดรีดพี่น้องของเราทั่วโลก, ยุติการปล้นหายนะ, ละทิ้งการแข่งขันที่เปลี่ยนเพื่อนให้เป็นอริ,
และ ฟื้นคืนความสัมพันธ์ของพวกเรา.
เราพร้อมแล้วสำหรับการเยียวยาสมานแผล.
We
know that there are other stories out there.
เรารู้ว่า
ยังมีนิทานอื่นๆ ข้างนอก.
Dangerous thought 5: Together, we can change things. Start a
different story
Anthropologists
tell us that
for most of human history we lived in small egalitarian societies that rewarded
co-operation and sharing and punished selfishness and accumulation. No one is saying
we can go back to a hunter-gatherer lifestyle, but it’s an indicator of what’s
possible for human nature – in fact, we have over 90,000 years of inspiration
of what is possible.
นักมานุษยวิทยา
บอกเราว่า ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ส่วนใหญ่ เราอาศัยอยู่ในสังคมเสมอภาคเล็กๆ
ที่ให้รางวัลแก่ความร่วมมือ แบ่งปัน และ ลงโทษความเห็นแก่ตัว การสะสม. ไม่มีใครบอกว่า
เราสามารถย้อนกลับไปยุคนักล่าสัตว์-นักเก็บกิน, แต่มันก็เป็นตัวชี้ว่า
อะไรที่เป็นไปได้สำหรับธรรมชาติของมนุษย์—อันที่จริง, เรามีแรงบันดาลใจที่ยาวนานกว่า
๙๐,๐๐๐ ปี ของความเป็นไปได้.
Just
ten years ago scientists discovered what they call mirror
neurons, proving that we are hard-wired for empathy. And behavioral
economists have shown that, when left to our own devices, tend
to default to values of fairness and justice. These are the
better, truer angels of our nature.
เพียง ๑๐ ปีก่อน
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ สิ่งที่พวกเราเรียกว่า นิวรอนกระจก, เป็นการพิสูจน์ว่า
เราถูกสร้างให้มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ.
แล้วนักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ได้แสดงให้เห็นว่า
เมื่ออยู่กับอุปกรณ์ของเราตามลำพัง,
ก็มักจะกลับคืนสู่ค่านิยมของความเป็นธรรมและยุติธรรม. สิ่งเหล่านี้เป็นเทพที่ดีกว่า และ
จริงกว่าในธรรมชาติของเรา.
All
we lack is the confidence to see beyond the constraints of the present story.
And we start by asking the hard questions we have been told not to ask.
People around the world are beginning to do just this. They are
rising up in response to our civilization’s crisis – from Occupy Wall Street to
the Arab Spring, from protests in Brazil to the Chilean Winter, from the
Zapatistas in Mexico to the student uprising in Quebec, from the Idle No More Indigenous
People’s movement to Transition Towns around the world – these are all
expressions of a new world that is possible. They are sites of great hope for
us all. The world is beginning to heal—and we can take it farther,
faster.
สิ่งที่เราขาดคือ ความมั่นใจในตัวเองที่จะมองออกไปให้โพ้นจากอุปสรรคของนิทานในปัจจุบัน. แล้วเราก็เริ่มด้วยการตั้งคำถามยากๆ
ที่เราถูกสั่งไม่ให้ถาม.
คนทั่วโลกก็กำลังเริ่มทำเช่นนี้แหละ.
พวกเขากำลังลุกขึ้น เพื่อขานรับวิกฤตแห่งอารยธรรมของเรา—จาก
ยึดพื้นที่วอลล์สตรีท จนถึง อาหรับสปริง, จากการประท้วงในบราซิล จนถึง
ชิเลียนวินเตอร์, จาก ซาปาติสตาส์ ในเม็กซิโก ถึง การลุกฮือของนักศึกษาในคิวเบค,
จาก ขบวนการชนเผ่าดั้งเดิมไม่เฉยเมยอีกแล้ว ถึง เมืองเปลี่ยนผ่าน ทั่วโลก—เหล่านี้เป็นการแสดงออกว่า
โลกใบใหม่นั้น เป็นไปได้.
พวกเขาเป็นแหล่งแห่งความหวังที่ยิ่งใหญ่ของพวกเรา. โลกกำลังสมานแผล—และพวกเราก็สามารถต่อยอดไปให้ไกลกว่านี้,
เร็วขึ้น.
There
are new ideas bubbling up all around the world that point to a better way. Some
of these solutions are not difficult, like moving away from GDP as a measure of
progress, taxing carbon at its source, creating a global wealth tax, banning
certain types of advertising, putting a moratorium on rigged trade rules (like
the proposed Trans-Pacific Partnership), and even putting limits on how
powerful corporations can become (e.g. the anti-trust laws that used to exist
around the world, most notably in the United States up to the 1970s).
Others are more radical, like removing corporate money from politics,
abolishing military spending, revoking corporations’ right to do business if
they don’t serve our collective interest, moving to a four hour work day,
providing a basic citizen’s income to every human being, devolving power to
local communities governed by direct democracy, an even getting rid of our
debt-based currency system altogether.
ความคิดเห็นใหม่ๆ
กำลังผุดขึ้นมาทั่วโลก ที่ชี้ไปในทางที่ดีขึ้น.
ทางออกบางอย่างไม่ยาก, เช่น ขยับออกห่างจาก จีดีพี
ในฐานะเป็นเครื่องวัดความก้าวหน้า, เก็บภาษีคาร์บอนที่ต้องทาง,
สร้างภาษีความมั่งคั่งโลก, แบนการโฆษณาบางประเภท, ยุติกฎระเบียบการค้าฉ้อฉล (เช่น
ทีพีพี), และแม้แต่กำหนดเพดานจำกัดอำนาจของบรรษัท (เช่น กฎหมานต่อต้านทรัสต์
ที่เคยมีอยู่ทั่วโลก, ที่เด่นชัดในสหรัฐฯ จนถึงทศวรรษ ๒๕๑๐). มาตรการอื่นๆ เป็นแบบถอนรากถอนโคน, เช่น
ตัดเงินบริจาคของบรรษัทออกจากการเมือง, เลิกล้มงบใช้จ่ายของกองทัพ,
ถอนสิทธิ์ของบรรษัทในการทำธุรกิจ
หากการบริการของพวกเขาไม่สนองประโยชน์ร่วมของพวกเรา, เปลี่ยนเป็นระบบการทำงาน ๔
ชั่วโมง/วัน, จ่ายรายได้สำหรับพลเมืองพื้นฐานแก่มนุษย์ทุกคน,
กระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่นที่ปกครองด้วยประชาธิปไตยสายตรง, และแม้แต่ขจัด
ระบบการเงินที่ตั้งอยู่บนฐานของการสร้างหนี้.
Ideas
abound. The decision is ours to reclaim our past and our future. Will we
continue as soldiers of the status quo, regardless of destruction it will
guarantee? Or will we stand with the world’s majority to create the better
world we know is possible?
ความคิดเห็นมากมาย.
การตัดสินใจอยู่ที่พวกเรา ที่จะทวงคืนอดีตของเรา และ อนาคตของเรา. เราจะยอมเป็นทหารของสภาพอำนาจเดิม โดยไม่ยี่หระต่อหายนะที่มันรับรองว่าจะทำให้เกิดขึ้นหรือ?
หรือ เราจะลุกขึ้นยืนร่วมกับชาวโลกส่วนใหญ่ เพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า
ที่เรารู้ว่าเป็นไปได้?
Alnoor
Ladha and Martin Kirk are founding members of /The Rules (therules.org),
a global network of activists, organizers, designers, coders, researchers and
writers dedicated to changing the rules that create inequality and poverty
around the world.